การดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมบำบัด


พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง ...



“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...”



“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง



ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ ๕ ส่วน ดังนี้
1. ความพอประมาณ: หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
2. ความมีเหตุผล: หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว: หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
4. เงื่อนไข : การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้นต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
- เงื่อนไขความรู้: ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยง
กัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
- เงื่อนไขคุณธรรม: ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาใน
การดำเนินชีวิต
5. แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ : ผลจากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน



กิจกรรมบำบัด : คือ การส่งเสริมให้บุคคล ผู้ป่วยต่างๆ สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มความสามารถและใกล้เคียง ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะต้องอาศัยความรู้หลายๆด้าน เพื่อช่วยลดข้อจำกัดทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสังคมของบุคคลเหล่านั้น อีกทั้งยังอาจต้องช่วยปรับ/ให้คำแนะนำในการปรับสภาพแวดล้อม เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มศักยภาพ



จากข้างต้นจะเห็นได้ว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกิจกรรมบำบัดนั้นมีความสัมพันธ์กัน เพราะในชีวิตประจำวันในการรักษาผู้ป่วย หรือการใช้กิจกรรมบำบัดในการฟื้นฟูบุคคลต่างๆนักกิจกรรมบำบัดจะต้องอยู่ในความพอดี คือ ประเมิณสภาวะหรืออาการที่ผู้ป่วยเป็นเนื่องจากผู้ป่วยแต่ละคนต้องใช้กิจกรรมในการบำบัดที่ต่างกันออกไปและจะได้ดำเนินการรักษาอย่างถูกต้อง โดยการรักษานั้นนักกิจกรรมบำบัดจะต้องรักษาอย่างรอบคอบมีการคิดอย่างเป็นเหตุป็นผล ใช้ความรู้ในวิชาชีพที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยให้มากที่สุดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด คิดถึงสถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดกับผู้ป่วยจากการได้รับการรักษากิจกรรมในรูปแบบนี้ และที่สำคัญคือนักกิจกรรมบำบัดจะต้องมีจิตเมมตา มีคุณธรรม และคำนึงถึงผละประโยชน์ที่ผู้ป่วยจะได้รับมากที่สุด

หมายเลขบันทึก: 614649เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2016 00:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กันยายน 2016 00:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท