ศึกษาดูงาน วันที่ ๒๔ พย ๕๙



บันทึกการเดินทาง

ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี

ในวันพฤหัสบดี ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ของ นิสิต พระพรชัย สุตนฺติโก (นนทมาร) ชั้นปีที่ ๒ เลขที่ ๑๔

แหล่งเรียนรู้ที่นิสิตไปศึกษาเรียนรู้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ อย่างไรบ้าง

ห้องจัดแสดงที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปของจังหวัดอุบลราชธานี

อุบลราชธานีตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างหรืออีสานใต้ตัวจังหวัดตั้งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำมูลมีพื้นที่ประมาณ 11,112 ตารางกิโลเมตร 10.0 ล้านไร่คิดเป็นร้อยละ 9.5 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถไฟประมาณ 575 กม. และทางรถยนต์ประมาณ 629 กม. อุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของอีสานตอนล่างครอบคลุมพื้นที่ราบและแม่น้ำสำคัญหลายสายของภาคอีสานเช่นแม่น้ำชีแม่น้ำมูลแม่น้ำโขงและลำน้ำสาขาน้อยใหญ่ที่ยังอุดมสมบูรณ์และให้ความชุ่มชื้นแก่พื้นดินทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์พืชและสัตว์ตั้งแต่บรรพกาลหลักฐานการอยู่อาศัยของมนุษย์ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีปรากฏขึ้นเมื่อราว 10,000 ปีมาแล้วได้พบเครื่องมือเครื่องเครื่องใช้ที่ทำจากหินที่ถ้ำตาลาวนับแต่นั้นมาล่องลอยอารยธรรมก็เริ่มชัดเจนขึ้นมีการขยายกลุ่มสังคมจากชุมชนเล็กๆเป็นชุมชนใหญ่รู้จักทำภาชนะดินเผาขึ้นมาใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยโลหะรวมไปถึงการสร้างสรรค์ประติมากรรมเนื่องจากความเชื่อและพิธีกรรมตามรูปแบบของสังคมนิยมดั้งเดิมนับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นต้นมาชุมชนดั้งเดิมก็กระจายกันอยู่ตามบริเวณราบอันใหญ่กว้างของจังหวัดอุบลราชธานีได้เวลาการเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์เริ่มมีบันทึกเรื่องราวด้วยอักษรสร้างรูปเคารพ ก่อสร้างศา

สนสถาน ระบบสังคม การดำรงชีวิตจังหวัดอุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่ท้าวคำผงหรือพระประทุมสุรราชภักดีซึ่งเป็นหลานของพระวรกับพระตาเป็นผู้ก่อตั้ง ท้าวคำผงท่านเป็นคนลาวเวียงจันทร์

จะเห็นได้ว่าจังหวัดอุบลชองเราถ้าเขาจะเรียกว่าลาวก็คงไม่ผิดเพราะต้นกำเนิดที่มาก่อตั้งจังหวัดของเราเป็นคนลาว และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๓๕ อุบลราชธานีศรีวนาลัยได้ตั้งแต่งเป็นจังหวัดในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปัจจุบัน จังหวัดอุบลราชธานีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 25 อำเภอ 219 ตำบล 2469 หมู่บ้าน


ห้องจัดแสดงที่ ๒ สมัยประวัติศาสตร์

จัดแสดงข้อมูลและหลักฐานทางโบราณคดี ประกอบด้วยโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เช่น เครื่องมือหิน กลองมโหระทึก ภาชนะดินเผารูปทรงต่าง ๆ เครื่องใช้และเครื่องประดับสำริด รวมทั้งอาวุธที่ทำจากสำริดและเหล็ก ที่ผนังจะมีภาพเขียนสีจำลองจากแหล่งภาพเขียนสีผาแต้ม ซึ่งเป็นแหล่งภาพเขียนสีที่สำคัญในเขตอำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี



วัฒนธรรมขอมหรือเขมรสมัยเมืองพระนครพุทธศตวรรษที่ 15-18

ในห้องนี้จะแสดงเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ที่เด่นๆก็คือ “อรรธนารีศวร” หินทรายอายุพุทธศตวรรษที่ 13 พบที่จังหวัดอุบลราชธานีลักษณะประติมากรรมสลักเป็นรูปพระศิวะและพระอุมารวมกันเป็นองค์เดียวประทับขัดสมาธิบนฐานบัวหงายยกพระกรทั้งสองข้างขึ้นเหนือพระเพลาพระหัสหักหายไปพระพักตร์ค่อนข้างยาวพระเนตรที่ 3 ปรากฏอยู่กึ่งกลางพระนลาฏพระเกศเกล้าสูงทรงกุณฑลขนาดใหญ่และพาหุรัดลายดอกไม้กรองศกเรียบไม่มีลวดลายและยังมีการจัดแสดงเกี่ยวกับพระพิฆเนศศิลปะลพบุรีร่วมสมัยกับเขมร


ห้องจัดแสดงที่ ๓ วัฒนธรรมขอมหรือเขมรสมัยเมืองพระนคร

จัดแสดงโบราณวัตถุสมัยประวัติศาสตร์ที่ได้รับอิทธิพลเขมรสมัยเมืองพระนคร อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕–๑๘ เช่น พระคเณศศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ ทับหลังแบบกำพงพระ ทับหลังแบบปาปวน ศิวลึงค์หินทราย และชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมจากโบราณสถานที่สำคัญในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ภาพสลักเทพนพเคราะห์จากปราสาทบ้านเบญ


ห้องจัดแสดงที่ ๔ วัฒนธรรมไทย-ลาว

จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในวัฒนธรรมไทย-ลาว ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๓–๒๕ โดยเน้นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ทั้งที่ทำจากไม้ สำริด และหินทรายลงรักปิดทอง โบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลาวหล่อด้วยสำริด ที่ฐานมีจารึกสรุปได้ว่า เจ้าอนุวงศ์เป็นผู้ให้หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๙ เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก

ห้องจัดแสดงที่ ๕ ดนตรีพื้นเมือง

จัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีพื้นเมือง โดยทำหุ่นจำลองนักดนตรีอิสานขนาดเท่าคนจริง กำลังบรรเลงเครื่องดนตรีแบบต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงมาจากวัสดุธรรมชาติ เครื่องดนตรีที่ใช้สายดีด เช่น พิณสอง พิณสาม เครื่องสายที่มีคันชัก เช่น ซอแบบต่างๆ เครื่องเคาะ เช่น โปงลาง หมากกั๊บแก๊บ


หมายเลขบันทึก: 619342เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2016 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท