Take Home Examination


กรณีศึกษาที่1 : เคสวัย 70 ปี ที่เป็นสมองเสื่อมมา 3 ปี ไม่อยากออกสังคม เงียบอยู่คนเดียว เดิมเป็นทนายความ และเครียดด้วยภาระหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ แต่อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ชอบปลูกต้นไม้ทานได้




Job Analysis: การปลูกต้นหอมขาย



การประเมินเพิ่มเติมทางกิจกรรมบำบัด

ทางด้านร่างกาย

  • ประเมินภาวะสมองเสื่อม โดยใช้แบบทดสอบภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้น(Mini-Mental State Examination: MMSE-Thai2002)
  • ประเมินการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยใช้แบบประเมิน Routine task inventory-expanded (RTI-E)

ทางด้านจิตใจ

  • ประเมินความเครียด โดยใช้แบบประเมินความเครียด (SPST-20)
  • ประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมินวัดความซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Thai geriatric depression scale: TGDS-15)

Problem

  • ผู้รับบริการมีความเครียดเนื่องจากหนี้สิน
  • ผู้รับบริการอยากช่วยครอบครัวทำงานในรูปแบบกิจกรรมยามว่าง

Goal

  • ผู้รับบริการสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์
  • ผู้รับบริการสามารถกลับไปทำงานในรูปแบบกิจกรรมยามว่างได้ เช่น การปลูกต้นหอมขาย ภายในระยะเวลา 1 เดือน

Intervention Plan

1. ผู้รับบริการสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์

Frame of reference: Psychosocial Rehabilitation

Approach: Relaxation techniques

Therapeutic media: Therapeutic use of self, Teaching and learning process

Intervention:

  • สอนวิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทีละส่วน (Progressive Muscle Relaxation) คือ การเกร็งกล้ามเนื้อก่อนแล้วจึงปล่อยคลายที่บริเวณใบหน้า คอ ไหล่ แขน อก ช่องท้อง สะโพก ขา โดยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะส่งผลให้ภาวะจิตผ่อนคลาย และในทางกลับกันจิตใจที่ผ่อนคลายก็ส่งผลย้อนกลับให้มีการคลายกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน
  • สอนวิธีการผ่อนคลายโดยฝึกการหายใจ เป็นการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยวางมือไว้บนหน้าท้อง เริ่มหายใจเข้าช้า ๆ และลึก ๆ ทางจมูก จะรู้สึกว่ามือข้างที่วางบนบริเวณท้องเคลื่อนสูงขึ้นขณะหายใจเข้า และลดต่ำลงขณะหายใจออกช้า ๆ ทางปากคล้ายผิวปาก การฝึกหายใจแบบนี้จะช่วยให้ผู้รับบริการลดความวิตกกังวลลงได้ โดยทำครั้งละ 15-20 วันละ 1-2 ครั้ง
  • แนะนำให้ผู้รับบริการออกกำลังกาย โดยเลือกวิธีการออกกำลังกายที่ทำได้ง่าย ไม่หักโหม และทำการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผ่อนคลาย
  • การสอนการผ่อนคลายจะเริ่มจากที่ผู้บำบัดทำให้ดูก่อน และให้ผู้รับบริการทำตามทีละขั้นตอน รวมถึงมีการจดบันทึกขั้นตอนในการทำให้กับผู้รับบริการเพื่อเป็นการช่วยจำอีกช่องทางหนึ่ง

2. ผู้รับบริการสามารถกลับไปทำงานในรูปแบบกิจกรรมยามว่างได้ เช่น การปลูกต้นหอมขาย ภายในระยะเวลา 1 เดือน

Frame of reference: Occupational adaptation, Physical rehabilitation

Approach: Environmental modification

Therapeutic media: Therapeutic use of self, Teaching and learning process,

Activity analysis

Intervention:

  • Work hardening การจำลองสถานการณ์ปลูกต้นหอมที่คลินิก โดยขั้นตอนในการปลูกจะสอนทีละขั้นตอน ทำเป็นตัวอย่างให้ดู อธิบายทีละขั้นตอนด้วยคำพูดที่เข้าใจได้ง่าย และให้ผู้รับบริการได้ทำตามไปพร้อมกัน โดยเน้นที่ให้ผู้รับบริการลงมือทำด้วยตนเอง
  • Job modification การปรับกิจกรรมการปลูกต้นหอมให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้รับบริการ ดังนี้
  • จัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานตามหลัก Ergonomic เช่น การวางสิ่งของให้ง่ายต่อการหยิบ , ท่าทางในการนั่งปลูก โดยให้นั่งทำเก้าอี้ที่มีพนักพิง ข้อเข่าและสะโพกงอ 90 องศา และมีแสงสว่างเพียงพอ

Grade up: เพิ่มจำนวนในการปลูก

Grade down: ลดจำนวนการต้นหอมที่จะปลูก, เขียนขั้นตอนในการปลูกไว้

Clinical Reasoning

Procedural reasoning รวบรวมข้อมูลของผู้รับบริการ ว่ามีความเครียดและอยากช่วยครอบครัวทำงาน จึงรวบรวมวิธีการจัดการความเครียด วิเคราะห์กิจกรรมปลูกต้นหอม เพื่อส่งเสริมการกลับไปทำงานของผู้รับบริการ


----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


กรณีศึกษาที่2 : เคสวัย 65 ปี เป็นรูมาตอยด์มา 5 ปี แล้วต้องดูแลแม่วัย 97 ปี ไม่ได้ทำงานประจำ เดิมมีความสามารถเป็นผู้จัดการบริษัทก่อสร้างต่างชาติ และชอบทำอาหารไทย กำลังกลุ้มใจเพราะมีหนี้สินกว่า 2 ล้านบาท



Job Analysis: การทำร้านอาหารไทย


การประเมินเพิ่มเติมทางกิจกรรมบำบัด

ทางด้านร่างกาย

  • ประเมินการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต โดยการสัมภาษณ์
  • ประเมินความเจ็บปวด เนื่องจากเป็นโรครูมาตอยด์ โดยใช้ Pain scale


  • สอบถามเรื่องตารางเวลา ถ้าต้องออกไปทำงาน จะมีวิธีการจัดการเวลาอย่างไร

ทางด้านจิตใจ

  • ประเมินความเครียด โดยใช้แบบประเมินความเครียด (SPST-20)
  • ประเมินสถานที่ทำงาน

ทางด้านสิ่งแวดล้อม

  • ประเมินสถานที่ทำงาน

Problem

  • ผู้รับบริการมีความเครียดเนื่องจากหนี้สิน
  • มีอาการปวดบริเวณข้อต่างๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อมือ
  • ผู้รับบริการไม่ได้ทำงาน

Goal

  • ผู้รับบริการสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์
  • ผู้รับบริการรู้และเข้าใจวิธีการจัดการความปวดได้ด้วยตนเอง ภายใน 1 สัปดาห์
  • ผู้รับบริการสามารถประกอบอาชีพ

Intervention Plan

1. ผู้รับบริการสามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้ ภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์

Frame of reference: Psychosocial Rehabilitation

Approach: Relaxation techniques

Therapeutic media: Therapeutic use of self, Teaching and learning process

Intervention:

  • การจัด Peer group support และการค้นหาวิธีการแก้ปัญหาหลากหลายวิธี แล้วจึงให้ผู้รับบริการเลือกวิธีการด้วยตัวเองโดยเป็นวิธีที่ตัวเองเชื่อมั่นว่าจะทำให้สำเร็จได้
  • สอนวิธีการผ่อนคลายกล้ามเนื้อทีละส่วน (Progressive Muscle Relaxation) คือ การเกร็งกล้ามเนื้อก่อนแล้วจึงปล่อยคลายที่บริเวณใบหน้า คอ ไหล่ แขน อก ช่องท้อง สะโพก ขา โดยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อจะส่งผลให้ภาวะจิตผ่อนคลาย และในทางกลับกันจิตใจที่ผ่อนคลายก็ส่งผลย้อนกลับให้มีการคลายกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นเช่นกัน
  • สอนวิธีการผ่อนคลายโดยฝึกการหายใจ เป็นการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยวางมือไว้บนหน้าท้อง เริ่มหายใจเข้าช้า ๆ และลึก ๆ ทางจมูก จะรู้สึกว่ามือข้างที่วางบนบริเวณท้องเคลื่อนสูงขึ้นขณะหายใจเข้า และลดต่ำลงขณะหายใจออกช้า ๆ ทางปากคล้ายผิวปาก การฝึกหายใจแบบนี้จะช่วยให้ผู้รับบริการลดความวิตกกังวลลงได้ โดยทำครั้งละ 15-20 วันละ 1-2 ครั้ง
  • แนะนำให้ผู้รับบริการออกกำลังกาย โดยเลือกวิธีการออกกำลังกายที่ทำได้ง่าย ไม่หักโหม และทำการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ผ่อนคลาย
  • โดยการสอนการผ่อนคลายจะเริ่มจากที่ผู้บำบัดทำให้ดูก่อน และให้ผู้รับบริการทำตามทีละขั้นตอน รวมถึงมีการจดบันทึกขั้นตอนในการทำให้กับผู้รับบริการเพื่อเป็นการช่วยจำอีกช่องทางหนึ่ง


2. ผู้รับบริการรู้และเข้าใจวิธีการจัดการความปวดได้ด้วยตนเอง ภายใน 1 สัปดาห์

Frame of reference: Biomechanical

Therapeutic media: Teaching and learning process, graded activity

Intervention:

  • Muscle pain positioning จัดท่าทางให้เหมาะสมก่อนในการทำกิจกรรม เช่น การถือของหนัก ให้ข้อต่ออยู่ในสภาวะที่มั่นคงก่อนการทำงาน
  • กระจายน้ำหนักสิ่งของต่างๆไปที่หลายๆข้อต่อ ลดการให้แรงที่มากระทำโดยตรง และ ใช้ข้อต่อที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรง
  • ลดกิจกรรมและขั้นตอนที่ต้องใช้กำลังเยอะโดยอาจปรับขั้นตอน ใช้อุปกรณ์ช่วยในการทำกิจกรรมหรือลดน้ำหนักของอุปกรณ์
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานานๆ

3. ผู้รับบริการสามารถประกอบอาชีพทำร้านอาหารได้ ภายใน 4 สัปดาห์

Frame of reference: Occupational adaptation, Behavioral, Physical rehabilitation

Approach: Environmental modification

Therapeutic media: Therapeutic use of self, Teaching and learning process, Activity analysis

Intervention:

  • Work conditioning ส่งเสริมความสามารถที่ต้องใช้ในการทำธุรกิจร้านอาหาร
    • Hand function ให้กิจกรรมส่งเสริมการใช้มือ เช่น กิจกรรมตักถั่วใส่ชาม เป็นต้น นอกจากนี้ให้ผู้รับบริการใช้มือในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น ใช้ช้อนทานข้าว แปรงฟัน เป็นต้น
  • Work hardening การจำลองสถานการณ์การเปิดร้านอาหารที่คลินิก และช่วยแนะนำวิธีการจัดการความล้าให้กับผู้รับบริการ เช่น เลือกวิธีการทำกิจกรรมที่ใช้แรงน้อยที่สุดและเดินก้าวช้าๆ เมื่อรู้สึกเหนื่อยให้หยุดทำกิจกรรมทันที และการทำกิจกรรมทั้งหมดจะเน้นที่ให้ผู้รับบริการลงมือทำด้วยตนเอง
  • Job modification การปรับช่วงเวลาในการทำงาน โดยการแบ่งช่วงการทำกิจกรรมและช่วงพักให้สมดุลกัน
  • ให้ Positive reinforcement ชื่นชมผู้รับบริการ เช่น อาหารที่ทำอร่อย เป็นต้น และให้ผู้บำบัดพูดให้ผู้รับบริการเห็นถึงผลงานที่ผู้รับบริการทำ เพื่อเป็นการให้ Feedback กับผู้รับบริการให้เกิดแรงจูงใจ
  • จัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานตามหลัก Ergonomic เช่น การวางสิ่งของให้ง่ายต่อการหยิบ เป็นต้น

Clinical Reasoning

Narrative clinical reasoning ผู้รับบริการ ชอบทำอาหารไทยและมีความกลุ้มใจเรื่องหนี้สินสองล้านบาท (ต้องการรายได้เพื่อมาใช้หนี้) จึงเลือกเป็นการทำธุรกิจร้านอาหารไทย


Reference:

1. Differential effects of mindful breathing, progressive muscle relaxation, and loving-kindness meditation on decentering and negative reactions to repetitive thoughts - 1-s2.0-S0005796710001324-main.pdf [Internet]. [cited 2016 Oct 11]. Available from: http://ac.els-cdn.com/S0005796710001324/1-s2.0-S00...

2.54c472360cf2911c7a4f0515.pdf [Internet]. [cited 2016 Oct 11]. Available from: https://www.researchgate.net/profile/Ann_Neville-J...

3. Slide 1 - flynn-terri---may-2015-research-poster.pdf [Internet]. [cited 2016 Oct 11]. Available from: http://kinesiology.education.wisc.edu/docs/ot-docu

คำสำคัญ (Tags): #occupational therapy
หมายเลขบันทึก: 616890เขียนเมื่อ 11 ตุลาคม 2016 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ตุลาคม 2016 23:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท