วัยหมดประจำเดือน


วัยหมดประจำเดือนหรือที่เรียกว่าวัยทองเป็นช่วงหนึ่งที่สำคัญของชีวิตผู้หญิง ผู้หญิงหลายคนรู้สึกกังวลเรื่องนี้มากเพราะจะทำให้ตัวเองจะต้องเปลี่ยนแปลงไปในหลายด้านจนกลายเป็นคนละคนเลยก็ว่าได้ทั้งร่างกายและจิตใจด้วย จึงส่งผลกระทบให้ผู้ที่อยู่ในวัยนี้มีอารมณ์ที่ผันผวนเป็นอย่างมาก โดยปกติผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปแต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยในแต่ละบุคคล บางคนอาจจะเริ่มที่ช้ากว่านั้นหรือว่าบางคนอาจจะเร็วกกว่านั้น เมื่อเข้าสู่วัยนี้ควรที่จะดูแลตัวเองให้เหมาะสมกับวัย โดยข้อมูลที่จะนำเสนอมีดังนี้

เมื่ออายุเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน : โดยทั่วไปเมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไปประจำเดือนก็จะมาน้อยลง และจะหมดไปภายใน 12 เดือนก็จะไม่มีหรือมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ในช่วงอายุนั้นอาจจะไม่สามารถกำหนดๆได้ว่าจะเริ่มเข้าสู่วัยทองแต่เมื่อไหร่ บางคนก็เริ่ม 40 บางคนก็เริ่ม 60 ปี อายุที่เข้าสู่วันหมดประจำเดือนนั้นส่วนมากมักจะเท่ากับอายุของผู้เป็นแม่ของตัวเอง เพราะฉะนั้นอยากรู้ว่าตัวเองจะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนเมื่อไหร่สามารถสังเกตจากผู้เป็นแม่ได้ โดยผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนจะมีอาการ หงุดหงิดง่าย ร้อนวูบวาบ แต่ประจำเดือนก็ยังมาเป็นปกติ อยู่ในช่วงที่ฮอร์โมนเกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นเอง พอสักระยะประจำเดือนก็จะเริ่มมาน้อยลงและมีระยะห่างขึ้น
น้ำหนักตัวเพิ่ม : เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนน้ำหนักตัวก็เริ่มเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากฮอร์โมนเพศไม่สมดุล ใช้พลังงานของร่างกายลดลง ร่างกายจะเก็บไขมันไว้ที่ต้นขาบ้าง ที่สะโพกบ้าง น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากมีการควบคุมอาหารได้รับโภชนาการที่พอเหมาะ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอจะช่วยความคุมน้ำหนักได้
กระดูกไม่แข็งแรง : เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วจะมีอาการกระดูกเปราะบางเป็นอย่างมาก และมีโอกาสที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนสูง หากไม่ป้องกันก็จะเกิดโรคไขข้ออักเสบ ปวดกระดูก และอาจจะหักได้ง่าย หากต้องการลดความเสี่ยงต้องปรับปรุงคุณภาพในการดำรงชีวิต การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดี ออกกำลังจะช่วยได้
ความต้องการเพศลดลง : เนื่องจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนจะทำให้ร่างกายและอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไม่คงที่ส่งผลทำให้น้ำที่ช่องคลอดลดน้อยลง ทำให้เวลาร่วมเพศรู้สึกเจ็บ และด้วยอารมณ์ที่ไม่คงที่ทำให้ไม่ค่อยมีความต้องการหากเราพัฒนาทางด้านอารมณ์จะช่วยได้
สัญญาณแรกของการเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน : โดยทั่วไปก็จะมีประจำเดือนที่ลดลง และมีอาการต่างๆดังนี้

– เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง
– ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือว่ามาเพียงเล็กน้อย
– มีอารมณ์วิตกวังวล หงุดหงิด แปรปรวน
– ผมร่วง
– มีความต้องการทางเพศลดลง
ช่วงอายุของวัยหมดประจำเดือน : ในช่วงเวลาเข้าสู่วัยนี้นั้นจะแล้วแต่ในแต่ละบุคคลโดยไม่เข้าเร็วหรือช้าไม่เท่ากัน โดยมีปัจจัยอื่นร่วมด้วยอย่างเช่น
– อายุของแม่ที่เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ลูกก็จะเริ่มเข้าเช่นเดียวกับแม่
– การสูบบุหรี่จะทำให้เข้าสู่วัยนี้เร็วขึ้น
– การที่เคยตั้งครรภ์จะทำให้เกิดได้ช้า
– ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดเร็วขึ้น

การดำเนินชีวิตของคนวัยหมดประจำเดือน : การดูแลตัวเองเป็นเรื่องที่สำคัญ ด้วยความไม่สมดุลต่างๆของร่างกายที่เกิด จะต้องดูแลในทุกด้วย เอาใจใส่ในเรื่องของอาหาร อารมณ์ที่ผันผวนอย่างรวดเร็ว อาการต่างๆของร่างกาน ควรได้รับอาการที่เหมาะสมอย่างเช่นถั่วเหลืองที่ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน และอาหารอย่างอื่นที่ได้รับจากธรรมชาติ
สมุนไพรที่เหมาะสมกับวัยหมดประจำเดือน : อาการต่างๆที่ผิดปกติบรรเทาอาการผิดปกติของร่างกายได้ สมุนไพรที่เหมาะสมจะทำให้ร่างกายมีความสมดุล และจะทำให้ร่างกายไม่ต้องพึ่งยา อย่างเช่น สะระแหน่ จะช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดี ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี ทำให้ร่างกายได้รับ ฟอสฟอรัส แมงกานีส และวิตามินต่างๆ
อาหารที่เหมาะสมกับวัยหมดประจำเดือน : ความรุนแรงที่เกิดจากผลข้างเคียงของวัยทองขึ้นอยู่กับผู้หญิงในแต่ละคนการรับประทานที่ถูกต้องตามโภชนาการจะช่วยปรับความสมดุลให้กับร่างกายตัวเองได้ โดยแนะนำดังนี้

  • อาการที่ไขมันต่ำ จะช่วยให้รักษาน้ำหนักไม่ให้เพิ่มขึ้นง่าย และควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง
  • อาหารต่างๆที่เพิ่มฮอร์โมนเอสโตรเจน อย่างเช่นถั่วเหลือง ลูกพรุน สเตอเบอรี่ องุ่น ส้ม ส้มโอ ลูกแพร์ แอปเปิ้ล แครอท แตงกวา กะหล่ำปลี จะช่วยให้ความสมดุลของฮอร์โมนได้ดีขึ้น
  • อาหารที่มีกรดโฟลิก โปรตีน วิตามินบี 6 แคลเซียม จะเหมาะสมและเสริมสร้างความเสี่ยงที่เกิดจากวัยนี้ได้

นอกจากนี้แล้วยังมีวิธีอื่นที่มีความจำเป็นในการบำรุงรักษาสุขภาพของวัยหมดประจำเดือน ได้แก่ การออกกำลังกาย ลดความเครียดจากการพักผ่อนให้เพียงพอ การนั่งสมาธิ ปรับสภาพจิตใจ และการปรึกษาแพทย์จะทำให้ผ่านช่วงได้ไม่ยาก


คำสำคัญ (Tags): #วัยทอง
หมายเลขบันทึก: 615294เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2016 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กันยายน 2016 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท