หลักสูตร ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (PSU EXECUTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR THE FUTURE) (ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่ 12-14 กันยายน 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำ

ขอต้อนรับลูกศิษย์หลักสูตร ผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 2 (PSU EXECUTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT PROGRAM FOR THE FUTURE) ทุกท่านอย่างเป็นทางการ

ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสเป็นผู้จัดหลักสูตรเพื่อการพัฒนาผู้นำ ผู้บริหาร และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

และขอใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ที่เราจะเรียนร่วมกันสำหรับช่วงที่ 7 ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 12 กันยายน 2559

People Management & Conflict Management by Coaching

โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

ผู้ก่อตั้ง Jimi The Coach Company Limited Thailand Coaching Academy และ Better You Company Limited


ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ถ้าจะเป็นนักพัฒนาคนหรือโค้ช ต้องเป็น Micro and Macro Linkage เป็นโอกาสดีที่พบอาจารย์จิมมี่ เราจะได้อะไรจากหลักสูตรนี้ ได้ Value Creation , Value Diversity และ Overcome Difficulty ได้หรือไม่

สิ่งที่ควรจับให้ได้คือแก่น โดยเฉพาะรุ่นนี้เป็น Future Leader

ประเด็นคือเราจะทำอะไรที่ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่องในอนาคต

หลักสูตรนี้เปลี่ยน Mindset เพื่อไปเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน

อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

ถ้าองค์กรเข้าใจจริง ๆ จะต้องส่ง Talent มาให้โค้ช เพราะการโค้ชคือการพาคนจากอีกที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งอย่างมีความสุขและมีจริยธรรม

อย่าคิดว่าผู้บริหารทำงานได้ดีถ้าที่บ้านไม่มีความสุข

ชีวิตของผู้บริหารส่วนมาก Technical Skill จะเก่งอยู่แล้ว โค้ชที่จะเข้ามาช่วยได้

Leader ต้องสร้างผู้นำไม่ใช่สร้างผู้ตาม ถ้าเราสร้างผู้ตามไปเรื่อย ๆ จะทำให้เหลือสิ่งที่ได้รับน้อย เราต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีของ คือมีต้นทุนมาตั้งแต่เกิดเท่า ๆ กัน เราเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่ได้มาตั้งแต่เกิด เราต้องเชื่อว่าทุกอย่างอยู่ที่ตัวเราถึงจะพาไปข้างหน้าตามที่ต้องการ

ดังนั้น โค้ชต้องเชื่อให้ได้อย่างนี้ ต้องสามารถดำรงตนที่จะอยู่ข้างหน้า 100 % และต้องเชื่อว่าทุกคนมีของในตัวเองอยู่แล้ว

เราต้องเข้าใจการเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง เพราะมีคนที่ไหนจะมี Conflict ที่นั่น เราต้องเข้าใจมนุษย์อย่างแท้จริงได้อย่างไร

ได้ยกตัวอย่างปูนซีเมนต์ไทย ที่เชื่อเรื่องคนว่ามีคุณค่า คุณกานต์ที่ปูนซีเมนต์ไทย กล่าวว่าในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง อาจหยุดรับคนบ้างแต่ไม่หยุดพัฒนาคน ได้กล่าวว่าการพัฒนาคน ไม่สนใจในเรื่องการวัดผล มองเรื่องการพัฒนาคนเป็น Asset

Training แล้วได้อะไร ?

- จะรู้ได้อย่างไรว่าทุกคนเก่ง เก่งอย่างไร

- Train เพื่อให้ Act หรือการปฏิบัติ ต้องเริ่มจาก Know แล้ว Act และเมื่อคนจะ Act ได้คนจะต้องมี Feeling อยู่ข้างใน คือต้องมีภาวะจิตใจที่ ฮึกเหิมถึงอยากทำ และต้องทำให้เป็น Believe

ดังนั้นการทำให้เขาเชื่อ แล้ว Feel ได้ จะทำให้เขา Act

ได้ยกตัวอย่าง นักกอล์ฟที่คุณจิมมี่เป็นโค้ช กล่าวว่าให้รักทุกช้อต ที่ตี และทำให้เขาได้แชมป์ในเวลาต่อมา สิ่งที่เปลี่ยนคือเปลี่ยนจากสิ่งที่ทำเป็นประจำคือ Routine ที่กลัวว่าหลุดสุดท้ายจะไม่ชนะ เกรงใจสปอนเซอร์ เกรงใจโลโก้ เกรงใจแคดดี้ มีความคิดหลายอย่างอยู่บนหัวเหมือนแบกภาระ แต่ท้ายที่สุดก็ปล่อยวาง ให้มองว่าตีกอล์ฟเพราะรักการเล่นกอล์ฟ ไม่ใช่เพราะต้องการแข่งขัน

การเป็นผู้นำคนอื่นได้ อาจไม่จำเป็นต้องเป็น Technical Skill มาก แต่ต้องเข้าใจและรู้ว่าแต่ละคนมีที่มาที่ไปของเขา ทุกการกระทำมีที่มาและสาเหตุทั้งสิ้น ทุกสิ่งมีที่มาที่ไปว่าทำไมต้องเป็นเช่นนั้น ถ้าเข้าใจที่มาที่ไปได้จะเริ่มอภัยเขา และปล่อยวางได้ ให้เรามองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นก่อนอย่างนิ่ง ๆ แล้วจะเป็นผู้นำที่มีสติ ไม่ตัดสินคนอื่น รวมถึงไม่ตัดสินตนเองด้วย ต้องรู้จักให้อภัยตนเอง ซึ่งถ้าคนยังรู้สึกผิดอยู่ เขาจะไม่บริหารงานได้ดี เช่น อาจเมตตามากเกินไป ไม่ได้ Take Action ในสิ่งที่ควร Take Action

Peak Stage

1. Focus

2. Language

3. Physiology

ลองเชื่อว่าแม้ว่าร่างกายหายไปแต่ดวงจิตยังอยู่ ให้รู้จักอภัยตนเองและคนอื่นให้ได้

- ทุกอย่างที่คิดในหัวมีผลต่อร่างกายทั้งสิ้น สิ่งที่ผูกมาคือสิ่งที่เราคิดเองทั้งสิ้น ในโลกนี้ทุกสิ่งเกิดจากการตีความทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดเป็นจริงแม้สิ่งเดียว

- Conflict ทุกอย่างที่เกิดขึ้น เกิดจากการตีความทั้งสิ้น

- เมื่อไหร่จิตตก อย่านั่งอยู่กับที่ ให้ออกไปข้างนอก ให้เปลี่ยนอิริยาบถ อย่าอยู่แบบเดิม เพราะ Phycology มีผลต่อ Physiology

- Performance ที่ดีที่สุดจะมาจากอารมณ์ที่พร้อมจะ Perform หรือเรียกว่าอยู่ในภาวะ Peak Stage คือภาวะอารมณ์ที่พร้อมจะไปคุยให้เกิดผลที่สมบูรณ์มากที่สุด

สิ่งที่ทำให้สภาวะอารมณ์ไม่ Perform ได้แก่

ส่วนหนึ่งคือ ภาษา (Language) มีส่วนทำให้อารมณ์ไม่เป็นบวก 100% เช่น จู้จี้ อ้วนดำ ไม่มีมารยาท

เช่น คนจู้จี้ ให้มองถึงคุณสมบัติที่ดีที่สามารถจู้จี้ได้คือ เก็บรายละเอียด ดูแลดี เป็นระเบียบ เป็นห่วง เอาใจใส่ เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ รักอนาคต รักครอบครัว ทำมาหากิน รอบคอบ มี Trust ให้เราถึงกล้าบ่น

อ้วนดำ เสียสละกินให้ก่อน มีความสุข ไว้ใจว่ารัก อารมณ์ดี มั่นใจ เห็นคุณค่าของตัวเองว่ารูปลักษณ์ไม่สำคัญที่สุด มีความรัก ม

สรุปคือให้มองที่ข้อดีมากกว่าพฤติกรรมที่เขาเป็น เปลี่ยน Focus จะช่วยให้ Stage ดีขึ้น และสุดท้าย ภาวะร่างกาย (Physiology) จะเปลี่ยนไป

การเปลี่ยน Stage

1. เปลี่ยน Focus

2. เปลี่ยน Language ภาษา

3. เปลี่ยน Physiology

โค้ชชิ่งคือคนที่ปกติ และพร้อมที่จะเติบโตไปข้างหน้า แต่โค้ชทุกคนต้องมีทักษะในการแก้ปมที่อยู่เบื้องหลังก่อน วิธีการคือต้องไปปรับที่ Stage ก่อน เช่น สังเกตสิ่งที่อยู่รอบตัว เพื่อดึงสติกลับมา

สามเหลี่ยม Peak Stage

ที่มาคือ Stage เป็นลบ ให้ไปแก้สิ่งนั้น เช่น Physiology เมื่อ Drop ลง Stage จะตกทันทีเลย แต่ถ้ามี Physiology ที่ดี จะส่งผลให้อารมณ์ดีได้ แต่อาจไม่จำเป็นเสมอไป สิ่งที่ควรทำคือให้ focus ในสิ่งที่เขาทำได้ เพื่อสร้าง Stage ที่สมบูรณ์

ให้สังเกตลูกน้องที่เล่าข้อมูลมาแสดงว่าอยู่ Stage อะไร ให้สังเกตจาก Story ถ้า Story เล่าเป็นลบ Stage จะเป็นลบ

ตัวอย่าง Story ที่เป็นลบ

- ถ้าเรื่องที่เล่ามีแต่ลบ เช่น ไม่สามารถปรับ 2 ขั้นได้ เจ้านายไม่สามารถปรับเปลี่ยนตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ไม่ยุติธรรม คนที่ได้ขึ้นเป็นเพื่อน ใจแคบ

- ดังนั้นคนที่จะพัฒนาไปได้ต้องมี Strategy ที่ดีก่อน

เช่น ความโกรธ ให้ลองดูว่าเริ่มโกรธตั้งแต่เมื่อไหร่ สาเหตุที่ทำให้โกรธคืออะไร เช่น ไม่ได้อย่างใจ ทำงานไม่ได้ตามสั่ง โดดงานบ่อย สิ่งที่คิดไว้ว่าคนไม่ทำตามสั่งในหัวเพราะอะไรบ้าง

ถ้ามองในด้านลบ เช่น ดื้อ ขี้เกียจ เป็นกระบวนการทางสมองก่อนที่จะเกิด

แต่ถ้ามองในอีกมุมที่ดี เช่น ไม่รู้ ไม่เข้าใจ สั่งไม่ชัด มีงานอื่นมาก อารมณ์ไม่ดีเพราะมีปัญหาส่วนตัวบอกไม่ได้ ไม่ถนัด ขี้อาย เกรงใจ ไม่กล้าถาม ทำให้ความรู้สึกที่เปลี่ยนจากโกรธ เป็นสงสาร เห็นใจ

ดังนั้น การเป็นโค้ช ต้องได้ยินในสิ่งที่เขาไม่ได้พูด ต้องมีความสามารถในการดำรงตนกับคนที่อยู่ตรงหน้า 100 % โดยไม่มีการตัดสิน (Judgment)

คนที่มี Conflict เกิดจากการมองในสิ่งที่ไม่เหมือนกัน เพราะเราตัดสินจากสิ่งที่เราเป็น ไม่ได้ตัดสินจากที่เขาเป็น เมื่อเริ่มมองคนอื่นดีขึ้น เข้าใจมากขึ้น ให้ศึกษาว่าภายใต้พฤติกรรมที่ไม่ชอบนั้น มีคุณสมบัติที่ดีผลักดันขึ้นมาเสมอทุกเรื่อง แต่บางครั้งเขาไม่ได้มีโอกาสได้ใช้ในสภาพแวดล้อมที่จะทำได้ ให้เข้าใจแล้วเราจะสามารถปรับ Stage ที่ดี เป็นสภาพแวดล้อมที่ดีของคนรอบข้าง ใช้ศักยภาพของคนในองค์กรดีที่สุดเท่าที่มีติดตัวมา จะ Happy กับการทำงานมาก มีความพร้อมที่จะทำงานได้ตลอดเวลา

ยกตัวอย่าง โจน จันได กล่าวว่าถ้ามนุษย์มีปัจจัย 4 จะทำให้มนุษย์สามารถแข็งแรงมาจากข้างใน และสอนคนอื่นได้ คือถ้าคนมีบ้านอยู่ แล้วมีอาหารกินจะกล้าออกจากงานหรือไม่ ถ้าเราเชื่อว่าเราทำสิ่งที่เราชอบ แล้วรัก แล้วทำให้ดี แล้วมีคนไม่ชอบที่เราทำงาน เราจะกลัวหรือไม่ ประเด็นคือเราไม่มั่นคงในจิตใจและไม่พร้อมที่จะทำศักยภาพที่ดีที่มีอยู่ในตัวเราออกมา

สรุปคือ Conflict เกิดขึ้นตั้งแต่ตัว Individual และถ้าเราไม่สามารถแก้ไข Conflict เราได้ ก็อย่าคิดไปสลาย Conflict คนอื่นเลย ก่อนอื่นคือเราต้องหาตัว Conflict ในตัวให้ได้ว่ามีกี่ตัว

ถ้าเราไม่เป็นตัวเอง 100 % เราจะไม่ชอบตัวเองอยู่ลึก ๆ เพราะไม่เช่นนั้นจะเกิดอาการ

- Fly หนี

- Fight ต่อต้าน

- Freeze แข็ง อึ้ง

- Fake เสแสร้ง เออออ

การร่วมแสดงความคิดเห็น

คำถาม เมื่อมีความเข้าใจจากข้างในแล้วจะมีความอดทนน้อยลงหรือไม่

คำตอบคือ ถ้าเรานิ่งพอ เราไม่จำเป็นต้องอดทน แต่เราจะเข้าใจ

คำถาม เด็กสมัยนี้ไม่อดทนในการทำงาน เพราะมีความเชื่อว่าออกจากงานแล้วอยู่บ้าน พ่อแม่จะเลี้ยง จริงหรือไม่

คำตอบ คือ ความอดทนในสมัยนี้ เด็กสมัยนี้ที่ไม่อดทนเพราะเขารู้สึกว่าไม่ต้องอยู่กับอะไรนาน ๆ ก็ได้ เพราะสิ่งแวดล้อมสอนว่า ไม่ต้องอยู่กับอะไรนาน ๆ เพราะเดี๋ยวโลกก็เปลี่ยนไป ชีวิตเขาจะผิว ๆ เด็กสมัยนี้จะใช้ศักยภาพสูงสุดที่เขามีตอนที่เขาอยู่ เราต้องใช้ Tacit Knowledge ให้คุ้มค่าที่สุด เราต้องเข้าใจในสิ่งที่เขาเป็นจริง ๆ

โค้ชคืออะไร?

- การทำอาชีพโค้ชที่ทำแล้วรุ่งเรือง คือจะต้องอยู่ให้เห็นแล้วเป็นให้ดู

- เป็นอาชีพที่ทำแล้วมีความสุขที่ช่วยคน แล้วมีคนจ่ายเงินให้ด้วยจะดีมาก

- พาคนจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งที่เขาต้องการด้วยศักยภาพของเขาเอง เป้าหมายคือให้คนขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยตัวเอง

พระพุทธเจ้า ตรัสว่า “ไม่มีใครช่วยใครได้ เราต้องช่วยตัวเราเอง”

ดังนั้น ถ้าเราไม่สามารถตัดสินที่จะเปลี่ยนแปลง ไม่มีใครช่วยเราได้ นอกจากตัวเราเอง

- การโค้ชชิ่ง เป็นการตั้งคำถาม แต่เป็นคำถามที่ต้องให้คนตอบตัวเองได้ โค้ชต้องมีทักษะในการได้ยินในสิ่งที่ไม่ได้พูด และตั้งคำถามในสิ่งที่ใคร่รู้ ให้หาคำตอบด้วยตัวเขาเอง ไม่ต้องกลัวผิด กลัวถูก ดังนั้นโค้ชต้องมีทักษะในการที่ให้โค้ชชี่ตอบอะไรก็ได้โดยไม่กลัวที่จะตอบถูกหรือผิด

- อะไรก็ตามที่พามาถึงวันนี้ จะไม่พาเราไปข้างหน้าอีกแล้ว หมายถึง สิ่งที่เราต้องเปลี่ยนไป คือเราต้องทำให้ลูกน้องตัดสินใจเก่งเหมือนเรา เราอย่าไปแย่งซีนลูกน้องเล่น แต่เราจะทำอย่างไรให้ลูกน้องเก่งเหมือนที่เราเป็น ให้ลองนึกว่ามีปัจจัยอะไรให้เราเป็นอย่างที่เราเป็นในปัจจุบัน ดังนั้น Mindset ของโค้ชคือต้องนิ่ง และเชื่อว่าเขารู้คำตอบของเขาอยู่แล้ว

แต่ถ้าหัวหน้าบอก ให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี แล้วถ้าลูกน้องมี Mindset ว่าต้องเชื่อฟังหัวหน้า อ่อนน้อม ถ่อมตน กตัญญู ให้เกียรติ ซึ่งเป็นการทำหน้าที่ที่ดี แต่ผลคือจะไม่พาให้เราพัฒนาไปไหนทั้งคู่เลย

คนที่มั่นคงจริง จะไม่ต้อง Proof ให้เขาเห็นว่ามั่นคง เพราะเขาเจ๋งอยู่ข้างใน แต่คนที่พยายามแสดงให้คนอื่นเห็นว่ามั่นคง แต่ในใจจริงแล้วไม่มั่นคง

ถ้าเราคิดว่าเรามีทุกอย่างในตัว ก็ไม่จำเป็นต้องหาสิ่งข้างนอกมาใส่ตัวเรา แต่ที่ใส่ได้คือ Skill คือความรู้ เพื่อเติมคุณค่าที่อยู่ข้างใน แต่ถ้าไม่ Appreciate สิ่งที่ตัวเองมี เติมเท่าไหร่ก็ไม่เต็ม จะดีแค่ไหนถ้าเรารู้คุณค่าในตัวของเราเอง แต่ถ้าคนอื่นไม่ให้คุณค่าเรา เรายังคงนิ่งได้ในสถานการณ์ที่คนอื่นเขาชี้ (นิ่งได้จริง ไม่ใช่ข้างในพลุ่งพล่าน) เราต้องตัดสินใจทำทันที ที่คนไม่ทำเพราะมีความ Fear อยู่ ซึ่ง Fear ทีใหญ่ที่สุดคือ Fear that I’m not good enough เราต้องตระหนักในคุณค่าที่มีอยู่ในตัวเรา What’s the people think of me, It’s not my business. หรือบางคนมี Fear of not being love. มุมมองด้านบวกคือพยายามทำให้คนอื่นรักเราเยอะมาก แต่ข้อเสียคือไม่มีตัวตน ต้องหันกลับมาว่าฉันมีอะไรที่เป็นคุณค่าอยู่ข้างใน ที่จะสามารถดำรงตนในโลกนี้ได้อย่างมีความสุข สามารถทำสิ่งที่ตนสามารถอยากทำได้

คนที่ไม่เต็ม จะไม่มีวันให้ เพราะถ้าให้แล้วจะรู้สึก Fake คือให้เพราะหวังผลอื่น ดังนั้นคนที่เป็นผู้ให้จริงต้องเต็มจากข้างในก่อน ถึงเป็นผู้ให้ได้

ดังนั้น การสร้างคน คือการดึงศักยภาพข้างในคนออกมาได้อย่างแท้จริง เราต้องมีความเชื่อว่าทุกคนเสมือนเป็นไพ่ที่อยู่ในหนึ่งสำรับคือ 52 ใบแล้วถึงเรียกว่า Perfect

- สมมุติว่าเราเกิดมาแล้วมีไพ่ 52 ใบติดตัวมาตอนกำเนิด แต่ถ้าเมื่อไหร่ไพ่ใบที่เคยเวิร์ค แต่พอไม่เวิร์ก แล้วจะทิ้งไพ่ใบนั้น เป็นต้น สังเกตได้ว่าบางคนทิ้งไพ่บางอันไปเลย หรือบางครั้งทิ้งไพ่ไปแล้วแต่เก็บไพ่มาใหม่

ข้อดีของคนเห็นแก่ตัวคือรักตัวเอง ตัวอย่างเพื่อบอกให้แบ่งปันมาก ๆ แล้วคนรัก ทำให้ลืมทิ้งไพ่เห็นแก่ตัว คือรักตัวเองไป

เช่น มีไพ่รับผิดชอบ ประสบความสำเร็จ รักลูกน้อง รักทีมงาน โอบอ้อมอารี มีน้ำใจ เมตตา เด็ดขาด กล้าตัดสินใจ สังเกตว่าบางครั้งที่ใช้ไพ่จากเลือกสิ่งที่ใช้แล้วมองว่าดี แต่ทิ้งไพ่ที่ไม่ใช้เนื่องจากมีประสบการณ์ว่าไม่เคยดีสำหรับชีวิตฉันจึงทิ้งไป และโดยส่วนมากแล้วจะชอบคนที่มีไพ่เหมือนตัวเอง จะรู้สึกว่าใช่เลย หรือบางคนเลือกไพ่บางกองที่นาน ๆ ใช้ที ทำให้บางโอกาสชอบ หรือบางคนถือแต่ข้างหลังไพ่ รู้แต่ว่าแค่นี้ แค่นั้น แต่ไม่รู้ว่าแค่ไหน

สรุปคือ ให้เริ่มรักคนที่เราหมั่นไส้ และเกลียดชัง เพราะเขาเสมือนมีทุกอย่างในไพ่ที่เราทิ้งไป การที่เราทิ้งไพ่ใบใดใบหนึ่ง แสดงถึงเราทิ้งคุณสมบัติที่ดีของไพ่ใบนั้นไปด้วย ดังนั้น เราจึงควรนำไพ่ที่เราเคยทิ้งไปนั้น เพื่อนำกลับขึ้นมาใช้ได้ในบางโอกาส ไพ่ที่ทิ้งไปบางครั้งแม้จะใช้ Energy มาก แต่ก็ควรนำมาใช้ในบางโอกาส และให้ระลึกเสมอว่าไม่มีอะไรที่เราทำไม่ได้ เราต้องแสดงโอกาสของเราให้กับมหาวิทยาลัยให้มากเท่าที่เราจะทำได้

ให้เราสังเกตคนที่เป็น Role Model ของเรา และคนที่เราหมั่นไส้ หรือเกลียด เพราะนั่นคือสิ่งที่เรา Missing Piece ที่เราทิ้งไป

Is it good for me? ดีต่อตนเองหรือไม่

Is it good for others? ดีต่อคนอื่นหรือไม่

Is it good for the greater good? ดีต่อสังคม และศีลธรรมจรรยาหรือไม่

ถ้าดีทั้งสามข้อจงทำ แม้ว่าทำแล้วไม่ Comfortable ก็ตาม

แต่มีบางคนเลือกทำเพราะ Feel good แต่ Not good for me. Not good for others. และ Not good for the greater good. เช่น สูบบุหรี่ มีกิ๊ก ข่มลูกน้อง ปากหมารู้สึกมีความสุขที่ว่าคนอื่น ดังนั้นการโค้ชต้องทำให้เขาตระหนักว่าไม่กระทบกับระบบนิเวศ

แต่มีบ้างที่ตอนทำ Not Feel Good แล้ว Not good for me. Not good for others. Not good for the greater good. เช่น ระงับอารมณ์ไม่ได้ ทำเพราะความเคยชิน ดังนั้นการโค้ชตรงนี้ต้องทำให้เลิกไปเลย

บางคนทำแล้ว Not Feel Good แต่ Good for me . Good for others. Good for the greater good. เช่น อดทนฟังลูกน้องพูดจนจบ การทำ TQA ตื่นมาออกกำลังกายตอนเช้า ตื่นมาใส่บาตรตอนเช้า ดังนั้นการโค้ช จะบอกว่าถ้าเราทำอย่างต่อเนื่องได้ จะทำให้เกิดเป็น Feel Good แล้วจะก่อให้เกิด Growth เป็น Self Development ที่ดีที่สุด แล้วเราจะเป็น Better Quality ที่ดีกว่าเมื่อวาน เพียงแค่กล้าทำหรือไม่ ? และกล้าตัดสินใจหรือไม่? ต้องใช้วิธีหักดิบ แล้วจะทำได้ ทำอย่างไรถึงท้าทายความรู้สึก

การฟังเสียงข้างในของเรา แล้วจะทำให้เรามีความสุข

การแก้ความกลัว

ให้ทำสิ่งที่ท้าทายความกลัว แล้วเราจะก้าวข้ามอะไรบางอย่างที่เราไม่คิดว่าจะทำได้ ให้เลือกทำอะไรสักอย่างที่ไม่กล้าทำ แล้วเมื่อเราทำได้แล้วจะรู้สึกดี ถ้าเราเชื่อว่าทำอะไรได้ ร่างกายจะเชื่อด้วย

ถ้าเป้าหมายชัด อุปสรรคจะไม่มีความหมายเลย

จิตใต้สำนึกจะเป็นตัวบ่งบอก Mind and Body สัมพันธ์กัน ถ้าทุกอย่างเป็นความเชื่อ เราจะเชื่ออะไรก็ได้ถึงจะนำพาให้เราไปถึงสิ่งที่เราต้องการ

ความลับของคนสำเร็จทั่วโลก

E+R = O

Event + Response = Outcome

Event คืออะไรที่ควบคุมไม่ได้ ตัวอย่างคนที่ชอบนินทา บ่น ว่า ชอบไปโทษ Event คือสิ่งที่ควบคุมไม่ได้และทำให้จิตตกจนอาจส่งผลไปถึง Outcome

Outcome คือ สิ่งที่อยากได้ในชีวิตคืออะไร เป้าหมายในชีวิต

Response คือ เราจะทำอะไรเพื่อให้ได้ในสิ่งที่อยากได้อยู่ จึงต้องรู้ว่า Outcome ว่าอยากได้อะไร

วงล้อ 8 ด้าน (Wheel of life)

ได้แก่ ธุรกิจ/อาชีพ การเงิน สุขภาพ ครอบครัวและเพื่อน ความรัก การเติบโต การพักผ่อน สภาพแวดล้อม เราต้องตั้งเป้าหมายในชีวิตในทุกเรื่อง เช่น ถ้าชีวิตของเราต้องอยาก Work Life Balance ให้ถามว่าเราอยาก Balance ในเรื่องอะไร

คนที่ประสบความสำเร็จต้องมีภาพความสำเร็จแบบไหนในทุก ๆ ด้าน ให้ระบุว่าแต่ละแบบไหนที่จะประสบความสำเร็จเป็นอย่างไร ถ้าทำได้อย่างเป้าหมายที่ตัวเองตั้งไว้แล้วชีวิตจะ Success & Fulfilled แต่ส่วนใหญ่ชอบเปรียบเทียบกับคนอื่น และชอบให้คนอื่นชม ถ้าไม่ได้สิ่งที่คนอื่นบอกอย่างที่เราต้องการจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ดังนั้นเราจึงต้องสร้างคุณค่าที่แท้จริงจากข้างในให้เกิดขึ้นให้ได้

เราต้องพยายามทำวงล้อทั้ง 8 ด้านให้เต็ม แต่คำว่าเต็มไม่ต้องเทียบกับคนอื่น แต่ให้เติมเต็มจากเราเอง โดย เราต้อง Definition ความสุขของเราให้ชัดเจน ให้หาสาเหตุ และทำในสิ่งที่เติม ไม่ต้องไปเปรียบเทียบคนอื่น

Success without the art of Fulfillment is failure เราทำอะไรต้องเติมความเชื่อไปในนั้นให้ได้ ความเชื่อจะพาเราไปทุกที่ที่เราเชื่อ เหตุใดเราจึงไม่เชื่อในสิ่งที่เราจะเป็นและเราอยากจะทำ ให้เชื่อว่าฉันเป็นทุกอย่างได้ในสิ่งที่ฉันอยากจะเป็น

เราต้องเชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพอยู่ในตัวเรา ไม่ต้องสงสัย เราต้องเชื่อว่าฉันต้องอยู่ได้ และอยู่รอด แล้วจะ Take care itself ต้องดูว่าโจทย์หลักคืออะไร แล้วเปลี่ยนให้เหมาะสม ต้องฝึกให้มีเรดาร์ส่วนตัวเพื่อเป็น Feedback ให้เราปรับปรุง ซึ่งสิ่งนี้เป็นจุดของโค้ชที่เราต้องรับ Feedback (There’s no failure ,it’s only Feedback) เราเจ๋งใน Version ของเราโดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับใคร ไม่ต้องหวั่นไหวกับคำคน อย่างไรก็ตาม Version ของเราสามารถเปลี่ยนได้เรื่อย ๆ ตามความเหมาะสม

ถ้าคิดอยากทำอะไรให้โดดลงไปทำเลย แล้วเปลี่ยนความเชื่อว่าเป็นไปได้

Fulfill อะไร

1. ความเป็นตัวตนของเรา (Being) – ธาตุแท้ คุณสมบัติที่ดีที่ติดตัวเราตั้งแต่เกิด ไพ่ 52 ใบ

2. ความเชื่อ (Beliefs)

3. ค่านิยม (Values) เช่น ความกตัญญู ฆ่าได้หยามไม่ได้ มิตรแท้คือสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์

4. ความต้องการ (Needs)

5. ความกลัว (Fear)

การเดินทางไปสู่เป้าหมาย

1. การเดินทางแบบไม่มีเป้าหมาย – คนแบบนี้จะใช้ชีวิตงง ๆ คือเป้าหมายไม่ชัด

2. การเดินทางมีเป้าหมายแต่ไม่มีโฟกัส – คนแบบนี้จะใช้เวลาในการเดินทางยาวนานมาก และตกเป็นเหยื่อของเหตุการณ์ ตกเป็น Effect เป็นคนมีความเชื่อจำกัด อยากไปแต่ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร ไม่รู้ศักยภาพของตัวเอง ขาดความเชื่อมั่น

3. การเดินทางมีเป้าหมายที่ชัดเจน จะมีความสุขตั้งแต่ก้าวแรกเพราะทุกก้าวต้องการเติมเต็มเป้าหมายใหญ่ในชีวิต

สรุปคืออยากให้ทุกคนมีบันไดตรง ๆ ที่พาดไปถึงเป้าหมายได้ ให้เห็นแล้วเรียนรู้ไป

การเดินทางสู่ความสำเร็จที่มีความสุขในทุกก้าว (ตัวอย่าง Be-Do-Have model)

เช่น ถ้าเราต้องเก่งในสายตาเจ้านายต้องทำอะไรบ้าง ดังนั้นคนต้องตั้งใจทำ Doing แต่เราต้องดูไปที่ Being ก่อนคือ เราต้องรู้ว่าเราเป็นใคร

Identity ความเป็นตัวตน ประกอบด้วย

1. ความเป็นตัวตนของเรา (Being) – ธาตุแท้ คุณสมบัติที่ดีที่ติดตัวเราตั้งแต่เกิด ไพ่ 52 ใบ

2. ความเชื่อ (Beliefs)

3. ค่านิยม (Values) เช่น ความกตัญญู ฆ่าได้หยามไม่ได้ มิตรแท้คือสิ่งที่ดีที่สุดของมนุษย์

4. ความต้องการ (Needs)

5. ความกลัว (Fear)

Identity กับ Role

การสวมความเป็นตัวตน ต่อ บทบาทในหน้าที่ เช่นตัวตนคือความเป็นผู้ให้ เมตตา รักในหลวง แล้ว Take บทบาทในการให้ชุมชน ปรากฏว่าให้และดูแลทั้งหมด แต่บทบาทจริง ๆ หน้าที่ไม่ใช่เช่นนั้น ดังนั้น การโค้ช จึงสอนให้เราต้องเคารพบทบาทในการทำให้ชุมชนเรียบร้อย ไม่ใช่หน้าที่ในการไปแสดงความเมตตา ดังนั้นการทำหน้าที่นี้ บางครั้งจะพบว่า Identity กับ Role ไม่ซ้อนกัน เราอาจต้องเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ หรือองค์กรให้เหมาะสมกับตัวตนของเราจะมีความสุขมาก

The Communication Model

External Event สู่ 5 Sense

บางครั้งข้อมูลบางชิ้นหลุดไปเพราะเราไม่ได้สนใจ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าทิ้งด้านไหน

1. Delete - มนุษย์จะมีความสามารถในการลดสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปหมดเลย

2. Distorters - มนุษย์เลือกเชื่อในสิ่งที่อยากเชื่อ เป็นการบิดเบือนข้อมูลเพื่อให้สบายใจ

3. Generalizers - เหมารวมข้อมูล

4. คุณภาพไส้กรอง

ข้างนอกเข้ามาที่เราอย่างไร เมื่อเข้ามาที่การรับรู้ของเรา มาสู่การตีความแบบเรา แล้วจะมากำหนดสภาพจิตใจของเรา สู่การแสดงออกของร่างกาย

1. Internal Representation

2. Stage

3. Physiology

ดังนั้น Conflict อาจเกิดจากความไม่เข้าใจในสิ่งที่เป็นอยู่ และสิ่งที่แต่ละคนต้องการและรู้สึกขาดไป เช่นบางคนขาด Significant และ Certainty ในขณะที่เราก็ต้องการ Certainty

6 Core Needs of Human Beings

1. ความแน่นอน/ความมั่นคง/ความสบาย (Certainty/Security/Comfort)

2. ความไม่แน่นอน /ความหลากหลาย/การผจญภัย (Uncertainty/Variety/Adventure)

3. การเชื่อมโยง & ความรัก (Connection & Love)

4. ความสำคัญ (Significance)

5. การเติบโต (Growth)

6. การอุทิศให้ (Contribution)

3 Universal Fear of Human Beings ความกลัว 3 ประการของมนุษย์

1. กลัวไม่ดีพอ (Fear of not good enough)

2. กลัวคนไม่รัก (Fear of not being loved)

3. กลัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง (Fear of not belong to)

Values

เช่น การให้เกียรติผู้อื่น ความมั่งคั่ง ความสำเร็จ มิตรภาพ ความซื่อสัตย์ ฯลฯ

Being

คือ ธาตุแท้ คุณสมบัติที่ดีที่ติดตัวเราตั้งแต่เกิด ช่น รับผิดชอบ รอบคอบ มุ่งมั่น กล้าเสี่ยง เมตตา ใฝ่ดี แบ่งปัน สร้างสรรค์ กตัญญู อ่อนโยน ฯลฯ

Beliefs

ความเชื่อเป็นความจริงของคนที่เชื่อ ความเชื่อของใครเป็นความจริงของคนนั้น เพราะความเชื่อของแต่ละคนมาจากประสบการณ์ของแต่ละคน ดังนั้น Conflict เป็นส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อที่ต่างกัน แค่เข้าใจ ไม่ต้องเชื่อตามหรือบังคับให้เชื่อ

ความเชื่อมีความเชื่อในคนอื่น และเชื่อในตัวเอง ซึ่งถ้าความเชื่อทำให้เราถอยหลัง เราต้องสามารถ Reframe ความเชื่อใหม่ได้ ความเชื่อเป็นของเรา และมีเพียงเราเท่านั้นที่แก้ไขได้

เช่นผู้บังคับบัญชามักไม่สนใจรายละเอียด ที่นี่เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ คนจะก้าวหน้าได้ต้องทำงานให้สำเร็จ โลกนี้ไม่มีความยุติธรรม ผู้หญิงเข้าใจยาก ฯลฯ

ดังนั้น เวลาฟังคน ต้องฟังให้ได้ยินทั้ง Being และBeliefs

Enhancing Team Performance

งาน = คน

Performance = Potential - Interference

Outcome (ผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ต้องการ) = Strengths (จุดแข็งเชิงทักษะ และพฤติกรรมที่ต้องการเพื่อทำงานนี้ให้สำเร็จ (Coaching for sustainability) – Blockage (อะไรคือ limited เชิงทักษะ/พฤติกรรมที่ต้องการเพื่อทำงานนี้ให้สำเร็จ (Coaching to unleash Potentials , Coach to eliminate limited factors)

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. จะส่งเสริมให้เด็กมีเป้าหมายในชีวิตอย่างไร

ตอบ คือ การตั้งเป้าหมาย ต้องดูว่าภาพแห่งความสำเร็จที่ชอบเป็นอย่างไร

- Thinking with the end in mind

- Vision success

เมื่อหาเป้าหมายเจอแล้ว อายาตนะทั้งหมดจะส่ายหา Role Model

2. ความเชื่อคือความจริงของคน ๆ นั้น ที่อย่าเถียง แต่มีความเชื่อที่ขัดกันและไม่ให้เกิดความก้าวหน้าในองค์กร จะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร

ตอบ สิ่งที่ต้องการคือความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย แต่มีคน ขัดแย้ง เห็นต่าง ไม่เชื่อ ต่อต้าน อยู่เฉย ๆ ให้ดูว่ามีสิ่งที่เราไม่สามารถ Control ได้ และสิ่งที่เราสามารถทำได้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จะทำอย่างไร

ให้ตอบคำถามตัวเองก่อนว่าเมื่อมหาวิทยาลัยก้าวหน้าแล้วเราจะได้อะไร ก่อนอื่นต้องตอบ Need เราให้ได้ก่อนว่าเราได้อะไร ประโยชน์ที่ได้คืออะไร แล้วเราถึงค่อย Focus ในสิ่งที่เราทำได้ เช่น เราต้องเป็นใครที่เป็นคนให้ข้อมูลแล้วเขาเข้าใจได้ เช่น ฟังอย่างเข้าใจ ใช้ศักยภาพในการอดทน สื่อสารชัดเจน เข้าใจความแตกต่างของมนุษย์ ของคน เพราะว่าคนมีประเทศ Directive ลัลล้าเฮฮา ไม่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง แต่ต้องให้ข้อมูลมาก ๆ ว่าไม่หักล้าง หรืออกตัญญู ให้เอา Process นั้น ๆ มาดู ต้องมีการสื่อสารที่พูดชัด ๆ และเหมาะสมกับแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน ต้องมีการปรับตัวในการสื่อสาร ต้อง Be-Do-Have เราต้องเป็นให้ได้ก่อน คือทำให้ดูก่อน แล้วถึงคาดหวังที่จะเป็นได้

3. ถ้าลูกน้องในองค์กรมีความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ทำถูกต้องเสมอ แล้วพูดในองค์กรไม่ได้ แล้วไปหาความเชื่อถือในองค์กร จะแก้ปัญหาอย่างไร

ตอบ เราจะต้องทำอย่างไรให้เขาเชื่อในสิ่งที่เราเห็น ถ้าเราต้องการให้เขาอยู่ข้างเรา เราต้องเข้าใจเขาก่อน แก้ที่ตัวเราก่อน ในโลกนี้ไม่มีอะไร Effect กับอะไร ไม่มีอะไรที่เราทำแล้วไม่กระทบเขา ไม่มีอะไรที่เขาทำแล้วไม่กระทบเรา แล้วถ้าเราได้สติก่อน เราก็อาจเริ่มก่อนที่ไปหาเขา แล้วพาเขาไปในสิ่งที่ถูกด้าน เพราะคนเรามีอัตตา เป็นการขยายมุมมอง ให้คิดนอกกรอบ และบางทีอาจไม่ใช่ 6 หรือ 9 อย่าติดยึด

4. คนที่ทำงานดี เมื่อเห็นคนทำงานไม่ดีแล้วเริ่มเลียนแบบจะทำอย่างไร

ตอบ หัวหน้าต้องให้ Motivation ที่ดี ในช่วงที่จิตตก สามารถสอน และให้ความรู้ได้ เรื่องบางเรื่องเป็น Management หน้าที่ของ Management ต้องตัดสินใจว่าพฤติกรรมแบบนี้จะไม่รุ่งเรืองที่นี่ ไม่เป็นที่ต้องการของที่นี่ และถ้าอยากทำแล้วทำไม่ได้จะสอนให้ แล้วถ้าทำไม่ได้ ติด Fear อะไร ทำไมไม่กล้าบอกเขา เมือเป็น Management ต้องดูว่า outcome อยากได้อะไร แล้วเลือกทำในสิ่งที่ Good for me , Good for other, Good for the greater good

สรุปคือทุกเรื่องให้ย้อนคิดกลับว่าเราสามารถทำอะไรได้ตรงจุดนั้นมาก เต็มความสามารถ แต่ไม่ต้องคาดหวังหรือยึดติดมากเกินไป


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 12 กันยายน 2559

Group Study : เตรียมการนำเสนอ “PSU Change and Challenge Management for the furture”

ร่วมให้คำปรึกษาโดย ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ และอาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ให้แต่ละกลุ่มได้นำเสนอให้ทั้งห้องฟังก่อน และให้มีการ Comment ร่วมกันว่าอะไรที่ขาดและอะไรที่ควรเติม

1. การพัฒนาศูนย์กีฬา

2. ศูนย์ฮาลาล

ประธานฯ

มี 2 โปรเจคและ 1 ข้อเสนอแนวคิดที่เรียนรู้ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัย

1. ศูนย์กีฬาและสุขภาพ

2. ภาพรวมของฮาลาล

ที่คุยกันคือให้ทีมที่เป็นแกนทำดร๊าฟมาก่อน และให้ช่วยเติม มีการประสานกับอาจารย์กร ว่าให้เอาข้อมูลจากรองธวัชฯ คือเรื่องแนวคิดและข้อเสนอจากมหาวิทยาลัยในการคิดเพิ่มเติม อาจใช้ตอนทำโครงการฯ ของอาจารย์ไกรฤทธิ์ที่มี PEST Analysis , SWOT , 4P’s ในการทำ

เรื่องศูนย์กีฬาและสุขภาพ

แนวคิดได้มาจากที่ประชุมเมื่อวันอาทิตย์ได้ทำ SWOT Analysis

SWOT Analysis

จุดแข็ง : มีสนามกีฬามาตรฐาน สถานที่ตั้งอยู่ในทำเลเชื่อมโยงไปอาเซียน มีบุคลากรที่มีความผู้เชี่ยวชาญ มีงบการบริหารส่วนตัว สร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย พึ่งตัวเองได้ มีระบบ IT และมีระบบบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ

จุดอ่อน : ขาดการบูรณาการจากคณะต่าง ๆ การจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอ ขาดการบูรณาการในระดับวิทยาเขต ไม่ได้รับจัดสรรอัตรากำลัง

โอกาส : มีเครือข่ายส่วนกีฬาจังหวัด และโรงเรียน หาดใหญ่เป็นจุดยุทธศาสตร์ภาคใต้

ภัยคุกคาม : ความรุนแรงของพื้นที่

ความเป็นไปได้

แผนพัฒนาศูนย์กีฬาและสุขภาพในระยะเวลา 10 ปี มีการพัฒนาไปในทิศทางไหนบ้าง มีการพัฒนาศูนย์กีฬาระดับนานาชาติ และอาเซียน

พันธกิจ

วัตถุประสงค์

1.เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายให้นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัย และภายนอก

2 สร้างจิตสำนึกการออกกำลังกาย สู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ และพัฒนาสู่อาชีพ มีการพัฒนานักกีฬาในภาคใต้

3. สร้างความพร้อมสู่ระดับชาติ

4. ส่งเสริมการกีฬาของมหาวิทยาลัยให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

5. มีการนำกีฬา และวิทยาศาสตร์สุขภาพมาประยุกต์ใช้ในมหาวิทยาลัย มีคณะศึกษาศาสตร์ที่เปิดสอนอยู่แล้ว มีคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทย์ มีการนำหลักวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้ในการพัฒนาคนด้านการกีฬามากยิ่งขึ้น โดยศูนย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นตัวประสานกับคณะศึกษาศาสตร์ที่เป็นแม่ เป็นห้องแลปในการเกิดการเรียนการสอน มีการจัดทำแผนเพื่อกีฬาที่มีสุขภาพที่ชัดเจน

กิจกรรม

1. รองรับสังคมผู้สูงอายุ สอดรับนโยบาย Thailand 4.0

2. เชื่อมโยงวิทยาการกีฬาสู่กีฬาและสุขภาพ

3. ขยายสนามกีฬา รองรับระดับชาติ ร่วมกับ อบจ. จังหวัดและการกีฬาแห่งประเทศไทย คาดว่าจะมี 3-4 สนามกีฬา รองรับสนามกีฬาระดับชาติ มีการนำเสนอต่อมหาวิทยาลัยและจังหวัด มีการให้เช่าสนามกีฬา และมีการพัฒนาสนามกีฬาแห่งชาติ เช่น มีการจัดกีฬาคนพิการ พัฒนาศูนย์รองรับการออกกำลังกายคนพิการ

4. ศูนย์กลางเครือข่ายกีฬาเพื่อเชื่อมโยงในภาคใต้ และกลุ่มประเทศอาเซียน เช่นมาเลเซีย ด้านการส่งเสริมการกีฬาและประเทศเพื่อนบ้าน เริ่มตั้งแต่เยาวชน นักศึกษาและประชาชน มีการจัดโปรแกรมส่งเสริมกีฬาทุกเพศ ทุกวัย มีการอบรมหลักสูตรระยะสั้น เรื่องการอบรมโค้ช และกิจกรรมพื้นฐาน มีการจัดโปรแกรมเข้าคอร์สต่าง ๆ มีการเชื่อมโยงด้านต่าง ๆ เช่น คณะแพทย์แผนไทย มีกิจกรรมระดับชาติที่เชื่อมโยงและจัดร่วมกับเราได้ มีกิจกรรมระดับชาติใดบ้างที่เชื่อมโยงกับเราได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ที่ฟังดูกว้าง ถ้าเรา Focus มาที่มหาวิทยาลัยได้มากขึ้นจะทำอย่างไรได้บ้าง กลุ่มผู้ใช้บริการ น่าจะมีการแยกออกมาให้ชัดเจนได้ เช่น เยาวชนจะต้องการระดับไหน เช่น กลุ่มเด็กจะ serve ตรงไหน มีกลุ่ม นักศึกษา คือกลุ่มไหน เช่น จาก ม.อ. และอาชีวศึกษา เงินได้หรือไม่ แต่ชื่อเสียงได้ ให้ดูในเรื่องความพร้อม ว่ามีความพร้อมหรือยัง

เรามีศูนย์กีฬาในภาคใต้ แต่ยังไม่เอื้อเขา เราจะต้องมีงานวิจัยมาสนับสนุนเพิ่มเติมได้อย่างไร เช่นศูนย์กีฬาอาจเป็นแหล่งหาวิจัยได้เพิ่มเติมในอนาคต มีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้างที่ต้องมีเพิ่มเติม

ลูกค้ามีใครบ้าง จากข้างนอก และนักศึกษาภายใน และนักศึกษาภายนอก

มาตรการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะเป็นอย่างไร สามารถโยงเข้ากับ Thailand 4.0 ได้อย่างไร มีเรื่องบุคลากรภายในสามารถสนับสนุนอะไรได้บ้างนอกจากการเต้นแอโรบิค และบุคลากรภายนอกจะเป็นอย่างไร เราสามารถสนับสนุนอย่างอื่นได้หรือไม่ และมองโอกาสที่หาเงินได้หรือไม่ การแยกไปสู่วัยทำงาน จะเป็นอย่างไร เราต้องสามารถ Classify ผู้ใช้บริการได้ว่าใครจะเข้ามาเป็นลูกค้า แล้ว 4P’s และ 5P’s จะมา อะไรที่ว่างพอที่จะสนับสนุนคนข้างนอกให้คิด ให้คิดจากสิ่งที่เรามีก่อน แล้วค่อยไปคิดจากสิ่งที่เราไม่มี เช่นเรื่องศูนย์กีฬาต้องใช้เงินเท่าไหร่ ในการพัฒนา ดังนั้นในเรื่อง Finance ต้องมี และอีกเรื่องเป็นเรื่องของบุคลากร

การทำโปรเจคควรมีวิสัยทัศน์ก่อน วัตถุประสงค์มาที่สอง แล้วถึงเลือก SWOT แล้วมี Pilot Project เช่น การรื้อฟื้นฟุตบอล เป็นแผนของอาเซียนได้ สามารถทำเป็น Sport Tourism ได้ มีมูลค่าเป็นล้านล้านบาท เช่น นักกีฬามาจากอินโดฯ มาเลเซียจะไปที่ไหน

อะไรที่ทำเป็นโปรเจคระยะสั้น กลาง ยาว อะไรที่เอื้อเรื่องชนเผ่าหรือวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันและทำให้งานของ ม.อ.โดดเด่น

ข้อเสนอแนะ

- ให้ทำโครงการที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้วทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

- โครงการที่จะเกิดในระยะสั้น

- โครงการในระยะยาว จะทำอย่างไร

การเป็นองค์กรที่พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ มีความพร้อมสู่การรองรับกีฬาระดับชาติ มีอะไรบ้าง

ตอบจากผู้เข้าร่วมฯ สนามกีฬาแห่งชาติในอนาคตที่จะเกิดในอนาคตมี โรงยิมเนเซียมติดแอร์ สนามยิงปืนนานาชาติ และสนามฟุตบอลที่ต้องร่วมกับเอกชนในการรองรับการแข่งกีฬาระดับนานาชาติด้วย เราต้องมีการปรับปรุงสนามใหม่หมด รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเช่นห้องน้ำ ต้องใช้ความพร้อมของสนามที่จุคนได้มากขึ้น ม.อ.อาจเป็นช่องทางในการเสนอแนวคิด แต่อาจให้ภาคเอกชนเป็นคนลงทุน เพียงแค่ ม.อ.มีเนื้อที่ให้ ต้องดูเรื่องระเบียบที่ต้องแก้ไข

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

1. ไม่เห็น conceptual framework ที่แท้จริง ยังไม่เห็นการเชื่อมโยงว่าจะมาต่ออย่างไร อยากเห็นแผนภูมิความคิดที่เป็นระบบ เช่น ด้านบุคลากรทำอะไร ด้านสถานที่ทำอะไร เช่นเรื่องห้องน้ำ ความปลอดภัย เรื่องกิจกรรม เช่นการให้บริการต่าง ๆ เช่น สุขภาพ หรือการเชื่อมโยงศูนย์กีฬาต่าง ๆ ให้ทำให้ชัดเจน ในปี 1,2,3 จะทำอะไรบ้าง และ Summit ของอาจารย์อยู่ตรงไหน

2. ยังไม่เห็นยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน ด้านการแข่งขันกีฬา และสถานที่ การใช้ศูนย์กีฬาเป็นส่วนในการพัฒนาสภาพร่างกาย จิตใจและ Spiritual

ตอบจากผู้เข้าร่วมฯ คือตอนแรกตั้งเป้าฮาลาลเป็นหลัก แล้วแตกออกมาเป็น 5 โครงการย่อยคือ 1.สถาบันที่จัดตรวจและรองรับคุณภาพ และเรื่อง IT และดิจิตอล 2.เรื่องการบริการและการรักษา น่าจะมีโรงพยาบาลที่รองรับได้ 3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการกีฬา จึงอยากให้เน้นจุดขาย มีเรื่องสถานที่และบุคลากรที่ต้องลงรายละเอียดอีกครั้ง 4. เรื่องหลักสูตรอะไรที่โดดเด่นในฮาลาล มีคอร์สสั้น ๆ 5. เรื่องสถาบันวิจัยและนวัตกรรม เป็นเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม และสามารถหาเงินจากต่างประเทศมาสนับสนุนการวิจัยได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่จะทำในนามของ PSU 2 ด้วยระยะเวลาที่สั้น ถ้าคิดว่าสิ่งที่ ดร.ภาคภูมิเสนอในโครงการฯ แล้วดี จะทำอย่างไร หรืออาจจะเสริมเรื่องศูนย์กีฬาไปในส่วนโครงการด้านอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและกีฬาก็จะดี และสามารถเป็นไปได้ ให้เล่าถึงสิ่งที่ดีและมีอยู่แล้วเพื่อเดินต่อไปได้ เช่น สปาฮาลาล

สิ่งที่ทำควรคม และเป็นไปได้ในโครงการฯ ที่เป็นอยู่ เรามองเห็น 5 ก้อนใหญ่ ๆ ที่อยู่ในร่ม

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

มองเรื่องงานและมีตัวร่วม คือศูนย์ฮาลาล ก็มีความโดดเด่น ศูนย์กีฬาก็สามารถทำได้ ทางด้านกิจกรรม มีตัวร่วมที่สามารถมาใช้ร่วมกันได้

ประธานฯ

มีวงสองวงที่เหลื่อมกันอยู่ เป็นไปได้หรือไม่ที่นำเสนอในภาพรวมฯของฮาลาลก่อน และในโปรเจคย่อยให้มีกลุ่มกีฬาเชื่อมตรงหัวข้อท่องเที่ยวและกีฬา

ร่วมเสนอการนำเสนอโครงการวิถีแห่งฮาลาล

1. เรื่องตรวจและรับรองคุณภาพสถาบัน ฮาลาล กลุ่ม 5 เพิ่มเรื่องงานวิจัยและนวัตกรรม

2. เรื่องการบริการ รักษาสุขภาพ และสปาแบบฮาลาล กลุ่ม 4 เพิ่มเรื่องงานวิจัยและนวัตกรรม

3. เรื่องอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและกีฬาแบบฮาลาล กลุ่ม 1 แทรกงานบริการวิชาการ และหลักสูตร และการจัด Training Course ต่าง ๆ เพิ่มเรื่อง International Halal Management กลุ่ม 2 เพิ่มเรื่องงานวิจัยและนวัตกรรม

4. เรื่อง IT และดิจิตอล เข้ามาช่วยทั้งหมด เพิ่มเรื่องงานวิจัยและนวัตกรรม

5. แนวคิดที่จะนำเสนอเพิ่มเติม กลุ่ม 3 แทรกในทุกกลุ่ม

เสนอเป็นภาพรวมทั้งหมด ทำเป็น Lesson Learn

1. Need to inform

2. Need to transform

ทฤษฎีกระเด้ง เสนอเป็น 3 V

ข้อเสนอแนะระหว่างประชุม

เรื่องหลักสูตรมีอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้าน Food Science มีหลักสูตรฮาลาลอยู่แล้ว และมีการร่วมกับวิทยาลัยการศึกษาอิสลามอยู่แล้ว เครื่องมือบางตัวอาจเริ่มจากการตั้งที่ตรงนั้น

ศูนย์ทดสอบต่าง ๆ แค่ ม.อ.ตั้งขึ้นมาเขาก็เชื่อถือระดับหนึ่งแล้ว

หลักสูตรอบรมที่มีการผลิตโครงการฯต้นแบบอยู่แล้ว หลักสูตรที่เด็ก ป.ตรี ป.โทเรียน เริ่มตั้งแต่ที่ได้อยู่แล้ว

หลักสูตรมีแล้วและเขียนเป็นจุดแข็งดีกว่า

ตัวเครื่องมือจะอยู่ในสถาบันตรวจและรับรองคุณภาพฮาลาล

ให้ทำเป็นวิสัยทัศน์ที่จะเดินไปข้างหน้า

เรื่องถาบันวิจัยและนวัตกรรม

ฮาลาลได้งบฯทำวิจัยอยู่แล้ว ให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยทั้งหมดที่เกี่ยวข้องมาขอทุน

เรื่องสถาบันวิจัย และพัฒนานวัตกรรมมีที่ทำอยู่แล้ว แต่ที่จะเป็นเป็นเรื่องของสถาบันวิจัยฯ ถ้ามีความจำเป็น และมีความพร้อม และสามารถทำได้

อาจมีอยู่แล้ว แต่ยังไม่ครบวงจรก็ทำให้ครบวงจรมากขึ้น

งบประมาณที่ได้ไปพึ่งกับงบฯในประเทศไทย แต่น่าจะมีการพึ่งงบฯจากประเทศตะวันออก

เขียนเป็นข้อแนะนำหน่วยงานที่มีอยู่

1. เพิ่มเรื่องลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และ Trademark ต่าง ๆ

2. ทุกกระบวนการสามารถสนับสนุนเพิ่มเติมได้


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 13 กันยายน 2559

ประเทศไทย 4.0 กับการทำงานของ ม.อ.

โดย ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ประเด็นเรื่อง Thailand 4.0 กับ PSU

ในส่วนของ ม.อ.ไม่ได้ซับซ้อน แต่ต้องเป็นระบบนิดนึง

Thailand 4.0

การทำมาหากินของโลกที่มีอยู่ 200 กว่าประเทศ

- ประเทศไทย 1.0 คือภาคเกษตรหรือ Agro

- 2.0 คืออุตสาหกรรมชาวบ้านหรือ SMEs

- 3.0 คืออุตสาหกรรมหนัก ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมจากต่างประเทศเช่น รถยนต์ หรืออุตสาหกรรมเกษตรแบบ 3.0 ยางครบวงจร

- 4.0 คือ 1. Smartness ที่ต้องมีงานวิจัยอย่างเข้มข้นที่มหาวิทยาลัยช่วยได้ทันทีจนเกิดเป็น Smartness 2.ภูมิปัญญาชาวบ้าน Wisdom ส่วนใหญ่จะเกิดกับคนหน้าเตา อยู่ในชาวบ้าน ต้องไม่ข่มเขา และคาดไม่ถึง 3.พวกศิลปิน ส่วนหนึ่งจะเป็นพวก Smartness เป็นพวกมีมาตั้งแต่เกิด

ระดับการเก็บสะสมข้อมูลและนำไปใช้

ตัวอย่าง ภูมิปัญญาเป็น Level ที่ 4 ของมนุษย์ที่เก่ง

- Level ที่ 1 คือพวกข้อมูล (Data)

- Level ที่ 2 คือ Information ที่บอก

- Level ที่ 3 คือ Knowhow เพื่อประโยชน์บางชนิด สามารถนำไปจดทะเบียนขายได้ ทาง ต.ต.จะเรียกว่า Intellectual Property ไปจดทะเบียน ทางต.อ.จะนำมาแบ่งปัน (Sharing) ยิ่ง Share ยิ่งเก่ง

- Level ที่ 4 คือภูมิปัญญา เป็น Smartness Wisdom ที่นำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จ

4.0 คือสิ่งที่สะสมความเป็นมนุษย์และไม่เป็นมนุษย์ เป็นลักษณะการนำ Big Data ไปใช้ (เป็นข้อมูลที่ไม่มีความหมายแต่จริง ๆ มีความหมายเพราะไปทำนายพฤติกรรมในการซื้อของได้)

สิ่งที่ท่านอยู่ในมือถือทุกอย่าง อยู่ใน Cloud ซึ่ง Cloud South East Asia อยู่ที่สิงคโปร์ หรือสายการบินใหญ่ ๆ จะมีการลงทุน Cloud ของเขาเอง หรือบางแห่งไม่อยากลงทุนก็ฝากไว้ที่สิงคโปร์ก่อน วิธีการที่เขาใช้คือ แต่ละคนพูดเรื่องนี้กี่หน พูดเรื่อง HR , Biotech , ก่อการร้าย กี่หน ก็เก็บรวบรวมไว้

การฝัน ต้องสามารถเป็นจริงได้ ตปท.จะใช้ Economic Driver คือเอางบประมาณจากไหน

สิ่งแวดล้อมจากมวลมนุษย์ชาติ

ข้อควรคำนึง 4 อย่าง

1. Economic ข้อควรคำนึงทางเศรษฐศาสตร์ คือเงินทอง ถ้าได้มากกว่าเสียคือกำไร ถ้าเสียมากกว่าได้คือขาดทุน เงินวิ่งเร็วกว่าโลกหมุน Arbitrage คือย้ายเงินเร็วกว่าแบงค์

2. Social คือสังคมนอกมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเป็นชาวบ้าน ร้าน ตลาด แต่ในปัจจุบันเรียกว่ากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้น ม.อ. ที่มีศูนย์กีฬาฯ ต้องมาดูว่ามีคนในเป็นสมาชิกมากหรือคนนอกเป็นสมาชิกมากกว่ากัน เป็นต้น ตัวอย่างที่ มช.เขาเรียกเขตมหาวิทยาลัยของฉัน แต่ ม.อ.คนมองเป็นส่วนราชการ ดังนั้นจะสร้างให้เกิดความมีส่วนร่วมอย่างไร

มหาวิทยาลัยเป็นไข่แดง สังคมคือไข่ขาว และบ้านเมืองคือกระทะ แต่สมัยก่อน มหาวิทยาลัยมองเป็นพระอาทิตย์ และมองน้ำเป็นสังคม จึงเป็นการยากที่เด็กจะหางานทำได้ในแต่ก่อน เพราะไม่รู้ว่าสังคมที่แท้จริงคืออะไร

แนวคิดในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยต้อง Inclusive (ความมีส่วนร่วม) กับสังคม เพื่อให้สังคมรู้ว่ามหาวิทยาลัยทำอะไร ให้รู้ว่าคนในมหาวิทยาลัยทำอะไร และคุ้มค่าเงินหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรทำคือเรื่องการบริการสังคม เรียกว่าเป็น Inclusive

สิ่งที่ควรทำคือ Link ระหว่าง R&D กับการเป็นการเชื่อมกับสังคมได้ ต้องให้มหาวิทยาลัยเชื่อมโยงกับทุก ๆ เรื่องได้อย่างไร ต้องรู้ ไม่เช่นนั้นจะพายเรือในอ่าง แต่ต้องไปถามผู้รู้ได้ ในอนาคตสภามหาวิทยาลัยต้องเป็นผู้แทนจากสมาคมฯ นั้น ๆ ที่สามารถเป็นไปได้จริง

3. Politic คือการจัดการอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นอำนาจเงิน อำนาจโดยกฎหมาย การจัดการเป็นเรื่องที่ต้องเรียน ในระดับบ้านเมืองจะจัดการหรือจัดการอำนาจทรัพยากรต่าง ๆ จะเล่นพวกหรือไม่เล่นพวก การไม่เล่นพวกเรียกว่าความเสมอภาค ถ้าเล่นพวกเรียกว่าความเหลื่อมล้ำ

การศึกษาคือสิ่งที่หลงเหลืออยู่หลังจากที่วิชาการหายหมดแล้ว

4. เทคโนโลยี มี 3 ข้อ มาจาก 3 แหล่ง

- ผลงานเข้มข้นของมหาวิทยาลัย R&D

- ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มหาวิทยาลัยต้องไปดักมา หรือ Wisdom เป็นพวกเอาตัวรอดเก่ง

- พวก Artist บางคนเป็นพวกฉลาดแต่ขี้อายชื่อ Mark Zuckerberg หรือ ชอบเรียนวาดรูปที่ Stanford U. ชื่อ Steve Job คิด Touch Screen ในปัจจุบัน

สิ่งที่ ม.อ.ควรทำเพื่อประเทศไทย 4.0

1. มหาวิทยาลัยต้องสอนเก่งเพื่อให้มี Smart Student พร้อมทำงาน

- ดังนั้นการที่สอนเก่งในสมัยก่อนจะเป็นแค่ Survival เป็นทักษะ แต่ไม่สามารถตรัสรู้ได้

2. งานวิจัย คือการหาความจริงอย่างมีระบบ หมายถึง มีหลักฐานและทำซ้ำได้

3. บริการชุมชน บริการสังคม

- SMEs 1. ขายของเป็นหรือไม่ ถ้าช่วยเขาขายเรียกว่า Marketing 2. มีสินค้าไปขายหรือไม่ 3.คิดเลขเป็นหรือไม่ เรียกว่าบัญชี อาจไม่ต้องทำเป็น แต่ต้องอ่านเป็น เพราะจะได้ซื้อของหรือลงทุนได้ 4. คน ต้องรู้เรื่องคน เพราะการทำงานใหญ่ต้องมีลูกน้อง ถ้าคนไม่ได้อย่างใจ ต้องใช้ให้ไป เพราะคนมีคุณค่าเสมอ ต้องนั่งในหัวใจคนก่อน คนที่มีบริวารไม่ต้องบอกอะไรมาก คนไม่มีบริวารอาจเหนื่อย และคบยาก

ดังนั้นการบริการสังคม ต้องทำให้สังคมหรือ SMEs เก่งใน 4 อย่างนี้ ตัวท่านเอง คณะหรือมหาวิทยาลัยต้องทำให้ขายของแล้วได้กำไร ต้องมีข้าทาสบริวาร และถ้ามีบุญมาก่อน มีสินทรัพย์มาก มีข้อมูลประกอบหรือไม่ มี Knowledge Management (KM) มี Infrastructure มีเครื่องมือทำจริง ส่วนเรื่องข้อมูลต้องมีที่ที่สะสมประสบการณ์ หรือถอดบทเรียน อย่าให้มีระบบซุกกิ้งซิสเต็ม แต่เมืองนอกถ้าเจออะไรที่มีปัญหาให้โวยไว้ก่อน เพื่อให้ร่วมกันแก้ปัญหา ดังนั้นต้นน้ำของมหาวิทยาลัยขึ้นอยู่กับโวย หรือซุก เพราะจะช่วยในการแก้ปัญหาได้

4. การอนุรักษ์สิ่งที่ดีของท้องถิ่น และของถิ่นไทยไว้

- อนุรักษ์คือเพื่อให้เรารักถิ่น รักบ้านเมือง

- ให้ความหมายกับสิ่งที่ไม่มีความหมาย และ

- ทำให้คนบ้านอื่นมารักที่นี่คือการทำทัวร์

ทุกที่มีความหมายหมด ดังนั้นการให้ความหมาย เช่น Ph.D.ในกระดาษมีความหมายอะไร และความหมายที่คนอื่นมาเยือนเป็นอย่างไร และเมื่อทำได้จะกลายเป็นเสาหลักของมหาวิทยาลัยเพื่อทำให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มีคนต้องการ

PSU กับ 1.0 2.0 3.0 4.0

1.0 อุตสาหกรรมเกษตร

2.0 อุตสาหกรรมเล็ก

3.0 อุตสาหกรรมหลัก

4.0 Smartness มีเพียงแค่ 5%

- การนำงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้างได้อย่างไร ตัวอย่างเช่นน้ำมันปาล์มคือกากหรือผลพลอยได้จากการสกัดวิตามิน A และวิตามิน E หรือน้ำมันถั่วเหลือง มาสกัดกากน้ำมันถั่วเหลืองซึ่งมีโปรตีนมากได้เป็นต้น

- การช่วยคนรวย แต่สามารถส่งผลต่อการช่วยคนจนได้ในอนาคต

ดังนั้น มหาวิทยาลัยจะช่วยได้อย่างไร

หน้าที่ของมหาวิทยาลัย

1. สอน

2. วิจัย

3. ช่วยสังคม

4. อนุรักษ์

ดังนั้น การที่ PSU จะเชื่อมโยงกับ 4.0 จะทำอย่างไร เช่น นำยาสมุนไพรมาสกัดเป็นยาใหม่ ต้องเริ่มจากงานวิจัยก่อน งานวิจัยอาจหาฟอร์มของยาชนิดนี้เป็น Tropical มีคุณสมบัติพิเศษอะไรบ้าง การทำวิจัยจะทำเป็นอย่างไรเช่น เป็น กอเอี้ย ไม่ต้องฉีด ทำให้ตับยังคงรักษาสิ่งที่ดีอยู่จะทำอย่างไร เพราะถ้าผ่านทางเลือด ฉีด กิน ยาจะแผลงไปทุกที่หมด ไม่ได้เฉพาะไปในที่ใดที่หนึ่ง

ที่ตับมีอุณหภูมิต่างจากที่อื่น ดังนั้นR&D ของมหาวิทยาลัยจะทำยาทางเลือกที่รักษาตับได้อย่างไร การสอนก็ต้องสอนนักเรียนพยาบาลสมัยใหม่เป็น Preventive สร้างเป็น Mindset ใหม่ คือสร้างฐานจิตใจ ว่าสอนหนังสืออย่างไร

พฤติกรรมของมนุษย์ประเทศไทยที่ Chromative Medicine ตัวอย่าง มีการใช้ อสม.อย่างชาญฉลาด โดยสอนให้ Preventive มากกว่า เช่นทำอย่างไรให้เด็กน้ำหนักแรกเกิดไม่ต่ำกว่า 2,500 กรัม และเรื่องการรักษาพยาบาลต้องอยู่ในมือของคุณทุกคน ไม่ใช่อยู่ในมือหมอ

ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมที่มี Wisdom เช่น การทำน้ำหอม ใช้กลิ่นเหม็นมากเพื่อดันสิ่งน้ำหอมขึ้นมา เช่นคนเยอรมันรู้ว่ากลิ่นขี้ฟันของปลาวาลเหม็นมาก ก็นำมาใช้ในการดันกลิ่นที่หมอขึ้นมา สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้องรู้เพราะสามารถนำมาช่วย SMEs ได้

ผลไม้ปักษ์ใต้ ดอกขึ้นที่ต้นไม่ใช่ขึ้นที่ใบ เนื่องจากฝนตกมาก สัตว์ที่สามารถบินแล้วผสมระหว่างฝนตกได้ มีเพียงชนิดเดียวคือค้างคาว

สรุป สิ่งที่มหาวิทยาลัยควรทำใน 4 ด้านคือ สอน วิจัย ช่วยสังคม และอนุรักษ์ ให้เป็นจะทำอย่างไร

หุบเหวมรณะในปัจจุบัน

งานวิจัย

1) การวิจัยพื้นฐานและประยุกต์ (Discovery) ฝั่งซ้าย เป็นส่วนที่มหาวิทยาลัยคิดว่าเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัยเท่านั้น เป็นงานวิจัยที่ทำแล้วเหมือนต้นกล้วยคือทำทีเดียวแล้วตายเลย

ได้แก่ มหาวิทยาลัย สวทช./ศูนย์แห่งชาติ และแหล่งทุนวิจัย สกว. สวท. สวรส. สวทช. สสส. เป็นแหล่งให้ทุนและหวังจะได้ Speed up คือคนรุ่นใหม่ทำงานแบบใหม่ ยกตัวอย่างนักเรียนที่เรียนวิจัยโดยกำเนิดคือ แพทย์ เภสัชกร

ปัญหาของคนไทยคือ Startups Spinoffs ไม่ได้ เพราะคนเก่งแต่ไม่มีเส้นก็จะไปเป็น NGOs ไม่ได้ทำธุรกิจ แต่ในมุมมองต่างชาติ NGOs ที่ทำธุรกิจเป็นจะเรียกว่า Social Enterprise (SE) แล้วคนเก่ง ๆ จะมาเรียนได้อย่างไร เส้นเมืองไทยคืออภิสิทธิ์ชน แต่เส้นเมืองนอกคือการให้ทุนใส่ไปในลักษณะ SMEs เป็น SE แต่ SMEs เป็นการทำแล้วกำไรไม่แบ่งแต่เอาไปไถกลบ เป็นลักษณะ Organic Growth

ตัวอย่าง ในประเทศไทยประเด็นเรื่อง Start up อัตรารอด 8% ตาย 92% ถามว่าใน 92% ใครรับผิดชอบ ดร.สมคิดบอกว่าใน 92% ทำให้รอดสัก 20% จะทำอย่างไรดี

ในประเทศไทย มีการติด Middle Income Trap ต้องมี HRD อย่างมหาศาล

มนุษย์จะเอาดีได้ต้องมี Knowledge Skill (KS) ดังนั้นทางด้านวิทยาศาสตร์ไม่ห่วงเรื่อง Skill เพราะมี Lab แต่ปัญหาของประเทศไทยอยู่ที่ Mindset หรือ Attitude

2) โซ่ข้อกลาง หรือ Prototype คือ การทำงานซ้ำซ้อน ทำงานหลายบทบาท มีความคาดหวังแต่ไม่มีปัจจัย จริยธรรม

สิ่งที่ยากที่สุดคือการปลูกฝังมหาวิทยาลัยเป็น Prototype

1. ดูว่าตรงไหนทำงานซ้ำซ้อน แต่ Learning Process อยู่ที่ซ้ำซ้อน บทบาทหลากหลายก็ไม่เกิด ปัจจุบันความหลากหลายเป็น Immunity

2. ทำงานหลายบทบาท คนไทยไม่เข้าใจทำว่าทำงานหลายบทบาทได้

3. มีแต่ฝันแต่ไม่ให้ Economic Driver คือคิดไม่ออก

- เอกชนไม่มีงบประมาณ ต้องคิดก่อนแล้วค่อยไปของบประมาณ

4. จริยธรรม เป็นคุณูปการที่ติดมนุษย์ เราต้องสร้างมนุษยชาติให้มีจริยธรรมก่อน แล้วค่อยให้ความรู้ที่พอเพียงพอเอาตัวรอดได้ ตัวอย่างเวลาแยกสอนทำง่าย แต่ต้องรู้จักการบูรณาการด้วยกัน

สรุปคือ ต้องให้มหาวิทยาลัยที่เป็นแค่งานวิจัยก้าวผ่าน Prototype คือ ทำงานไม่ซ้ำซ้อน ทำงานหลายบทบาท การไม่มี Men Money Material สู่การให้ Economic Driver และต้องมีการปลูกฝังจริยธรรม สู่การทำวิจัยนวัตกรรม สู่การทำวิจัยเพื่อมวลชน

3) นวัตกรรม (Commercialization) ได้แก่เอกชน และให้มีการลงทุน R&D ของเอกชน ตัวอย่างเช่น VCs BOI อย. สมอ.

มหาวิทยาลัยไทยร่วมใจเพื่อไทยก้าวข้ามหุบเหวมรณะ

มหาวิทยาลัยไทยต้องทำงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้าง เป็นการสร้างภูมิปัญญาโดยการตีความเห็นของ ดร.สมคิดออก คือ เปลี่ยนจาก R&D มาทำ Prototype และในอนาคตให้ทำ Marketing ให้ได้ Marketing รุ่นใหม่คือการสร้างแบรนด์ หมายถึงพลังศรัทธาที่ ม.อ.ต้องร่วมใจได้

สิ่งที่เอกชนต้องการคือ การทำโซ่ข้อกลาง ให้ทำ Prototype ออกมา ทำเป็น Machine ออกมา การลงทุน R&D ของเอกชน

มหาวิทยาลัย 4.0 การทำ COEs แหล่งทุน Sci&Eng Agriculture Health

มหาวิทยาลัย 4.0

- จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

- มีการสร้าง Platform ตามวาระของชาติ

- สู่การสร้างเศรษฐกิจ 4.0 (Competitive)

- สังคม / คนไทย 4.0 (Inclusive)

สรุปสิ่งที่อยากให้ผู้เข้ารับการเรียนรู้ในห้องนี้ทำต่อ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

คือ 1. ให้หาวิธีเจอกันเอง

2. ลงกันไปเล่นกับเด็ก ให้เด็กปริญญาเอกสอนปริญญาโท ปริญญาโทสอนปริญญาตรี Senior สอน Junior สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ร่วมกัน

3. เรียนรู้กับคนที่เป็นลูกศิษย์

4. ออกไปลงพื้นที่อย่างผู้เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน เน้นฟังเยอะ ๆ และคุยเยอะ ๆ เป็นลักษณะ Angel Fund คือการทำความดีบางครั้งก็เขียนอะไรไม่ได้ ให้ลงไปลุยเลย อย่ากลัวพัง ให้ดูว่าใครได้บทเรียนอะไรมากกว่าจะบอกว่าใครผิด

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ในรุ่น 2 อยากให้ ม.อ. หาเวลาพบกัน คิด Project Based ในรุ่น 2 ให้มีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น

ม.อ. ต้องถือ Flagship อันหนึ่งที่ทำได้

อาจเริ่มจากการทำเป็น Project Based และบางอันก็อาจเริ่มจาก Project ที่ผิดพลาดมาก่อนได้

S-Curve คือเพิ่มศักยภาพของคนให้เขาทำงานมี Entrepreneurship ให้ดูว่า Student Journey และ Student Entrepreneur คืออะไร สิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เราต้องศึกษา Connection เหล่านี้

ได้ยกตัวอย่าง Jack Ma กล่าวว่าเมื่อมีปัญหาอะไรเกิดขึ้นอย่าบ่นมาก เพราะ ปัญหามีอยู่ทุกที่ในโลก สิ่งที่ควรทำคือการค้นหาตัวเองและทำ

ถ้าเราไม่ทำ และไม่ทำร่วมกัน ไม่มีทางสำเร็จเพราะการบ่นไปจะไม่ชนะ Attitude ที่เป็น Negative ต้องสร้างให้เป็น Positive ต้องหา Solution มากกว่าหา Problem

ความล้มเหลวคือบทเรียน ต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวให้ได้ สิ่งสำคัญที่อยากฝากไว้คือ Attitude Mindset HR ของ ดร.จีระ และคนในโลกเป็นเรื่องของ Soft Skill เป็นเรื่อง Intangible แต่จัดการได้เมื่อไหร่จะรวยมาก

ดังนั้น ขอให้รุ่น 2 คิดใหญ่ เอาชนะอุปสรรค และมองอนาคตร่วมกัน ปัญหาในเมืองไทยมีมาก ถ้าเรามีความสามารถ เอาชนะได้


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 13 กันยายน 2559

“พระราชบิดา” ต้นแบบของผู้นำนักพัฒนา

โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เกียรติภูมิ“ลูกพระบิดา” มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร

อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

จาก “สมเด็จเจ้าฟ้าทหารเรือ”

สู่ “พระบิดาแห่งการแพทย์ไทย”

ทรงบำเพ็ญกุศลทานแก่เพื่อนมนุษย์

ด้วยความเพียรดุจพระมหาชนก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ได้ยกตัวอย่างพระบิดาที่ไม่ได้ละทิ้งความเพียร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระมหาชนก ได้นำตัวอย่างจากเรื่องจริงที่เป็นพระคุณลักษณะของพระบิดา

พระอนุสาส์นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

“ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง

ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง

ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ให้บริสุทธิ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ได้ยกตัวอย่างพระบิดาที่ทรงธรรมะไว้ซึ่งความบริสุทธ์ แล้วลาภ ยศจะได้

พระเกียรติคุณในระดับนานาชาติทรงได้รับการประกาศยกย่องจากองค์การ UNESCO

ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก

ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์การแพทย์

การพยาบาล และการสาธารณสุข

เนื่องในวาระฉลองครบรอบ 100 ปี

วันคล้ายวันพระราชสมภพ

1 มกราคม พ.ศ. 2535

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ได้ยกตัวอย่างพระบิดาที่กล่าวถึงผลกระทบจากการทำงานจะสะเทือนไปถึงโลก แพทย์ยึดพระองค์ท่านเป็นต้นแบบ ทุกท่านที่ ม.อ. ก็ควรยึดท่านเป็นต้นแบบ

พระราชประวัติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 69 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี

พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า(สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา)

พระราชสมภพ

วันศุกร์ เดือนยี่ ปีเถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2434

ในพระบรมมหาราชวัง สมเด็จพระราชชนกนาถพระราชทานพระนามว่า

"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ"

ทรงผนวช
ทรงผนวชเป็นสามเณร เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2447

ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระมหาสมณเจ้า

กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นพระราชอุปธยาจารย์ ประทับ ณ พระตำหนักทรงพรต วัดบวรนิเวศวิหาร

ทรงลาผนวช วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2447

พระราชอิสริยศักดิ์
พ.ศ. 2446 ภายหลังโสกันต์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา

สมเด็จเจ้าฟ้าชายมหิดลอดุลยเดชฯ

ขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม

มีพระนามตามพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์

จุฬาลงกรณทราชาวรางกูร สมบูรณ์เบญจพรศิริสวัสดิ์

ขัติยวโรภโตสุชาติ คุณสังกาศเกียรติประกฤษฐ์

ลักษณวิจิตรพิสิฏฐ์บุรุษ ชนุดมรัตรพัฒนศักดิ์

อัครราชวรกุมาร กรมขุนสงขลานครินทร์" มุสิกนาม

ให้ทรงศักดินา 40,000 ตามพระราชกำหนด

อย่างสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าทรงกรม

การศึกษาและการทรงงาน

การศึกษาเบื้องต้น

เมื่อทรงพระเยาว์ ทรงศึกษา ณ โรงเรียนราชกุมารในพระบรมมหาราชวัง

พ.ศ. 2447 โรงเรียนนายร้อยชั้นประถม

พ.ศ. 2448 โรงเรียนกินนอนแฮร์โรว์ ประเทศอังกฤษ

การศึกษาระดับอุดมศึกษา (การทหารและวิศวกรรม)

พ.ศ. 2450 Royal Prussian Military College ณ เมือง Potsdam

ทรงย้ายไปเรียน ณ Imperial German Naval College,

Flensbourg เยอรมนี

พ.ศ. 2454 ทรงสำเร็จการศึกษาวิชาทหารเรือ ทรงสอบไล่ปีสุดท้ายได้ที่ 2

และทรงชนะเลิศการประกวดออกแบบเรือดำน้ำ

พ.ศ. 2454-2457 ประจำราชนาวีเยอรมัน

พ.ศ. 2457-2461 สงครามโลกครั้งที่ 1 เยอรมนีแพ้สงคราม

พ.ศ. 2458 (3 เมษายน - 9 สิงหาคม) สำรองราชการ

กรมเสนาธิการทหารเรือ

พ.ศ. 2458-2459 (10 สิงหาคม พ.ศ. 2458 -19 มกราคม พ.ศ. 2459)

ประจำกองอาจารย์โรงเรียนนายเรือ แผนกแต่งตำรา

พ.ศ. 2459 ทรงลาออกจากทหารเรือ

พระราชอิสริยยศทางการทหาร

พระยศทหารเรือ แห่งราชนาวีเยอรมัน

1. นายเรือตรี พ.ศ. 2454

พระยศทหารเรือ แห่งราชนาวีสยาม

1. นายเรือตรี วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2454

2. นายเรือโท วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2469

3. นายนาวาเอก วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2469

4. จอมพลเรือ วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2541

พระยศทหารบก

1. นายพันโท พ.ศ. 2467

2. นายพันเอก พ.ศ. 2469

การเปลี่ยนแปลงการศึกษาสู่วิชาแพทย์และการสาธารณสุข

พ.ศ. 2460 ทรงศึกษาเตรียมแพทย์ ณ มหาวิทยาลัย Harvard สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2462 ทรงศึกษาวิชาสาธารณสุขและวิชา Pre-Clinic บางส่วน

ที่ School of Health Officer ของมหาวิทยาลัย Harvard ร่วมกับ M.I.T.

พ.ศ. 2463 เสด็จนิวัติพระนครครั้งที่หนึ่ง เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง

พ.ศ. 2464 ทรงสำเร็จการศึกษาสาธารณสุข ทรงได้รับประกาศนียบัตร C.P.H.

พ.ศ. 2466 ทรงศึกษาวิชาแพทย์ต่อ ที่มหาวิทยาลัย Edinburgh, Scotland

พ.ศ. 2466 ประชวรด้วยโรคพระวักกะ(ไต)พิการเรื้อรัง แพทย์ในยุโรปผู้หนึ่งกราบทูลว่า

จะทรงมีพระชนม์ชีพอีกเพียง 2 ปี

แต่เพราะอากาศหนาวจัดจึงทรงพระประชวรมาก เสด็จนิวัติพระนครครั้งที่สอง

พ.ศ. 2466-2468 เสด็จนิวัติพระนคร รักษาพระอาการและทรงงาน

พ.ศ. 2467 (11 ตุลาคม - 25 มิถุนายน) อธิบดีกรมมหาวิทยาลัย

กระทรวงศึกษาธิการ

(ผู้บังคับบัญชาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

พ.ศ. 2467 (26 มิถุนายน พ.ศ. 2467- จนสวรรคต)

ข้าหลวงตรวจการศึกษาทั่วไป กระทรวงศึกษาธิการ

พ.ศ. 2468 นายกกรรมการ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล

พ.ศ. 2469 ทรงศึกษาวิชาแพทย์ต่อที่มหาวิทยาลัย Harvard สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2471 เดือนมิถุนายน ทรงสำเร็จวิชาแพทย์ ทรงได้รับปริญญา

Doctor of Medicine (M.D.) เกียรตินิยมชั้น Cum Laude

และทรงได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมาคมเกียรตินิยมทางการศึกษาแพทย์

Alpha Omega Alpha

พ.ศ. 2471 วันที่ 13 ธันวาคม เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ

พ.ศ. 2470 ประชวรด้วยโรคไส้ติ่งอักเสบ ก่อนการสอบไล่เพื่อปริญญาแพทย์

แพทย์ต้องถวายการผ่าตัดเมื่อทรงสอบไล่แล้ว

พ.ศ. 2471 เดือนมิถุนายน ทรงสำเร็จวิชาแพทย์ ทรงได้รับปริญญา

Doctor of Medicine (M.D.) เกียรตินิยมชั้น Cum Laude

และทรงได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสมาคมเกียรตินิยม

ทางการศึกษาแพทย์ Alpha Omega Alpha

พ.ศ. 2471 วันที่ 13 ธันวาคม เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯ

พ.ศ. 2472 ทรงงานในฐานะแพทย์ประจำบ้าน โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่

(25 เมษายน-18 พฤษภาคม) คนไข้ออกพระนามว่า “หมอแดง/หมอเจ้าฟ้า”

พ.ศ. 2472 ประชวรด้วยโรคฝีบิดในพระยกนะ (ตับ) ประชวรอยู่ 4 เดือน มีโรคแทรกซ้อนคือ

พระอาการบวมน้ำในพระปัปผาสะ (ปอด) และพระหทัยวาย

พ.ศ. 2472 สวรรคต เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2472 เวลา 16.45 น.

พระชนมายุ 37 ปี 8 เดือน 23 วัน

พระราชนิพนธ์สำคัญทางการแพทย์

"โรคทูเบอร์คูโลสิส" พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงพระศพ จอมพลสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พ.ศ. 2463

"วิธีปฏิบัติการสุขาภิบาล" ทรงแสดงในการอบรมแพทย์สาธารณสุข พ.ศ. 2467

"Diphyllobothrium Latum in Massachusetts" A Report of Two Indigenous Cases:, JAMA: 90: 1607-1608, May 19, 1928

ความตั้งพระทัยในการเป็นแพทย์เฉพาะทางของสมเด็จพระบรมราชชนก
สมเด็จพระบรมราชชนกมีพระประสงค์จะทรงศึกษา และปฏิบัติงานต่อทางวิชา

กุมารเวชศาสตร์ ในสหรัฐอเมริกาอีกระยะหนึ่ง แต่ต้องเสด็จกลับประเทศไทยเพราะ

พระราชภารกิจ และพระอนามัยทรุดโทรม

พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระบรมราชชนก
พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงการศึกษาแพทย์ การศึกษาพยาบาล และการปรับปรุงโรงพยาบาลศิริราช

  • ทรงเป็นผู้แทนรัฐบาลสยาม ทำความตกลงกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเล่อร์ ในการปรับปรุงการศึกษาแพทย์ของประเทศสยาม โดยทางมูลนิธิฯ ให้ความช่วยเหลือดังนี้
    • มูลนิธิฯ ส่งศาสตราจารย์ 6 คน เข้ามาจัดหลักสูตร และปรับปรุงการสอนในวิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิวิทยา อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา ของคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • มูลนิธิฯ ให้ทุนค่าก่อสร้างและซื้ออุปกรณ์เป็นเงิน 130,000 เหรียญ โดยทางรัฐบาลสยามต้องออกเงินสมทบประมาณเท่ากัน
      • ให้ปรับปรุงอัตราเงินเดือนแพทย์ให้สูงขึ้น
      • ย้ายการสอนปรีคลินิคมารวมกับคลินิคที่ศิริราช
      • ช่วยปรับปรุงการสอนเตรียมแพทย์ ในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยส่งศาสตราจารย์เข้ามาปรับปรุงหลักสูตร และทำการสอนในวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา และภาษาอังกฤษ รวมทั้งให้ทุนอาจารย์ไทยไปศึกษาต่อในต่างประเทศ
      • ให้เลือกบุคคลที่เหมาะสมจะเป็นหัวหน้าแผนกแทนศาสตราจารย์ของมูลนิธิฯ และส่งไปศึกษาต่อ
      • ช่วยปรับปรุงโรงเรียนพยาบาล โดยมูลนิธิฯ ส่งอาจารย์พยาบาลเข้ามาช่วยปรับปรุงหลักสูตรและการสอน

มูลนิธิฯ จะให้ทุนอาจารย์ไทย ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ และต่อมามูลนิธิฯ ได้เสนอให้รัฐบาลสยามปฏิบัติ และให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม คือ

ทรงหาทุนสำหรับศิริราช โดย

พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงโรงพยาบาลอื่นๆ

ทรงเป็นประธานอำนวยการวชิรพยาบาล ได้ทรงวางโครงการ 4 โครงการ ในการปรับปรุงโรงพยาบาลแห่งนี้ รวมทั้งทรงเขียนแปลนการก่อสร้างเพิ่มเติมให้ เมื่อปี พ.ศ. 2472 และพระราชทานทุนให้แพทย์ไปเรียน

วิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา เพื่อกลับมาประจำโรงพยาบาลนี้อีกด้วย

พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงโรงพยาบาลอื่นๆ

พระราชทานทุน 16,000.00 บาท ให้โรงพยาบาลแมคคอร์มิค

เพื่อจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ 1 คน และประทานเงินอีก 6,750.00 บาท

เพื่อเป็นทุนซื้อเครื่องเอ็กซเรย์ประจำโรงพยาบาล

พระราชทานเงินปีละ 5,000.00 บาท ให้โรงพยาบาลสงขลา

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2468 จนสวรรคต

พระราชกรณียกิจในการปรับปรุงการสาธารณสุข

1. ทรงร่วมในการพิจารณาพระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 โดยทรงแก้ไขข้อขัดข้อง และความขัดแย้งต่างๆ จนลุล่วงไปด้วยดี ทำให้กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งเป็นกฎหมายการแพทย์ฉบับแรกประกาศใช้ได้

2. ทรงส่งเสริมการมารดาและทารกสงเคราะห์ โดยทรงวางโครงการให้ดัดแปลงวชิรพยาบาล เป็นโรงพยาบาลคลอดบุตร เป็นศูนย์อบรมศึกษาพยาบาลผดุงครรภ์ พยาบาลสาธารณสุข สังคมสงเคราะห์ และหมอตำแย เพื่อจะได้มีผู้ทำงานด้าน มารดา และทารกสงเคราะห์ เพิ่มขึ้น

3. ทรงช่วยในการอบรมแพทย์สาธารณสุขมณฑล ในปี พ.ศ. 2467 โดยทรงสอนวิชาปฏิบัติการสุขาภิบาล ทั้งภาคทฤษฎีและการอบรมภาคสนาม

พระราชกรณียกิจอื่นๆ เกี่ยวกับวิชาการแพทย์ และวิชาที่เกี่ยวเนื่อง

1. ทรงสนับสนุน ม.จ. พูนศรีเกษม เกษมศรี ในการรับนิสิตแพทย์หญิง

2. ทรงมีพระดำริจะสร้างโรงเรียนสาธารณสุข ในโอกาสต่อไป

3. พระราชทานทุนศึกษาทันตแพทย์ 1 ทุน ท่านผู้นี้ภายหลังเป็นบุคคลสำคัญในด้านการสร้างคณะทันตแพทยศาสตร์ และมีรับสั่ง

กับนายแพทย์วาด แย้มประยูร ซึ่งสำเร็จทั้งแพทย์และทันตแพทย์ว่า

จะพระราชทานทุน

ในการตั้งโรงเรียนทันตแพทย์

พระราชกรณียกิจต่อการศึกษาวิชาอื่นๆ

การประมง พระราชทานเงินจำนวน 100,000.00 บาท

ให้กรมประมงส่งคนไปเรียนวิชาการประมง จำนวน 3 คน

กรมประมงมีความสำนึกในพระกรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง

Dr. H. M. Smith ซึ่งเป็นที่ปรึกษากรมประมง สำรวจพบปลาบู่พันธุ์ใหม่ ที่จับได้ที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี จึงตั้งชื่อว่า Mahidolia Normani เมื่อปี พ.ศ. 2475

กรมสามัญศึกษา พระราชทานทุนให้โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จ้างครูชาวต่างประเทศ 1 คน

พระราชอิสริยศักดิ์

  • พ.ศ. 2472 วันที่ 30 พฤศจิกายน (ภายหลังสวรรคตแล้ว) พระบาทสมเด็จ

พระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเป็น

"สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์"

  • พ.ศ. 2477 วันที่ 25 มีนาคม

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทรงสถาปนาขึ้นเป็น

"สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ กรมหลวงสงขลานครินทร์"

  • พ.ศ. 2513 วันที่ 9 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเฉลิมพระอัฐิสมเด็จพระราชบิดา

ตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม

พระบรมราชชนก" ทรงพระราชฐานันดรศักดิ์เสมอด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้า

พระราชอิสริยยศ

พระยศเสือป่า

1. นายกองโท นายเสือป่าพิเศษ กองเสือป่าหลวง พ.ศ. 2466

2. นายกองเอก กรมนักเรียนแพทย์เสือป่า พ.ศ. 2467

พระยศพลเรือน

มหาอำมาตย์ตรี (กระทรวงศึกษาธิการ) พ.ศ. 2467

ราชองครักษ์

1. นายพันเอก ราชองครักษ์พิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1

จ.ป.ร. และ

2. นายนาวาเอก ราชองครักษ์พิเศษ

เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2469

ตำแหน่งราชการพิเศษ

1. กรรมการสภากาชาดสยาม

2. กรรมการกิตติมศักดิ์ วชิราวุธวิทยาลัย

3. กรรมการปกครอง และประธานกรรมการอำนวยการวชิรพยาบาล

4. พระอาจารย์พิเศษ คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงสอนวิชากายวิภาคเปรียบเทียบ ประวัติศาสตร์

และจุลกายวิภาคศาสตร์

5.พระอาจารย์พิเศษ คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล ทรงสอนวิชาสุขาภิบาล และมารดาทารกสงเคราะห์

6.ทรงงานในฐานะแพทย์แพทย์ประจำ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2472 ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2472

พระราชมารดา

ทรงเป็นเจ้าฟ้าที่มีทรัพย์มากอันเนื่องมาจาก

พระปรีชาและพระวิริยะอุตสาหะของพระราชมารดา

สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์

กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

เป็นพระราชโอรส

ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าฯ

กับเจ้าจอมมารดา มรว.เนื่อง สนิทวงศ์

(เมื่อทรงมีพระชันษา12 วัน พระมารดาถึงแก่พิราลัย พระราชบิดาทรงอุ้มมาพระราชทานให้เป็นพระราชโอรสบุญธรรมใน

สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา

พระบรมราชเทวี จึงทรงเติบโตมาด้วยกัน)

พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร

พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์

กรมพระยาชัยนาทนเรนทร ปลัดทูลฉลองและผู้บัญชาการราชแพทยาลัย

ผู้ทรงโน้มน้าวพระหทัย

สมเด็จพระบรมราชชนกฯ

ให้ทรงสนพระทัยวิชาการแพทย์

ได้สำเร็จ การแพทย์ไทย

จึงก้าวหน้ามาจนปัจจุบัน

พระราชประวัติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล

อภิเษกสมรส
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้

สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์

อภิเษกสมรสกับ นางสาวสังวาล ตะละภัฎ (สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี)

โดยเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสังข์ เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2463 ณ วังสระปทุม

พระราชโอรส และพระราชธิดา

1. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา

กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ประสูติวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2466

ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

2.พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468

ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี

3.พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชสมภพเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470

ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตต์ สหรัฐอเมริกา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • มหาจักรีบรมราชวงศ์
  • ปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ
  • นพรัตน์ราชวราภรณ์
  • เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5
  • เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6
  • เหรียญราชาภิเษก ทอง รัชกาลที่ 7

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. มีเรื่องเล่าว่า สมเด็จพระบรมราชชนนีมีเชื้อสายจากพระเจ้าตากหรือไม่

คำตอบ ไม่ทราบแน่ชัด ทราบว่าต้นตระกูลท่านทำทอง อาจน่าจะมีเชื้อสายของมุสลิมเพราะว่า เชื้อสายมุสลิมชอบทำทอง แต่ไม่มั่นใจว่ามีเชื้อสายพระเจ้าตากหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ คือ ต้นสายของอิศรางกูล ที่อยู่ตรงถนนพระอาทิตย์มีเชื้อสายจากพระเจ้าตากสิน เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ ต้นตระกูลคืออิศรางกูล


ร่วมเสนอการนำเสนอโครงการ : 5 Stars Halal Innovation Center

1. PSU International Halal Institute ได้ดูการตั้งสถาบันฮาลาลแห่งประเทศไทย ที่จุฬาฯ หลักเรื่องการให้บริการ มีเรื่องห้องเรียน ฮาลาล เว็บไซด์ทำรองรับภาษาอังกฤษ แต่ข้อมูลที่คลิ๊กยังเป็นภาษาไทยอยู่ ยังไม่มีระบบออนไลน์ ทุกอย่างยังไปที่จุฬาฯ ดังนั้นการทำของ PSU จึงต้องก้าวไปให้มากกว่าเขา และต้องพึ่งระบบ IT

2. Halal Hospital , Health & Spa

3. Halal Sport & Tourism

4. Halal Innovative Study and Training Course

5. Halal Research & Innovation Center

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

1. PSU International Halal Institute

ข้อดี ที่ทำเล และปัตตานีมีความน่าเชื่อถือกว่าที่จุฬาฯ และการพัฒนาบุคลากร ทำอย่างไรให้บุคลากรมีคุณภาพเป็นเรื่องที่ต้องทำ มีเรื่องการ Design IT มี Classroom และ Innovation Process และมีการสร้าง Network กับต่างชาติ รวมถึงด้านประชาสัมพันธ์ PR ที่ต้องทำ

Halal Institute เรื่องการตรวจรับรองอาจเพิ่มตัวที่ได้มาตรฐาน Halal และมีการเพิ่ม Certify ด้วย ต้องเพิ่มการมี Lab ในการรับตัวและได้รับการ Certify ด้วย

Location ที่ ม.อ.กำลังไปเช่าที่ศูนย์รถไฟที่กรุงเทพฯ อาจให้ที่นั่นเป็นศูนย์ฯเสริมด้วย เป็น Showcase

2. Halal Hospital , Health & Spa

ในโรงพยาบาล Healty & Spa ถ้าจะให้ครอบคลุมจะมี 1. Isalam Service Hospital หรือวิถีแห่งอิสลาม เราจะทำอย่างไรให้โรงพยาบาลมีเอกลักษณ์ ทั้งอาหาร ฯลฯ 2. Halal TTM & SPA โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและสปาจะอยู่ในส่วนของการแพทย์แผนไทย 3. Halal Health Products 4. Halal Cosmetics 5. Islamic health service training มีคอร์สเปิดอบรมหลักสูตรเพื่อเก็บเงิน

3. Halal Sport & Tourism

- Sport Training Courses

- Hat-Yai Nature Run

- Football Five Provinces Cup

- FIMTA Cup

- International Bike

ด้านการท่องเที่ยวจะเพิ่มร้านอาหาร ที่พัก ของที่ระลึก การชมสถานที่ ฯลฯ

4. Halal Innovative Study and Training Course

- Halal Tourism มีกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่คือกลุ่มมุสลิม ใช้กลุ่มนี้สร้างเครือข่ายจัดหลักสูตรระยะสั้น ให้มีการมุ่งไปด้านการเรียน ซึ่งจะได้ทางด้านการท่องเที่ยวอยู่แล้ว

- Halal Quality Management

- Halal Function food training กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อย่าง Training อาจเป็นผู้ส่งอาหาร และ Food Center มีหลักสูตร Halal Quality Management ที่ตอบโจทย์เพื่อให้เกิดการตอบโจทย์นวัตกรรม และชื่อหลักสูตรน่าจะเป็น Halal Quality Control ไม่จำเป็นต้องเป็นกลุ่มมุสลิม อาจเป็นไทยพุทธ ที่อยากเป็นผู้ประกอบการและได้ Certificate

- Islamic law for halal training

- etc.

เพิ่มเติมคือให้มีการเชื่อมโยงกับศูนย์ตรวจสอบอันแรกด้วย ด้านหลักสูตรจะมีสถานที่ที่ทำให้ศึกษาได้จริง ผู้ประกอบการอาจสามารถเป็นลูกค้าในอนาคตได้

5. Research and Innovation Center เป็นการวิจัยที่ตอบสนองเรื่องทุกเรื่องที่มี

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ได้กล่าวว่าตอนสรุปให้มีคนสรุปว่า ม.อ.จะได้อะไร ตอบโจทย์ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ วัตถุประสงค์จริง ๆ คือต้องการให้เห็น Design เป็นการนำเสนอร่มใหญ่ของรุ่น 2 โดยเริ่มต้นอาจพูดร่มใหญ่ก่อน แล้วแต่ละกลุ่มไล่ตามลำดับการนำเสนอ การนำเสนอ Step ในการทำงานที่เป็นบันได 3 ขั้นก็ดีมาก ทำให้เราเห็นวิธีการ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

กิจกรรมที่มี Detail ให้นำไปใส่ในระยะสั้น กลาง ยาว และให้มีงบประมาณด้วย

รูปแบบการนำเสนอ

เวลา 9.00 – 14.00 น. นำเสนอโครงการฯ ทั้งหมด พร้อมกรรมการ Comment

1. จะเริ่มต้นจากอาจารย์ภาคภูมิอธิบายภาพรวมก่อน แล้วเชิญตัวแทน 4 กลุ่มอธิบายแต่ละกลุ่มอีกที การให้คะแนนจะมีการให้คะแนนภาพรวมและคะแนนกลุ่มต่างหากด้วย

2. นำเสนอข้อคิดจากท่านประธาน

เวลา 14.15 น. นำเสนอทฤษฎีกระเด้ง

3. ทฤษฎีกระเด้ง (ตัวแทนกลุ่มละ 1 ท่าน)

- สิ่งอะไรที่อยู่ในใจและไม่คิดจะมีอยู่ได้จริง

- สิ่งที่คิดว่ากระเด้งจากในห้องเรียน

พูด 3 ข้อคือ 1. ได้อะไรจากหลักสูตรนี้ 2.อยากจะทำอะไรใน Step ต่อไป 3. มองโอกาสที่จะมีความร่วมมือระหว่างคณะทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกอย่างไร อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง


ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

เสนอเรื่องตรงห้าดาวให้ระวังเรื่องประเด็นทีกระทบกับศาสนาอิสลามหรือไม่


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 14 กันยายน 2559

ทฤษฎีกระเด้ง...จากภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯสู่ก้าวอนาคตแบบ 3 V’s บทสรุปภาพรวมของกิจกรรมการเรียนรู้ในโครงการฯ สู่การปรับใช้เพื่อการทำงานสร้างความเป็นเลิศให้แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครนิทร์

โดย ตัวแทนกลุ่มที่ 1 ถึง 5

กลุ่มที่ 1

สิ่งที่ได้ ทุกคนมองโครงการฯ และมีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นในการเชื่อในศักยภาพตัวเองไปพัฒนาองค์กรได้ เชื่อที่จะพัฒนาศักยภาพ From Good to Great มีการพัฒนาศักยภาพ ปรับเปลี่ยน Mindset ในการเปลี่ยนแปลง มี Networking ในหน่วยงานวิทยาเขต และอาจเป็นต่างประเทศในอนาคต มี Cooperation ในผลงานที่ทุกคนจะออกมาได้ประทับใจ สิ่งที่จะออกมาต้องเป็นงานที่ดีที่สุดไม่ชุ่ย

เรียนรู้เรื่อง Leadership และ 5K’s 8K’s ทำให้เราเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น มองในมุมคนอื่นเพื่อใช้ในการจัดการบริหารที่ดีมากยิ่งขึ้น จะมีนัดประชุมกลุ่มย่อยเพื่อให้เกิดโครงการฯที่เป็นรูปธรรม มีโครงการฯ พัฒนาอบรม พัฒนาการศึกษา ชายแดนภาคใต้ และทำวิจัยควบคู่กับการพัฒนาผลสำฤทธิ์ของการอบรม มีแนวคิดจัดค่าย English Camp และ Science Camp และจะเชิญหน่วยงานจากมาเลเซียมาร่วมด้วย

กลุ่มที่ 2

สิ่งที่ได้จากหลักสูตรนี้ ก่อนอื่นทราบว่าคณบดีมาเรียนอยู่ เลยสงสัยว่าท่านมอบงานให้รองไปแทน มีการจบปริญญาเอกภาวะผู้นำและการศึกษา มีดูเนื้อหาว่าโครงการฯ นี้น่าจะมาแบบสบาย ๆ ไม่ซีเรียสอะไรมาก และมองว่าส่วนใหญ่จะมาต่อยอดจากสิ่งที่เรียนมากกว่า

สิ่งแรกที่พบคือเรียนรู้ทุกวัน และหลังจากนี้ไปในฐานะผู้นำที่เป็นผู้บริหารคนอื่นต้องเรียนรู้ทุกวันและเรียนไปเรื่อย ๆ

สิ่งที่ลืมคือการนำเอาองค์ความรู้ไปใช้แก้ปัญหาอย่างฉลาด ทำไมไม่สามารถใช้วิชาเอกที่เรียนไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เลยคิดว่าเพราะไม่ได้ปะทะกันทางปัญญา ถ้าปะทะกันทางปัญญาแล้วชนะ แพ้ และเสมอกัน สิ่งที่ได้ข้อคิดคือ 1.ถ้าเราแพ้แสดงว่าเรายังไม่พอ เราต้องพัฒนาเยอะ ๆ 2. ถ้าเราชนะ วุฒิภาวะเราไม่ถึงเราถึงต้องการชนะ เราต้องการความยิ่งใหญ่ ต้องชนะเล็ก ๆ เพื่อนำสู่สิ่งที่ยิ่งใหญ่ในอนาคต เพราะถ้าเราคิดใหญ่ แล้วตั้งความหวังใหญ่แล้วเมื่อไปไม่ถึงจะท้อ มีปรัชญาแนวคิดว่าฝันให้ไกล ไปไม่ถึงช่างมันเพราะอย่างน้อยเราได้พยายามทำ ให้ทำ Micro และไปเรื่อย ๆ จะถึงเอง

การทำงานต้องทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้น การทำงานที่ดี

3 V เรามาจากความต่าง แล้วเราถูกโครงการฯ นี้จูนให้เหมือนกันทางความคิด แล้วถูกสร้างให้เกิดการสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม สิ่งที่กระเด้งได้คือเราไม่เคยมองเรื่องธุรกิจ เราต้องคิดอย่างไรให้เกิดความร่วมมือและสร้างมูลค่าเพิ่มได้ เรามี Brand ที่ดีอยู่แล้วแต่ต้องสร้างให้เกิดมูลค่าเพิ่มของเรา อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องการมองข้ามศาสตร์ และการปรับวัฒนธรรมองค์กร ไม่เกี่ยวกับเนื้อหา แต่เกี่ยวกับวิธีการ หลายท่านจะนำกลับไปสู่ห้องเรียนและนักศึกษาของเราให้คิดถึง

เครือข่ายที่ได้รู้จัก ตอนแรกเราไม่รู้จัก สิ่งที่ได้คือการรู้จักกัน เครือข่ายที่ดีที่สุดคือการมาในรุ่นจาก 50 คน และมีเครือข่ายในกลุ่ม และอีกเครือข่ายคือเครือข่ายทางวิทยาเขต ดังนั้นเครือข่ายที่ดีที่สุดคือการอยู่อย่างแบบพี่แบบน้อง ดังนั้นในเครือข่ายภายในต้องร่วมมือกันให้ถึงที่สุด เราจะทำอย่างไรให้องค์กรส่วนปกครองท้องถิ่นเข้ามาเป็นบอร์ดของเราด้วย ได้ทั้งหน่วยงานและคนในอนาคต ต้องมีการทำงานอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่องและต่อเนื่อง

กลุ่มที่ 3

จากการทบทวนสิ่งที่ได้เรียนมา สิ่งแรกที่ทำหลังจากได้เรียนไป เราได้กลับไปทบทวนตนเอง เป็นการเอาวิธีคิดใหม่ ๆ เข้ามาแล้วเราจะAbsorb และซึมซับอย่างไร ไม่อยากให้การทบทวนตนเองเป็นเรื่องเฉพาะตัว ในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเปลี่ยน เอากรอบมาใส่ใหม่ ในขณะที่เป็นคนเดิม ถือเป็นโอกาสดีที่คนใน ม.อ.ควรทบทวนตนเอง ให้คนรู้จักเปลี่ยน Mindset เพื่อเกิดประโยชน์

Value Creation การสร้างคุณค่าต่าง ๆ ขึ้นมา สิ่งที่ควรทำคือ บทบาทของมหาวิทยาลัยที่ต้องเปลี่ยนไป มหาวิทยาลัยจะวาง Position ตนเองอย่างไร ต้องตอบโจทย์ตลาดมากขึ้น มองด้าน Demand มากขึ้น ในอีกด้านหนึ่งคือทุนนิยมที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ เราต้องวาง Position ให้ชัดว่าจะทำอย่างไร และในช่วงเปลี่ยนผ่าน สิ่งที่ ม.อ.ควรทำคือการสร้าง Common Value ขึ้นมา มหาวิทยาลัยหนีไม่พ้นด้านการพัฒนาการศึกษา สร้างให้เป็นผู้ประกอบการที่มีคุณธรรม ในด้านหนึ่งอาจทำงานกับภาคเอกชน อีกด้านจะเป็นเรื่องการสร้างความขัดแย้งของมหาวิทยาลัย ควรมีการให้บริการชุมชน ไม่เช่นนั้น Value อาจขัดแย้งกันเองได้ เราจะจัดการลำดับความสำคัญ และจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร ทำอย่างไรให้เกิดสิ่งที่อาจารย์จิมมี่บอก คือ Know Belief และ Act ซึ่งนอกจากการสร้าง Common Value แล้วเราต้อง Communicate ให้ทราบ Common Value ร่วมกัน

เน้นการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมที่มีผลต่อสังคมโดยร่วม และเราจะเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรวมได้อย่างไร ม.อ.ควรเพิ่มเข้ามาในมหาวิทยาลัย

Value Diversity แม้มีความหลากหลาย แต่เราก็สามารถเดินไปในแนวเดียวกัน เป็น Unity เดียวกัน เป็น Value of Unity ได้ ได้ทานอาหารเที่ยงร่วมกัน ดูงานร่วมกัน ก่อนหน้านี้ไม่ได้รู้จักแต่ละท่าน แต่หลังจากได้เรียนร่วมกัน อาจทำให้ร่วมกันทำงานเพื่อมหาวิทยาลัยต่อไป ในอนาคตต่อไปอาจทำวิจัยข้ามศาสตร์ หรือมีหลักสูตรข้ามศาสตร์มากขึ้น

กลุ่มที่ 4

สิ่งที่ได้รับจากการอบรมในครั้งนี้กลุ่มแรก ๆ ขมวดประเด็นเกือบหมดแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสร้างเครือข่าย การหารายได้ การดูงานต่าง ๆ

ในประเด็นเรื่องการเป็น ม.ในกำกับฯ ม.อ.จะสร้างสู่การเปลี่ยนผ่านได้อย่างไร จะใช้ช่องทางการสื่อสารและขมวดปมต่าง ๆ เข้ามา เรามีความหลากหลายแต่ต้องเป็น Unity เราจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร เพราะงานในปัจจุบันแตกต่างโดยสิ้นเชิง อยู่ในการใช้กระบวนการเรียนรู้ และวิธีการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง ทำอย่างไรให้คนมีความสุข ให้ดูว่าคนในองค์กรมีความสุขจริงหรือไม่ ใช้ปณิธานของพระราชบิดาเข้ามาปรับใช้ เป้าหมายในองค์กร ทุกคนต้องรับรู้ร่วมกัน และต้องสร้างให้เกิดความเป็นเจ้าของ ม.อ.ให้ได้ อย่าใช้ม.อ.เพื่อการเป็นฐานเพื่อทำประโยชน์ส่วนตน แต่ต้องสร้างให้เกิดความเป็นส่วนหนี่งส่วนใดของ ม.อ.เดียวกัน

วิทยาเขตต่าง ๆ มีความเข้มแข็ง อ่อนแอไม่เท่ากัน การพัฒนาต้องมีการยอมรับ และมีการเชื่อเพื่อให้เขาทำงานให้ได้ เราจะใช้เป็น Happy Workplace หรือ Happy at work

เรื่องการจัดการศึกษาได้กลับมาสู่การสร้างเป็น Learning Organization แล้วนำมาสู่การปรับพฤติกรรม ไม่ใช่เฉพาะผู้บริหาร และสายอุปกรณ์ต่าง ๆ มีสถานที่ที่ทำให้อยู่ได้ 24 ชั่วโมง ควรมี Third wave ของมหาวิทยาลัย สร้างให้เกิดชุมชนที่เราอยู่ด้วยกัน ควรเป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยในภาพรวมเช่น การสร้าง Learning Organization และ Third Wave แต่สิ่งที่ควรพัฒนาได้ดีที่สุดคือ Mindset ในการปรับเปลี่ยน เพื่อสร้างพลังในการขับเคลื่อนและเป็น Change Agent ของมหาวิทยาลัย

กลุ่มที่ 5

สิ่งที่อยากทำคือ Through the wall คือทะลุกำแพงได้หรือไม่

1. เราต้องมาหาว่าคุณค่าคืออะไร คุณค่าเหล่านี้เป็นการทำทุกอย่างของการให้คุณค่าแก่ชีวิต

2. แปลงจาก Knowledge Based เป็น Wisdom Society

3. การต่อสู้เพื่อให้ได้นวัตกรรม สู่วาระแห่งชาติและไปด้วยกัน

4. เรียนรู้สร้าง Talent คือการสร้างความเป็นเลิศในความสามารถ และที่ตามมาคือความอึด สู้ไม่ถอย

5. การสร้างเครือข่าย เราต้องมองว่าคู่แข่งสามารถเป็น Network ได้หรือไม่

6. การสร้าง Transformative Leader คือการเป็นผู้นำที่สร้างความเปลี่ยนแปลง

7. เราต้องมีเวทีความคิด คือสิ่งที่พูดออกไป สิ่งที่สื่อสารออกไป ผู้ใหญ่ควรให้โอกาสเรา เป็นการนำความคิดสู่ความเป็นจริงได้

8. Together การอยู่ด้วยกันแสดงถึงความถ้อยทีถ้อยอาศัย อบอุ่น มีการกระหายความรู้ที่จะทำด้วยกัน

ได้ยกตัวอย่างรัสเซียที่สร้างความเจริญ สร้างคนรุ่นใหม่ มีการเก็บหลักฐานที่มาของความเจริญรุ่งเรืองคืออะไร ความเจ็บปวดคืออะไร มองว่าจะไม่เดินผิดทางอีกเพราะรู้ว่าความเจ็บปวดนั้นมีแค่ไหน เรามั่นใจว่าเราจะเดินมาถูกทาง

นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา

เรามีคนเก่ง แต่เราอยู่แบบคอนโดฯ คือช่องใครช่องมัน ไม่มีลานหมู่บ้าน เรามองแค่ว่าเราคิดของเราคนเดียวที่อยากให้ ม.อ.เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่มีเพื่อนบ้านที่อยู่ข้างเราคิดเช่นนั้นด้วยเช่นกัน เพื่อร่วมกันทำงานให้เกิดทฤษฎีกระเด้ง

เราต้องมี Passion คือเรามีดาวอยู่ข้างหน้าไปที่ไหนก็ไม่กลัว เพราะมีเป้าหมายคือดาวอยู่ข้างหน้า แต่ถ้าเราเจออุปสรรคเราก็จะเดินต่อไป เราต้องทำสิ่งเหล่านี้บวกกับความอดทน ทำด้วยความรัก ความมุ่งมั่น แม้เห็นไม่ตรงกัน แตกต่างกัน แต่ทำอย่างไรให้เกิดความสร้างสรรค์เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ ม.อ.จะไปได้ไกล ดังนั้นไม่ว่า ม.อ.จะอยู่ใน ม.กำกับฯ หรือไม่ แต่ ม.อ.ต้องเดินไปข้างหน้า ประเด็นคือ ม.อ.อยากเก่งแค่ไหน วิธีการจะเป็นแบบใด เช่นคนที่อยากเป็นนักกีฬาโอลิมปิค แรงที่ลงนั้นมีความอดทน มีการฝึกฝนมากกว่าเป็นต้น ประเด็นคืออยากจริงหรือไม่ ให้นำความอยากมาหลอมรวมกัน แม้คนละสี มีความแตกต่าง แต่จะหลอมรวมความแตกต่างเพื่อเดินไปที่เดียวกัน ถ้าเราจะเปลี่ยนโลก เราต้องเริ่มที่เปลี่ยนตนเองก่อน

การเห็นว่าการไปด้วยกันเป็นเรื่องดี แต่ให้เริ่มที่ตัวเราเองก่อน ให้มองว่าสิ่งที่เราเดินทางมานั้นถูกต้อง และต้องเดินหน้าต่อไป ให้ทำร่วมกัน จับมือด้วยกันไป การคิดคล้ายกัน การคิดต่างกัน จะก้าวเดินไปข้างหน้าด้วยกันได้อย่างไร แล้วประโยชน์จะเกิดขึ้นกับ ม.อ. และนักศึกษา ม.อ. ทุกอย่างอยู่ที่นักศึกษา ถามว่านักศึกษาได้ประโยชน์หรือไม่ เช่นเดียวกับคณะอื่น เราต้องช่วยนักศึกษาเป็นเป้าหมาย เพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นคนแบบนั้น และหาแนวร่วมช่วยกัน จะทำให้โลกเบ่งบาน และตื่นเต้นที่เราจะไปด้วยกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กล่าวว่าเราจะเดินไปด้วยกันได้อย่างไร ทฤษฎีกระเด้งเมื่อลูกแรกกระเด้งแล้ว แต่แรงเหวี่ยงกระเด้งครั้งต่อไปจะมีอัตรากระเด้งลดลง เราจะต้องโยนลูกต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้มีการกระเด้งมากขึ้นเรื่อย ๆ ต่อไปได้

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

โครงการฯนี้น่าจะประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง และดูจากบรรยากาศในวันนี้ คนน้อยไป และจะหาตัวแทนมาพูดการนำเสนอในแนวคิดมีคุณค่าอย่างยิ่ง มีกุศลและเจตนาที่ดี และการมีผู้บริหารมหาวิทยาลัยมารวมตัวกันทำให้เราเห็นถึงสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป สังคมมีความคาดหวังมาก และแนวคิดที่นำเสนอได้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม เน้นการสร้างเครือข่าย การสร้างความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม

ความสามารถของประเทศที่จะเติบโตต่อไป คือคนรุ่นใหม่ที่จะเข้มแข็งขึ้น แข็งแรงขึ้น การมีแนวคิดเช่นนี้ ที่เหลือจะกลายเป็นภาคปฏิบัติ ที่ทุกท่านต้องมีการติดอาวุธทางปัญญาและทำต่อไปเพื่อให้ประสบความสำเร็จต่อไปในอนาคต

ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

สิ่งที่พบคือการ Unconnected คือไม่ค่อยมาเจอกัน มหาวิทยาลัยมีไว้ทำไม มหาวิทยาลัยไม่ได้มีไว้ผลิตนักศึกษา บริการวิชาการ วิจัย ฯลฯ แต่มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์รวมของความรู้มากมาย การทำวิจัยก็เพื่อต้องการนำความรู้ฝังไปในมหาวิทยาลัย ต้องการนำไปสู่การตอบโจทย์และความคาดหวังของประเทศ ดังนั้นการบริการวิชาการเป็นเสมือน Tool หนึ่งที่นำความรู้ไป Apply ได้ ส่วนนักศึกษาเป็นเสมือนการส่งไม้ต่อไปให้

เราไม่ได้ต้องการ Knowledge แต่เราต้องการทะลุกำแพง และตรงกันในเรื่อง Wisdom มหาวิทยาลัยต้องเป็นแหล่งรวมนวัตกรรม และปรับตัวตลอดเวลา ต้องเป็นลักษณะการทำโปรเจคความรู้ ทำงานวิจัยและได้เงินด้วย

1. Associating คือ โครงการฯอย่างนี้ทำให้คน Associate กัน และการข้าม Discipline จะทำให้เกิดนวัตกรรม คนที่อยู่ Discipline เดียวกันไม่มีทาง Generate Innovation และการ Set Associate แล้วจะมีอะไรต่อ ได้ทำ Networking

2. เมื่อจบ 3 เดือนแล้วไงต่อ คือ Associate แล้วเราจะมา Born กันอย่างไร Melting , Mixing, Fusion อย่างไรให้เกิดนวัตกรรม การเกิดนวัตกรรมได้ต้อง Fusion ซึ่งจะเกิดได้ต้อง 1. Observing ในแต่ละคณะได้มีการไป observe คณะอื่นหรือยังเพื่อให้เกิดการหมุนไม่มีที่สิ้นสุด 2. Questioning ระหว่างที่ไป observe ให้ถาม Why ? and Why not? ไม่ต้องหา Solution เพราะ คนที่นั่งฟังต่อมีหน้าที่ Observe อย่างเดียวฟังอย่างเดียว 3.Experimenting เราจะนำสิ่งนี้ไปทดลองทำได้อย่างไร อย่างวันนี้เป็น ม.ในกำกับฯ เราจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เราต้อง Experiment คือทุกอันที่ Why? และ Why not? ให้ทดลองสิ่งที่ทำและเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งรวมของความรู้ วิจัยได้ผลก็ได้ความรู้ วิจัยไม่ได้ผลก็ได้ความรู้ สรุปคือ มหาวิทยาลัยต้องกล้าที่จะ Why? และ Why not? และ Experiment

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ฟังจากทั้ง 5 กลุ่ม และทฤษฎีกระเด้งของ ดร.จีระ มองแล้วว่าไม่ค่อยตรง

Factor มีเรื่องของลูกกับพื้นที่กระทบ ถ้าลูกดี ยางดี ก็กระเด้งไปได้เรื่อย ๆ ลูกคือตัวเรา ยางคือสังคมที่อยู่ เราจะปรับอย่างไรให้ปรับลูกและยางไปด้วยกัน

สิ่งที่เกิดคือ เกิดขึ้นแล้วแต่ไม่กระจายให้ถูกจุด สรุปคือสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อรับกับความเจริญเติบโต การคิดแบบ Digital และ Analog เป็นเรื่องคนละแบบ

Analog คือการพยายามอนุรักษ์ให้ได้แบบเดิม แต่โลกกำลังเปลี่ยนไป

สิ่งใหม่ ๆ ที่เข้ามาจากที่อื่น ภายใต้สภาพจิตใจของคนไทยที่อ่อนไหว อันตรายมาก ๆ คือพยายามทำลายล้างอัตลักษณ์ตนเองหมดเพื่อเป็นคนไทยแบบใหม่ ชีวิตแบบเมื่อก่อนกับชีวิตแบบนี้ไม่เหมือนกันแล้วจะทำอย่างไร คือผู้ใหญ่จะปรับตัวให้เข้ากับเด็กหรือไม่?

คือถ้าเราควบคุมจิตใจได้ และปรับตัวเองได้ในอนาคต ก็จะไปรอดได้

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

หลักสูตรการพัฒนาผู้นำในอนาคต เราจะกระเด้งบนกระเบื้องหรือจะกระเด้งบนพรม สิ่งที่เห็นทฤษฎีกระเด้งทำให้ต่อยอดถึงตลอดระยะเวลา 7 ช่วง เกิดการเรียนรู้มากขึ้น ขณะที่อาจารย์อยู่ด้วยกันได้มีการค้นหา และทดลอง มีการพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน อีกเรื่องคือการได้ Act คือการออกแรงทั้งแรงสมองและกำลังกายที่ระดมกำลังกัน อีกเรื่องคือเรื่องการกัดไม่ปล่อยคือ ยืนหยัดและต่อสู้ เราต้องยึดกับมันและกันไม่ปล่อย และสุดท้ายคือมีเส้นทางและ Journey ได้เรียนรู้และไปกระเด้งต่อได้อย่างไร และเชื่อว่า Leader จะ Change Leader

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ทฤษฏีกระเด้งของอาจารย์จีระ ประกอบด้วยลูกและพื้น แต่ยังไม่ได้ทุกอย่างทั้งหมด แต่สิ่งที่ดร.จีระอยากให้ฝังไว้ใน DNA สิ่งที่สำคัญอีกเรื่อง 4L’s มี Learning Methodology คือกระบวนการต่าง ๆ ส่วนหนึ่งคือ 2 R’s R1 คือ การค้นพบตัวเองว่าแข็ง อ่อน ต้องเติมลมจะไปขนาดไหน Learning Environment การมองสภาพแวดล้อม ดูลูกศิษย์ Stakeholder ชุมชน คู่แข่งฯลฯ คือได้เรียนรู้พื้นว่าจะไปเล่นได้ในแบบไหน กระเด้งแบบไหน R 2 คือถ้ามีความเหมาะสมกับตัวเองจะทำให้เห็นราคา ให้คำนึงถึงตัวเองกับสิ่งที่ต้องไป มีกระบวนการตรงกลางอยู่ ให้นำความจริงจากที่สังเคราะห์ไว้เป็นข้อมูลที่ต้องสังเคราะห์แล้วเหมาะกับภาวะผู้นำ การสร้าง Learning Opportunities คือการปะทะกันทางปัญญาที่เกิดร่วมกันและสามารถนำไปใช้ได้ Learning Community คือสร้างชุมชนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับคน ม.อ.

สิ่งที่ ดร.จีระคิดคือชอบการกระเด้งไม่มองไม่เห็นว่าไปลงที่ไหน แต่ต้องช่วยกันเก็บ แล้วผลผลิตจะไปอยู่ที่ 3 V ที่จะไปต่อยอดกับผู้ร่วมงานได้อย่างไร V ที่สำคัญที่สุดคือ Value Creation คือแรงที่ทำให้เกิดการโยนลูกใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดผลในลูกใหม่ ๆ เช่นกัน

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คำว่ากระเด้งเกิดมาเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา คือ คณะแพทย์ 2 ครั้ง ทักษิณ 1 ครั้ง ม.อ. 2 ครั้ง และมีการสอดแทรกมาที่ กฟผ.จึงมีการพัฒนาผู้นำระดับสูงแล้วสะท้อนมาที่ระดับล่าง สิ่งที่คิดเรื่องทฤษฎีกระเด้ง ที่สามารถต่อยอดออกมาเป็นลูกบอลอย่าง อ.แดงว่าก็เป็นไปได้ แต่ที่คิดเรื่องนี้คือ การทำอะไรก็ตามต้องมีพื้นฐานที่แน่นก่อน เพราะความแน่นจะทำให้เขาไปสู่ความเป็นเลิศด้วยการสร้างแรงบันดาลใจ เกิดการแชร์ความรู้ และกระบวนการได้เกิดการปะทะกันทางปัญญา ดังนั้นการกระเด้งในมุมมอง ดร.จีระคือการมีความเข้าใจในพื้นฐานก่อน ถึงกระเด้งไปสู่อย่างอื่นได้ และคิดว่าคนใน ม.อ.มี คือมีพื้นฐานดี แต่พื้นฐานดีอย่างเดียวไม่สามารถไปเกิดการ Create Value ได้ คือ หลักคือต้องมีทุนที่ดีเสียก่อน

ข้อดีของรุ่น 2 คือมีความหลากหลายมากกว่ารุ่น 1 ซึ่งความหลากหลายนี้จะทำให้เราเปิดโลกทัศน์ได้มากขึ้น ให้เชิญคนใน ม.อ. มาบ้างเพื่อให้เกิดการกระเด้งต่อว่าทำอะไรอยู่

หลักสูตรนี้คือการสะสมภูมิปัญญาที่สะสมใน 30 ปี และเริ่มจากการจัดอบรมให้กับคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. โดย คณบดีสุธรรม และท่านชูศักดิ์ และ นพ.บุญประสิทธิ์เห็น ก็กระเด้งมาสู่ที่นี่

สิ่งที่ทำคือ สร้าง Platform ให้คนสามารถเล่นละครด้วยตนเอง แล้วทาง ดร.จีระ และทีมเป็นเพียงแค่ตัวเสริมเท่านั้น คำว่ากระเด้งหมายถึงเมื่อทำอะไรถึงจุดหนึ่งแล้ว เราต้องต่อยอด คือมีพลังอะไรให้เราทำต่อ ได้ยกตัวอย่างว่าถ้าอยากจะเป็นคนเก่งเมื่อตอนอายุ 40 ปี เราจะตกภาษาอังกฤษ หรือภาษายาวีไม่ได้ และถ้าจะต้องเรียนภาษาให้ไปคุยกับฝรั่งเป็นหลัก ให้มีความปรารถนาในการเอาชนะอุปสรรค


สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

วันที่ 14 กันยายน 2559

นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้...สู่การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาและสร้างคุณค่าของ ม.อ. ในอนาคต

โดย ตัวแทนกลุ่มที่ 1 ถึง 5

ร่วมให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะโดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

อาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนา

นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

PSU Leader Class (2) Projects

วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ม.อ.คือ

“เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับภูมิภาคเอเชีย...โดยมีการวิจัยเป็นฐาน”

- เราเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำได้อย่างไร

- เรามีอะไรดีถึงเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำได้

- มีการ Define ร่วมกันเพื่อไปในทางเดียวกัน มีจุดร่วมกันคืออะไร Who we are? มองเห็นในอนาคตว่าจะก้าวไปสู่มหาวิทยาลัยเพื่อนวัตกรรมและสังคม และจะก้าวไปสู่ Thailand 4.0

Who We Are?

- ดูให้เข้ากับบริบทของ ม.อ. ม.อ.เป็นเสาหลักของทางใต้ สิ่งที่เห็นตรงกันคือวิถีชีวิตของชาวมุสลิม คือมีเพื่อนในสังคมเรา มีวิถีชีวิตหลากหลาย อยู่ใน Location ที่เชื่อมโยงกับชาวมุสลิมไปออกนอกประเทศด้วย และทางใต้เป็นที่รองรับของชาวมุสลิม เราเลยคิดว่าวิถีชีวิตของชาวมุสลิม น่าจะเป็นจุด Focus ความเป็นเลิศของ ม.อ.ได้อย่างหนึ่ง

- การมองเห็นกิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ ที่ชาวมุสลิมต้องการให้เป็นที่รองรับ จึงเป็นที่มาของการสร้าง Project ที่ Focus ไปในเรื่อง ฮาลาล ซึ่งนอกจากภาคใต้แล้ว ทางจุฬาฯ ก็เริ่มทำสถาบันฮาลาลของประเทศไทยเช่นเดียวกัน มีการตรวจและให้มาตรฐาน แต่ Website ยังเป็นมหาวิทยาลัยอยู่ และระบบยังไม่ Online ดังนั้น การให้ข้อมูลของมหาวิทยาลัยสิ่งนี้ยังเป็นจุดอ่อนอยู่ เป็นที่มาของ Project PSU Halal Innovation Center

1. PSU International Halal Standard Institute

2. Halal Sports & Tourism

3. Halal Hospital , Health & Spa

4. Halal Innovative Study and Training Course

5. Halal Research & Innovation Center

สัญลักษณ์ภาพจะเป็นไข่แดง และล้อมรอบด้วยไข่ขาวคือล้อมรอบด้วยสังคม ใกล้ชิดสังคมมากขึ้น ทั้ง 5 โครงการแล้วมีการร้อยเรียงเข้าด้วยกัน ผสมผสานกันเพื่อเกิด Innovation ใหม่

1. PSU International Halal Standard Institute

กิจกรรม Location + Certified Halal Lab คือจะหา Location ก่อนว่าที่ไหน แล้วมีการดูฮวงจุ้ยเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ดังนั้น Location จึงสำคัญ ที่เหมาะสมจึงควรตั้งในวิถีชีวิตชาวมุสลิม ที่เหมาะสมคือตั้งที่ปัตตานี ส่วนที่เสริมอาจตั้งที่อื่นคือกรุงเทพฯ หรือที่อื่นได้

มีการสร้าง Lab วิเคราะห์ เพื่อส่งผลให้ที่อื่นได้ มีการให้ Certify ด้วย ต้องมีสถานที่ Lab ของสถาบัน

งบประมาณ คาดว่าจะประมาณ 200 ล้านบาท

กิจกรรม Human Capital เป็นกิจกรรมที่จะต้องสนับสนุนคือทำให้คนมี Learning Culture เพื่อทำให้สำเร็จ

กิจกรรม Digital Capital ม.อ.มีความเป็นเลิศทางด้าน IT จึงน่าจะสามารถนำมาสร้างการOnline และ Service ได้

กิจกรรม Networking จะไม่ทำคนเดียว สามารถดึงความมีส่วนร่วมมาสร้างได้ ในช่วงระยะสั้นต้องสร้างสถาบันให้ได้

กิจกรรม Public Relations เรื่องประชาสัมพันธ์มีจุดอ่อน อยู่แต่ก็น่าจะพัฒนาไปได้ดี

2. Halal Sports & Tourism

ในร่มใหญ่ของ ม.อ.จะทำอย่างไรที่สังคมจะเชื่อมโยงและใช้ศูนย์กีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- การส่งเสริมการออกกำลังกายของนักศึกษา ส่งเสริมวัฒนธรรมด้านการเล่นกีฬา เพื่อพัฒนาร่างกายและสังคมด้วย ดังนั้นการส่งเสริม โดยคำนึงถึงภายนอก สังคม วัฒนธรรม ชุมชนด้วย

- ยกระดับฐานะไปสู่อาเซียนด้วย ปัจจุบันยกระดับฐานะมาระดับหนึ่งแต่ต้องพัฒนาไปสู่ระดับชาติและอาเซียน

กรอบแนวคิด

- พัฒนา Branding ของมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน ภายในและอาเซียน

- สนามกีฬา อาคารและพื้นที่มีศักยภาพที่จะเพิ่มรายได้ เพราะเมื่อเรามีความพร้อมสิ่งต่าง ๆ จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้

- บุคลากร และองค์ความรู้จากคณะต่าง ๆ ในวิทยาเขตและต่างวิทยาเขต พบว่าบุคลากรมีความพร้อมครบอยู่ทุกองค์ ทุกวิทยาเขตจึงสามารถเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน

- Aging Society ในด้านสังคมผู้สูงอายุ สุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ การส่งเสริมการออกกำลังกายด้านสุขภาพและสาธารณสุข ในอนาคต การออกกำลังกายจะเป็นตัวลดไม่ให้คนเข้าสู่การรักษาพยาบาล

วิธีการ

- การวาง Positioning ให้ ม.อ.เป็นศูนย์กลางด้านกีฬาและสุขภาพระดับภาคใต้และอาเซียน ใช้กิจกรรมกีฬาเป็นตัวส่งเสริมรูปแบบทางด้านกีฬาให้คนสนใจที่จะเชื่อมโยงกิจกรรมด้านต้นภายในก่อน - Place

- Inbound และ Outbound

มีการจัดกิจกรรมเชื่อมโยงใน 5 วิทยาเขต มีกีฬาสร้างสานสัมพันธ์ใน 5 วิทยาเขตที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านนักศึกษาและบุคลากร

ชุมชนภายนอกอาจมีการต่อว่ามาบางส่วนจึงควรมีการจัดเวลาที่เหมาะสมว่าเวลาไหนใช้ได้ เวลาไหนใช้ไม่ได้ ทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวที่หาดใหญ่มาชมที่อ่างน้ำ ม.อ. ใช้ระบบจัดการใหม่จัดจุดรองรับนักท่องเที่ยว จัดรถกอล์ฟ นำพา จัดส่งเสริมการท่องเที่ยวใช้วิกฤติเป็นโอกาส

กิจกรรม

1. Sport Training Courses – ให้มีการเชื่อมโยง และมีการสอบโค้ช ได้รับใบ Certificate ในการประกอบอาชีพ เปิดโอกาสให้นักศึกษามีโอกาสเป็นผู้ตัดสิน สร้างการเชื่อมโยงกับสมาคมฯ ให้มีการจัดย่อยไปกับวิทยาเขตต่าง ๆ ด้วย

2. Hat-Yai Nature Run – โครงการหาดใหญ่สู่ธรรมชาติ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือ Hat Yai Half Maraton และ Hat Yai Mini Maraton มีการเชิญชวนต่างประเทศมาเลเซียเข้ามา มีการเชื่อมโยงการท่องเที่ยว มีจุดถ่ายรูปและถ้วยพระราชทาน ตัวเหรียญได้เปลี่ยนหมุนเวียนตามสถานที่ต่าง ๆ ของ ม.อ. มีการสื่อสารต่อของผู้เข้าร่วมซึ่งเป็นประโยชน์กับมหาวิทยาลัย มีการเชื่อมโยงกับนานาชาติ จากยุโรปและเอเชียได้ และจะไปเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โรงแรม และท้องถิ่นให้มีส่วนร่วม

3. Five Provinces Football Cup – ในภาคใต้ 5 จังหวัด ที่คนชอบมากคือฟุตบอลโดยเฉพาะชาวมุสลิม ม.อ.ต้องไปสนับสนุนชุมชน เปิดโอกาสให้ประชาชนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม โดยใช้มหาวิทยาลัยเป็นฐาน

4. FIMA Cup – เป็นโครงการระหว่างประเทศ โดยใช้ไทยเป็นฐาน แล้วมีมาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน และให้มีการขยายฐานต่อไป ให้มีการทำร่วมกันกับภายนอก มีงบประมาณ 4 ล้านบาท เนื่องจากต้องดูแลให้รับความสุขและประทับใจ

5. International Bike เป็นโครงการจักรยานนานาชาติ จะเป็นการต่อยอดกิจกรรมจักรยานสู่การเชื่อมระหว่างเมืองให้มากขึ้น อาจเป็นการเชื่อมหาดใหญ่และพัทลุง

การคิดโครงการต่าง ๆ จะเชื่อมไปสู่การท่องเที่ยว ในภาพรวมจะเน้นการกระจายรายได้สู่สังคม ทั้งอาหาร โรงแรม ฯลฯ

Training Course

- มีคอร์สต่าง ๆ เกิดขึ้น

กลยุทธ์

- จะเป็นการดำเนินการร่วมจากภาคส่วนต่าง ๆ มีการระดมความคิดเห็นให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมา

- การร่วมมือกับภายนอก ทั้งสถานศึกษา อบจ. อบต. และหน่วยงานส่วนอื่น ๆ โดยมหาวิทยาลัยต้องมีสถานที่ที่รองรับได้เพื่อความพร้อม ต้องมีแผนร่วมกับจังหวัดในการพัฒนาในอนาคต

- ใช้ Social Media/Website/ Feedback/ Flash mob ดูว่ามีอะไรบ้างและให้เชื่อมโยงกับศูนย์คอมพิวเตอร์

- พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในศูนย์กีฬา ต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา

ระยะเวลา

ระยะสั้น มีกิจกรรมกีฬา และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับกีฬาและการท่องเที่ยว

ระยะยาว จะมีการจัด Training Course มีการจัดสนามสอบ และจัดกิจกรรมเพื่อการสอบให้ได้

สรุปคือ

สิ่งที่ทำสามารถเชื่อมโยงกับฮาลาล และกิจกรรมที่ต่อเนื่องกับสังคมและชุมชนในอนาคต กิจกรรมกีฬาจะสามารถพัฒนาได้ขึ้นกับโปรเจคและกีฬาที่นำเสนอ ดังนั้นโปรเจคที่เกิดขึ้นคือเพื่อพัฒนานักศึกษา พัฒนาบุคลากรและชุมชน สามารถใช้พัฒนารูปแบบการสื่อสารที่น่าสนใจ ผ่านมือถือได้

การทำให้สังคมสงบสุข เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน กิจกรรมกีฬาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการช่วยส่งเสริมให้สังคมและประเทศชาติต่อไป

การร่วมแสดงความคิดเห็น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เห็นว่าการนำเสนอในวันนี้เป็น Innovation อย่างหนึ่งก็มีความสุขดี ภาพรวมสถานการณ์ในปัจจุบันอยู่ตรงภาคใต้ ดังนั้นการทำฮาลาล ม.อ.ก็สมควรที่ฉกฉวยตรงนี้ และคิดว่าภาพใหญ่สามารถสร้างเป็นแบรนด์ของ ม.อ.ได้จริง ให้เริ่มต้นที่นี่ คิดต่อไปและเดินหน้าเรื่อย ๆ ใช้แบรนด์ให้เห็นว่าสามารถทำได้อย่างไร

รุ่น 2 นี้มีความหลากหลาย ได้เล็งเห็นว่า Sport Science ,Sport Management สามารถสร้าง Income ได้มหาศาล ขอสนับสนุนและขอให้เป็นตัวอย่างของ Opportunities มหาศาล ถ้าโปรเจคนี้ทำสำเร็จอยากให้เชิญ กกท.เข้ามาเนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีพลังมหาศาล ตัวอย่างปัญหาของไทยคือมีกรรมการที่เก่งมากแต่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ถ้าเราจะเอากีฬาไปอยู่ในฮาลาลใน Sports Tourism เราจะหาจุดเชื่อมให้ได้ว่าจะอยู่ตรงไหน คือ ถ้าเชื่อมเรื่องอาหาร หรือ Sports Tourism ได้ มีการคาดว่า Sports Tourism ในเมืองไทยจะมีมูลค่าเป็นแสน ๆ ล้านบาท

นักกีฬาไม่มีโอกาสที่เอา Tourism เข้ามา ในเรื่อง Facilities ของ ม.อ. ควรให้มีการ Rest fund ให้มีมาตรฐาน คาดว่า Trend ในอนาคต กีฬาคือ Economic Emerging ของประเทศไทย เราต้องทำ Non-Economic ให้เกิดมูลค่าเพิ่มและให้กลับไปที่ Curriculum ของเรา

อยากฝากไปคิดว่าถ้าจะใช้ Halal Sports Tourism ตรงไหนจะเป็นตัวเชื่อม

นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา

มี 2 ประเด็น ประเด็นแรกคือ ฮาลาลไม่จำเป็นต้องเป็นเฉพาะอาหาร ได้ยกตัวอย่างรุ่นแม่พูดภาษายาวีเป็น แต่รุ่นลูกไม่มีใครพูดภาษายาวีเป็นสักคน ภายใต้สังคมที่อยู่ด้วยกัน ที่ผสมผสานกัน มีกำแพงกระจกกั้น ซึ่งถ้าไม่ทะลายก็จะมีกำแพงกระจกไปด้วย หน้าที่เช่นนี้ไม่ใช่ของรัฐบาล ทหาร หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว แต่ต้องเป็นหน้าที่ของทุกคน

อยากสนับสนุนให้คนใน ม.อ.พูดภาษายาวีด้วย คนยังใช้คุณค่าที่มีอยู่ไม่เต็มที่ซึ่งถ้าใช้ศักยภาพได้เต็มที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างดี และสร้างความเชื่อที่ว่า Multicultural สามารถอยู่ร่วมกันได้ เราต้องหันมามองและดูว่าทำอย่างไรให้โครงการฯนี้เป็นจริง ต้องทำให้เกิด และไม่ใช่เฉพาะวิทยาเขตปัตตานี แต่ทุกวิทยาเขตของ ม.อ.ต้องเกิดด้วยเช่นกัน และเชื่อว่าถ้าอยู่ใน ม.อ.จะเป็นของจริงได้ทั้งหมด

ประเด็นที่สองคือเรื่องของกีฬา เป็นสิ่งที่คิดอยู่และอยู่ในใจตลอดคือ เรื่องการป้องกันโรคเรารู้ว่าดีแต่ไม่ได้ทำ การป้องกันโรคไม่ได้เห็นผลงาน คนจึงละเลยตรงนี้ไป ในเรื่อง Health & Happy Workplace ฝันให้เห็น ม.อ.เป็นสวรรค์ของการออกกำลังกาย เหมือนวิ่งอยู่บนสวรรค์ ทำอย่างไรให้เกิดขึ้นจริงให้ได้ และจะทำอย่างไรให้เกิดการ Integrate เรื่องกีฬา Active ใน ม.อ.ทั้ง 5 วิทยาเขต เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้คนเห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย ซึ่งศูนย์กีฬาน่าจะจัดการเป็นระบบเอกชน ไมใช่ติ่งในระบบราชการซึ่งทำไม่ได้เยอะ แต่เป้าหมายในความเป็นเอกชนไม่ใช่ออกไปเพื่อหาเงิน แต่ออกไปเพื่อให้การทำงานคล่องตัว ให้คนเข้าถึงบริการให้มากขึ้น แต่ทำแล้วต้องมีเงินเหลือและเลี้ยงตัวเองได้ ไม่เช่นนั้นจะจัดการผิด ซึงถ้าทำได้จะเป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าทำ ไม่เชื่อว่า ม.อ.จะเจ๊งและขาดทุน แต่ถ้าคิดผิดจะทำให้เจ๊งและขาดทุน และเชื่อว่าจะมีอะไรตามมาเป็น 2,3,4,5 และช่วยให้ ม.อ.เกิดความเป็นจริง

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

โครงการฯนี้มีจุดแข็งในด้านอิสลาม วิถีชีวิตอาจใช้คำว่าอิสลามดีกว่า ในเรื่อง Sports Complex เมื่อลงทุนหลายพันล้านบาท คำถามคือจะตอบโจทย์อะไรกับกลุ่มเป้าหมาย ต้องตั้งคำถามว่ากลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มไหนแน่ เป็นนักศึกษา บุคลากร ประชาชนในพื้นที่ หรือประชาชนในวงกว้าง ถ้าตอบคำถามนี้ได้จะทำให้การจัดการชัดเจนขึ้น

ที่ยกเรื่องกีฬา กีฬามีศัพท์คุณอะไรบ้าง กีฬาเป็นวิถีชีวิตมากกว่ากีฬาเป็น Event คือสร้างทั้งกาย และจิต จะสร้างให้กีฬาเป็นวิถีชีวิตได้อย่างไร ทำให้คนแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ไม่ต้องไปติดเกมส์ ติดยาเสพติดได้

สิ่งที่การกีฬาขัดกับฮาลาลชัดเจนคือ กีฬาเป็นเรื่องการสร้างสัมพันธ์ไมตรี แต่เรื่องฮาลาล ต้องมีความลึกซึ้งในศาสนามากว่านี้เพราะมีการแบ่งกลุ่มฮาลาล กับฮาลอลมาทันที เช่น การแต่งกายชุดว่ายน้ำ อย่างกีฬาโอลิมปิคเป็นกีฬาของคนต่างชาติ ต่างศาสนา ต่างวัฒนธรรม การอยู่ร่วมกันจะทำอย่างไร

กีฬามีความสำคัญมากในประเทศไทย เพราะกีฬาเป็นการพัฒนา Physical fitness ไทยต้องหันมาพัฒนาในด้านนี้ อย่างต่างประเทศใช้กีฬาพัฒนาร่างกายอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นการทหารมีการใช้กีฬาพัฒนาเพื่อใช้รบและต่อสู้ ดังนั้น Physical fitness สำคัญมากต้องใช้วิทยาศาสตร์และความรู้มาช่วย

การใช้กีฬาส่งเสริมทางด้าน Mental คือกีฬาช่วยให้จิตสงบ หลายคนที่เป็นนักกีฬาเปลี่ยนศาสนาเป็นศาสนาพุทธเพื่อฝึกให้เกิดสมาธิ

สรุปกีฬามีหลายเรื่องมากที่ทำให้เกิดความลึกซึ้ง แต่ถ้าโยงกับอิสลาม โยงได้ แต่ในเรื่อง Sports นั้นมีบทบาทที่ใหญ่มาก

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ชอบประเด็นมากในเรื่องนำเสนอคือ Halal Innovation Center พบว่ามีหลายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศตั้งและทำอย่างที่รุ่น 2 คิด แต่หลังจากนั้นไม่ตื่นเต้น ประเด็นคือ คำใช่ แต่องค์ประกอบไม่ใช่คือ Halal Innovation Center สิ่งที่คาดหวังคือการมีนวัตกรรมทางด้าน Halal ออกมาจาก PSU เพราะนวัตกรรมไม่ใช่ Activities ไม่ใช่สอนหนังสือ ไม่ใช่อบรม คือคำว่านวัตกรรมอยากเห็นอะไรคืออยากเห็นคณะต่าง ๆ ทำอะไรที่เป็นฮาลาล ตัวอย่างเช่นกีฬา จะนึกถึงชุดนักกีฬาที่แข่งแบบฮาลาล หรือชุดว่ายน้ำที่มีการปิดทั้งตัว

จากวิสัยทัศน์ รู้สึกตื่นเต้นที่มีงานวิจัยเป็นฐาน ที่มีงานวิจัยอะไรที่เกี่ยวกับ Sports และงานวิจัยอะไรมาเชื่อมโยงกับ Innovation Center จะทำงานวิจัยจำนวนมากใน Facilities ทางด้าน Sports เป็นงานวิจัยทางด้านการกีฬาที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ตัวอย่างเช่นคณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการทำวิจัยนำ Robot มาประกบที่หัวเข่าเพื่อช่วย Support แรง

เรื่อง Sports เป็นตัวตั้งหรือเป็นตัวตาม อยากให้ Sports กับ Tourism เป็นตัวตั้ง แล้วทุกคณะมามุ่งที่ตรงด้านนี้ เช่น เมื่อคนอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อหายไป คนต้องมีการกินอาหารเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ดังนั้นงานวิจัยอาหารต้องมาสนับสนุนด้านอาหารและฟิตเนส ทำไมไม่คิดเรื่อง เวย์โปรตีนด้วย

ไอเดียหลัก ๆ คือจะไม่ซื้อเพราะนำคำว่าฮาลาลมาแปะ แล้วอย่างอื่นแยกเป็นโหนด ๆ ไม่ได้เกิดการ Fusion หล่อหลอมออกมาแล้วเกิดการ Mix ไม่ได้เกิดเป็นอะไรที่เป็นตามนวัตกรรมตามที่เขียนไว้ตรงกลาง เป็นการช่วยในเรื่อง Community และโปรโมทให้มหาวิทยาลัยตอบสนองสังคมมากขึ้น

อาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนา

สิ่งทีกล่าวผู้ทำ Exercise ทั้งกลุ่มทำด้วยเวลาจำกัด ทางกลุ่มพยายามสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ที่มีอยู่ไม่เหมือนพันธกิจที่ทำ ดังนั้นในแง่ของความคิดสร้างสรรค์ในกลุ่มมีความคิดสร้างสรรค์เรื่องทำอะไรที่แปลกออกไปในเรื่องที่ทำอยู่ และทุกกลุ่มมีการทำ Consolidate และมองในส่วนที่แยกต่าง ๆ และจุดใหญ่เป็นเรื่อง Innovation ทางด้าน Halal คิดว่าในกลุ่ม Sports ยังไม่ได้แสดงอะไร แต่ถือว่าเป็น Innitative ที่ดี แต่ถ้ามองในเรื่อง Physical มีอะไรอีกมากที่ต้องมีสถาบัน และสิ่งต่าง ๆ มาเกี่ยวข้อง มีทั้งในเรื่องการเมืองมาเกี่ยวข้องด้วย ในสมัยอธิการฯบุญสม มีแนวทางในการสร้าง Eco System ในการพัฒนาคน มี Sport Center 5 แห่ง มีการให้งบทั้ง 5 วิทยาเขตเป็น Sports Center การทำอะไรต่าง ๆ ต้องมีรองรับอยู่แล้วที่มีอยู่ไม่เพียงพอในการรองรับ International Standard ซึ่งการจัด International Event ไม่ใช่มีแค่สนาม แต่ Facility ในเมืองต้องรองรับด้วย เช่น โรงแรมในหาดใหญ่มีเพียงพอหรือไม่กับสิ่งที่คาดหวังในการรองรับบุคคลเหล่านั้น ดังนั้น Physibility มีหลายเรื่องที่จะทำ และ Project ที่เสนอมีโอกาสในการทำสำเร็จ แต่ต้องมีปัจจัยประกอบเยอะมาก ในด้าน Sports ไม่น่าจะมี Boundary ทางฮาลาล แต่ที่เป็น Issue คือทางมุสลิมมีการดำรงชีวิตที่เข้มงวดที่บันทึกไว้ที่คัมภีร์อัลกุลอ่าน ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัว Sports แต่ปัญหาอยู่ที่ชุดกีฬาคือไม่ให้เปิดเผยสรีระ ทำอย่างไรให้เล่นกีฬาด้วย และสอดคล้องกับสิ่งที่กำหนดไว้ในแต่ละศาสนา

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ได้เปิดดิกชินนารีเพื่อค้นหาคำว่า ฮาลาล พบว่าคือ วิถีของชาวอิสลาม คำว่า ฮาลาล มีทั้ง 5 ระดับ คือ แปลว่า อนุญาตให้ถามได้ ถ้าทำเป็น ฮาลาลสปอร์ตอาจจะเกิดปัญหาแน่นอน จริง ๆ แล้วเรื่องกีฬาเป็นเรื่องระหว่างกีฬาและศาสนา กีฬาเป็นตัวละลายพฤติกรรมและศาสนาให้มาร่วมกัน กีฬาฮาลาลจึงเป็นคำยากไม่มีคำแปล


อาจารย์ภาคภูมิ

สิ่งที่เราทำได้สะท้อนวิถีชีวิตที่แท้จริงของคนส่วนใหญ่ และได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ หยิบประเด็นมาสร้างตัวตนให้ยิ่งขึ้น สังคมไม่ใช่แค่ข้างนอกแต่รวมถึงสังคม PSU ด้วยที่จะรวมถึงการเรียนการสอนและงานวิจัย

5. Halal Research & Innovation Center

การมีเส้นวงล้อสีน้ำเงินโดยนำงานวิจัยไปสนับสนุนทุกโครงการฯที่ทำ เรื่อง Halal Research Innovation Center มีสถาบันวิจัย เริ่มจากงานที่ทำก่อนเพื่อนำไปใช้ได้จริง

1. IT& Digital Services

จะสร้างอะไรมาสนับสนุนงานสถาบัน รวมถึงงานวิจัยทางด้านงานวิเคราะห์คือมี Halal Certify Lab มีการวิเคราะห์ต่าง ๆ มีการวิเคราะห์ใหม่ ๆ เช่น ที่ตรวจหาอนุภาคของหมูที่ปนเปื้อนมากับน้ำได้ ใช้ความรู้ด้าน Biotech , Nanotech ในการวิเคราะห์ได้

2. Halal Hospital, Health & Spa

มี Service อย่างหนึ่งที่ Premium รองรับผู้ป่วยคนต่างชาติ คนมุสลิม ที่มีความเฉพาะเจาจงมากยิ่งขึ้น มีโรงพยาบาลแพทย์แผนไทยและสปา ที่สอดรับกับวิถีชีวิตชาวมุสลิมมากขึ้น มีการทำ Research ที่เอาไปใช้ได้จริง ไม่ได้ใช้งานวิจัยเพื่อนำไปใช้ ใช้งานวิจัยเพื่อสร้าง Innovation เอามาปรับปรุงการบริการด้วย มี Health Product ที่เกิด Innovation ใหม่ที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น

3. Halal Sports & Tourism

เราเข้าไปดูเรื่อง Service การกีฬาที่เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น เรื่อง Tourism เป็นเรื่องอาหาร เครื่องแต่งกาย มีการทำวิจัยมากยิ่งขึ้น อาจมีการทำชุดว่ายน้ำเพื่อให้เราเข้าใจ Concept เพื่อตอบสนองกีฬาและการท่องเที่ยวให้ Specific ที่มากขึ้นได้อย่างไร

4. Halal Innovative Study & Training Courses

มีการวิจัยที่รองรับหลักสูตรและ Training Course ต่าง ๆ มีการทำวิจัยหลักสูตร และจัดการอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการ

วิธีการคือ ต้องผลักดันให้เกิดขึ้นได้จริง เป็นการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันและสร้างให้ PSU โดดเด่นกว่าที่อื่น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดกับภาคใต้ได้จริง

3. Halal Hospital , Health & Spa

กลุ่มที่ 4

อิสลามเป็นวิถีชีวิต เข้าสู่กระแสเลือดภายใต้หลักปฏิบัติและหลักศรัทธาอยู่ที่ใครจะนำมาใช้ ขอเปลี่ยนเป็น Islamic Hospital การบริการต่าง ๆ จะ Cover อิสลามโดยในปัจจุบัน โรงพยาบาลที่ใช้หลักวิถีมุสลิมเริ่มเยอะขึ้น ในขณะเดียวกันถ้ามองภาพตะวันออกกลางที่กระเป๋าหนักมาใช้บริการและรองรับภาคใต้จะดีมาก เพราะมีอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ ที่ ม.อ.เยอะมาก อาจเกิด

1. Premium Islamic Healthcare Service

โดยปกติการนำความรู้ หลักปฏิบัติ ศรัทธาใช้ในการดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ส่งเสริม ฟื้นฟู การรักษาทางการแพทย์ของอิสลาม ควรเป็นเพศเดียวกัน เราต้องดิ้นรน ต้องรักษาต้องเยียวยา แต่ท้ายที่สุดทุกคนจะกลับสู่พระเจ้า และการฝากครรภ์ ทำคลอดควรเป็นเพศหญิงเหมือนกัน และการบริการทางสุขภาพ ที่มีลักษณะเป็นหอผู้ป่วยใน และหอผู้ป่วยนอก เราต้องมีการให้ข้อมูลที่คาบเกี่ยวว่าเราจะนำการสื่อสารมามีบทบาทตรงนี้อย่างไร เช่น ภาษาบาฮาซา ที่เป็นของมาเลเซียหรืออินโดนีเซียที่เป็น International ได้ ตัวอย่างเช่นการให้เลือดอาจให้ไม่ได้เพราะถือว่าเป็นบาปเป็นต้น หรือการให้ผู้ป่วยกล่าวถึงพระเจ้า การปรับยาในช่วงรอมฏอน หรือการจัดอาหาร การจัดการสิ่งแวดล้อม การหันศรีษะ ต้องหันไปทางทิศตะวันตก เพราะทิศตะวันตกเสมือนเป็นบ้านพระเจ้า เพราะชี้ไปทางนครเมกกะ การจัดสถานที่ละหมาด คนไข้ที่ติดเตียง นอนติดเตียงได้ จะมีข้อยกเว้นอย่างไร ควรมีการนำ Application มาตรงนี้ ด้านอาหาร วัตถุดิบ ภาชนะ ควรไม่ปนเปื้อน เรื่อง Spiritual and Health ควรนำมาใช้ด้วยเช่นกัน เช่นคนไข้ที่วิกฤติ จะไม่ยื้อชีวิต ให้เขาจากไปอย่างสงบและให้เขาปฏิญาณก่อนสิ้นลมหายใจ เรื่องการจัดการศพต้องภายใน 24 ชั่วโมง ถ้าจะประกอบพิธีศาสนาจะทำอย่างไร

ช่วงฮัจจ์ อาจมี Package ตรวจสุขภาพ และฉีดวัคซีน มีการตรวจสุขภาพ ซึ่งนอกจากได้ Health Care Service อาจได้วีถีชีวิตมุสลิม ต่อไปจะมี Halal Restaurant , Health Product, สำหรับญาติ

2. Halal TTM & Spa

จะเกี่ยวข้องกับ Health Product และ Course Service จุดประสงค์เพื่อการบริการสุขภาพและใช้แพทย์แผนไทยเพื่อทำการเฉพาะให้ถูกต้องตามหลักศาสนา เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องเข้าใจเขา เข้าใจเรา เข้าใจกันมากขึ้น มีการดูแลเรื่องบุคลากรให้มีศักยภาพมากขึ้นด้วย เนื่องจากพี่น้องมุสลิมมาก การเข้าออกมาก การให้บริการด้านสุขภาพมีน้อย เราจะมีความมั่นใจอย่างไรให้เขารับการบริการ

- ต้องรู้จักตัวเองก่อน อาทิ มีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทย มีที่จบปริญญาตรี ซึ่งเป็นมุสลิม มีการเพิ่มความมั่นใจและมาตรฐาน มีสปาที่ผ่านมาตรฐานและกำลังก่อสร้าง มีศูนย์กระจายวัตถุดิบและปลูกพืชสมุนไพร มีศุนย์กระจายวัตถุดิบ มีสถาบันฮาลาลพร้อมให้คำปรึกษา มีเครือข่ายที่พร้อมให้คำแนะนำว่าควรทำอะไรและแบบไหน มีคณะเภสัชศาสตร์ มีหน่วยวิจัย มีการวิจัยทางด้านสมุนไพร มีศูนย์บริการวิทยาศาสตร์ที่จับมือกับผู้ที่สนใจเพื่อขอทุนวิจัยร่วมกันเพื่อให้เดินหน้าไปได้ สร้างงานวิจัยที่ตอบโจทย์ผู้ประกอบการ มี Facility พร้อม มีนักวิจัย นักวิชาการ นักผลิตภัณฑ์ ทำสิ่งที่มีให้มากกว่าสิ่งที่คิด กลวิธีที่จะไปถึงที่คิดไว้คือ ถ้ามีเกณฑ์มาตรฐานฮาลาล เราต้องพยายามทำให้ผ่านมาตรฐาน เราต้องมีสถาบันรับรองฮาลาล เราต้องสร้างให้มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นในการใช้ผลิตภัณฑ์ มีการเชื่อมโยงกับภายนอก เช่นสปาที่ต้องการความรู้ก็ส่งคนมา Train ได้ มีการจับมือกันเพื่อใช้ผลิตภัณฑ์ และ SMEs ทำสิ่งที่เลือกมาให้เป็นความจริง มีการแพทย์แผนไทยให้ใช้ประโยชน์จากการบริการเพิ่มขึ้น

3. Halal Health Products

มีการจัดสถานบริการร่วมกับภายนอก และจะร่วมมือกับนักธุรกิจจากต่างประเทศเพื่อนำสินค้าที่ผ่านมาตรฐานไปขาย มีส่วนในการสร้างงาน สร้างอาชีพ Products ผู้ประกอบการ ใช้หลักที่ถูกต้องทางศาสนาให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย มีวิชาการบริการ ชุมชน งานวิจัย และทำนุบำรุงศาสนา เราจะสามารถตอบโจทย์ได้ทุกอย่าง และสามารถทำให้เกิดการCross กันของหลายวิชา เราไม่ได้ใช้ทรัพยากรที่เรามีเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราต้องมีสปาต้นแบบ มีจำนวนผลิตภัณฑ์ งานวิจัยและเครือข่ายที่ร่วมด้วย

4. Halal Cosmetics

5. Ialamic Health Service Training

4. Halal Innovative Study and Training Course

ได้แก่ Halal Tourism , Halal Quality Management, Halal Quality Control Training, Islamic law for Halal Training

จะมีเรื่องหลักสูตรและการอบรม ทำไมถึงต้องโยงในเรื่องหลักสูตรเข้ามา งานวิชาการและงานวิจัยล้วนเป็นพันธกิจทั้งสิ้น ปัจจุบันจะเห็นว่าตลาดท่องเที่ยวกำลังเติบโตอย่างมากโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านให้ความสนใจโดยเฉพาะสิงคโปร์ และเห็นความสำคัญของมุสลิมที่มี 250 ล้านคนที่อยู่ในกลุ่มอาเซียน นับเป็นโอกาสที่ดีที่จะเปิดทางด้านการศึกษาไปสู่มุสลิมในอาเซียนมากขึ้น

มีการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเพราะการท่องเที่ยวเสมือนเป็นรายได้หลักที่มาสนับสนุนเรา ประเทศ GMT ที่ร่วมกันสามฝ่ายทางเศรษฐกิจ เป็นการมองโอกาสความร่วมมือและเครือข่ายต่าง ๆ ในการดึงกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ และพบว่าหลายคณะประสบปัญหานักศึกษาคือรับจำนวนน้อยขึ้น เป็นข้อดีในการทบทวนลูกค้าที่เพิ่มไปสู่มุสลิมในอาเซียน ประกอบกับการร่วมมือทางวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ แม้นักศึกษาน้อยลง เราก็เพิ่มประสิทธิภาพในการบริการของเรา

กรอบแนวคิดจะสร้างเป็นกลุ่มลูกค้ารายใหม่ อันดับแรกน่าจะเป็นกลุ่มมุสลิมที่มีมากในปัจจุบัน และเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว ด้าน Location ที่ ม.อ.ได้เปรียบมากเพราะมีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยที่เกิดความรัก ความผูกพัน เรียนรู้ทางวิชาการ มองประเด็นที่กลุ่มมุสลิม สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ในประเทศไทย

มีการพัฒนาทางด้านวิชาการ มีการพัฒนาหลักสูตรให้เป็นที่ต้องการของกลุ่มโดยมุ่งเน้นกลุ่มมุสลิมมากขึ้น

สร้างการกระจายรายได้

การพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ เป็นหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรเต็มเวลา หลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาเทียบโอนหน่วยกิตได้

ด้าน Diagram เป็นการเชื่อมโยงสัมพันธ์คือ Halal Tourism ด้านการท่องเที่ยวเมื่อเข้ามา ประเทศไทยได้รับโอกาสในการเป็น Host ในหลาย ๆ อย่าง มีการส่งเสริมให้การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจดีขึ้น มีการสร้าง Network ในการทำให้ ม.อ.เป็นที่รองรับมากขึ้น และในปีหน้ามีการแข่งขันดาราศาสตร์ระดับโลก ม.อ.มีเจ้าภาพร่วมถือเป็นโอกาสที่ดีในการแข่งขัน เราสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงวิถีชีวิตและกระจายรายได้ชุมชน สู่การบริการชุมชน มีการจัดบริการในส่วนของหลักสูตรให้กับสถาบันต่าง ๆ มากมาย มีการจัดตั้งศูนย์อินโดนีเซียที่ภูเก็ต เป็นการเปิดตลาดใหม่สำหรับนักศึกษามุสลิมที่ได้เข้ามาเรียนรู้ในหลักสูตร และเข้ามาเรียนรู้ด้านการท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม และงานวิจัยต่าง ๆ กลุ่มลูกค้ามีความต้องการอะไร เมื่อจบแล้วมีความคาดหวังอย่างไรเพื่อนำสิ่งต่าง ๆ มาปรับปรุงเพื่อให้ตรงกับความต้องการของเป้าหมายมากขึ้น

มีการเพิ่มในส่วนของผลผลิต และผลลัพธ์ มีการจัดทำเป็นแผนแม่บทเพื่อรองรับหลักสูตรต่างชาติมากขึ้น เพื่อรองรับกับความต้องการของกลุ่มนักศึกษา เราจะไป Scope อะไรมากขึ้นในอนาคต มีความเป็นเลิศในระดับภูมิภาค วิชาการสามารถนำมาผลิตเป็นงานวิจัย สู่ทฤษฎีกระเด้งที่สะท้อนสู่การเรียนการสอนได้ ผลลัพธ์คือผู้นำจะเป็นผู้นำทางด้านวิชาการ มีพื้นที่ที่เป็นเศรษฐกิจสร้างรายได้มากที่สุด และให้นึกถึงชุมชนและกระจายรายได้สู่ชุมชนให้มากที่สุด

ในส่วนของตลาดเป็นตลาดที่ใหญ่ แต่ปัญหาคือความรู้ความเข้าใจในหลักวิชาการยังน้อยไม่ได้มาตรฐาน ด้านหลักสูตร Halal Quality Management และ Halal Quality Control Training โดยวางเป้าหมายไปสู่รอบโลก หลักสูตรนี้จะช่วยสนับสนุนการตั้งศูนย์ตรวจสอบมาตรฐาน หลักสูตร HQM ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์กระบวนการ กฎหมายอิสลาม และวิถีชีวิต ช่วยให้เกิดองค์ความรู้ Research และนวัตกรรม ตัวอย่างเช่น มาเลเซีย เช่นการใช้ทรายล้างเวลาสุนัขกัด การทำโคลนไม่ตกตะกอนเพื่อล้างและชำระสินค้าที่ปนเปื้อนและแสดงว่าผ่านฮาลาล เป็นลักษณะงานวิจัยที่ใหญ่มาก ซึ่งจะนำมาใช้ในหลักสูตร

HQCT กลุ่มเป้าหมายเน้นผู้ประกอบการ อาหาร โรงแรม และ Catering ต่าง ๆ ซึ่ง Course อันนี้สามารถเก็บค่าธรรมเนียมเป็นรายได้ และหลักสูตรนี้สามารถUpgrade Product ได้ มีการร่วมมือกับ ม.ในอินโดนีเซีย และมาเลเซีย และสถาบันอิสลาม เพื่อยกระดับหลักสูตรให้ได้มาตรฐาน ม.อ. เป็นกลไกสำคัญที่จะสนับสนุนหน้าที่หลักและเป็นการทำนานาชาติต่อไป

สรุปโครงการฯรวม

โครงการนี้จะเน้นในภาพรวม งานวิจัยชุมชน และการเรียนการสอนด้วย การจัดโครงการฯ ต่อไปอาจจัดในช่วงปิดเทอม และเปิดเทอมจะยุ่ง

วิถี Halal มีจุดร่วม อย่างเรื่องศูนย์กีฬา ที่มาเชื่อมคือ กีฬาที่มีส่วนเชื่อมของวิถีมุสลิม ในการนำเสนอตรงนี้นำเสนอแบบองค์รวม มีการเชื่อมโยงคือมีวงสีฟ้า มีการทำร่วมกันบางส่วน มีระยะเวลา และมีการนำผลไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่ม

ม.อ.มีสถาบันฮาลาลรับเงินมาจากงบประมาณแผ่นดิน มีส่วนช่วยในการหาทุนและบริหารงานวิจัยทุกปี จึงเสนอโครงการเพื่อไปช่วยใช้เงินตรงนั้นด้วย บางเรื่องถ้าทำเป็น Realistic สร้างเป็นแบรนด์มหาวิทยาลัยโดยรวมแล้วตอบโจทย์อย่างไรได้บ้าง 1. สร้างบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจ ต้องมี Safety Engineer หรือบุคลากรที่มีความรู้ด้านฮาลาลถึงสามารถส่งออกไปได้ หรือถ้านักศึกษาอยากเพิ่ม Certify ตรงนี้ก็สามารถไป Training Course สามารถสร้างนักศึกษาเข้าสู่การทำงานได้โดยตรง

2. Training Course ต่าง ๆ ที่ออกไปแล้วจะเป็นลูกค้า ม.อ. อีกที มีโรงแรมวิถีมุสลิม เป็นโรงแรมฮาลาล คือกระบวนการอาหาร กระบวนการดูแลลูกค้าจะถูกต้องตามวิถีมุสลิมทั้งหมด เป้าหมายคือชาวมุสลิมโดยตรง

การได้ประโยชน์จากการเชื่อมต่อโครงการ ม.อ.และเชื่อมโยงภายนอกจะได้ประโยชน์ และสามารถส่งผลไปช่วยเรื่องความไม่สงบของประเทศชาติด้วย

ด้าน Thailand 4.0 ภาคอุตสาหกรรมใหม่ ที่เรา Cross มาแล้ว สังคมผู้สูงอายุจะเป็นส่วนสนับสนุน และอีกเรื่องคือเรื่องอาหารฮาลาล

สิ่งที่นำเสนอสู่การทำให้เป็นจริง

PSU Smart Teamwork : The Transformation

เป็น Main Idea หรือ Concept ในการเข้าคอร์สนี้ ได้อะไรที่เป็นแนวคิดหลัก ๆในการไปประยุกต์ใช้ สิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอด มี Key Themes for future success

- Platform ที่ทำให้เรา Jump ออกไปได้คือ

1. Value-Based Orientation ,Value for life มองให้สุดแล้วได้คุณค่าอะไรในชีวิต

2. Wisdom Society ground ได้ความเข้มแข็งเป็นสังคมภูมิปัญญา

3. Thriving on innovations and National agenda : Systematic approach ความมุมานะคือ ม.อ.ต่อสู้ไปเพื่ออะไร เพื่อการผลิตสิ่งใหม่ ๆ หรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้นให้ Link กับวาระของชาติ

4. Talent and Adversity Workforce คือขยับ Talent ไปสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องอึดและสู้ไม่ถอย

5. Valuable Network ตัวอย่างการสร้างสายสัมพันธ์ที่ดีเช่นสิงคโปร์

6. Transformative Leader คือ ม.อ.ต้องพร้อมเป็น Change Agent หรือผู้นำการเปลี่ยนแปลง

Ultimate Outcome

เมื่อเราทำถึงแล้วเราต้องเร็วด้วย การทำของ ม.อ.แค่ตอบโจทย์พันธกิจไม่พอ แต่ต้องทำที่มากกว่านั้น

- Innovations and Value for life : Products, Services, Manpower

- Speed

- Systematic interwoven of University’s mission : non separate mission maneuver adequate efficient

ในอนาคตต้องมีการทำงานเป็นทีมมากขึ้น

- Good match

- Flexible

- Team Setting Enhance

PSU Smart Teamwork

- Commitment mindset : Working Culture, Susceptible to the super attitude , Sense of ungercy, life-culture bias ทีมต้องมีความยึดโยงต่อองค์กร ต้องมี Sense of Urgency ,Life-value bias

- Competense in collaboration skills, communicate effectively, capability in project-base work, digital & data processing constructive meaning making ต้องเพิ่มในความสามารถในการอ่านข้อมูล

- Transformative leadership : mentor-like, diversity, autonomy มีความสามารถในงานและความหลากหลาย

Needs for Reform

เราต้องปรับปรุงของเก่าให้ดีขึ้น คือการมี Organization แบบ Hierarchy

1. ทำให้ Hierarchy ทำให้ระบบระดับชั้นลดลง มีการทำงานที่กว้างขึ้น ยืดหยุ่นขึ้นและเร็วขึ้น

2. Committee Binge มีการตั้งกรรมการและคนรับผิดชอบ การมีกรรมการมากจะมีกลุ่มหนึ่งคิด กลุ่มหนึ่งปฏิบัติ ถ้าลดตรงนี้ได้จะช่วยลดรอยต่อในการปฏิบัติ สิ่งที่ควรปรับปรุงคือการมี Team manager เกิดขึ้น

3. การประเมินใช้ Universal KPIs ใช้ KPIs ครอบจักรวาลควรทำเป็น Outcome Base

4. มีการ Shift Knowledge to Wisdom Society

5. Build Shared Vision

คือการแปล Vision เป็นเป้าหมาย

Needs for Transform

คือการปรับเปลี่ยนสร้างสิ่งใหม่

1. Mindset ใช้มุมมองใหม่บนฐานความคิดเก่า เราควรสร้างกรอบใหม่ โดยใช้ Value-Base and Value for life bias คือทำวิจัยให้ได้ประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ชาติ มีเรื่องความเป็นตัวตนหรือไม่ Autonomy and diversity และ Adversity and sharing spirit เรื่องสปิริตในการทำงาน

2.New competency sets การสร้างสมรรถนะชุดใหม่ Collaborative communication and networking, Data evidence-base procession, Digital, Creativity

3.Working Culture : Learning organization , Third place for sharing.

Road to Smart Teamwork

1. Team manager คือตัวเชื่อมระหว่าง Top Manager ไปสู่ Team

2. การทดลองให้โอกาสวิจารณ์ สร้าง Short term project ทุกคนมีส่วนร่วมและพัฒนาตัวเอง

3. On the job training

4. Cultivate and incubate

5. Connecting to national agenda

6.Talent Training and Acquisition

7.Change Agents

การร่วมแสดงความคิดเห็น

รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ

ที่พูดในวันนี้เป็น Matrix ดีมาก เห็นดอกไม้ที่จัดแต่ละดอก การวิเคราะห์ตามหลัก TQM

กลุ่มเรื่อง Service และ Tourism คุณภาพจะเกิดขึ้นตามลักษณะบริการ ไม่ว่าเป็น Tourism หรือ Healthcare ก็ดี จะเห็นประโยชน์ที่ช่วยในประเทศไทย

ด้าน Education และ Research ถ้าจะทำให้แข็งแรงขึ้นต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนว่ากลุ่มลูกค้าเป็นใคร เพื่อนบ้านที่ยากจนและที่รวยเป็นอย่างไร จุดแข็งของประเทศไทยคือหมอพยาบาลเก่ง การบริการจะอยู่ที่การให้บริการแบบไหน ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเป็นใครให้ชัดเจนก่อน ธุรกิจรักษาพยาบาลมีผลข้างเคียงมา หลักการเศรษฐกิจพอเพียงมีการเผื่อแผ่และขายคนอื่นให้ต่างชาติมาท่องเที่ยวได้ ทำไมเราไม่ผลิตหมอและพยาบาลให้มากขึ้น ลูกค้าเป็นใคร ถ้าเปิดตัวเป็น South East Asia อาจก่อให้เกิดความร่วมมือได้ แต่ถ้าเปิดตัวคนเดียวอาจโดนเหยียบตาปลา

การสร้างคน สร้างวิชาการเป็นหน้าที่หลัก และโครงการต่าง ๆ จะตั้งโจทย์ว่า Train ใครคือ Train คนไทยหรือต่างชาติ และปกติหรือไม่ สู่การสร้างเงื่อนไขการทำงานได้ โจทย์ของลูกค้าคือใครจะทำให้เราเขียนได้ชัดเจน

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ประเด็นคือชอบ Key Word และคิดว่าน่าจะแก้เป็นส่วน ๆ เพื่อเอาไปต่อยอดได้ บางเรื่องอาจไม่ใช่เรื่อง Innovation แต่สามารถนำไปต่อยอดต่อ

สิ่งที่คิดว่าตรงมากคือ การสร้าง Innovation Center คืออย่าง University of Florida ก็เพิ่งตั้งเมื่อไม่นาน ซึ่งถ้า ม.อ.ตั้งก็ไม่น่าจะช้า

อย่าให้ Innovation Center อยู่ภายใต้คณะใดคณะหนึ่ง เพราะจะเกิดความเป็นเจ้าของ และความคล่องตัวจะไม่เกิดขึ้นเลย

ไม่ชอบ Academic Service แบบไม่มี Research และสุดท้ายกลายเป็นงานวิจัย และสามารถทำงานวิจัยแบบ Build Capacity and Capability

หน้าที่ของมหาวิทยาลัยคือการสร้างองค์ความรู้ ทุกคณะก็จะได้หมด สร้าง Team manager ที่ต้องประสานให้ได้หมด เป็นตัวดึงคนเข้ามาสร้างให้เป็น Innovation แต่คนเป็น Leader ต้องเป็น Visionary

นวัตกรรมเกิดขึ้นได้จาก Idea คือเกิดจาก Market side , Supply side เมื่อเกิด Idea ต้องไป Tasted ในตลาด แล้วเกิดเป็น Commercialize ในเรื่อง Halal มีงานวิจัยอะไรบ้างแล้วทำเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ดีหรือไม่

IMGTG ความเป็นยาวี บาฮาซา เป็น Southern part จะมีนวัตกรรมทางความคิดอะไรบ้าง เราจะทำนวัตกรรมอะไรที่ออกมาเป็น Translator ทางภาษา หรือ Social Media ต่าง ๆ หรือทำเรื่อง Social Media 100 Series ก็จะเป็นคลิปละ 3 นาที เป็นวิธีคิดที่ทำให้คนรู้จักเรา เข้าใจเรา ทำไมไม่ Short cut สิ่งที่คนอยากได้เข้าไปใน Youtube เข้าไปใน Facebook

อาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนา

เวลาเสนอโครงการอะไรก็ตามต้องดูว่าน่าทำหรือไม่ และถ้าน่าทำแล้วมีความสัมพันธ์กับพันธกิจของ ม.อ. ความคิดแรกคือทำไปทำไม เพราะไม่ใช่เรื่องของเรา และต้องไปสัมพันธ์กับพันธกิจเราคือทำไมต้องเป็น ม.อ. และสิ่งที่ทำนั้น Relevance กับ Career หรือไม่ ม.อ.ต้องทำเพื่อพัฒนาภาคใต้ แล้วภาคใต้จะได้อะไร และในการทำ Relevance เงินที่นำมาใช้มาจากเงินจากรัฐ สิ่งที่ทิ้งไม่ได้คือ National Agenda คือเราต้อง Relate หาเรื่องไปเชื่อมกับ 4.0 ได้ถึงได้เงิน และถ้าทำขึ้นมาได้ เราต้องคิดโครงการฯที่เลี้ยงตัวเองได้อย่างยั่งยืน และสุดท้ายต้องย้อนกลับมาที่ Value ของ ม.อ. คือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ทำแล้วคนได้ประโยชน์ไม่ใช่เราได้ประโยชน์อย่างเดียว

การเชื่อมกับนโยบายของชาติ เคยพูดเรื่องบทบาทของมหาวิทยาลัยว่าเน้นเรื่องการพัฒนาบุคคลเยอะมากแต่เราละเลยคนที่จบจากมหาวิทยาลัยต้องเกษียณเราไม่ได้คิดพัฒนาคนกลุ่มนี้เลย เขาต้องขวนขวายพัฒนาตัวเอง พอพ้นช่วงนี้ จะเสมือนที่มหาวิทยาลัยละเลยคนกลุ่มนี้ เป็นส่วนของการพัฒนา Life long learning และมหาวิทยาลัยต้องพัฒนาสังคมให้มากขึ้น การสนับสนุนการให้การศึกษาต้องเป็นทั้ง Informal และ formal

สิ่งที่พบจากการนำเสนอว่ามี Relevance และตอบโจทย์การเข้ากับพันธกิจหลักคือ Innovation เป็น Keyword กับ Thailand 4.0 และเรื่อง Halal ก็ Relevance เพราะ Deep South เป็น ชาวมุสลิมมาก กลุ่มนี้มีความพิถีพิถันมาก โดยภาพรวมคิดว่ามี Activities ที่จะเดิน เพียงแค่เส้นทางที่จะเดินตามแนวนี้ยังมีเรื่องต้องฝ่าฝันหลายเรื่อง

1. ถ้าเขียนดีสามารถได้การสนับสนุนจากรัฐบาลได้เพราะเข้า Key word ของที่เขาให้เงิน

2. ตอบโจทย์ของ ม.อ. และ Relevance เพื่อให้สอดคล้องกับ Value ด้วย

การแปลงสิ่งนี้เป็นกิจกรรมต้องทำงานช่วงใหญ่ และการทำสิ่งนี้ถ้าทำให้เกิด Impact ได้ต้องทำให้เกิด Institute ในนามของมหาวิทยาลัย

สิ่งที่กังวลที่สุดคือหลังจากวันนี้จะเกิดการดาวกระจายคือแต่ละคนมีสังกัดในงานที่ทำ จะทำอย่างไรให้เกิดสิ่งที่เป็นรูปธรรมจริง ๆ ต้องทำในลักษณะ Champion ในการดูเรื่องนี้ให้ดี อย่างอาจารย์สุธรรมเป็น ผ.อ. RDO ในการดูแลภาพรวมของมหาวิทยาลัย เป็นลักษณะเอา Project ไปขาย นำเงินมาและให้คนอื่นทำ

สิ่งที่อยากฝากไว้คือต้องกัดไม่ปล่อย และให้คิดว่าเป็นเรื่องของเราที่ต้องคิดร่วมกัน

นพ.บุญประสิทธิ์ กฤตย์ประชา

เราอยากจะมาเจอกลุ่มที่ขึ้นเรือแล้วลุยไปข้างหน้า แล้วไปด้วยกัน มี 2 ประเด็นคือ มีการคุยเรื่องสุขภาพ เรื่องยาง แต่ไม่พอ สิ่งที่เด่นคือเรื่องสุขภาพ สิ่งที่อยากเห็นคือ Medical Hub ไม่ได้เริ่มต้นที่จะหาเงิน แต่ต้องเริ่มต้นที่จะเปิดโอกาสในการสนับสนุนคน สร้างคน ได้อย่างไร และทำแล้วมีเงินเหลือ ทำแล้วต้องทำให้คนอยากมาใช้บริการกับเรามากขึ้น ทุกคนสามารถเข้ามาใช้บริการในศูนย์ของเราได้ ต้องเป็น Health Care System ต้อง Utilize ทั้ง 5 วิทยาเขตให้ทำด้านนี้ให้ได้ อยากให้เริ่มต้นให้ชัดเจนและใช้ให้เป็นประโยชน์ เป็นไปได้ที่ภูเก็ตจะมี Innovative Center แล้วคิดร่วมกันได้ สามารถไปในนามวิทยาเขตทั้ง 5 วิทยาเขตได้ เราต้องเปิดประตูให้ออก

เรื่องแนวทางเรื่อง Halal เมื่อเสนอวันนี้แล้วอย่าส่งต่อ แต่ให้เรามาช่วยกัน และอย่าหวังว่าโครงสร้างปัจจุบันตอบสนองสิ่งที่คิด และจะไปต่ออย่างไร เราใช้รูปแบบคือการไร้กระบวนท่า ช่องทางไหนไปได้ให้ไปทางนั้น ไม่ต้องต่อว่าใครที่ไม่เห็นด้วย ต้องเดินแล้ว Integrate แต่จะ Integrate อย่างไรให้มีกลิ่นอายของสงขลานครินทร์ที่มี วัฒนธรรม มุสลิม พุทธ และจีน อยากให้กลุ่มนี้ผลักดันทำต่อผ่าน Audio และคุยกัน อย่าไม่ทำต่อเพราะผู้บริหารไม่เอา อย่าไม่ทำต่อถ้าไม่มีเงิน อย่าไม่ทำต่อถ้าคิดว่าไม่มีในอนาคต แต่ให้ทำต่อถ้าเราคิดว่าถูกต้อง ถ้าโครงสร้างเดิมมีปัญหามากให้ทะลายได้หรือไม่ ทำใหม่และทางออกคืออะไร เราต้องฉลาดไม่เหยียบหนามกุหลาบ เราจะทำแนวทางไหนให้เป็น Excellence Center ให้รุ่นอื่นทำตาม และดึงน้อง ๆ ที่เป็นคนรุ่นใหม่เข้ามามากขึ้น


ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

มองเห็น PSU Institute of Innovation อาจไม่ต้องใช้ฮาลาล เพราะมีทุกตัวอยู่แล้ว อยากเห็นการศึกษาในวิชาอาเซียน Study มากขึ้น สิ่งที่อยากจะฝากไว้ “อย่าเอาเจตนาที่ดีของท่านไปทำคานให้นักการเมือง”

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สะท้อน สุดยอดของกระบวนท่า คือ ไร้กระบวนท่า แต่เรามักจะตั้งท่าโดยไร้กระบวน

5 ห่วงที่เราคิดกันวันนี้มันเป็นประเด็นชวนคิดที่ให้เราไปคิดกันต่อ

Innovation Center เป็นสิ่งที่เราทำอยู่ในปัจจุบันแต่เราต้อง Highlight มันออกมา

…………………………………………………..

ขอให้ทุก ๆ ท่านมีพลังที่จะก้าวเดินต่อไป

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การนำเสนอยังเป็นท่อน ไม่เชื่อม และบางท่านยังเชื่อมไม่ได้ การนำเสนอโปรเจคต้องแก้ให้เร็วมาก เพราะบางครั้งงบประมาณ ไม่รอ มีก้อนเดียว เป้าหมายคืองบประมาณ 4.0 เห็นภาพชัดมาก มีความจริงใหม่ ๆ และต้องไปทำ

โครงการฯ ต่าง ๆ ที่คิดว่าดีมาก ๆ ในการเอาชนะอุปสรรค และมีบางอย่างที่ผู้ทรงคุณวุฒิช่วยเติมเต็ม

โครงการดีจริง 1. ทำจริงหรือไม่ 2. ทำเป็นหรือไม่ 3. เล่นเป็นหรือไม่ ถ้าก้าวแรกเป็นแบบนี้ เชื่อว่าก้าวต่อไปจะเกิดขึ้นได้จริง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ความรู้สึกคือได้เรียนรู้มาก มีงานวิชาการ มี Opportunities ในการทำงานร่วมกันและเมื่อเสนอโปรเจคอะไรไป จะมี Secret ในการดูสิ่งเหล่านี้ว่าจะร่วมกันอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 613594เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2016 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2016 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท