แม่ร้อยชั่ง


โอ้เจ้าพิมนิ่มนวลของแม่เอ๋ย

เจ้าไม่เคยให้ชายเสน่หา

ร้อยชั่งจงฟังคำของมารดา

นี่คู่เคยของเจ้ามาแต่ก่อนแล้ว

จากขุนช้างขุนแผน ตอน พลายแก้วแต่งงานกับนางพิม นางศรีประจันสอนนางพิมก่อนพาตัวไปส่งเข้าห้องหอ

เหตุใดนางศรีประจันจึงเรียกลูกสาวว่า "แม่ร้อยชั่ง"

ชั่ง เป็นหน่วยนับเงินตามมาตราเงินไทยสมัยโบราณ

4 สลึง เป็น 1 บาท

4 บาท เป็น 1 ตำลึง

20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง

1 ชั่งจึงเท่ากับ 80 บาท

100 ชั่ง เท่ากับ 8000 บาท

ในสมัยก่อนเงิน 100 ชั่งมีค่ามหาศาลทีเดียว จึงนำไปเปรียบกับผู้หญิงหรือลูกสาวที่พ่อแม่รัก หวงแหนอย่างมีค่ามากเหมือนกับเงิน 100 ชั่ง

หากจะประมาณถึงค่าของเงิน 100 ชั่งในสมัยโบราณ ว่ามากมายประมาณใด

พลายแก้วปลูกเรือนหอหลังใหญ่ขนาด 5 ห้องฝากระดานด้วยเงินเพียง 3 ชั่งเท่านั้น

การแต่งงานระหว่างพลายแก้วกับนางพิมจัดว่าเป็นงานช้าง ฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวต่างมีฐานะระดับเศรษฐี นางศรีประจันเรียกสินสอดจากพลายแก้วอย่างเต็มที่ก็เพียง 15 ชั่งเท่านั้น

ข้าจะให้ลูกข้าสิบห้าชั่ง

ขันหมากมากน้อยมั่งไม่จู้จี้

หญิงใดถูกเรียกว่า "แม่ร้อยชั่ง" จึงเป็นหญิงที่มีคุณค่า มีความหมาย ต่อผู้ที่เรียกขานอย่างมาก เช่นเดียวกับนางพิมพิลาไลย หญิงผู้เพียบพร้อมทั้งรูปโฉม ฐานะ และคุณสมบัติกุลสตรีไทย



หมายเลขบันทึก: 612654เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2016 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2016 15:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท