ปรากฏการณ์รอยต่อแห่งปีก้าวสู่วัฒนธรรมใหม่


ช่วง 7 วันอันตราย รอยต่อปีใหม่ปรากฏการณ์ที่ได้มีโอกาสเข้าไปร่วมเรียนรู้ด้วย คือ เรื่องของการจัดการและการตั้งรับสถานการณ์ภาวะฉุกเฉินที่เกิดขึ้นของโรงพยาบาลยโสธร และการทำงานของกลุ่มการพยาบาล


แม้ว่าจะเป็นช่วงหยุดยาวแต่บุคลากรทางด้านสาธารณสุขทั้งแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ แทบจะไม่ได้พัก ปีนี้รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาระบบบริการและสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.สุเมธี ปักหลักเป็นกำลังสำคัญในการกำกับติดตามการทำงานทั้งหน่วยฉุกเฉิน การผ่าตัด และหอผู้ป่วยหนัก ฯลฯ ทำให้การช่วยเหลือและรักษาชีวิตของผู้ป่วยทำได้ทันท่วงที อัตราการส่งต่อแทบไม่มี


พี่นวล...ทีมนำในงาน EMS จังหวัดยโสธรส่งสถิติในช่วงวันที่ 29 ธันวาคม 2559 – 4 มกราคม 2560 ให้ดูพบว่า อุบัติการณ์ของการเกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บ และเสียชีวิตเมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนๆ ลดลง สะท้อนถึงการจัดการอย่างเป็นระบบในเชิงป้องกันมากขึ้น อาจจะเป็นไปได้ว่าท่านผู้ว่าราชการจังหวัดท่านให้ความสนใจและกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด


ในส่วนของโรงพยาบาลยโสธรมีการตั้งรับและการจัดการอย่างเป็นระบบมากขึ้น

หอผู้ป่วย และทีมภารกิจกลุ่มการพยาบาลมีการตั้งรับสถานการณ์และมีความพร้อมมากยิ่งกว่าทุกๆ ครั้งจุดแข็งที่สังเกตเห็น มีอยู่ 4-5 ประเด็น ได้แก่

  • ผู้นำมีการกำกับติดตามอย่างใกล้ชิด อยู่เคียงข้างและเป็นกำลังใจ ติดตามสถานการณ์เป็นระยะๆ พร้อมช่วยแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ประทับใจพี่เม็ง-รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาลและหัวหน้าพยาบาล ตลอดจนผู้นำทางการพยาบาลทุกระดับมาร่วมด้วยช่วยกันในการบริหารจัดการและลงพื้นที่เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
  • การประสานงานโดยมีเวร supervisor เป็นกำลังหลักสำคัญในการวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนการประสานงานขอความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาต่างๆ มีการประสานงานทั้งสหสาขาวิชาชีพ และทั้งภายในองค์กร/นอกองค์กร มีการใช้ social network ให้เกิดประโยชน์เช่น กลุ่มไลน์ในการติดต่อสื่อสารและประสานงานกันอย่างรวดเร็ว
  • การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว และไหลลื่น ทำให้อุปสรรคที่ติดขัดได้รับการแก้ไข ทั้งในเรื่องการจัดการอัตตรากำลังคน การจัดการเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือ และการดูแลผู้ป่วย พี่นิด-คุณฐิรพร ผู้ช่วยหัวหน้าพยาบาลฝ่ายวิชาการและพี่หัวหน้าท่านอื่นๆ ต่างเข้าร่วมด้วยช่วยกันตลอดการเกิดปัญหาและอุปสรรค
  • ทีมและเครือข่าย สะท้อนถึงการทำงานเป็นทีมที่ชัดเจน มีการจัดการเรื่องคนและอัตรากำลังสำรองได้อย่างลงตัว ดึงศักยภาพและต้นทุนที่มีอยู่มาใช้ได้อย่างเต็มที่ ในหอผู้ป่วยที่ไม่โหลดมากมีการส่งคนทำงานมาช่วยในหน่วยที่มีผู้ป่วยแออัดและเตียงเสริม
  • นำแนวทางที่มีอยู่มาใช้ ซึ่งแนวทางการทำงานเป็น Dynamic มีการปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ปัญหาที่พบและต้องรีบแก้ไข คือ เกี่ยวกับเรื่องการใช้เครื่องช่วยหายใจ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการบริหารจัดการเรื่องเตียงและการดูแลผู้ป่วย รวมถึงแนวทางในการดูแลผู้ป่วยหนักและฉุกเฉิน


“Corporative” เป็นจุดเด่นที่ท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลให้คำชื่นชมทีมพยาบาล ในเช้าวันที่กลุ่มการพยาบาลเข้าไปสวัสดีปีใหม่ ท่านมองว่านี่เป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน การทำงานช่วยเหลือกันของพยาบาล และการแบ่งปันอุปกรณ์ ตลอดจนอัตรากำลังคนมาช่วยเสริมกันในการทำงาน


ความรักความสามัคคี และการทำงานเป็นทีม เกิดขึ้นจากที่ผู้บริหารและผู้นำทางการพยาบาลทุกระดับ เข้ามาร่วมรับรู้และหารือปรึกษา หาหนทางการช่วยเหลือ สะท้อนให้เห็นถึงความเข้าอกเข้าใจคนทำงานหนักในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่นี้ การลงพื้นที่หน้างานการเยี่ยมให้กำลังใจ และการตัดสินใจแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีทำให้เกิดขวัญและกำลังใจอย่างมาก


ชื่นชมและประทับใจกับปรากฏการณ์ใหม่ถ้าคงไว้เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็จะเกิดเป็นวัฒนธรรมใหม่เกิดขึ้นในองค์กร

...

4 มกราคม พ.ศ.2560

ถอดบทเรียนปรากฏการณ์เทศกาลปีใหม่






หมายเลขบันทึก: 621034เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2017 14:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มกราคม 2017 13:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สุดยอด ท่าน ดร.กำลังสอง มองวัฒนธรรม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท