การเรียนรู้เพื่อการตระหนักรู้สู่การเปลี่ยนแปลง


การเรียนรู้เพื่อการตระหนักรู้สู่การเปลี่ยนแปลง

เป้าหมายของการมาเจอกัน (Knowledge Vision)

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560 มีนัดหมายกับ อ.จูน (พ.ท.หญิง ดร.จิตรวีณาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฏเกล้า) อาจารย์เคยเล่างานเกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ฟัง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เป็นการจัดการเรียนรู้ที่น่าสนใจ อาจารย์จูนสอนนักเรียนแพทย์ในวิชาสรีระศาสตร์ และอาจารย์จูนสนใจที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน "เนื้อหาวิชามีทุกที่ที่ให้เด็กสามารถค้นคว้าได้ แต่การสอนเพื่อฝึกเด็กให้เป็นคนคิดได้คิดเป็นนี่เป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝน" อาจารย์จูนเล่าแนวคิดของตนเองให้ฟัง และอีกประเด็นหนึ่งที่ให้ความสนใจ คือ เรื่องการฝึกเจริญสติ ซึ่งเรื่องนี้จะสามารถมาช่วยส่งเสริมให้การเรียนรู้ของเด็กทำได้ดีขึ้น

การจัดรูปแบบการเรียนรู้เช่นนี้ อาจารย์ได้ทดลองทำและปรับปรุงพัฒนามาตลอดสองปี ซึ่งผลลัพธ์ที่นักเรียนแพทย์สะท้อนออกมาน่าสนใจมาก มีความรู้ตัวทั่วพร้อมตลอดการเรียนรู้ มีการสะท้อนตนเองชัดเจน

(Knowledge Sharing)

เรานัดเจอกันที่นรสิงห์ แถววังพญาไทย ซึ่งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฏและใกล้กับวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎ การได้เจอและนั่งลงฟังเรื่องราว (Success Story) ช่วยทำให้ผู้ฟังได้เรียนรู้เรื่องราวดีๆ ตามไปด้วย อาจารย์จูนหอบเอกสารชุดใหญ่มาให้ดู เกี่ยวกับการบันทึกการเรียนการสอน ซึ่งบางส่วนเคยได้ดูมาบ้างแล้ว

ที่มาที่ไปของแรงบันดาลใจที่อาจารย์จูนสนใจนำแนวคิดนี้มาปรับปรุงการเรียนการสอนในวิชาที่ตนเองรับผิดชอบ "การสอนเพื่อให้เด็กตื่นรู้และเบิกบานในการเรียน" พอทดลองทำแบบเล็กๆ ก็เลยเริ่มสนใจที่จะทำอย่างจริงจังและตั้งใจเป็นวิจัยในหน้างานในห้องเรียนของตนเอง เมื่อทำต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ประมาณสองปีนี้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นบ้างในนักเรียนแพทย์แม้จะไม่ใช่ทั้งหมดแต่ก็ทำให้รู้สึกสนุกและมีความสุขในการจัดการเรียนการสอนของตนเอง

การพูดคุยวันนี้มีพี่กุ้ง (R2R Facilitator จากโรงพยาบาลปทุมธานี) และพี่แอปเปิ้ลมาร่วมรับฟังด้วย

บางขณะพี่กุ้งร่วมแชร์ประสบการณ์ด้วย "ฟัง พูด และแบ่งปัน" บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เต็มไปด้วยความเป็นกัลยาณมิตร เราใช้เวลาเกือบสามชั่วโมง ร้านนรสิงห์เป็นร้านกาแฟที่ให้ความรู้สึกคลาสสิค ผ่อนคลาย เหมาะต่อการนั่งคุยกัน มีความรู้สึกเป็นกันเอง ดังนั้นการคุยกันภายใต้หลักการสุนทรียสนทนาจึงค่อนข้างเอื้อในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ "คุยงานวิจัยแบบเบาสบาย"

คุยกันไปได้สักพัก น้องอ้อมหรือคุณเสาวนิตย์ จากกรมการแพทย์ทหารบกนำเรื่องราว Heatstroke มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย

เราแยกย้ายกันหลังจากร่วมพูดคุยกันเกือบสามชั่วโมง

(Knowledge Asset)

การได้มาร่วมเรียนรู้กับอาจารย์จูนวันนี้คือ การได้เห็นการนำแนวคิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงหรือ Transformative Learning มาใช้และที่เพิ่มเติมมากขึ้นคือ การนำเรื่องการฝึกเจริญสติมาใช้ร่วมด้วย เนื้อหาวิชาการเรียนเป็นเรื่องที่ออกมาแนววิทยาศาสตร์มากๆ และเป็นเรื่องของความจำ จากประสบการณ์เดิมการเรียนในเรื่องนี้ผู้สอนมักจะบรรยายส่วนผู้เรียนก็ใช้วิธีการท่องจำ แต่ไม่สามารถเชื่อมความรู้และสร้างความรู้ได้ชัดเจน การสอนของอาจารย์จูนทำให้เห็นว่าทุกอย่างทำได้ ความรู้เป็นเรื่องที่จับต้องได้ มีพลัง และตื่นตัวอยู่เสมอ การสอนให้คิดและเชื่อมโยง สามารถนำไปใช้ได้จริงถือเป็นการเรียนรู้ที่มีคุณค่าและมีความหมาย จึงลองเขียนภาพ (Capture) จากผลงานของอาจารย์จูงออกมาว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง




หมายเลขบันทึก: 622964เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2017 20:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

บรรยากาศดี คนรอบข้างดี ทุกอย่างเลยดีค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท