ภาพหลัง



ปีพุทธศักราช 2511 มีเด็กกำเนิดในครอบครัวสามัญชนที่ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย โดยพื้นฐานทางครอบครัวแบบพื้นบ้านอีสาน หัวหน้าครอบครัวเป็นข้าราชการครู พอที่จะดูแลครอบครัวเขาได้ตามฐานะทางสังคมแบบชนบท รวมสมาชิกทั้งหมดในครอบครัว จำนวน 12 คน

เด็กชายที่เกิดเป็นบุตรคนที่ 8 เมื่อจดจำความได้เห็นภาพการดำเนินชีวิตของพ่อแม่ พี่น้อง ด้วยอายุวุฒิภาวะ ปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ และญาติที่รักและห่วงใยเด็กน้อยเสมอ ด้วยตัวอ้วนจ้ำม่ำ น่ารักน่าชัง ใครจะอุ้มไปโยนไว้ที่ไหนอยู่กับใครก็ไม่มีงอแง เลี้ยงง่ายกินง่ายหลับง่าย

ทำให้เด็กคนนั้นมองเห็นด้วยความที่ไม่เข้าใจ และเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ ของการดำเนินชีวิตแบบชาวบ้านที่มีเรื่องราวทางการใช้ชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ แบบชาวบ้านตามกาลเวลาเข้าถึงอายุปัจจุบัน

แต่ด้วยประสบการณ์ทั้งเรื่องดี และไม่ดี เห็นภาพเหตุการณ์ต่างๆ ทางสังคม ตลอดชีวิตความเป็นอยู่ ทั้งฐานะทางสังคมที่แตกต่าง การอยู่ร่วมกันตามช่วงวัย ปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบันที่มีคนเรียกเด็กคนนั้นว่าเป็น Gen Y หรือ ยุค Millennials ซึ่งก็คือคนที่เกิดอยู่ในช่วงปี พ.ศ. 2523–2540 คนกลุ่มนี้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง (หัวเราะชอบใจ หรือภูมิใจดี)

การที่ได้เกิดมานานเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่ง ที่ได้พบเจอเห็นเรื่องราวที่มีและไม่มีคุณค่าต่อการนำประกอบปรับใช้ในชีวิตการดำรงอยู่กับผู้คนในสังคมโลกโลกาภิวัตน์นี้ได้อย่างมีสุขบ้าง ทุกข์บ้าง แต่ก็สามารถผ่านมาได้เสมอ รู้สึกมีความสุขทุกครั้งทีได้นำประสบการณ์ที่ผ่านมา และได้นำเรื่องราวดีและไม่ดีต่างๆ ทั้งอดีตและปัจจุบันมาปรับใช้ในการประกอบวิชาชีพของตำแหน่งข้าราชการครู และภูมิใจ อิ่มใจ มันเป็นความรู้สึกที่ดีอยู่ข้างในกายตนเสมอ ที่มีโอกาสได้ช่วยเหลือเด็กหรือเยาวชน ทั้งด้านการปฏิบัติตัว ความรู้สึกนึกคิด พอที่จะแนะนำเด็กที่ทั้งยอมรับฟังในวันนี้หรืออาจจะไม่ใส่ใจฟัง แต่เมื่อเวลาได้ผ่านเด็กน้อยคนหนึ่งได้นึกย้อนถึงตัวเอง ก็เคยผ่านการปฏิบัติตัวและมีเรื่องราวที่คล้ายกับชีวิตของเด็กๆ ที่ได้พบสามารถแก้ไข แนะนำทั้งทางที่ดีงามและเส้นทางที่เรียกว่าปัญหา หวังให้เด็กเหล่านั้นต้องมีวันหนึ่งที่เขาภูมิใจเช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #ขอพลัง
หมายเลขบันทึก: 619657เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2016 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ธันวาคม 2016 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท