สมุนไพรไทย "ขมิ้นชัน"


ขมิ้นชัน Curcuma longa Linn. Zingiberaceae ชื่อสามัญ TURMERIC ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแก่จัด รสฝาด เฝื่อน กลิ่นหอม ขนาดและวิธีใช้ ใช้เหง้าแก่ตากแห้ง บดเป็นผง ขนาด 500 มิลลิกรัม ปั้นเป็นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง หรือจะใส่แคปซูล รับประทานวันละ 4 ครั้ง หลังอาหาร และก่อนนอน - ใช้เหง้าขมิ้นแก่สดฝนกับน้ำสุก หรือผงขมิ้นชันทาบริเวณที่เป็นฝี แผลพุพอง หรืออักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย สรรพคุณ ใช้ป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร การที่เหง้าขมิ้นชัน สามารถป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ เพราะในเหง้า มีสารเคอร์คิวมิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้หลั่งสาร MUCIN ออกมา เคลือบกระเพาะอาหาร - แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม การที่ผงขมิ้นสามารถขับลม บรรเทาอาการ ท้องอืดเฟ้อได้ เพราะมีน้ำมันหอมระเหย เป็นน้ำมันสีเหลือง - สำหรับรักษาฝี แผลพุพอง การที่ขมิ้นชัน สามารถรักษาฝี แผลพุพองได้ เนื่องจากในขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และมีสารสีเหลือง ชื่อ เคอร์คิวมินมีฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย - ใช้ลดอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย การที่ขมิ้นชัน สามารถลดอาการแพ้ อักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ เนื่องจากในขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย และมีสารสีเหลือง ชื่อ เคอร์คิวมิน มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ข้อควรระวัง 1. การใช้ผงขมิ้นเป็นยารักษาโรคกระเพาะ ถ้าใช้ขนาดสูงเกินไปจะทำให้เกิดแผลในกระเพาะ 2. คนไข้บางคนอาจมีอาการแพ้ขมิ้น โดยมีอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัว นอนไม่หลับ ให้หยุดยา
คำสำคัญ (Tags): #สมุนไพร
หมายเลขบันทึก: 61615เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท