ฟื้นฟูข้าวตรังในนาร้าง


รัชกาลที่๙ ให้ความสำคัญเรื่องการทำนาข้าวมาก ตัวอย่าง เช่นเมื่อปี 2536 พระราชดำรัสไว้ว่า.. "ข้าว ต้องปลูก เพราะว่าอีก 20 ปีประชากรอาจจะเพิ่ม 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไรประชาชนคนไทย ต้องไม่ยอม คนไทยต้องมีข้าว แม้ข้าวในเมืองไทย ที่ปลูก สู้ต่างประเทศไม่ได้เราก็ต้องปลูก" "กินอิ่มนอนอุ่น บนแผ่นดินใต้" เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่๙

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 30 ตุลาคม 2559 รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นายสายัณห์ อินทรภักดิ์ พร้อมกับท่านพระครูปัญญาวัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดนาเมืองเพชร ใด้ให้สัมภาษณ์โครงการ ฟื้นฟูข้าวตรังในที่นาร้าง และพันธุ์ข้าวพระราชทาน

ณ แปลงนาพุทธมนต์ วัดนาเมืองเพชร และเรื่องตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง รองผู้ว่าฯ. ได้กล่าวไว้ว่า การฟื้นฟูนาร้าง ที่ทิ้งร้าง ไว้เป็น 10 ปี ทั้งที่ ปัจจัยการผลิต มิได้ขาดแคลน เช่นน้ำ ทุน พันธุ์ข้าว แต่ปัจจัยที่ทำให้ ต้องทิ้งให้นาร้างว่างเปล่า เพราะ ลูกหลาน ย้ายถิ่นฐานไปเรียนหนังสือและเปลี่ยนอาชีพ ทำให้ไม่มีผู้สืบทอด อาชีพทำนา หรือ บางราย บอกว่า ปลูกข้าวไม่คุ้มทุน ต้นทุนสูงกำไรน้อย บางรายก็เปลี่ยนนาข้าวเป็นสวนปาล์มสวนยางพารา ซึ่งบางราย ก็ไม่ประสบความสำเร็จ จากการปลูกยางพารา แทนนาข้าว ดังนั้นเกษตรกรควรจะ แบ่งที่ปลูกข้าว ปลูกยางพารา และพืชผัก ที่สามารถกินได้ ซึ่งตรงกับทฤษฎีใหม่ ของในหลวงรัชกาลที่ ๙ ดั่งที่กล่าว 30- 30 -30 -10 หมายถึง มีนาข้าว มีสวน มีน้ำ และมีที่อยู่อาศัย ท่านพระครูปัญญาวัชราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดนาเมืองเพชร ต.นาโต๊ะหมิง อ.เมือง จ.ตรัง โครงการ ฟื้นฟูข้าวตรังในที่นาร้าง และพันธุ์ข้าวพระราชทาน ได้กล่าวไว้ว่า.. ได้น้อมนำ หลัก เศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่๙ โดยการปรึกษาหารือ ในชุมชน หรือ วัด โรงเรียน บ้าน การสร้างความเข้าใจ ของหลัก เศรษฐกิจพอเพียง โดย การเทศนา และ ปฏิบัติ ให้เห็น เป็นตัวอย่างด้วย เช่น การนำกลุ่มเครือข่าย ไปดูงาน ปลูกมะนาว ที่จังหวัดขอนแก่น แล้วกลับ มาปลูก ขยายพันธุ์ โดยกลุ่ม ได้ จัดเป็นศูนย์เรียนรู้ การปลูกมะนาว และขยายพันธุ์ พร้อมวิธีการปลูก ออกไปทั่วประเทศ ซึ่ง ระยะเวลา 6 เดือน สามารถ ตอนกิ่งขยายพันธุ์ได้ ถึงพันกว่าต้น อายุ การให้ผลผลิต ของมะนาวประมาณ 8 ปี ส่วนข้าว ที่ปลูกเห็นว่าที่ของวัด ยังว่างอยู่ ประมาณ 4 ไร่ ชาวบ้าน จะได้มีข้าวกิน และได้ฟื้นฟูการทำข้าวไร่ หรือถ้า ชาวบ้าน ล้มยางพาราหรือปาล์ม พอมีที่ว่างก็จะ ให้ปลูกข้าว ไม่ ต้องไปหาซื้อข้าว จากที่อื่นมากิน ซึ่งสร้างความ อบอุ่นในครอบครัว ซึ่ง อยู่ในโครงการ ฟื้นฟูข้าวตรังในที่นาร้าง ดำเนินงานมาแล้วประมาณ 1 ปี สามารถขยาย เครือข่าย ออกไป ได้ประมาณ 100 ไร่ และพันธุ์ข้าวส่วนหนึ่ง ก็ได้รับพระราชทาน มา โดยท่านรองผู้ว่าฯ ได้ประสานงานกับสำนักพระราชวัง ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ ที่ปลูกในแปลงนาสวนจิตรลดา และก่อนหน้านี้ก็เคยได้รับพันธุ์ข้าว จากศูนย์วิจัยข้าว จังหวัดกระบี่ ปัจจุบันโครงการต้องใช้เนื้อที่4ไร่เพื่อเพาะพันธุ์ข้าวสำหรับปลูกในครั้งต่อไป จากการที่ได้มีโครงการ มีศูนย์เรียนรู้ การปลูกข้าวไร่ ทำให้เกษตรกร ชาวสวนยาง ตัดสินใจ ล้มต้นยางหันมาปลูกข้าว ในรอบต่อไป ประมาณ ร่วม100 ไร่ เกษตรกร ที่สนใจ เยี่ยมชม เรียนรู้ หรือ ต้องการ พันธุ์ข้าว และพันธุ์มะนาว สามารถ ติดต่อได้ที่วัดนาเมืองเพชร และท่านรองผู้ว่าฯ

หมายเลขบันทึก: 622698เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2017 10:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2017 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท