:: กิจกรรมบำบัดพัฒนาชีวิต ::


แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ Community Survivor & Learning skill ทางกิจกรรมบำบัด

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆในหัวข้อ Community Survivor & Learning skill โดยเรื่องที่นำมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในห้องเป็นเคสที่ไปสัมภาษณ์เพื่อนสมัยมัธยมปลายที่ป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งหัวข้อหลักๆที่นำไปสัมภาษณ์เพื่อน ม.ปลายคือ การทำกิจวัตรประจำวัน(ADLs)ในช่วงที่รักษาตัวอยู่

อาการเริ่มแรก

มีอาการปวดบริเวณหลังและขาขณะที่ยกขาเดินหรือขึ้นบันได ส่งผลกระทบต่อการเรียน(education) เป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วงม.ปลายต้องเดินเปลี่ยนห้องเรียนเมื่อหมดคาบ

ช่วงหลังผ่าตัด

ไม่สามารถเดินได้ เนื่องจากมีอาการอ่อนแรงที่ขา ทำให้ต้องนอนบนเตียง

การปรับตัวในการทำADLs

Bathing,showering >> ใช้การเช็ดตัวบนเตียงแทนการอาบน้ำ โดยมีผู้ปกครองในการช่วยดูแล แต่ในช่วงหลังที่เริ่มเดินได้ เพื่อนเข้าไปอาบน้ำในห้องน้ำโดยใช้การนั่งอาบ

Toileting and toilet hygiene >> อุจจาระ และ ปัสสาวะบนเตียง โดยมีโถอยู่ข้างเตียงแต่มีผู้ปกครองในการช่วยดูแล

Dressing >> เปลี่ยนมาใส่เสื้อแบบผ่าหน้า หรือที่มีกระดุมด้านข้างเหมือนกับเสื้อในโรงพยาบาลแทน

Feeding >> ในช่วงแรกใช้นอนกินบนเตียง แต่ในระยะหลังๆมีการปรับที่นอนให้เอนสูงขึ้นหรือนำหมอนมาพิงให้เป็นนั่งกิน ซึ่งเพื่อนสามารถใช้มือในการตักอาหารกินเองได้ตามปกติ

Function mobility >> ในช่วงแรกผู้ปกครองเป็นคนยกเมื่อต้องการจะไปที่อื่น แต่ในช่วงหลักมีการฝึกใช้ walker ช่วยเดินโดยเริ่มจากฝึกเดินรอบๆเตียง และเดินไปห้องน้ำ

Personal hygiene and grooming >> สามารถแปรงฟัน ล้างหน้าได้เอง แต่อยู่บนเตียงโดยผู้ปกครองเตรียมขันและน้ำมาให้

{ ซึ่งข้อมูลต่างๆเพิ่มเติมที่แลกเปลี่ยนกับเพื่อนในห้องตามรูปด้านล่างเลยค่ะ ^^ ????}


:: อธิบายเพิ่มเติมจากรูป ::

- ตารางระดับ Pain scale ในระยะ Post-operation จากการสอบถาม เพื่อนไม่มีอาการเจ็บหลังการผ่าตัดแต่เป็นอาการแบบตึงๆ จึงให้อยู่ในระดับ 10%

- ตารางระดับ care giver assist ที่ใส่เป็น 100% ในระยะ Post-operation และ Recovery นั้นเนื่องจากถึงเพื่อนจะสามารถทำ ADLs เองได้ในบางหัวข้อแล้ว แต่ยังทำเองไม่ได้อย่างอิสระในทุกขั้นตอน ต้องให้ผู้ปกครองช่วยอยู่ในทุกๆ ADLs เช่น สามารถแปรงฟันเองได้ แต่ยังให้ผู้ปกครองเตรียมขันมารองให้ ไม่สามารถลุกขึ้นไปแปรงในห้องน้ำได้เองอย่างอิสระ

จากการได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนหลายๆคนในห้องก็ทำให้ได้เห็นเคสที่หลากหลาย ทั้งทางกาย ทางจิต ซึ่งเคสที่เพื่อนแต่ละคนนำมาก็มาจากเรื่องราวของบุคคลใกล้ตัว และก็ได้มีการอภิปรายกันว่าเราในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัดเราจะสามารถนำความรู้ที่มีไปช่วยในการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถในการทำกิจวัตรประวันให้กับคนใกล้ตัวเราอย่างไร ซึ่งทำให้รู้ว่า นักกิจกรรมบำบัดนอกจากจะใช้ความรู้ไปฟื้นฟูคุณภาพชีวิตคนไข้แล้ว เราก็ทำให้คนรอบตัวเราและคนที่เรารักมีคุณภาพชีวิตที่ดีครบทั้ง art of doing, well-being และ quality of life ได้ โดยการเริ่มต้นง่ายแค่สังเกตและใส่ใจคนใกล้ตัวเราเท่านั้นเอง

ขอบคุณค่ะ ^^

หมายเลขบันทึก: 620070เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท