สรุปความรู้ที่ได้รับ การให้การศึกษาในศตวรรษที่ 21


แบบบันทึกรายงานการประชุมสัมมนา

การจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในศตวรรษที่ 21

โดยรองศาสตราจารย์ดร.ชาตรี ฝ่ายคำตา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันเสาร์ ที่ 5 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา อาคาร 9 ชั้น 3

**************************************

สรุปความรู้ที่ได้รับ

การให้การศึกษาในศตวรรษที่ 21

การศึกษาที่มีความยืดหยุ่น สร้างสรรค์ ท้าทาย และซับซ้อนนั้น เป็นการศึกษาที่จะทำให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็วและเต็มไปด้วยสิ่งที่มีความท้าทาย สร้างสรรค์ จินตนาการ รวมทั้งโอกาสและสิ่งสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่น่าตื่นเต้น อยากรู้อยากเห็น ซึ่งโรงเรียนในศตวรรษที่ 21 เป็นหลักสูตรที่เน้นให้นักเรียนได้สัมผัสกับความเป็นจริงหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวันที่สามารถนำไปใช้ได้จริง และไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้นแต่นักเรียนสามารถที่จะศึกษาค้นคว้าได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และครู นักเรียนสามารถที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าสู่ขุมคลังแห่งความรู้ทั่วโลก ครูเองจะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือ คอยให้คำแนะนำ ส่วนนักเรียนเองก็จะเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้คอยรับความรู้เพียงอย่างเดียวไปเป็นผู้ที่ต้องศึกษา ค้นคว้า หาข้อมูล และปฏิบัติด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยืน และเป็นการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการเรียนรู้ตลอดเวลา จนเป็นวัฒนธรรม

สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

1. สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21

2. เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล

3. ครูมีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือและกลยุทธ์การเรียนการสอนไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียน

4. เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21st Century Skills)

วิจารณ์ พานิช (2555: 16-21) ได้กล่าวถึงทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ดังนี้
สาระวิชาก็มีความสำคัญ แต่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจุบันการเรียนรู้สาระวิชา (content หรือ subject matter) ควรเป็นการเรียนจากการค้นคว้าเองของศิษย์ โดยครูช่วยแนะนำ และช่วยออกแบบกิจกรรมที่ช่วยให้นักเรียนแต่ละคนสามารถประเมินความก้าวหน้าของการเรียนรู้ของตนเองได้

สาระวิชาหลัก (Core Subjects) ประกอบด้วย
ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
โดยวิชาแกนหลักนี้จะนำมาสู่การกำหนดเป็นกรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์สำคัญต่อการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ (Interdisciplinary) หรือหัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมความเข้าใจในเนื้อหาวิชาแกนหลัก และสอดแทรกทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในทุกวิชาแกนหลัก ดังนี้

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ความรู้เกี่ยวกับโลก (Global Awareness)
ความรู้เกี่ยวกับการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ (Financial, Economics, Business and Entrepreneurial Literacy)
ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี (Civic Literacy)
ความรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy)
ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Literacy)

ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม

เป็นตัวกำหนดความพร้อมของนักเรียนเข้าสู่โลกการทำงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่
ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
การสื่อสารและการร่วมมือ

ทักษะด้านสารสนเทศ

สื่อ และเทคโนโลยี เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านทางสื่อและเทคโนโลยีมากมาย ผู้เรียนจึงต้องมีความสามารถในการแสดงทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและปฏิบัติงานได้หลากหลาย โดยอาศัยความรู้ในหลายด้าน ดังนี้
ความรู้ด้านสารสนเทศ
ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
ความรู้ด้านเทคโนโลยี

ทักษะด้านชีวิตและอาชีพ

ในการดำรงชีวิตและทำงานในยุคปัจจุบันให้ประสบความสำเร็จ นักเรียนจะต้องพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญดังต่อไปนี้
ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
การเป็นผู้สร้างหรือผู้ผลิต (Productivity) และความรับผิดชอบเชื่อถือได้ (Accountability)
ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Responsibility)

21 st-Centuary Skill

Foundational Literacies

Competencies

Character Quantities

1. Literacy

2. Numeracy

3. Scientific Literacy

4. ICT Literacy

5. Cultural and civic Literacy

6. Financial Literacy

7. Critical thinking problem-solving

8. Creativity

9. Communication

10. Collaboration

11. Curiosity

12. Initiative

13. Resistance grit

14. Adaptability

15. Leadership

16. Social and cultural aware nets



การทำงานของสมองทั้งซีกซ้ายและขวามีการทำงานต่างๆ ดังภาพ

ประสบการณ์

ซีกซ้าย = การวิเคราะห์

ซีกขวา = การออกแบบ/สร้างสรรค์

- ตัดสินใจใช้เหตุผล

- สนใจรายละเอียด

- อยู่บนพื้นฐานของความจริงมากกว่าการคาดการณ์

- มีความสามารถในการเลือกใช้ศัพท์และมีความสามารถทางภาษา

- สนใจในอดีตมากกว่าในอนาคต

- มีความสามารถทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

-มีความสามารถในการเข้าใจเรื่องที่ซับซ้อนได้เร็ว

- รอบรู้

-

- ให้ความสำคัญกับอารมณ์และความรู้สึก

- ตัดสินใจจากภาพรวมมากกว่ารายละเอียด

- มีจินตนาการสูง

- มีความสามารถทางตรรกศาสตร์

- สนใจในอนาคตมากกว่าอดีต

- สนใจในทางปรัชญาและศาสนา

- เข้าในประเด็นคนอื่นสื่อสารได้ดี

- ลึกซึ้งเรื่องต่างๆ

- เป็นที่นิยมชมชอบ

- โยงประเด็นและความเกี่ยวเนื่องของเรื่องราวต่างๆ ได้ดี

- ชอบฝันเฟื่อง

ศตวรรษที่ 21 ต้องเกิดจากการที่ผู้เรียนมีความสงสัย ดังนี้

1. อะไรคือปัญหา

2. เราต้องการอะไร

ธรรมชาติของมนุษย์ส่วนใหญ่ล้วนมีความต้องการ ดังนี้

อยากรู้อยากเห็น Ü วิทยาศาสตร์

รักสบาย/ต้องการ(needs)ไม่สิ้นสุด Ü เทคโนโลยี/นวัตกรรม

ลักษณะของปัญหา

1. ต้องมีลักษณะที่ต้องคลุมเครือ หรือที่เรียนกว่า ill-stratured problem = ปัญหาที่อยู่ในสถานการณ์ซึ่งไม่มีข้อมูลที่จะนำไปสู่คำตอบจนเป็นปัญหาที่สามารถใช้วิธีการหลายวิธีการเพื่อแก้ปัญหามีค่าได้หลายคำตอบ

2. เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน หรือเกิดขึ้นโดยตรงของประสบการณ์ผู้เรียน

3. นำไปสู่ผลการเรียนรู้ ที่คาดหวังหรือตัวชี้วัดในมาตรฐานการเรียนรู้ เพื่อที่จะนำผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐาน

4. ประกอบจากแนวคิดกฎ


การวิจัยไม่(อ)ยาก...อย่างที่คิด

บทความวิจัย

การพัฒนาทักษะการเขียนบทสรุปและผลการทดลอง ของรายวิชาปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป 1 วิไลพร ลัษณ์วินิชย์ นภารัตน์ จิวาลักษณ์

วิจัยทางการศึกษาประกอบด้วย

  • หลักสูตร

2.การเรียนรู้

3.การสอน

4.การวัดและประเมินผล

5.การบริหารการศึกษา

6.นโยบายทางการศึกษา

7.การผลิตและพัฒนาวิชาชีพครู

เทคนิคการสอนประกอบด้วย

  • การใช้คำถามขั้นสูง

2.การใช้แผนผังความคิด

3.การใช้เกมส์

ลักษณะคำถามวิจัยที่ดี

  • มีความเฉพาะเจาะจงสามารถหาคำตอบได้
  • เป็นคำถามที่ต้องหาคำตอบด้วยกระบวนการวิจัย เช่น การสอนที่เน้นการทดลองทำให้นักเรียนเรียนรู้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์อย่างไร ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบทดลองอย่างไรเพื่อให้นักเรียนเกิดแนวคิดทางวิทยาศาสตร์

2.อยู่ในรูปประโยคคำถามว่าอย่างไร อะไร

สิ่งที่ต้องพิจารณา

1. คุณค่าของบทความวิจัย (แนวคิดใหม่/นำไปใช้ได้จริง/นำไปใช้ได้จริง/ชี้นำทางสังคม)

2. ชื่อเรื่อง (ใช้คำที่มีความหมายชัดเจน/เขียนกะทัดรัด/ดึงดูดน่าสนใจ)

3. ความสำคัญของปัญหา (ระบุให้ชัดเจนถึงที่มาและความสำคัญของปัญหาที่จะศึกษา/แสดงหลักฐานของปัญหาและความสำคัญในเรื่องที่จะศึกษา)

4. เนื้อหา (รวบรวมเนื้อหาจากการวิเคราะห์/สังเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง/กรอบแนวคิดที่ชัดเจน/ประสบการณ์ของผู้เขียน)

5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ (ชี้นำทิศทางที่ชัดเจน สามารถนำไปใช้ได้จริง)

จาการเข้าร่วมอบรมสัมมนาการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในศตวรรษที่ 21 ทำให้ได้รับความรู้ทักษะและประโยชน์ที่จะนาไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน มีรายะเอียดดังนี้

1. ความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยในศตวรรษที่ 21

2. การวิเคราะห์ในปัญหาและความต้องการในศตวรรษที่ 21

3. การประยุกต์เข้ากับสาขาวิชาต่างๆ

4. การวิจัยทางการศึกษาและเทคนิคการสอน

5. รูปแบบการวิจัยทางการศึกษา

*******************************************************************

หมายเลขบันทึก: 620312เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2016 00:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2016 00:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท