อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

นักส่งเสริมสุขภาพองค์รวม : โภชนบำบัด 2


นักส่งเสริมสุขภาพองค์รวม : โภชนบำบัด

โดย ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา PH.D

อาหารจำเพาะโรค

อาหารโปรตีนสูง (High Protein Diet) อาหารชนิดนี้มีจำนวนโปรตีนสูงกว่ามาตรฐานเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัด ไฟลวก โลหิตออก (hemorrhage) แผลในที่หนึ่งที่ใดจะเรียกเนื้อให้ตื้นขึ้นโดยเร็ว บวม โรคไต (nephrosis) หญิงมีครรภ์ และแม่ลูกอ่อน

อาหารโปรตีนต่ำ (Low Protein Diet) จำกัดอาหารโปรตีน สำหรับผู้ป่วยด้วยโรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง

อาหารคาร์โบไฮเดรทสูง (High Carbohydrate Diet) เพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรทสูงสำหรับคนเป็นโรคดีซ่าน acidosis ครรภ์เป็นพิษ (toxemia of pregnancy) และโรคที่เกี่ยวกับลำไส้

อาหารคาร์โบไฮเดรทต่ำ (Low Carbohydrate Diet) เป็นอาหารที่แป้งและน้ำตาลถูกลดจำนวนลง ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคลมบ้าหมู (epilepsy) ข้ออักเสบ (arthritis) และโรคช่องท้อง

อาหารไขมันสูง (High Fat Diet) ใช้เมื่อต้องการความร้อนหรือแคลอรีสูงกว่าธรรมดาเพื่อต้องการให้น้ำหนักขึ้น โรคท้องผูกเรื้อรัง ลมบ้าหมู กรวยไตอักเสบ แผลในกระเพาะและลำไส้ (peptic ulcer)

อาหารไขมันต่ำ (Low Fat Diet) จะตัดจำนวนไขมันลงเพื่อรักษาโรคไต ท้องเดิน โรคช่องท้อง โรคดีซ่าน และโรคอ้วน

อาหารโซเดียมต่ำ (Low Sodium Diet) ต้องลดจำนวนเกลือในการประกอบอาหาร เพราะตามปรกติ เกลือเป็นส่วนประกอบอาหารแทบทุกชนิด มากบ้างน้อยบ้าง สำหรับรักษาโรคบวมทุกชนิด โรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ กรดมากในกระเพาะอาหาร

Purin Free Diet อาหารชนิดนี้จำกัดพูรีน (purin) ซึ่งมีอยู่ในเนื้อสัตว์โดยมากในเนื้อวัว ปลา และเครื่องในของสัตว์ ธัญพืชบางชนิด ชาและกาแฟ ใช้สำหรับโรคไตเรื้อรัง ข้ออักเสบและโรคเก๊าท์ (gout)

อาหารแคลอรีสูง (High Calorie Diet) ต้องเพิ่มแคลอรีสูงกว่าอาหารมาตรฐาน เพื่อทดแทนความร้อน ซึ่งหมดไปโดยการเผาผลาญอย่างรวดเร็ว จะเพิ่มสารอาหาร (nutrient) ได้ทุกชนิดสำหรับรักษาไข้ต่างๆ ซึ่งมีระยะนานวัน โรคผอมแห้งแรงน้อย วัณโรค หลังจากเสีย เลือดเป็นจำนวนมาก อาหารที่เพิ่มขึ้น คือ นมและไข่

อาหารมีกาก (Roughage Diet) อาหารชนิดนี้ประกอบด้วยผลไม้สดและแห้ง ผักสดชนิดต่างๆ ทั้งใบและฝัก และอาหารอื่นที่มีกากหยาบๆ ใช้ในการรักษาโรคท้องผูกเรื้อรัง โรคอ้วน โรคเบาหวาน

อาหารมีกากน้อย (Low Residue Diet) ประกอบด้วยอาหารที่ย่อยง่ายไม่มีกาก สามารถดูดซึมได้ง่าย ไม่รบกวนต่อประสาทและเยื่ออ่อนของอวัยวะภายใน ใช้ในการรักษาโรคท้องเดินเรื้อรัง แผลในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยที่มีไข้ ก่อนและหลังการผ่าตัดเพื่อไม่ต้องการให้ ลำไส้ขยับเขยื้อนมาก

อาหารอุดมด้วยเกลือแร่ (Diet Rich in Mineral Salt) อาหารชนิดนี้เพิ่มปริมาณธาตุปูนและธาตุเหล็กมากกว่าธรรมดา จะหาได้จากจำพวกนม ไข่ ผักใบเขียว ผลไม้ จำพวกธัญพืชต่างๆ เนื้อสัตว์ ถั่วแห้งต่างๆ ผลไม้ตากแห้ง

อาหารอุดมด้วยธาตุเหล็ก (iron rich Diet) ใช้ในการรักษาโรคโลหิตจาง (anemia) ทุกชนิด และในผู้ที่มี Secondary anemia เช่นในทารกที่เกิดใหม่ และหญิงมีครรภ์ โรคขาดอาหารหลังจากมีโลหิตออก (hemorrhage) ท้องเดินเรื้อรังและอาเจียน มาเลเรีย พยาธิลำไส้

อาหารอุดมด้วยแคลเซียม (Calcium Rich Diet) ใช้ในการรักษาวัณโรค โรคกระดูกอ่อน (osteomalacia) ชัก ฟันผุ และกระดูกหัก

อาหารนม (Milk Diet) อาหารชนิดนี้ประกอบด้วยนมทั้งหมด หรือ นมกับครีม มักใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวแก่กระเพาะอาหาร



หมายเลขบันทึก: 616352เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2016 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2016 11:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท