Home exam


เคสที่ 2

เคสวัย 40 ปี ที่เป็นหลอดเลือดสมองตีบมา 3 ปี เบื่อและอยากลาออกจากการทำงานอาจารย์ที่หนักจนไม่มีเวลาพักผ่อนและเสี่ยงเป็นหลอดเลือดสมองตีบ ไม่ชอบออกกำลังกาย มีความสามารถเป็นพิธีกร ดีเจ และนักเขียน และกำลังเครียดเพราะเป็นเสาหลักเลี้ยงดูครอบครัวกว่า 3 คน และมีหนี้บ้านจากการผ่อนชำระเงินเดือนจากงานอาจารย์ประจำ


Job analysis : งานปัจจุบัน(อาจารย์)


Intervention plan

Problem list

  1. จัดตารางเวลาการทำงานไม่เหมาะสม (รับงานมากเกินไปทำให้ overload) ทำให้ไม่มีเวลาพักผ่อน
  2. เกิดความเบื่อและอยากลาออกจากงานปัจจุบัน(ไม่มีความสุขในการทำงาน)

Short term goals

  1. ให้ผู้รับบริการสามารถจัดการตารางเวลาการทำงานใหม่ได้โดยไม่ก่อให้เกิดความล้าจากการทำงาน ภายใน 1 อาทิตย์
  2. ให้ผู้รับบริการมีความสุขและมีแรงจูงใจในการทำงาน ภายใน 1 อาทิตย์

Intervention implementation

  1. STG : ให้ผู้รับบริการสามารถจัดการตารางเวลาการทำงานใหม่ได้โดยไม่ก่อให้เกิดความล้าจากการทำงาน ภายใน 1 อาทิตย์
  2. STG : ให้ผู้รับบริการมีความสุขและมีแรงจูงใจในการทำงาน ภายใน 1 อาทิตย์

FoR : Psychosocial rehabilitation FoR, Model of Human Occupation (MOHO)

Approach : Promote occupational balance, Prevent disability related work

Therapeutic media : therapeutic use of self

  • -Counseling techniques สอบถามถึงสิ่งที่ทำให้ผู้รับบริการเครียด เพื่อรับฟังสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการระบายออกมา โดยการฟังอย่างลึกซึ้งและเข้าใจ(deep listening)เพื่อค้นหาปัญหาที่ทำให้ผู้รับบริการที่เกิดความเครียดขึ้น และค้นหาเหตุผลของการกระทำที่ก่อให้เกิดความเครียด(personal causation)
  • -หลังจากผู้รับบริการเล่า ให้ผู้รับบริการ feedback ตัวเอง โดยการคิดเป็นลำดับดังนี้ เกิดปัญหาอะไรขึ้นกับตัวผู้รับบริการเอง(What), ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดจากปัจจัย/การกระทำใดในชีวิตประจำวัน(How), ทำไมปัญหานั้นจึงเกิดขึ้น(Why) จากนั้นให้ผู้รับบริการคิดวิเคราะห์หาทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ว่าควรแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้อย่างไร ถ้าแก้ไขปัญหาได้จะเป็นอย่างไร (Improve problem solving & decision making)
  • -ให้การบำบัดผ่อนคลายความเครียดโดยใช้ดนตรี (Music therapy) โดยใช้เพลงที่มีจังหวะช้าๆ ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย เปิดให้ผู้รับบริการหลับตาฟัง ประมาณ 10-15 นาที
  • -ให้ผู้รับบริการบอกเล่าประสบการณ์ในแต่ละช่วงชีวิตที่ผ่านมา และผู้ฟังก็ให้ positive feedback กลับมายังผู้รับบริการ เพื่อเป็นการเสริมแรง การได้เล่า แชร์ประสบการณ์และได้รับการเสริมแรงทางบวกนั้น สามารถช่วยบรรเทาวามเครียด วิตกกังวลในตัวผู้รับบริการ
  • -หาช่วงเวลาว่างทำสิ่งที่ตนเองทำได้ดีและมีความสนใจ เช่น การเขียน การเป็นพิธีกร และการเป็นดีเจ โดยผู้รับบริการอาจหาเวลาว่างทำงานเหล่านี้ หรือแสดงบทบาทสมมติเพื่อเพิ่มความสุขให้แก่ตนเองมากขึ้น

work modification :

person management – ปรับที่ตัวบุคคล โดยการปรับการจัดการตารางชีวิตให้มีความสมดุลกันระหว่างเวลาทำงานและเวลาพักผ่อน

task management – กำหนดช่วงเวลาการทำงาน ให้มีช่วงเวลาพักเบรกระหว่างการทำงานที่ยาวนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความล้าต่อร่างกายและจิตใจมากเกินไป

Re-evaluation : สอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ จากการปรับตารางเวลาให้เหมาะสม ว่ามีความพึงพอใจหรือไม่ มีอาการล้าจากการทำงานลดลงหรือไม่ มีข้อดีหรือข้อเสียจากการปรับตารางเวลาอย่างไร


FoR : Psychosocial rehabilitation FoR, Model of Human Occupation (MOHO)

Approach : Promote motivation to work

Therapeutic media :

ลดอาการเครียดจากการแบกรับภาระหาเลี้ยงครอบครัว โดยวิธีการ stress management ดังนี้

Improve motivation โดยค้นหาเหตุผลของตนเอง(personal causation)ในการเลือกทำงานเป็นอาจารย์ แล้วทบทวนประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมาว่ามีข้อดี/ข้อเสียอย่างไร งานที่ทำก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากน้อยเพียงใด (feedback) แล้วข้อเสียที่เกิดขึ้นควรปรับแก้อย่างไร หากปรับแก้ข้อเสียเหล่านั้นแล้วคิดว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรต่อไป ดีขึ้นหรือไม่ เป็นการส่งเสริมแรงจูงใจของผู้รับบริการในการทำงานต่อไป

Re-evaluation : : สอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการ ว่าผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการทำงานเพิ่มขึ้นหรือไม่ มีความสุขในการทำงานเพิ่มขึ้นหรือไม่


References

  • Mona Eklund, Lena-Karin Erlandsson. Redesigning Daily Occupations (ReDOTM): Facilitating Return to Work Among Women with Stress-Related Disorders. Springer International Publishing [serial on the Internet]. 2015 [cited 2016 Sep 30]:[ 553-562 p.]. Available from: http://link.springer.com/chapter/10.1007/978-3-319...
  • Catherine Denis, Nadine Larivière. Living With a Personality Disorder: Its Impact on Life Balance. American Journal of Occupational Therapy [serial on the Internet]. July 2015. [cited 2016 Sep 30]; Vol. 69. Available from: http://ajot.aota.org/article.aspx?articleid=249085...
  • Mélanie Levasseur, Nadine Lariviere. Does Life Balance of Adults and Seniors With and Without Physical Disabilities Differ? [serial on the Internet]. July 2015. [cited 2016 Sep 30]; Vol. 69. Available from: http://ajot.aota.org/article.aspx?articleid=2490838&resultClick=3
  • Tracy Chippendale, Marie Boltz. Living Legends: Effectiveness of a Program to Enhance Sense of Purpose and Meaning in Life Among Community-Dwelling Older Adults [serial on the Internet]. June 2015. [cited 2016 Sep 30]; Vol. 69. Available from: http://ajot.aota.org/article.aspx?articleid=236070...
  • Monique Strauss, Susanna Maria van Heerden, Gina Joubert. Occupational therapy and the use of music tempo in the treatment of the mental health care user with psychosis [serial on the Internet]. Apr 2016. [cited 2016 Sep 30]; vol.46. Available from: http://www.scielo.org.za/scielo.php?pid=S2310-3833...


เคสที่ 3

เคสวัย 70 ปี ที่เป็นสมองเสื่อมมา 3 ปี ไม่อยากออกสังคม เงียบ อยู่คนเดียว เดิมเป็นทนายความ และเครียดด้วยภาวะหนี้สินสะสมจากคดีความที่ไม่สำเร็จ แต่อยากช่วยครอบครัวทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ชอบปลูกต้นไม้ทานได้



Job analysis : ปลูกต้นไม้ในเวลาว่างส่งขาย (ในที่นี้ สมมติว่าผู้ป่วยมีความรุนแรงของโรคระดับไม่รุนแรง)

ขั้นตอนการทำงาน

องค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง

ความสามารถหรืออุปสรรคในการทำงาน

คิด และวางแผนว่าจะปลูกต้นไม้ชนิดใด

Cognition, perception, problem solving skill, self-management(emotional management, time management), attention, memory

ความสามารถ : ความคิดและการตัดสินใจอยู่ในเกณฑ์ดี

อุปสรรค : ผู้รับบริการมักมีอาการหลงลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น

ศึกษาวิธีการปลูกต้นไม้

Cognition, perception, problem solving skill, self-management, attention, memory

ความสามารถ : ความคิดและการตัดสินใจอยู่ในเกณฑ์ดี

อุปสรรค : ผู้รับบริการมักมีอาการหลงลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น

หา/ซื้อเมล็ดพันธุ์

Cognition, perception, problem solving skill, self-management(emotional management, time management), attention, memory

ความสามารถ : การตัดสินใจอยู่ในเกณฑ์ดี

อุปสรรค :ผู้รับบริการมักมีอาการหลงลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่นชื่อสถานที่

เตรียมอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปลูก

Cognition, perception, problem solving skill, time management, attention, memory

อุปสรรค :ผู้รับบริการมักมีอาการหลงลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น ทำให้อาจเกิดอาการลืมว่าต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้าง

นำดินใส่กระถาง + ใส่เมล็ดลงไป

Cognition, perception, problem solving skill, time management, attention, memory

ความสามารถ : ผู้รับบริการสามารถเคลื่อนไหวได้ดี

อุปสรรค : ผู้รับบริการอาจมีอาการหลงลืมว่าใส่เมล็ดกระถางใดไปแล้วบ้าง

รดน้ำต้นไม้

Cognition, perception, problem solving skill, time management, attention, memory

ความสามารถ : ผู้รับบริการสามารถเคลื่อนไหวได้ดี

อุปสรรค : ผู้รับบริการอาจมีอาการหลงลืมว่ารดน้ำกระถางใดไปแล้วบ้าง

รอต้นไม้พองอก แล้วนำไปส่งขายตามร้านต้นไม้

perception, problem solving skill, self-management(emotional management, time management), attention, memory

ความสามารถ : ความคิดและการตัดสินใจอยู่ในเกณฑ์ดี

อุปสรรค :ผู้รับบริการมักมีอาการหลงลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น เช่นชื่อสถานที่


Intervention plan

Problem list

  1. มักมีอาการหลงลืมสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น
  2. เริ่มมีความบกพร่องในหน้าที่การงานและสังคมอย่างเห็นได้ชัด

Short term goals

  1. ให้ผู้รับบริการสามารถจดจำสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ภายใน 1 วัน
  2. ให้ผู้รับบริการสามารถหารายได้จากการทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ภายใน 2 อาทิตย์

Intervention implementation

  1. STG : ให้ผู้รับบริการสามารถจดจำสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ภายใน 1 วัน
  2. STG : ให้ผู้รับบริการสามารถหารายได้จากการทำงานแบบกิจกรรมยามว่าง ภายใน 2 อาทิตย์


FoR : Cognitive rehabilitation FoR

Approach: Maintain performance capabilities

Therapeutic media: คงความสามารถของผู้รับบริการได้โดยให้คำแนะนำให้ผู้รับบริการจดโน้ตถึงสิ่งที่ทำลงไป เพื่อเตือนความจำ และป้องกันการหลงลืมสิ่งที่จำเป็น ควบคู่ไปกับการฝึกทักษะทางการรู้คิด (cognitive training) เพื่อชะลออาการสมองเสื่อมให้ดำเนินโรคช้าลง โดยการให้ผู้รับบริการได้เข้าร่วมกิจกรรมที่ต้องอาศัยทักษะความคิด(cognitive skill) โดยจัดให้ผู้รับบริการได้ทำกิจกรรมต่างๆดังนี้

  • -ทำท่าทางตรงกันข้ามระหว่างมือทั้งสองข้าง (ข้างหนึ่งทำท่าจีบ อีกข้างทำท่าตัวอักษรแอล) ทำพร้อมกันสลับกันไปมา เป็นต้น
  • -ฝึกการคิดคำนวณตัวเลขพร้อมพูดออกเสียงดัง
  • -นักกิจกรรมบำบัดประเมินสิ่งที่ผู้รับบริการสนใจ โดยใช้แบบประเมิน Interest checklist หรือ สัมภาษณ์จากตัวผู้รับบริการเองโดยตรง เพื่อค้นหาถึงกิจกรรมยามว่างที่ผู้รับบริการสนใจ
  • -นักกิจกรรมบำบัดวิเคราะห์กิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ เพื่อดูว่าแต่ละขั้นตอนของกิจกรรมนั้นๆมีองค์ประกอบใดบ้างที่จำเป็นในการทำกิจกรรม และความสามารถที่ส่งเสริมหรือขัดขวางการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ
  • -ผู้บำบัดและผู้รับบริการช่วยกันหาวิธีทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอน และร่วมกันวางแผนออกแบบการทำงานแบบกิจกรรมยามว่างที่ผู้รับบริการมีความสนใจ
  • -จำลองสถานการณ์การทำงานในพื้นที่บ้านตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มต้นของการทำงานปลูกต้นไม้ส่งขาย ให้ผู้รับบริการได้ทดลองลงมือทำจริง แล้วให้ผู้รับบริการ feedback ตนเองว่าที่ทำไปนั้นรู้สึกอย่างไร เห็นข้อจำกัดหรือปัจจัยส่งเสริมที่เกิดขึ้นหรือไม่ มีอะไรบ้าง และควรแก้ไขอย่างไร กระตุ้นให้ผู้รับบริการได้สะท้อนตนเองและคิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

Re-evaluation : ประเมินซ้ำทุกอาทิตย์ เป็นเวลา 1 เดือนว่าผู้รับบริการมีภาวการณ์ดำเนินโรคเร็วหรือช้าลงหรือไม่ โดยใช้แบบคัดกรอง cognitive เป็นตัววัด


FoR : PEOP, Model of Human Occupation (MOHO)

Approach: Promote occupational performance, Maintain performance capabilities related needs of client

Therapeutic media: ค้นหาสิ่งที่ผู้รับบริการมีความสนใจโดยใช้แบบประเมิน Interest checklist

จากนั้นมากำหนดกิกจรรมยามว่างที่จะจัดขึ้นร่วมกับผู้รับบริการ โดยผู้บำบัดจะมีการปรับระดับกิจกรรมให้เหมาะสมต่อระดับความสามารถของผู้รับบริการ(Graded activity)

work hardening : ให้ผู้รับบริการทดลองทำกิจกรรมยามว่างที่ตนสนใจ ผู้บำบัดคอยสังเกตการณ์ว่ามีขั้นตอนใดที่ติดขัดหรือไม่ และเกิดจากตัวผู้รับบริการเองหรือ ขั้นตอนการทำงานที่ยากเกินไป หรือสิ่งแวดล้อมที่มาขัดขวาง ผู้บำบัดจะคอยปรับแก้ทีละจุดจนผู้รับบริการสามารถทำงานนั้นๆได้สำเร็จ

Re-evaluation : สอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการเมื่อได้ลองทำงานจริง


References

  • Kay Kulason, Rui Nouchi. The beneficial effects of cognitive training with simple calculation and reading aloud in an elderly postsurgical population: study protocol for a randomized controlled trial. BioMed Central. [serial on the Internet]. July 2016 [cited 2016 Sep 30]. Available from: https://trialsjournal.biomedcentral.com/articles/1...

คำสำคัญ (Tags): #ergonomics
หมายเลขบันทึก: 616804เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 10:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท