กรณีศึกษากิจกรรมบำบัดในการยศาสตร์และการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ


สวัสดีค่ะ วันนี้ดิฉันจะมาเขียน ในหัวข้อเรื่อง “กิจกรรมบำบัดในการยศาสตร์และการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ” มาดูรายระเอียดไปพร้อมๆกันนะคะ

กรณีศึกษา : เคสวัย 70 ปี ที่เป็นสมองเสื่อมมา 3 ปี ไม่อยากออกสังคม เงียบอยู่คนเดียว เดิมเป็นทนายความ และเครียดด้วยภาระหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ แต่อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ชอบปลูกต้นไม้ทานได้

วิเคราะห์กรณีศึกษาโดยใช้ PEOP model

การวิเคราะห์การทำงาน (Job Analysis) งานปลูกต้นไม้



กิจกรรมที่ทำในงาน องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมนั้น ความสามารถช่วยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคในการทำงานอย่างไร
1.การดูแลรักษาต้นไม้

- Muscle strength

- Endurance

- Balance

- Co-ordination

ในการเดิน ยกกระถางต้นไม้ รดน้ำ พรวนดินฯลฯ
- Executive function ทักษะในการบริหารจัดการ

- ในการตัดสินใจ (judgement)

- จัดระบบงาน (organising)

- เรียงลำดับงาน ของการทำงานสวนในแต่ละขั้นตอนว่าควรทำสิ่งใดก่อน-หลัง (sequencing)

คิดอย่างเป็นนามธรรม มีการคิดวางแพลนภายในหัวว่าจะทำอะไรต่อไปเช่น นึกภาพในหัว : พรวนดิน> นำต้นไม้มาลง > กลบดิน > รดน้ำต้นไม้ เมื่อคิดแล้วจากนั้นก็ปฏิบัติตาม เป็นต้น

ประเมินเพิ่มเติมในเรื่องการทำงานของร่างกายเพื่อใช้ในการทำกิจกรรม

ผู้รับบริการมีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งอาจะทำให้มีทักษะในการวางแผนในการทำการรวมไปถึงการทำกิจกรรมต่างๆที่ลดลงได้
2.เก็บผลผลิต - Muscle strength

- Endurance

- Balance

- Co-ordination
ความสามารถในการทำงานของร่างกายในการเก็บผลิตผล
- ความสามารถในการทำงานของ working memory ในการจดจำว่าต้นใดที่ได้เก็บผลิตผลไปแล้ว
ประเมินเพิ่มเติมในเรื่องการทำงานของร่างกายเพื่อใช้ในการทำกิจกรรม

ผู้รับบริการมีภาวะสมองเสื่อม ซึ่งอาจะทำให้มีทักษะในการวางแผนในการทำการรวมไปถึงการทำกิจกรรมต่างๆที่ลดลงได้

Goal: ผู้รับบริการสามารถทำงานกิจกรรมแบบยามว่าง คือการปลูกต้นไม้เพื่อนำผลผลิตไปขายได้โดยมีผู้ดูแลคอยดูแลเรื่องความปลอดภัย ภายในระยะเวลา 2สัปดาห์

FoR: MoHo, Physical Rehabilitation, Psycho-social rehabilitation

Technique: Teaching and learning, Environment modification, Problem-solving approach, Adaptive skill training
Intervention:

  • วิเคราะห์และแยกแยะปัญหาที่อาจจะพบจากการทำกิจกรรมปลูกต้นไม้ และช่วยกันคิดวิธีแก้ปัญหาร่วมกันกับผู้รับบริการและผู้ดูแล หลังจากนั้นประเมินซ้ำ และนำมาแก้ไข ปรับกิจกรรม ลด-เพิ่มขั้นตอนให้ตรงกับความสามารถของผู้รับบริการ
  • skill training ฝึกทักษะที่จำเป็นในการปลูกต้นไม้ให้แก่ผู้รับบริการ เช่นความเข้าใจถึงวิธีการและขั้นตอนในแต่ละขั้นของการปลูกต้นไม้ ความสามารถในการทำงานของร่างกาย โดยเฉพาะความสามารถและทักษะด้านการบริหารจัดการ การคิดวางแผนขั้นตอนในการทำงาน ความสามารถในการจดจำ
  • ให้คำแนะนำถึงวิธีการดูแลผู้รับบริการแก่ผู้ดูแล รวมไปถึงวิธีการจัดการความเครียดให้กับผู้ดูแล เนื่องจากพบว่าส่วนใหญ่ผู้ดูแลของผู้รับบริการในกลุ่มสมองเสื่อมมักจะมีภาวะความเครียดเกิดขึ้น โดยให้ผู้ดูแลนึกถึงอารมณ์เชิงบวก(positive emotion) ความพึงพอใจในอดีต การมีความสุขในปัจจุบัน และการมีความหวังในอนาคต ลักษณะเชิงบวก หรือ ความสามารถพิเศษหรือความเข้มแข็ง (strength)ของตนเอง(1) เป็นต้น
  • จัดสิ่งแวดล้อมให้ส่งเสริมการทำกิจกรรมของผู้รับบริการเช่น จัดวางสิ่งของไว้ในที่ๆคุ้นเคย สภาพบ้านมีความปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ มีผู้ดูแลคอยดูแลเรื่องความปลอดภัย ติดป้ายหรือฉลากไว้ให้กับสิ่งของต่างๆเพื่อให้ผู้รับบริการง่ายต่อการใช้(2)
  • ลองให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมการปลูกต้นไม้จริง(work hardening)โดยมีผู้ดูแลและผู้บำบัดคอยสังเกตการณ์ เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการว่าตนสามารถทำได้ รวมไปถึงเพื่อช่วยในการหาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานและนำไปสู่การประเมินผลซ้ำและปรับวิเคราะห์กิจกรรมต่อไปในอนาคต

LONG TERM GOAL : ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมที่ตนเองสนใจได้ด้วยตนเอง และมีบทบาทในการช่วยเหลือครอบครัวและสังคมมากขึ้น

references :

1. Positive Psychology: An Introduction - Springer [Internet]. [cited 2016 Sep 30]. Available from: http://link.springer.com/chapter/10.1007%2F978-94-...

2. Home modification by older adults and their informal caregivers [Internet]. [cited 2016 Sep 30]. Available from: http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S...


เรามาต่อกันที่ กรณีศึกษาที่ 2กันเลยนะคะ

"เคสวัย 40ปีที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบมา 3ปี เบื่อและอยากลาออกจากการทำงานอาจารย์ที่หนักจนไม่มีเวลาพักผ่อนและเสี่ยงเป็นหลอดเลือดสมองตีบ ไม่ชอบออกกำลังกาย มีความสามารถเป็นพิธีกร ดีเจ และนักเขียน และกำลังเครียดเพราะเป็นเสาหลักเลี้ยงดูครอบครัวกว่า 3คน และมีหนี้บ้านจากการผ่อนชำระเงินเดือนจากงานอาจารย์ประจำ"

วิเคราะห์ตามแบบ PEOP model


Person environment occupation performance
- อายุ 40 ปี

- เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบมา 3 ปี

- Habit : ไม่ชอบออกกำลังกาย

- Work : อาจารย์
“เบื่อและอยากลาออกจากการทำงานอาจารย์เพราะหนักไม่มีเวลาพักผ่อน”(Narrative CR)

- Personal causation : เครียดเพราะ ไม่มีเวลาพักผ่อน, มีหนี้และเป็นเสาหลักเลี้ยงดูคนในบ้าน (self-esteem ลดลง)
value / interest/ skill : เป็นพิธีกร ,ดีเจ ,นักเขียน


"Motivation: อยากออกจากที่ทำงาน เพราะงานหนัก"

Social : ครอบครัว (ประเมินเพิ่มเรื่อง สมาชิกครอบครัว เพื่อน ลักษณะสภาพแวดล้อมชุมชน หรือคนใกล้ตัวของผู้รับบริการที่ผู้รับบริการอาจเกี่ยวข้อง)


Physical : งานที่หนักจนไม่มีเวลาพักผ่อน

Text Box: AbilityWork : การทำงานเป็นอาชีพอาจารย์

Leisure :งานพิธีกร ,ดีเจ , นักเขียนเป็นงานรอง ในลักษณะงานแบบกิจกรรมยามว่าง(work as a leisure)
Rest :พักผ่อนไม่เพียงพอ

"Ability"
- สามารถจักการเวลาและปัญหาของตนเองได้

- ความเครียดลดลง

- สุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่จำนำไปสู่การเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ

- มีความสุขในการทำงาน


" Role transformation"


การวิเคราะห์การทำงาน (Job Analysis) งานอาชีพอาจารย์

กิจกรรมที่ทำในงาน องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องในการทำกิจกรรมนั้น ความสามารถช่วยส่งเสริมหรือเป็นอุปสรรคในการทำงานอย่างไร
1. การเตรียมการสอน ความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการจะสอนตามหลักสูตรที่กำหนด

Planning , Creative thinking, Decision making

Time management

Metacognitive : problem solving

ส่งเสริม : ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนเป็นอย่างดี มีประสพการณ์การสอนเป็นเวลานาน




ขัดขวาง : เบื่อ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ไม่อยากทำอาชีพอาจารย์


2. ทำงานด้านการวิจัย , นวัตกรรม

ทำวิจัย/นวัตกรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน

Planning , Creative thinking, Decision making

Time management ,problem solving

ส่งเสริม : มีความคิดสร้างสรรค์ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการศึกษาค้นคว้า มีทักษะทางด้านการใช้ภาษาเป็นอย่างดี จากข้อมูลที่กล่าวว่าชอบเป็นนักเขียน

ขัดขวาง : เบื่อ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ไม่อยากทำอาชีพอาจารย์
3. การบริหารและพัฒนาองค์กร มีส่วนร่วมในการ

วางแผนของภาควิชา/สาขาวิชา และ ดำเนินการติดตามผลการดำเนินการของภาค/สาขาวิชา

Planning , Creative thinking, Decision making

Time management , ,problem

solving

ส่งเสริม : มีทักษะด้านการสื่อสารและการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่ดี จากข้อมูลที่กล่าวว่าชอบอาชีพดีเจ




ขัดขวาง : เบื่อ ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ไม่อยากทำอาชีพอาจารย์





Goal: ผู้รับบริการสามารถทำงานหลักคืองานอาจารย์ได้อย่างมีความสุข ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์

FoR : Behavioral FoR , MOHO , physical rehabilitation, psychosocial

Technique : psycho-education ,Motivation interview, stage of change (self- management)

Intervention

  • ให้ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมองตีบแสดงให้เห็นผลเสียของการเกิดโรคที่จะกระทบต่อตนเองและให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลตนเองสำหรับการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบซ้ำ
  • ทำการสัมภาษณ์ผู้รับบริการเพื่อสร้างแรงจูงใจและปรับเปลี่ยนความคิดของผู้รับบริการนำไปสู่การกลับไปทำงานได้อย่างมีความสุข
  • แนะนำการจัดการเวลาและการหากิจกรรมยามว่างที่ผู้รับบริการสนใจ เป็นความชอบของผู้รับบริการเอง ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในการทำกิจกรรมแต่ละวัน ซึ่งกิจกรรมนั้นๆอาจจะเป็นกิจกรรมในรูปแบบของ work as a leisure เช่น การเป็นพิธีกร ดีเจ หรือนักเขียนหนังสือ ซึ่งอาจทำให้มีรายได้ไปจุนเจือครอบครัวเพิ่มขึ้น ผู้รับบริการเกิดคุณค่าในตนเองมากขึ้น
  • Relaxation technique เพื่อลดความเครียดจากเรื่องต่างๆ โดยใช้วิธีการ Guided Imagery and Music(GIM) โดยให้ผู้รับบริการหลับตาและจิตนาการถึงสิ่งที่ผ่อนคลายเช่นธรรมชาติหรือเรื่องราวความสุขในอดีต ประกอบไปด้วยการที่ผู้บำบัดสร้างบรรยากาศโดยการเปิดเพลงคลอเบาๆเพื่อเป็นการปรับสิ่งแวดล้อมให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ,สอนเทคนิคการหายใจเพื่อการผ่อนคลาย() ให้ผู้รับบริการได้สามารถทำวิธีการกลับไปทำที่บ้าน ขณะที่ตนรู้สึกเครียดมากจนเกินไป
  • ให้คำแนะนำถึงเรื่องของการวางแผนใช้ความสามารถทางด้านร่างกายและจิตใจและแสดงให้เห็นถึงความสามารถที่ผู้รับบริการมีโดยอิงจากขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง(stage of change) โดยเริ่มจากขั้นไม่สนใจปัญหา(Pre-contemplation) > ขั้นลังเลใจ > ขั้นตัดสินใจและเตรียมตัว > ขั้นลงมือปฏิบัติ > ขั้นกระทำต่อเนื่อง >การกลับไปมีปัญหาซ้ำ เพื่อนำสู่การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นอย่างถาวร(1)

LONG TERM GOAL : ผู้รับบริการสามารถจัดการกับความเครียดของตนเอง และสามารถจัดการและหาเวลาในการทำกิจกรรมที่ตนเองชอบได้

references :

1. Matsumoto M, Smith JC. Progressive muscle relaxation, breathing exercises, and ABC relaxation theory. J Clin Psychol. 2001;57(12):1551–7.

2.Wallace LS, Buckworth J, Kirby TE, Sherman WM. Characteristics of Exercise Behavior among College Students: Application of Social Cognitive Theory to Predicting Stage of Change. Prev Med. 2000;31(5):494–505.

หมายเลขบันทึก: 616891เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2016 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 ตุลาคม 2016 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท