นักศึกษากับ อาจารย์ขี้แกล้ง


สวัสดีครับ

ในตอนผมยังเป็นอาจารย์ ผมมักโดนนักศึกษาว่าอย่างเนืองๆ ว่า อาจายร์ขี้แกล้ง

เพราะอะไรหรือครับ ปัจจบันเอง นักศึกษาของผมยังไม่เข้าใจว่าผมทำไปทำไม ผมแกล้ง หรือผมไม่รู้จริง บอกอะไรที่ไม่ถูก ให้คำปรึกษา โดยให้แหล่งความรู้ที่ไม่ตรงเท่าไรนัก ทำให้นักศึกษาต้องเสียเวลาค้นคว้ากว่าจะได้คำตอบ ผมจะเฉลยให้อ่านน่ะครับ

ดังที่เคยได้ยินน่ะครับ การที่ต้องการอาหาร เราจะให้ปลา หรือ เบ็ดตกปลา........

สำหรับผม ไม่ได้ให้ปลา และเบ็ดตกปลา หรอกครับ แต่ผมให้การศึกษา การสืบค้นพฤษติกรรมการกินการอยู่ของปลา ในหลายๆ แบบ ด้วยซ่ำ......

...

เมื่อนักศึกษามีคำถาม ผมมักให้นักศึกษา ค้นคว้าเอง (ก็น่าจะดีน่ะครับ)

และผมมักจะให้นักศึกษาไปค้นขว้าจากหนังสือ โดยการบอกชื่่อหนังสือให้ไปค้นคว้าหาคำตอบเสมอๆ.......

และเมื่อผมให้ชื่อหนังสือไป ก็จะมีนักศึกษากลับมาตำหนิกผมเสมอๆ ว่า

นศ. -- อาจารย์ครับ ผมไปค้นคว้าตามหนังสือที่อาจารย์แนะนำแล้วครับ ไม่เห็นมีคำตอบที่ต้องการเลยครับ อาจารย์เข้าใจผิดอย่างมากครับ

อ. ---- อ้าว หรือครับ แล้วในหนังสือมีอะไรล่ะครับ

นศ. -- ก็บรรยายโดยรวมว่า มีนั้นมีนี้ในหนังสือ มีไม่ค่อยตรง สิ่งที่ผมอยากรู้เลยครับ (มีแต่มีน้อยไม่พอ)

อ. ---- อืม.... แล้วสิ่งที่คุณอยากรู้ได้คำตอบหรือยังครับ อยู่ที่ใด หาได้จากที่ไหน ผมจะได้รู้ไว้น่ะครับ.....

นศ. -- (ยิ้มแล้วแสดงความคับแค้นที่ต้องเสียเวลาค้นคว้าด้วยตัวเอง) ออ...ครับ ผมได้จาก หนังสือ ."..........." ครับ (นักศุึกษาก็เริ่มบรรยายความรู้ที่ค้นคว้ามา)

อ. ----- ผมยิ้มแล้วขอบคุณ นศ. (แล้ว นศ. ก็รู้ทันทีว่าผมขี้แกล้ง)

.............

การที่ นศ. ค้นคว้าหาความรู้ เจอจะแหล่งข้อมูล แรก เลย นศใ ดีใจที่ได้คำตอบเลย ก็ดีน่ะครับ

แต่การที่ นศ. หลงทาง ค้นคว้าหาความรู้โดยที่ไปพบ แหล่งข้อมูลที่ร้อย นศ. อาจจะขุ่นเคืองใจ ว่าเสียเวลาชะมัด ก็จะได้คำตอบ...

ผมแล้ว.......หากแต่ ถ้า นศ. เจอสิ่งที่ต้องการจากแหล่งความรู้แรก เลย นั้น นักศึกษาก็จะมีความรู้แค่สิ่งนั้น

หากแต่ถ้า นศ. ไปพบจากแหล่งความรู้ที่ร้อยนั้น แม้จะเสียเวลาไปบ้าง....ที่ได้รับความรู้ที่ ร้อยมาใช้ แต่สิ่งที่ได้เหนื่อจากความรู้ที่ต้องการ คือความรู้ เ้าสิบเก้าที่ไม่ใช้ ได้เข้าไปอยู่ในหัวของ นศ. แล้ว ต่างแต่ยังไม่ถูกใช้ในตอนนี้ ฉะนั้นเมื่อจำเป็นที่ต้องใช้ แล้วถูกเรียกใช้ ในความรู้ เก้าสิบเก้าที่เข้าไปอยู่ในหัวแล้ว แม้ นศ. จะจำไม่ได้ ว่าคำตอบคืออะไร แต่น่าจะจำได้ว่าจะไปหาคำตอบนั้นจากที่ไหน................


สำหรับผมแล้ว ความรู้ไม่ว่าจะค้นคว้าที่ไหนเมื่อไหร่ ไม่ได้สูญหายไปไหนเลย ก็อยู่กลับตัวที่ค้นคว้าน่ะครับ...

เพียงแต่ความรู้นั้นๆ อาจไม่ถูกนำมาใช้ในเวลานี้ ฉะนั้น ในการที่ นศ. ค้นคว้า แล้วไม่ได้คำตอบที่ตรงใจ และตรงความต้องการนั้น

ไม่ใช้การกระทำที่สูญเปล่า แต่อย่างไร ครับ จริงหรือไม๋ครับ


แต่....เดียวๆๆ มีหลายครั้ง ที่ผมสอน มักหาตัวอย่างดีๆ มาให้นักศึกษาดู แต่คำว่าตัวอย่างดี นั้น สำหรับผมแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ จริงๆ ครับ

คนส่วนใหญ่ มักเก็บตัวอย่าง หรือ ผลงาน ที่ นศ. ทำ ดีๆ งานดีๆ มาให่ดู มาแสดง แล้วบอกว่าเป็นต้ัวอย่างที่ดี.........

ทั้งๆ ที่วัตถุประสงค์ของการนำเสนอตัวอย่างที่ดี นั้นต้องการยกย่องผู้ทำก็ตาม แต่การยกย่องนั้น กลับทำให้.........


แต่ผมกลับเก็บตัวอย่างที่ห่วยๆ แล้วนำเสนอ......

นักศึกษาว่าเป็นตัวอย่างที่ดีมาก นักศึกษา....มัก งง แล้วถามผมว่านี้หรือตัวอย่างที่ดีของอาจารย์....

ผมตอบใช้ครับ เป็นตัวอย่างที่ดีมากสำหรับ เสนอให้คุณๆ รู้ว่า เป็นตัวอย่าง ที่ห่วยมากๆ ที่ดีๆ ให้ทุกคนอย่าทำ หรือทำแบบนี้ หรือเลียนแบบ เป็นตัวอย่างที่ ไม่ควรทำอย่างยิ่ง น่ะครับ......


สำหรับผมแล้วการนำตัวอย่างที่ดีมาให้ นศ. นั้น เป็นการปิดจิตนาการของ นศ. ครับ เพราะเมื่อเห็นตัวอย่างที่ดี ที่อาจารย์ว่าดี

นศ. ก็จะจดจำ แล้วมักเลียนแบบ หรือทำตามแนวทางตามตัวอย่างที่ดีๆ นั้น ทำให้ปิดจิตนาการของ นศ. เอง ไม่ให้คิดนอกกรอบ

คิดใหม่ๆ น่ะครับ

..... อาจายร์ขี้แกล้ง (อาจารย์ขี้แกล้ง)

ยังมีเรื่องสนุกๆ เกียวกับการสอน พยัณชนะไทย 44 ตัว อีกน่ัครับ.......แล้วจะพิมพ์ให้อ่านในโอกาสที่มีน่ะครับ.......



หมายเลขบันทึก: 620756เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2016 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 ธันวาคม 2016 11:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท