นายวรเชษฐ วุฒิสาร


ปัญหาการใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา

เริ่มจากที่ผมทำงานที่โรงงานมาก่อนและได้มีโอกาสสัมภาษณ์พนักงานวุฒิ ปวช. และ ปวส. จำนวนนึง ซึ่งพบว่าแต่ละคนที่สัมภาษณ์เกรดเฉลี่ยรวมสูงๆกันทั้งนั้น 3.00 ขึ้นกันทุกคน แต่พอสัมภาษณ์ไปกลับพบว่า 1 เมตร มีกี่เซนต์ก็ยังไม่รู้ ไข่ 1 ฟองใช้เวลาต้ม 5 นาที แล้วไข่ 10 ฟอง ต้องใช้เวลาต้มกี่นาที ส่วนมากยังตอบ 50 นาทีอยู่เลย แต่บุคคลเหล่านี้ก็ยังผ่านเข้าทำงาน เพราะถามกับผู้ที่รับแล้วว่า เด็กคนนั้นๆ หัวอ่อน สั่งง่ายเดี๋ยวก็สอนได้ แต่สุดท้ายคนที่รับมาก็ต้องมาคอยสอน และคอยหงุดหงิดเมื่องานผิดพลาด ทำงานไปเรื่อยๆเจอแบบนี้บ่อยๆผมก็เกิดความสงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบการศึกษา จึงได้ลองมาเป็นครูจ้างสอนดูว่าปัญหามันอยู่ที่ตรงไหน

เมื่อได้มาสอนในเทอมแรกผมได้สอนถึง 8 วิชา 37 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ ปัญหาแรกเลยคือคนๆเดียวสอนถึง 8 วิชาแล้วจะเอาเวลาไหนมาศึกษาหาข้อมูลความรู้ให้แก่เด็กๆ เพราะผมถูกสอนในโรงงานมาว่า หมดเวลางานคือหมด ห้ามเอาเรื่องงานมายุ่งกับเวลาส่วนตัว พอผมพูดแบบนี้หลายๆคนโต้แย้งผมทันที แต่ผมก็ตอบไปว่า ถ้าเราทำงานให้เรียบร้อยภายในเวลาสักวันเราก็จะปรับตัวจนทำงานเสร็จในเวลา แต่ถ้าเราคิดว่าหลังเลิกงานยังมีเวลาทำต่อ เมื่อนั้นคุณก็ไม่มีวันทำงานเสร็จในเวลาทำงานได้หรอก ครูเป็นคนนะครับไม่ใช่เครื่องจักรที่จะได้ไม่ต้องพัก สมองคนต้องการการพักผ่อน เมื่อพักผ่อนเพียงพอก็จะได้มีสภาพจิตใจสภาพความคิดที่ดี พร้อมเจอกับเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้น

ก่อนจะกล่าวนอกเรื่องไปมากว่านี้กลับมาเข้าสู่ปัญหาหลักสูตรที่พบกันดีกว่า เริ่มด้วยผมสงสัยกับขั้นตอนต่างๆมากมายเช่น เป้าหมายการสอนเราอยากให้เด็กที่เราสอนได้ไปทำงานที่บริษัทใหญ่ๆในเขตอุตสาหกรรมใหญ่ๆ แต่พอเด็กเราได้ทำงาน หลายๆหน่วยงานกลับอยากให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดตัวเอง ความรู้สึกผมมันขัดแย้งอย่างไรไม่ทราบ แต่คนอื่นๆก็ยังคงปล่อยให้เหตุการณ์นี้ดำเนินต่อไป และในส่วนของความคิดผมคือ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ไม่ใช่ประเทศอุตสาหกรรม ในพื้นที่ที่ผมสอนก็เป็นเกษตรกรรม แต่ทำไมเราถึงต้องดิ้นรนสอนสิ่งที่ไม่ใช่ตัวเราเอง

สิ่งแรกในความคิดของผมที่ควรใส่ในหลักสูตร คือ การทำบัญชี วิธีก้าวไปเป็นผู้ประกอบการ วิธีการสังเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์สถิติ การทำวิจัยขั้นพื้นฐาน หลักๆเด็กๆควรจะมีสิ่งเหล่านี้ไว้ติดตัว เมื่อต้องการความรู้ใดความรู้หนึ่ง เดี๋ยวเด็กก็หาความรู้เอง ในเมื่อมีหลักการต่างๆอยู่ในหัวแล้วก็ไม่ต้องกลัวจะอดตาย เพราะในมุมมองของผม ในประเทศไทยอาชีพยังไม่หลากหลายพอ แถมยังถูกบีบด้วยการยอมรับของสังคมหมู่มากอีก ยิ่งทำให้อาชีพที่น่าสนใจของคนรุ่นหลังน้อยลงไปอีก ทำไมเราไม่เปิดโอกาสของอาชีพให้มากขึ้นกว่านี้ สร้างให้คนรุ่นหลังสร้างอาชีพขึ้นมาเอง ไม่ใช่แค่ เกิดมา เรียน ทำงานโรงงาน แล้วก็ตายไป ลูกๆหลานๆ ก็ต้องทำแบบนี้หรอ แต่อย่าลืมนะว่า บริษัทส่วนใหญ่ในไทยนั้น เป็นบริษัทต่างชาติกันทั้งนั้น ผมมองว่าเราทำงานให้ต่างชาตินะครับ ลองคิดข้อดีข้อเสียดีๆดูกันสิครับ

ขอระบายอีกนิดจากการขี้โม้นอกเรื่องราวมานาน ผมเบื่อกับนิสัยคนส่วนมาหรือแทบจะทุกคนคนไทยที่เกิดมาได้รู้จัก คือ เมื่อมีระบบ หรือกิจกรรมอะไรที่ทำมาแต่ก่อนแล้ว เมื่อรู้ว่ามันไม่ดี หรือรู้ว่าถ้าปรับปรุงเราจะทำงานกันง่ายขึ้น สบายขึ้น เวลาว่างเพิ่มขึ้น แต่กลับไม่ยอมแก้ปัญหาที่เจอนั้น กลับปล่อยให้มันคงอยู่ต่อไป ส่วนไอ้เรื่องไม่น่าทำก็ทำกันดีจริงๆ เช่น เมื่อเราได้ผู้บริหารใหม่ เรามักจะเจอการเปลี่ยนแปลงทันที คือเหมือนกลัวทำซ้ำกับของคนเก่า ถ้าปรับเปลี่ยนแล้วดี ผมไม่ว่า แต่ส่วนมากที่เห็นคือไม่ดี ถ้าไม่ดีแล้วปรับกลับมาเหมือนเดิมก็ยังพอว่า แต่ดันทุรังทำต่อไปนี่สิครับ น่ากลัวสุดๆ

ก่อนจากกัน ผมอยากให้หลายๆคนลองศึกษาให้เข้าใจหลักการจริงๆ ของคำว่า Supply chain แต่ขอเตือนว่า อย่าไปเข้าใจความหมายที่คนไทยแปลมาให้นะครับ ซึ่งผมอ่านมาหลายเล่ม มันสื่อความหมายผิด จาก ที่ผมได้อ่านจากหนังสือภาษาอังกฤษ(ถ้าผมไม่แปลผิดไปเองนะครับ) ต่ออีกนิดนะครับกำลังมันๆ เรื่อง สื่อความหมายผิดนี่ผมว่าน่ากลัวนะ ผมได้อ่านหนังสือแปลหลายๆทฤษฏี เมือ เอามาเทียบกับการเอามาตีความหมายเพื่ออธิบายให้คนเอามาใช้ มันคนละเรื่องกันเลย ผิดวัตถุประสงค์ไปเยอะ แถมผิดหลักการอีก จะอ่านจะหาข้อมูลอะไรศึกษาไว้เยอะๆกันนะครับ สายขี้โม้ขอจบการรายงานเพียงเท่านี้ครับ

คำสำคัญ (Tags): #สายขี้โม้
หมายเลขบันทึก: 617036เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2016 04:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ตุลาคม 2016 04:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท