สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ
มูลนิธิสยามกัมมาจล สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ มูลนิธิสยามกัมมาจล

“ฝึกให้เด็กจัดการอารมณ์โกรธ” ต้นตอก่อปัญหาสังคม


"...ในชีวิตจริง คนเราต้องอยู่กับคนทุกประเภท วิธีฝึกเด็กให้รู้จักจัดการสถานการณ์ที่ถูกรุกรานทางอารมณ์ คือ คุยกัน..."

“ฝึกให้เด็กจัดการอารมณ์โกรธ”

ต้นตอก่อปัญหาสังคม


จากกรณีบนโลกสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปภาพวีดีโอที่บันทึกเหตุการณ์หนุ่มขับมินิคูเปอร์สร้างวีรกรรมด่าทอ และกระหน่ำต่อย ก่อนให้หนุ่มขับรถจักรยานยนต์กราบที่รถหรูหลังเกิดอุบัติเหตุเชี่ยวชนกัน จนโลกสังคมออนไลน์เข้ามาวิพากษ์วิจารณ์ถึงพฤติกรรมดังกล่าวมากมาย นี่ไม่ใช่เหตุการณ์แรกที่เพิ่งเกิดขึ้นในเมืองไทย กรณีทะเลาะวิวาทบนท้องถนนมีให้เห็นกันอยู่เนืองๆ ทำอย่างไรเราถึงจะแก้ที่ต้นเหตุได้ คำตอบคือต้องหาวิธี “จัดการอารมณ์ตนเอง” ให้ได้เสียก่อน พอนึกถึงเรื่องนี้ ก็นึกขึ้นได้ว่ามูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่าสอนเด็กให้เป็นคนดี เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล ท่านได้เขียนถึงเรื่อง “ฝึกจัดการอารมณ์” ไว้อย่างน่าสนใจ เห็นควรจะนำมาแผยแพร่ต่อเพื่อเป็นความรู้แก่พ่อแม่ และครู เพื่อยังประโยชน์แก่เด็กไทยในอนาคตต่อไป

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้เขียนเรื่องการจัดการอารมณ์ไว้สองบทได้แก่ในบทที่ 2 เรื่องฝึกจัดการอารมณ์ 1 ได้อธิบายว่าการจัดการอารมณ์ต้องมีการฝึกกันตั้งแต่เด็ก ผู้ที่ทำหน้านี้คือพ่อแม่และครูนั่นเอง ความตอนหนึ่งในบทนี้เขียนไว้อย่างน่าสนใจ ”..ทักษะอย่างหนึ่งที่ฝึกยากมาก คือการขับรถถอยหลังเข้าจอดชิดขอบทาง แต่ทักษะที่ยากกว่า คือการควบคุมอารมณ์ให้สงบนิ่ง ยามเผชิญอารมณ์รุนแรงทำลายล้าง ไม่ว่าอารมณ์นั้นจะเป็นของตนเองหรือของผู้อื่น คนเราทุกคนต้องได้ฝึกทักษะนี้ พ่อแม่และครูต้องช่วยฝึกทักษะนี้แก่เด็ก...ทักษะที่สำคัญที่สุดของพ่อแม่และครู คือการฟัง หรือรับฟัง ฟังอยากเห็นอกเห็นใจฟังให้เข้าใจความรู้สึกของเด็ก ไม่ใช่คอยสวนกลับหรือสั่งสอน ...ทักษะทางอารมณ์ต้องคู่กับทักษะในการเข้าใจ เห็นใจคนเอน เมื่อเราเข้าใจความรู้สึกและอารมณ์ของเขา เราก็จะมีสติในการหาวิธีตอบสนองเชิงบวก เชิงเห็นอกเห็นใจ แสดงความรักความห่วงใย ”

ต่อเนื่องในบทที่ 3 ฝึกจัดการอารมณ์ 2 ... ที่น่าสนใจคือ “...ในชีวิตจริง คนเราต้องอยู่กับคนทุกประเภท วิธีฝึกเด็กให้รู้จักจัดการสถานการณ์ที่ถูกรุกรานทางอารมณ์ คือ คุยกัน ...เด็กต้องได้รับการฝึกทักษะการสื่อสารเชิงอารมณ์ สื่อสารจากใจถึงใจ ...ทักษะในการทำความเข้าใจอารมณ์ของตนเองและรู้จักจัดการให้เกิดผลทางบวก และทักษะทำความเข้าใจ และเคารพอารมณ์คนอื่น และให้ความเห็นใจ ความช่วยเหลือ..” เนื้อหาส่วนนี้น่าจะเป็น คำแนะนำส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้พ่อแม่ และครู เข้าใจ “อารมณ์” มีส่วนสำคัญในชีวิตตอนโตของลูก และศิษย์อย่างไร ที่สำคัญเด็กจะต้องได้รับการฝึกฝนในเรื่องการจัดการอารมณ์ทั้งที่บ้านและโรงเรียนควบคู่กันไป หากสามารถฝึกฝนให้เด็กจัดการอารมณ์ตนเองได้ แม้เพียงส่วนหนึ่ง การระเบิดอารมณ์ในชีวิตประจำวัน เหมือนเช่นเหตุการณ์นี้คงจะไม่เกิดขึ้น

“หนังสือเล่มนี้ เขียนเพื่อสื่อสารกับพ่อแม่ ในการทำหน้าที่เป็น “ครูฝึก” ช่วยประคับประคองลูกของตนให้ผ่านขั้นตอนพัฒนาการชีวิต วางพื้นฐานความคิด ทักษะทางอารมณ์ ทักษะสังคม และพัฒนาความเป็นคนดี ที่จะต้องเข้าใจขั้นตอนของพัฒนาการเด็ก จากชีวิตที่ต้องพึ่งพาผู้อื่นโดยสิ้นเชิง (Dependent) ไปสู่ชีวิตที่พึ่งตนเองได้ (Independent) และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ คือสู่ชีวิตของผู้ใหญ่ที่เป็นคนดี” ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าว

พ่อแม่และครูผู้ที่สนใจทั่วไปสามารถดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ได้ฟรี!!!

https://goo.gl/t5hFlfดาวน์โหลดฉบับเต็มได้ที่นี่

หมายเลขบันทึก: 618357เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2016 09:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2016 09:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณเรื่องราวดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันค่ะ ดีและมีประโยชน์มากๆ ค่ะ จะต้องติดตามไปซื้อมาอ่านบ้าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท