ความลำบากคือการเรียนรู้: ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก


ในปี 1979 เมื่อ Jim Stigler เพิ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท ที่มหาวิทยาลัย Michigan เขาไปญี่ปุ่น เพื่อทำการวิจัยวิธีการสอน และพบว่าตนเองอยู่ในแถวสุดท้ายของห้องวิชาคณิตศาสตร์ที่เต็มไปด้วยนักเรียน

Stigler อธิบายว่า “ครูพยายามที่จะสอนการวาดรูปลูกบาศก์แบบสามมิติบนกระดาษ และมีนักเรียนหนึ่งคนมีปัญหาเกี่ยวกับการวาด ลูกบาศก์ของเขาเอียงหรือเฉียง ต่อมาครูจึงบอกกับเขาว่า ทำไมเธอไม่ติดกระดาษบนกระดานดำ?” ตอนนั้นฉันกำลังคิดว่า “นั่นน่าสนใจมาก ครูเลือกคนที่ไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ และบอกให้เด็กคนนั้นไปติดรูปบนกระดานดำ”

Stigler รู้ว่าในห้องเรียนของอเมริกันนั้น จะต้องมีเด็กที่ดีที่สุดในชั้นที่จะได้รับให้นำงานมาติดบอร์ดได้ แต่เขาดูด้วยความสนใจว่าเด็กญี่ปุ่นเหตุใดจึงต้องมาวาดรูป ทั้งๆที่วาดไม่ได้ ไม่เกิน 2-3 นาที ครูจึงถามนักเรียนที่เหลือว่าเด็กคนนี้วาดได้ถูกต้องหรือไม่ และนักเรียนทุกคนมองดูที่งานของตน แล้วก็ส่ายหัวพร้อมกับพูดว่าไม่ถูกต้อง เมื่อมาถึงตอนนี้ Stigler รู้ว่า ตัวเขาเองนั่นแหละเป็นคนที่รู้สึกกลัวมากขึ้นทุกทีๆ

“ฉันรู้ว่าตัวฉันนั่งอยู่ที่ตรงนั้น พร้อมๆกับชุ่มไปด้วยเหงื่อไหล เพราะฉันรู้สึกเห็นใจเด็กคนนั้น เด็กคนนั้นจะร้องไห้หรือไม่นะ”

แต่เด็กไม่ได้ร้องไห้ Stigler กล่าวว่า เด็กคนนั้นพยายามวาดลูกบาศก์ด้วยความสงบ “และในตอนท้ายคาบ เด็กคนนั้นวาดรูปลูกบาศก์ได้ถูกต้อง และครูต้องการจะบอกกับชั้นว่า ตอนนี้รูปนั้นเป็นอย่างไรหละนักเรียน พวกเขามองไป และบอกว่า เขาทำมันได้แล้ว และพวกเขาก็ปรบมือ” เด็กคนนั้นยิ้มกว้าง นั่งลง และภาคภูมิใจในตนเอง

ในตอนนี้ Stigler เป็นศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา ที่ UCLA ที่ศึกษาการสอนและการเรียนรู้ทั้งโลก และเขากล่าวว่านี่เป็นประสบการณ์เล็กๆ ที่ทำให้เขาสนใจเกี่ยวกับวิธีการที่แตกต่างกันระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก ในเรื่องประสบการณ์ในการต่อสู้เกี่ยวกับสติปัญญา

“ฉันคิดว่าจากในยุคต้น พวกเรา (ชาวอเมริกา) เห็นว่าความยากลำบากในการเรียนรู้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเธอมิใช่ไม่ฉลาดเท่านั้น แต่ยังเป็นความสามารถในระดับต่ำด้วย ผู้คนที่ฉลาด จะไม่มีความยากลำบากในการเรียนรู้ พวกเขาฉลาดเป็นธรรมชาติ นั่นเป็นทฤษฎีแบบบ้านๆของเรา แต่ในวัฒนธรรมเอเชีย พวกเขามองความยากลำบากว่าเป็นโอกาสมากกว่าอย่างอื่น”

Stigler กล่าวว่า“พวกเขาสอนเด็กๆว่าการทนทุกข์ทรมานเป็นสิ่งที่ดี แต่สำหรับฉันมันดูไม่ดีเลย”

หากเราถือว่ามีความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกและตะวันตก และเป็นไปได้ที่จะหาตัวอย่างที่ขัดแย้งในระหว่างวัฒนธรรมทั้งสอง แต่ Stigler พยายามที่จะสรุปความแตกต่างระหว่างสองวัฒนธรรม ดังนี้ “ สำหรับวัฒนธรรมชาวอเมริกันส่วนใหญ่ ความยุ่งยากทางการเรียนรู้สำหรับเด็กๆคือตัวบ่งชี้ของความอ่อนแอ (weakness) แต่ในวัฒนธรรมตะวันออก ความยุ่งยากดังกล่าวเป็นสิ่งที่ต้องทน และถูกใช้เพื่อประเมินความแข็งแกร่งทางอารมณ์ของเด็กๆ (emotional strength)

มันเป็นความแตกต่างเล็กๆในวิธีการ ที่เขาเชื่อว่าจะมีนัยยะที่ใหญ่มากๆ

ความยุ่งยากทางการเรียนรู้ (struggles)

Stigler ไม่ใช่เป็นนักจิตวิทยาคนแรกที่สังเกตเห็นถึงความแตกต่างระหว่างวิธีการสอนระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก ในเรื่องประสบการณ์เกี่ยวกับความยุ่งยากทางสติปัญญา (intellectual struggle)

Jim Li ที่เป็นศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Brown ก็คล้ายๆกับ Stigler ที่เปรียบเทียบความแตกต่างเรื่องความเชื่อทางการเรียนรู้ระหว่างเด็กสหรัฐและเอเชีย หล่อนกล่าวว่าการทำความเข้าใจว่าเหตุใดสองวัฒนธรรมนี้จึงมองความยุ่งยากทางการเรียนรู้แตกต่างกัน จึงต้องถอยหลัง และตรวจสอบว่าพวกเขาจึงมองความยอดเยี่ยมทางวิชาการว่ามาจากที่ใด

เป็นเวลากว่าทศวรรษ หรือมากกว่านั้น ที่ Li ได้ทำการบันทึกบทสนทนาระหว่างแม่ชาวอเมริกัน และลูกๆของพวกเขา กับแม่ชาวไต้หวัน และลูกๆของเขา Li ได้วิเคราะห์บทสนทนาเพื่อที่จะศึกษาว่าแม่คุยกับลูกๆของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องโรงเรียนอย่างไร

หล่อนแบ่งปันเรื่องนี้กับฉัน ในบทสนทนาบทหนึ่งที่บันทึกระหว่างแม่ชาวอเมริกันและลูกชายอายุ 8 ขวบ

แม่และลูกชายกำลังอภิปรายกันในหนังสือหลายเล่ม ลูกชาย แม้ว่ายังเด็กอยู่ เป็นนักเรียนที่เรียนเก่งที่รักการเรียน เขาบอกแม่ว่าเขากับเพื่อนๆของเขาพูดคุยเกี่ยวกับหนังสือแม้เป็นเวลาพัก และแม่โต้ตอบว่า

แม่: เธอรู้ไหมว่าคนฉลาดทำอย่างไรถึงจะเป็นผู้ใหญ่ที่ฉลาดๆได้?

ลูก: ผมรู้ว่าต้องคุยเกี่ยวกับหนังสือ

แม่: นั่นหละใช่เลย สิ่งฉลาดที่ต้องทำคือการคุยเกี่ยวกับหนังสือ

ลูก: ครับ

มันเป็นการแลกเปลี่ยนเล็กๆ แค่ชั่วขณะหนึ่ง แต่ Li กล่าวว่าสิ่งที่หลงเหลือไว้ในบทสนทนาก็คือโลกทางสมมติฐานทางวัฒนธรรมและความเชื่อ

โดยแก่นแท้แล้ว แม่ชาวอเมริกันที่กำลังคุยกับลูกถึงสาเหตุของความสำเร็จในโรงเรียนก็คือสติปัญญา (intelligence) Li กล่าวว่าเขาฉลาดเป็นทัศนะของชาวอเมริกันโดยทั่วไป

Li อธิบายว่า “ในโลกตะวันตก ความฉลาดนั้นเป็นสาเหตุ หล่อนพยายามจะบอกกับเขาว่าในตัวเขามีบางสิ่งบางอย่าง ดำรงอยู่ในใจของเขา ที่กระตุ้นเขาให้ทำสิ่งที่ต้องทำ”

Li กล่าวว่า แต่ในวัฒนธรรมเอเชีย ความสามารถทางสติปัญญาไม่เกี่ยวข้องกับสติปัญญาแบบเดียวกับตะวันตก “สติปัญญาดำรงอยู่ในการกระทำ ไม่ใช่สิ่งที่ดำรงอยู่กับเขาตั้งแต่ตอนเกิด”

หล่อนยังได้แบ่งปันบทสนทนาอีกบทหนึ่ง คราวนี้คือการสนทนาระหว่างแม่ชาวไต้หวันและลูกชายอายุ 9 ขวบ พวกเขากำลังคุยกันเรื่องเปียโน เด็กชายได้รับอันดับ 1 ในการแข่งขัน และแม่กำลังอธิบายกับเขาถึงสาเหตุ

“เธอฝึกและฝึกด้วยพละกำลังอย่างหนัก มันเป็นสิ่งที่ยาก แต่ลูกได้ใช้ความพยายามอย่างสุดความสามารถ ลูกได้ยืนยันถึงการฝึกฝนด้วยตนเอง”

Li พูดว่า “การเน้นจะอยู่ที่กระบวนการอดทนผ่านการท้าทายนาๆประการ และการไม่ละทิ้ง สิ่งนี้จะนำไปสู่ความสำเร็จ”

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้น เพราะวิธีการที่คุณสร้างความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการทนความลำบากกับบางสิ่งที่ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่จริงของคุณ

เห็นได้ชัดเจนว่าหากการทนทุกข์จะบ่งชี้ถึงความอ่อนแอ หรือการขาดสติปัญญา สิ่งนี้ทำให้คุณรู้สึกแย่ และยากที่จะยอมรับมัน แต่หากการทนทุกข์มีนัยยะถึงความเข็มแข็ง หรือความสามารถที่จะสยบข้อท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นตอนที่คุณพยายามที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เธอก็จะยอมรับมันไว้

และ Stigler รู้สึกถึงโลกแห่งความจริง และมันง่ายที่จะเห็นผลของการตีความที่แตกต่างกันของความยากลำบากในการเรียนรู้

“พวกเราทำการศึกษากับนักเรียนระดับหนึ่งมาหลายปี พวกเราจึงได้ไปหาและให้คำถามเลขที่ไม่มีคำตอบกับนักเรียน ต่อมาพวกเราจึงได้วัดนานแค่ไหนที่พวกเขาแก้ปัญหาก่อนจะไม่ทำต่อ”

เด็กๆชาวอเมริกันใช้เวลาในการแก้ปัญหาโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 30 วินาที และบอกพวกเราว่า พวกเขาแก้ปัญหานี้ไม่ได้

แต่นักเรียนชาวญี่ปุ่นแก้ปัญหานี้ประมาณหนึ่งชั่วโมง และในที่สุดพวกเราจึงได้หยุดกระบวนการ โดยการบอกว่าเวลาหมดแล้ว และพวกเราบอกว่าปัญหานี้ไม่มีคำตอบ และนักเรียนได้มองมาที่พวกเราด้วยท่าทางที่ว่า พวกเราเป็นสัตว์แบบไหนกัน

Stigler กล่าวว่า “คิดถึงพฤติกรรมแบบนี้ที่ครอบคลุมเราทั้งชีวิตสิ นั่นหนะปัญหาที่ใหญ่จริงๆ”

ไม่ใช่ตะวันตกและตะวันออก

นี่ไม่ได้หมายความว่าวิธีการตีความของตะวันออกในเรื่องความยุ่งยากด้านการเรียนรู้ หรืออะไรอื่นก็ตามจะดีกว่าการตีความของตะวันตก และตะวันตกจะดีกว่าตะวันออก แต่ละวัฒนธรรมมักมีจุดแข็งและจุดอ่อนด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งทั้งสองวัฒนธรรมย่อมรู้ดีอยู่แล้ว พวกชาวตะวันตกมักจะมีข้อกังวลใจว่าลูกของตนจะไม่สามารถเอาชนะเด็กจากเอเชียที่เก่งในหลายๆวิชา โดยเฉพาะเลข กับวิทยาศาสตร์ Li กล่าวว่านักการศึกษาจากประเทศทางตะวันออกก็มีข้อกังวลใจเช่นเดียวกัน

Li ยังได้บันทึกไว้ว่า “เด็กๆของเราไม่มีความสร้างสรรค์ ลูกๆของเราไม่มีความเป็นปัจเจกบุคคล พวกเขาเป็นเพียงหุ่นยนต์ เธอจะได้ยินนักการศึกษาจากประเทศทางตะวันออกมักจะกล่าวถึงข้อกังวล”

แล้วเป็นไปได้ขนาดไหนที่หนึ่งวัฒนธรรมสามารถที่จะรับหรือหยิบยืมจากอีกวัฒนธรรมหนึ่ง หากพวกตนเห็นว่าอีกวัฒนธรรมหนึ่งสามารถผลิตผลที่ดีกว่าได้?

ทั้ง Stigler และ Li คิดว่าการแลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ยาก แต่ที่คิดแบบต่างกันก็อาจช่วยเหลือได้ “พวกเราสามารถเปลี่ยนทัศนะในการเรียนรู้ และมุ่งเน้นไปที่ความยุ่งยากในการเรียนรู้ได้หรือไม่?” Stigler บอกว่า ได้

Stigler ยกตัวอย่างว่า ห้องเรียนในประเทศญี่ปุ่น ที่เขาไปศึกษามา ครูมักจะออกแบบงานที่เหนือความสามารถของเด็กๆ ดังนั้นนักเรียนจึงมีโอกาสสำหรับการมีประสบการณ์กับความยุ่งยากกับบางสิ่งที่เหนือความสามารถของตน ต่อมาเมื่อเด็กๆสามารถทำงานได้อย่างดีมากๆแล้ว ครูจะบอกเด็กๆว่าพวกเขาทำมันได้เพราะการทำงานที่หนัก และทนต่อความยุ่งยาก

Stigler กล่าวว่า “และฉันคิดเรื่องนี้ในโรงเรียนมากๆ พวกเราไม่ได้สร้างประสบการณ์ที่ต้องทนต่อความยุ่งยากน้อยเกินไป แต่เราสามารถทำมันได้”

ในตอนนี้ เขาและนักจิตวิทยาคนอื่นๆ กำลังทำเรื่องนี้อยู่ แต่ก็ยังกล่าวว่า มีความแตกต่างที่ขยายใหญ่มากขึ้นจนเกินการทำให้เข้ากันได้ ความแตกต่างนั้นก็คือ ทั้งสองวัฒนธรรมรู้หรือยังว่าตัวตนของพวกเขาคืออะไร?

แปลและเรียบเรียงจาก

Alix Spiegel. Struggle Means Learning: Difference in Eastern and Western Culture.

https://ww2.kqed.org/mindshift/2012/11/15/struggle-means-learning-difference-in-eastern-and-western-cultures/

หมายเลขบันทึก: 619234เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2016 05:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2016 05:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นข้อเขียนที่ดีมากเลยครับ

ได้แนวคิดในหลายบริบทระหว่างตะวันตกกับตะวันออก

ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท