ประเมินหลักสูตร


หลักสูตรมีความจำเป็นมากกับการเรียนการสอนในทุกสถานศึกษาไม่ว่าจะเป็นสถานศึกษาของรัฐหรือว่าสถานศึกษาเอกชนก็ต้องมีหลักสูตรเป็นของสถานศึกษาเองโดยมีแม่แบบหรือโมเดลที่พัฒนาจากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานปี 2551 เพื่อเป็นแบบแผนในการจัดกระบวนการศึกษาในประสบความสำเร็จ

สำหรับในส่วนของสถานศึกษาที่จะกล่าวนั้นหลักสูตรของสถานศึกษาเป็นการนำหลักสูตรมาตรฐานมาใช้กับสถานศึกษาถ้าสถานศึกษามีความต้องการเปิดสอนในสาขาวิชาใดก็เลือกรูปแบบของหลักสูตรโครงสร้างหลักสูตรจากมาตรฐานมาใช้เปิดสอนจุดเด่นก็มีบ้างส่วนที่ตรงตามจุดมุงหมายหรือจุดประสงของสถานศึกษา

  • จุดเด่นทางด้านอาหารแต่ความเปลี่ยนแปลงก็เข้ามาสู่สถานศึกษาทำให้หลักสูตรวิชาทางด้านอาหารเด็กมีความนิยมน้อยลงเพราะอาจจะคิดว่าเป็นหลักสูตรที่หางานทำยากนอกจากประกอบกิจการเอง แนวทางแก้ไขก็ต้องปรับปรุงหลักสูตรวิชาให้ทันสมัยกับยุคการเปลี่ยนแปลงก็ต้องเพิ่มรายวิชาการทำอาหาร ต่างประเทศเข้าไปเพราะจะทำแต่อาหารไทยบ้างครั้งอาจจะไม่ครอบคลุมกับความต้องการของผู้บริโภค แต่ก็มีจุดด้อยคือเพราะนักเรียนน้อยทำให้อัตราบุคลากรน้อยตามไปด้วยทำให้ความรู้ความเชี่ยวชาญอาจจะไม่ครบทุกด้านของเรื่องการทำอาหารทำให้เด็กเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่ครบองค์ประกอบของหลักสูตรที่ต้องการเรียนรู้
  • การเปิดสอนระดับปริญญาตรีจุดเด่นที่สถานศึกษาเปิดทำการเรียนการสอนมานานก็จริงแต่ในมุมมองผมการเปิดสอนระดับสูงกว่า ปวส สถานศึกษาต้องมีความพร้อมในทุกๆด้าน บุคลากรก็ต้องมีความรู้ความเชี่ยวญาณในสาขาตามหลักสูตรที่เราจัดทำขึ้นในระดับปริญญาตรีเพราะถ้าหลักสูตรที่ทำขึ้นมาไม่ดีพอหรือไม่เหมาะสมการจะไปประกอบอาชีพหรือหลักสูตรทีจัดทำขึ้นมาไม่ตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการจริงๆเด็กจบมาก็จะทำให้ไม่ต้องถามเป้าหมายก็มีปัญหาในเรื่องของการหางานทำยาก แนวทางการแก้ไขในการจะเขียนหลักสูตรระดับนี้ก็จะต้องประเมินความต้องการของสถานประกอบการปัจจุบันและมึงไปถึงในอนาคต 5-10 ว่าที่เราทำหลักสูตรขึ้นมายังจะตอบโจทย์ของสถานประกอบการหรือไม่เชิญผู้มีความเชี่ยวญาณในสาขาวิชาต่างๆในหลักสูตรที่เราจะจัดทำให้เป็นผู้ช่วยทำการวิเคราะห์หรือแนะนำในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้หลักสูตรมีความเหมาะสมและเป็นที่ต้องการของสถานประกอบการมากที่สุดต่อไปก็จะเป็นจุดเด่นของสถานศึกษาเมื่อหลักสูตรเราได้รับการยอมรับต่อผู้เรียนและสถานประกอบการ

เรื่องที่เล่ามาได้มองเห็นแนวทางแก้ไขปัญหาดังนี้ เมื่อบุคคลกรน้อยหรือความเชี่ยวชาญในบ้างเรื่องของเนื้อหาหลักสูตรที่เปิดสอนยังไม่ครบตามเป้าหมายก็ให้มีการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชานั้นๆต่อไปเพื่อสร้างหรือเพิ่มจุดเด่นดึงดูดผู้สนใจให้มีเรียนมากขึ้น ผลการประเมินหลักสูตรที่ปรับปรุงหรือที่นำมาใช้ถ้าเป็น ปวช ปวส ก็สามารถประเมินช่วงกำลังใช้หลักสูตรได้เพราะมีการฝึกประสบการจริงก็ได้มุมสะท้อนจากสถานประกอบการจริงที่มองเห็นจุดที่ยังคงต้องปรับปรุงหลหักสูตรในส่วนใด ระดับปริญญาตรีต้องให้จบหลักสูตรแล้วมีการประเมินปรับปรุงให้เหมาะสมที่สุดต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #ประเมิน
หมายเลขบันทึก: 616794เขียนเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 07:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 ตุลาคม 2016 07:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท