ถอดบทเรียนจากเวทีเสวนา “การจัดการความรู้กับสังคมไทย” มุมมอง : ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช


คนที่มีพื้นฐานและประสบการณ์จากการลงมือทำจริง...ย่อมเข้าใจและเรียนรู้อะไร ๆ ได้ง่ายและลึกซึ้งกว่า เรียกว่า "ฟังเป็น"

          เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2549  ได้ไปฟังการจัดเสวนาเรื่อง  การจัดการความรู้กับสังคมไทย  ที่ตลาดนัดเครือข่ายการจัดการความรู้  ซึ่งจัดโดยมูลนิธิข้าวขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรี  โดยมีผู้ร่วมเสวนา จำนวน 4 ท่าน คือ 

               ท่านที่ 1  ศ. นพ. วิจารณ์  พานิช 

               ท่านที่ 2  ดร. ทิพวัลย์  สีจันทร์

               ท่านที่ 3  คุณทวีสิน  ฉัตรเฉลิมวิทย์  และ

               ท่านที่ 4  คุณเดชา  ศิริภัทร

     ภาพที่ 1  เวทีเสวนาเรื่อง การจัดการความรู้กับสังคมไทย

          49112108.gif

          ซึ่งในมุมมองของ  ศ. นพ.  วิจารณ์  พานิช  ที่ดิฉันนั่งฟังอยู่นั้น ท่านได้พูดสรุปโดยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็นหลักที่เกี่ยวข้อง ก็คือ

               ประเด็นที่ 1  การจัดการความรู้...เป็นการเรียนไม่รู้จบ 

               ประเด็นที่ 2  การจัดการความรู้มีหลายระดับชั้นและมีหลายระนาบ  ได้แก่  ระดับชั้นชาวนา  ระดับชั้นนักวิชาการ  และ ระดับชั้นการเมือง  ฉะนั้น แต่ละระดับชั้นควรจะนำความรู้มาตรวจสอบเพื่อหาจุดรวมในการสร้างความรู้และการขยายตัว เรียกว่า  การจัดการความรู้หลาย ๆ ชั้น และหลาย ๆ ระนาบเข้าด้วยกัน

                 ระเด็นที่ 3  การจัดการความรู้ของโรงเรียนชาวนา  ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนแลกกับเพื่อน ที่มาเรียนรู้เทคนิคในอาชีพชาวนาที่เป็น โรงเรียนทางไกล

   ภาพที่ 2  ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช

    

         49112109.gif                 

          การจัดการความรู้ของประเทศไทยจะก้าวไปสู่มิติของ...การจัดการความรู้ทางไกล...ที่แลกเปลี่ยนโดยไม่ต้องมาพบเจอกันเป็น “KM ทางไกล...ฉบับชาวบ้าน โดยใช้สื่อเป็นตัวกลางในการเดินเรื่องหรือสื่อสารถึงกัน ได้แก่ CD  VDO และอื่น ๆ  ซึ่งจะเป็น ศูนย์แลกเปลี่ยนสื่อทุกจังหวัด ที่เป็นเรื่องราวของคน  กลุ่ม  และองค์กร คือ ตัวอย่างที่ประสบผลสำเร็จ  ในลักษณะของ “KM ขยายวง  เพื่อนำไปปรับใช้กับเรื่องราวของเราเองได้  โดยเฉพาะถ้าเราเองมีประสบการณ์ที่เป็น Tacit Knowledge อยู่ในตัวเราเองแล้วก็จะทำให้การเรียนรู้ของตัวเราเองไปได้ค่อนข้างเร็วมากจากการฟัง  การดู  การสังเกต  และการแลกเปลี่ยน

                จากการสรุปบทเรียนของอาจารย์หมอในครั้งนี้ได้ให้ข้อคิดกับดิฉัน โดยดิฉันนำมาเปรียบเทียบกับข้อสงสัยและสิ่งที่กำลังคิดภายใต้คำถามที่ว่า เพราะอะไรคนบางคน..เมื่อฟังเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาคนในงานส่งเสริมการเกษตร...แล้วเกิดความรู้ความเข้าใจ หรือ เกิดการเรียนรู้ได้ไวนักหนา  ตัวอย่างเช่น  เมื่อมีการนำเรื่อง การจัดการความรู้ (KM) เข้ามาใช้ในองค์กร...ก็เข้าใจได้รวดเร็ว และปฏิบัติได้ไว  และ เมื่อมีการนำเรื่องการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เข้ามาใช้ในองค์กร ก็เข้าใจได้เร็ว และลึกซึ้งถึงแก่นของมันด้วย....ซึ่งคำตอบและข้อสรุปที่ได้ก็คือ 

               1)  เขาเป็นในเรื่องของกระบวนการเรียนรู้ 

               2) เขามีฐานที่มั่นคงของการปฏิบัติจริง  และ

               3) เขาไม่เคยหยุดนิ่งกับการทำงานพัฒนา 

          ฉะนั้น สิ่งดังกล่าวจึงส่งผลให้ฐานการรับรู้และฐานการเรียนรู้ของเขาเกิดความมั่นคงอย่างแท้จริง.               

         

หมายเลขบันทึก: 62273เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2006 08:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ใจตรงกันเลย ลองแลกเปลี่ยนกันคะ  ตลาดนัดชาวนา   เห็นด้วยกับคุณศิริวรรณคะ
  • ได้เจอตัวจริงไม่ค่อยพูดเลยนะคะ...เห็นรับประทานอย่างเดียว ..อิอิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท