การทำงานของนักสังคมสงเคราะห์ผู้ป่วยนอก


นักสังคมสงเคราะห์ผู้ป่วยนอก
นักสังคมสงเคราะห์ผู้ป่วยนอก 3 คนรับผิดชอบด้านไหนบ้าง
1.หัวหน้าหน่วยคือ นางเมธินี เจ้าทรัพย์ นักสังคมสงเคราะห์ 8 ชำนาญการรับผิดชอบงานบริการหลัก คือผู้พิการ ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยทั่วๆไป โดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำ ช่วยเหลือจนผู้ป่วยเข้าใจในสิทธิสามารถใช้สิทธิถูกต้อง ในการให้ความช่วยเหลือมีขั้นตอนการทำงานดังนี้ คือ 1. การหาข้อเท็จจริงโดยการสัมภาษณ์ พูดคุย สังเกต เยี่ยมบ้าน และพัฒนาใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นที่หาข้อมูลโดยใช้เวบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพให้เป็นประโยชน์โดยพิมพ์สิทธิผู้ป่วยออกจากเวบสปสช
2.นำข้อมูลมาวิเคราะห์หรือวินิจฉัยเพื่อ่3. วางแผนในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ 4.ดำเนินการช่วยเหลือ 5.ติดตาม ประเมินผลว่าได้ช่วยเหลือสำเร็จหรือไม่ ควรยุติความช่วยเหลือรึยัง
ยกตัวอย่าง ผู้ป่วยมาพบเพราะต้องการพาบุตรมาจดทะเบียนผู้พิการ จะมีการเช็คข้อมูลจากเวบสปสชก่อนว่าตอนนี้มีสิทธิอะไร ถ้าจดทะเบียนผู้พิการแล้วจะขึ้นสิทธิเป็นท 74 นักสังคมก็จะอธิบายโดยเอาตัวอย่างสมุดประจำตัวผู้พิการให้ดู  เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบสมุดเกือบทุกปีทำให้ผู้พิการไม่เข้าใจว่าตัวเองมีสมุดแล้ว หลังจากอะบายจนผู้ป่วยเข้าใจสิทธิบัตรทองท 74 ก็พิมพ์ใบแสดงสิทธิให้ผู้ป่วยนำไปขอบัตรทองท 74กับทางสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลอำเภอ
หน้าที่ 2 ด้านบริหารงานในหน่วยฯซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้บริหารให้ดูแลตรวจสิทธิให้ผู้ป่วยซึ่งได้มอบหมายงานนี้ให้นักสังคมสงเคราะห์ซึ่งเป็นรองหัวหน้าหน่วยสังคมสงเคราะห์ผู้ป่วยนอกรับผิดชอบ ทำให้อัตรากำลังในหน่วยฯขาดไป  ส่วนนักสังคมสงเคราะห์อีกคนรับผิดชอบในเรื่องผู้ป่วยเด็กถูกละเมิด และปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้างานสังคมสงเคราะห์ ซึ่งเป็นภาระหนักมาตลอดตั้งแต่ปี 2541-จนปัจจุบัน 
2.นักสังคมสงเคราะห์ระดับ 6 (รองหัวหน้าหน่วยสังคมสงเคราะห์ผู้ป่วยนอก)รับผิดชอบจุดตรวจสิทธิบัตร ที่ทำงานประจำคือ เคาทเตอร์หน้าห้องเวชระเบียน ชื่อ คุณ จิตรโสภา โททุโย
3. นักสังคมสงเคราะห์ 5 คุณบุญยรัตน์ วรรณทิพย์ (ชื่อเดิม คือ มนรดา)
รับผิดชอบงานด้านสิทธิเด็ก  และทำงานประจำ คือ รับให้คำปรึกษาผู้ป่วยนอกทั่วไป ฉุกเฉิน จิตเวช
-ขอแก้ไขอัตรากำลังใหม่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเหมือนคลื่อนแต่ละอาทิตย์ไม่เหมือนเดิม ขอแก้ไขตัดคุณจิตรโสภาออกจากหน่วยสังคมสงเคราะห์ผู้ป่วยนอกเนื่องจากมีการปรับแผนตามนโยบายผู้บริหารซึ่งจะพัฒนาจุดตรวจสิทธิบัตรเป็นหน่วยใหม่เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องสิทธิข้าราชการซึ่งจะใช้สิทธิในการรักาพยาบาลโดยไม่ต้องจ่ายเงิน   จาการสอบถามหัวหน้างานสังคมสงเคราะห์กลับมาเปลี่ยนแปลงคุณจิตรโสภากลับมาอยู่ผู้ป่วยนอกอีก
เมื่อวานประชุมงานสังคมสงเคราะห์ตกลงเพื่อให้น้องได้การยกย่องเป็นหัวหน้าจุด 30 บาทต้องยอมตัดใจปล่อยตัดตำแหน่งรองหัวหน้าหน่วยผู้ป่วยนอกออก เพื่อความเจริญรุ่งเรืองให้จุด 30 บาทเป็นหน่วยเต็มตัว  ทำให้ต้องเหนื่อยหาคนมาทดแทนแม้มักจะยากก็คงต้องลองดู (24/11/2549)
คำสำคัญ (Tags): #ผู้ป่วยนอก
หมายเลขบันทึก: 62015เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 00:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท