​3 ขั้นตอนของ การทำงาน(ตามหลัก "สัมมาอาชีวะ")


3 ขั้นตอนของ การทำงาน(ตามหลัก "สัมมาอาชีวะ")

"ต้อง" เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชีวิต
*******************************
เมื่อเกิดมาเป็น "คน" และสัตว์ ทุกชนิด นั้น ก็มีความจำเป็นต้อง "ทำการงานและหาเลี้ยงชีวิต" เป็นแรงจูงใจ

ในเบื้องต้นก็เพื่อทำให้ชีวิตมีความเป็นอยู่ตามอัตภาพ ที่มักจะเป็นจุดเริ่มต้นของความสับสนระหว่าง "การหาเลี้ยงชีวิต" กับ "การทำงาน"

เมื่อหาเลี้ยงชีวิต คนจำนวนหนึ่งอาจจะหลงไปติดกับ "ตำแหน่ง ลาภ ยศ สรรเสริญ นินทา" ที่บางทีไปทำให้เกิดความเสียหายและขัดแย้งทั้งกับตัวเองและสังคม
---------------------------------------------
แต่การทำงานที่แท้จริงคือ การพัฒนาชีวิต ทั้งทางโลก และทางธรรม แบบไม่ขัดกัน โดยเป็น สัมมาอาชีวะ เป็น การแก้ปัญหา และสร้างสรรสังคม ที่เป็นผลงานที่ยั่งยืนกว่าทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทั้งกับชีวิต (กายและใจ) และสังคม และสิ่งแวดล้อม
------------------------------------------------
โดยในเบื้องต้น (1)..................

*ไม่เบียดเบียนทั้งตัวเอง ครอบครัว สังคม และทรัพยากร
*แก้ปัญหาชีวิตและสร้างสรรสังคม ทั้งที่ตัวบุคคลและสังคม ทั้งโดยตรงและโดยอ้อม
*ไม่มีผลเสีย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
*ไม่ทำชีวิตให้ของตนเอง และผู้อื่น ตกต่ำ หรือ ทำลายคุณค่าชีวิต
*ส่งเสริมและพัฒนาคุณค่าชีวิต
--------------------------------------
และ ท่ามกลาง (2).............

**ใช้อาชีพเป็นสนามการพัฒนาชีวิตตนเอง ความรับผิดชอบ การขยัน มีวินัย ความสามารถ วิชาการ ฯลฯ

**เกิด "ผลงาน" และ "ผลเงิน" ที่แท้จริง แยกกัน ไม่สับสน กับผลที่เกิดขึ้น
---------------------------------------
และ ในเบื้องปลาย (3)..................

***เกิด "ความสุข" จากผลงาน (เหตุกับผล ต้องตรงกัน ตามหลักธรรมชาติของ สัมมาอาชีวะ)
***ไม่เป็นไปตาม "สมมติ" (การยอมรับ หรือ ข้อตกลงร่วมกันของกฎมนุษย์) แต่เป็นไปตามความเป็นจริง (กฎธรรมชาติ) หรืออย่างน้อยต้องไม่ขัดแย้งกัน อย่างเป็นจริง กับชีวิตของตนเอง
*** ด้วยความเต็มใจ สุขใจ สบายใจ ไม่จำใจทำ
***เข้าถึงกฎของธรรมชาติ
***แก้ปัญหาชีวิตและสังคมได้ในขณะเดียวกัน
*** เกิดผลที่ดีกับสังคมโดยรวม
--------------------------
โดยมีบททดสอบ ชี้วัด.............

****ถ้าไม่มีความสุขจากการทำงาน ก็คือการ "พ่ายแพ้ต่อชีวิต" ไม่ประสพผลสำเร็จ
****ไม่มีแรงจูงใจ ที่เป็น ก. ตัณหา (กฎสมมติของมนุษย์) ข. มานะ(ที่แปลว่า อยากเป็นใหญ่ ยิ่งใหญ่ "ถือตัว" อวดโอ้ เอาชนะเพื่อนร่วมงาน) ค. โลภะ (อยากได้มากเกินความจำเป็น) ง.โมหะ (ขาดปัญญา ขาดความเข้าใจกฏธรรมชาติ)
****ไม่มองเพื่อร่วมงานเป็นคู่แข่ง ที่ทำให้เกิดทุกข์กับตัวเอง เบียดเบียนซึ่งกันและกัน (มาจากแนวคิด "แข่งขัน" ของทางตะวันตกที่ใช้การแข่งขันเป็นตัวชีวัดความสำเร็จ ที่เน้นการ "สุขจากการเสพ" นำไปสู่ความเจริญในระยะสั้น แต่เกิดความเสื่อมในระยะยาว ทั้งตัวเอง สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ)
****ไม่แปลกแยกจากธรรมชาติ
--------------------------------------------
แต่....

****เกิดผลสุดท้าย ให้เป็น "งานที่ดีที่สุด" ไม่ใช่ "ตัวเรา" ดีที่สุด
****เพราะสิ่งที่ยั่งยืนที่สุด คือ คุณงามความดี
****ที่เป็น"ผลงาน" ที่แท้จริงให้กับการพัฒนาชีวิตของเรา
**** งานยิ่งยาก ยิ่งได้ผลงานเพื่อการพัฒนาได้มาก
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
(สรุปมาจากการบรรยายธรรมะของ พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตโต)

คำสำคัญ (Tags): #สัมมาอาชีวะ
หมายเลขบันทึก: 615899เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2016 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2016 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท