สิ่งที่สหรัฐไม่ได้เรียนรู้จากการปฏิรูปการศึกษาในฟินแลนด์


ระบบการเรียนของรัฐที่ได้รับคะแนนสูงๆในฟินแลนด์ ตอนนี้ได้กลายมาเป็นสิ่งที่พูดในการปฏิรูปการศึกษาในสหรัฐ มักมีการถามว่า พวกเราเรียนรู้อะไรจากฟินแลนด์? คำถามและคำตอบมีอยู่มากมาย มันดูเหมือนว่าได้เวลาที่เราจะถามถึงสิ่งที่สหรัฐไม่ได้เรียนรู้จากฟินแลนด์ ฉันเลยถาม Pasit Sahlberg ที่เป็นคนเขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงได้ตอบคำถามนี้ ซึ่งมีรายละเอียดอยู่ข้างล่าง

ในขณะที่สหรัฐกำลังมองหาการปฏิรูประบบโรงเรียนเอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเริ่มที่จะมองหาไปที่ตัวอย่างจากต่างประเทศ เพื่อมาดูว่าอะไรที่ทำแล้วได้ผล หรือไม่ได้ผล การบริหารในปัจจุบันเริ่มให้ความสนใจกับระบบโรงเรียนในต่างประเทศ ดังนั้นการประชุมทางการศึกษาที่จัดขึ้นในสหรัฐจึงมีการนำเอากรณีตัวอย่างจากต่างชาติเข้ามา พันธสัญญาที่เริ่มออกนอกกรอบนี้เกิดขึ้นมาได้ 2 ปีแล้ว เมื่อ Arne Duncan ที่เป็นเลขานุการด้านการศึกษาใส่ไว้ในรายงานชื่อ ผู้ปฏิบัติที่เข็มแข็ง และการปฏิรูปที่ประสบผลสำเร็จ: บทเรียนจาก PISA สำหรับสหรัฐอเมริกา นำเสนอโดยกลุ่มนักวิเคราะห์ (ฉันเองก็เป็นหนึ่งในนั้น) พร้อมกับ OECD (องค์กรเพื่อความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และการพัฒนา) หนึ่งในผู้ปฏิบัติที่เข็มแข็งในนั้นคือประเทศของฉัน หรือฟินแลนด์

ในระหว่างช่วยทศวรรษ ฟินแลนด์กลายมาเป็นที่ดูงานในเรื่องการปฏิรูปการศึกษาร่วมกันทั้งโลก เหตุผลหลักๆก็คือความสำเร็จในแบบทดสอบระหว่างชาติในเรื่องการอ่าน, เลข, และวิทยาศาสตร์ หรือที่รู้กันในนาม PISA (โปรแกรมการประเมินนักเรียนนาๆชาติ) ตั้งแต่มีรายงานของ OECD ฉันได้ไปเป็นแขกของผู้ว่าการ, นักบริหารการศึกษา, ครู, และผู้ปกครองในสหรัฐ อย่างไรก็ตามฉันไปเป็นแขก เพราะประชาชนต้องการที่ฟังถึงการศึกษาในฟินแลนด์ และความสำเร็จของมัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกเขาต้องการจะเข้าถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาในฟินแลนด์

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ฉันต้องพูดก็ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาอยากได้ยิน ในขณะที่เป็นความจริงที่ว่าพวกเราสามารถเรียนรู้ได้จากระบบในต่างชาติ และใช้กรณีศึกษามาเป็นพื้นฐานเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจเรื่องของพวกเราเอง แต่เราไม่สามารถเลียนแบบพวกเขาได้หรอก แล้วสิ่งที่สหรัฐไม่สามารถเรียนรู้จากฟินแลนด์คืออะไร? อันดับแรก ถึงแม้ว่าฟินแลนด์จะแสดงให้เห็นว่าโอกาสที่เท่าเทียมกันนั้นมีอยู่ แต่อเมริกาไม่สามารถจะทำให้เกิดความยุติธรรม (equity) หากไม่เปลี่ยนแปลงการจัดการระดับพื้นฐาน ในระบบโรงเรียน คำว่าการจัดการะดับพื้นฐาน มี 3 ประเด็น ดังจะได้กล่าวต่อไป

อันดับแรกการให้เงินโรงเรียน โรงเรียนฟินแลนด์มีการให้เงินอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะอยู่แห่งใดก็ตาม อันดับ 2 คือ สุขภาพของเด็ก ในทางกฎหมาย เด็กๆทุกคนในฟินแลนด์เข้าถึงการเลี้ยงดู, การรักษาสุขภาพอนามัย, และเรียนในโรงเรียนในชุมชนในระดับก่อนการเข้าเรียน ทุกๆโรงเรียนจะต้องมีทีมสวัสดิการสำหรับเด็กๆ เพื่อที่จะความสุขให้กับเด็กในโรงเรียน อันดับ 3 การศึกษาคือสิทธิมนุษยชน การศึกษาตั้งแต่ก่อนการเรียนจนถึงมหาวิทยาลัยไม่มีการเก็บค่าเล่าเรียน สิ่งนี้ทำให้การศึกษาในระดับสูงเป็นสิ่งที่ง่ายและเข้าถึงได้กับทุกคน ตราบใดที่ทั้ง 3 สิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้น โมเดลความเท่าเทียมกันของฟินแลนด์ก็ไม่ดังถึงสหรัฐหรอก

อันดับ 2 จะมีการเน้นที่ความมีอิสระของโรงเรียน และความเป็นมืออาชีพของครู และสองอย่างนี้เป็นปัจจัยหลักในการอธิบายการปฏิบัติการเรื่องการศึกษาที่เข็มแข็งในฟินแลนด์ โรงเรียนเป็นผู้แต่งหลักๆของหลักสูตร และครูมีหน้าที่เพียงแค่เฝ้าดูความก้าวหน้าของนักเรียน ในฟินแลนด์ จะมีความเชื่อมั่นในโรงเรียนและตัวครูในเรื่องภาระหน้าที่ที่ตนมีอยู่เป็นอย่างมาก จะไม่มีตัวแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น แบบทดสอบมาตรฐานมาบีบบังคับนักเรียน สำหรับการวิเคราะห์การประกอบการด้านการศึกษาแห่งชาตินั้น เราเพียงแค่ทำกับเด็กเพียงเล็กน้อยในฐานะตัวอย่าง ในสหรัฐ จะไม่มีการออกแบบหลักสูตร หรือการประเมินนักเรียนกับโรงเรียนหรือครูเป็นอันขาด ตอนนี้ยังไม่มีความเชื่อมั่นของสาธารณะในเรื่องเหล่านี้เลย ที่สหรัฐ ระบบการฝึกหัดครูก็เป็นขั้นที่สำคัญ

ฟินแลนด์ คือบ้านของการฝึกหัดครู ซึ่งแตกต่างจากสหรัฐ การสอนยังคงเป็นตัวเลือกระดับต้นๆในหมู่เยาวชน ครูในฟินแลนด์มีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งใกล้เคียงกับหมอแระทนายความ จะมี 8 มหาวิทยาลัยที่มีการฝึกหัดครูในฟินแลนด์ และทุกๆโปรแกรมการฝึกหัดครูจะมีมาตรฐานระดับสูงเหมือนกันทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้น ครูต้องจบปริญญาโท และทำงานวิจัยได้

จริงๆแล้วการสอนเป็นอาชีพที่พึงปรารถนา ในมหาวิทยาลัย Helsinki ที่ที่ฉันสอนนอกเวลา ได้รับผู้สมัครถึง 2,300 คน ในโปรแกรมการศึกษา ในโปรแกรมการสอน ครูจะต้องมีการเตรียมตัวเพื่อออกแบบหลักสูตรของตนเอง, ประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนของตน, และพัฒนาการสอนและโรงเรียนด้วยตนเอง เมื่อสหรัฐเริ่มที่จะพัฒนาครูเพื่อการสอน แต่พวกครูในสหรัฐไม่เคยได้รับความเท่าเทียมในลักษณะเดียวกัน, ความเชื่อมั่นสาธารณะ, และความเป็นอิสระ

อันดับ 3 ผู้เข้ามาเยี่ยมชมจำนวนมากที่มาในฟินแลนด์ จะมาที่โรงเรียนที่มีนวัตกรรมการสอน และเทคโนโลยีที่จัดมาโดยรัฐ อย่างไรก็ตาม พวกเขามองการสอนของครูและการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ดีๆได้ในสหรัฐ ผู้เยี่ยมชมบางท่านเรียกสิ่งนี้ว่าการอนุรักษ์การสอน (pedagogical conservatism) หรือการสอนที่ผ่อนคลายและไม่เป็นทางการ เพราะว่าสิ่งนี้ไม่ค่อยปรากฏในห้องเรียนทั่วไป

ความยอกย้อนขอความสำเร็จทางการศึกษาในฟินแลนด์ ถึงที่สุดแล้ว ได้มาจากนวัตกรรมในห้องเรียน และการวิจัยเพื่อการพัฒนาในสหรัฐซะเป็นส่วนใหญ่ การเรียนรู้แบบร่วมมือ และการประเมินสมุดสะสมผลงาน (portfolio) คือตัวอย่างที่ได้มาจากอเมริกา แต่นำมาใช้กับโรงเรียนส่วนใหญ่ในฟินแลนด์

สำหรับผู้คนที่มาดูระบบการศึกษาในฟินแลนด์ เหมือนกับว่าเป็นโมเดลที่เป็นไปได้ในการปฏิรูปสำหรับสหรัฐชี้ให้เห็นว่าทั้งสองประเทศมีความแตกต่างกัน ในการเปรียบเทียบกัน จะมีความแตกต่างเพียงข้อเดียวที่สำคัญมากๆ ที่ถูกมองข้ามไป และความแตกต่างข้อนี้สำคัญต่อความเข้าใจว่าเหตุใดทั้งสองประเทศจึงมีความแตกต่างกัน

ในสหรัฐ การศึกษาถูกมองว่าเป็นความพยายามส่วนบุคคล ที่นำไปสู่ความดีของปัจเจก สุดท้ายแล้วการปฏิบัติของนักเรียน และครูจึงเป็นข้อโต้แย้งกันในเรื่องปฏิรูปการศึกษา ในทางตรงกันข้าม การศึกษาในฟินแลนด์ถูกมองว่าเป็นความพยายามเชิงสาธารณะ และสนับสนุนจุดมุ่งหมายเชิงสาธารณะด้วย ดังนั้น การปฏิรูปการศึกษาในฟินแลนด์จึงถูกประเมินมากในเรื่องระบบสามารถให้ความยุติธรรมแก่ผู้เรียนที่แตกต่างได้อย่างไร สิ่งนี้อธิบายถึงความแตกต่างระหว่างอเมริกันที่มัวแต่สอบแบบทดสอบเชิงมาตรฐาน กับฟินแลนด์ที่มีแต่การวัดความสามารถของโรงเรียนในการจัดการกับความแตกต่างของผู้เรียน และความไม่เท่าเทียมทางสังคม สรุปว่าอเมริกาเน้นความสุดยอด และฟินแลนด์เน้นความยุติธรรม

คุณภาพและความยุติธรรมในการศึกษาจะต้องมองว่าเป็นเหมือนพันธะสัญญา จากการมองในระดับโลก OECD ให้ข้อสรุปว่า “ ระบบการศึกษาที่เน้นให้คนปฏิบัติได้ในระดับสูง จากสมาชิกของ OECD คือการผสมกันระหว่างคุณภาพกับความยุติธรรม”

สิ่งที่ฟินแลนด์ได้แสดงให้คนอื่นๆเห็นก็คือวิธีการนำความยุติธรรม และความเสมอภาคในการศึกษาว่ามีลักษณะอย่างไร อย่างไรก็ตาม นักปฏิรูปในอเมริกาจะต้องพิจารณาการนำความยุติธรรมที่มาจากฟินแลนด์ไว้ให้ดี องค์ประกอบหลายอย่างในความสำเร็จทางการศึกษาในฟินแลนด์มาพร้อมกับสวัสดิการทางสังคม บางครั้งสวัสดิการทางสังคมคือเหตุผลของความล้มเหลวในสหรัฐ

แปลและเรียบเรียงจาก

Valerie Strauss. What the U.S. can’t learn from Finland about ed reform

https://www.washingtonpost.com/blogs/answer-sheet/post/what-the-us-cant-learn-from-finland-about-ed-reform/2012/04/16/gIQAGIvVMT_blog.html?tid=a_inl

หมายเลขบันทึก: 620371เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2016 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2016 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท