​Computer Literacy for English Language Teaching


Computer Literacy for English Language Teaching ::::

ในช่วงบ่ายของวันที่ 13 สิงหาคม 2559 ผมได้มีโอกาสสอนร่วมกันกับ ศาสตราจารย์ ดร วิล แบร์แร็ต รายวิชา workshop ทักษะ Computer Literacy for English Language Teaching โดยเป็นการ อบรมเสริมพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับบัณฑิตศึกษา

ในช่วงต้นของการฝึกอบรม ท่านศาสตราจารย์ ได้ปูพื้นฐานเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต ปัจจุบัน google เป็นเครื่องมือทางด้านข้อมูลสารสนเทศ ที่ มีส่วนสำคัญ กับการเรียนรู้ภาษา อังกฤษและการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเป็นอย่างมาก ท่านมีคำถาม โดยถามว่า ในฐานะที่เราเป็นครู เราอยู่ในธุรกิจอะไร ผมตอบว่า ใช่ธุรกิจบริการหรือไม่ ซึ่งท่านตอบว่า เกือบใช่แต่ยังไม่ถูกทั้งหมด ในปัจจุบัน ครูอาจารย์อยู่ในธุรกิจด้านข้อมูลสารสนเทศ คือมีหน้าที่ ในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากการหาความรู้สู่ผู้รับ ความรู้ ในสถาบันการศึกษา และในทางเดียวกันนั้นเอง google ก็ยังทำหน้าที่ เปรียบเสมือนกับครูอาจารย์ เช่นเดียวกัน

ต่อมาท่านได้สำรวจเกี่ยวกับระดับความเชี่ยวชาญของนักศึกษา ที่มีต่อการใช้โปรแกรมต่างๆ อาทิเช่น Microsoft Word, Microsoft Powerpoint, Microsoft Excel ,Facebook , Google ซึ่งพบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ มีความเชี่ยวชาญของการใช้งานโปรแกรมต่างๆนี้เป็นอย่างดี แต่ถึงแม้ว่าโปรแกรมต่างๆนั้นจะเป็นโปรแกรมพื้นฐาน ยังคงมีฟังก์ชั่นบางฟังก์ชันที่หลายๆคนยังไม่ทราบ เช่น การจัดสารบัญอัตโนมัติ การทำอ้างอิงรูปแบบ APA หรือ MLA การทําบรรณานุกรม ซึ่งเทคนิคเคล็ดลับต่างๆนี้จะได้มีการสอนใน workshop นี้ต่อไป

กิจกรรมหนึ่งของการฝึกอบรม เรียกว่า information scavenger hunt โดยท่านนำนักศึกษา ให้รู้จักกับ scholars.google.com ซึ่งเป็นเว็บไซต์อีกอันหนึ่ง ของ google ที่สามารถสืบค้น หางานวิจัยที่เราสนใจศึกษาได้ เราจะได้ ทำกิจกรรมจากโจทย์ที่ให้มา คือ ให้ค้นหาด้วยคำ keyword “ English Language Games” ซึ่งพบว่า มีนักวิชาการได้เขียนบทความวิจัยและแต่งตำราที่เกี่ยวข้องกับเกมภาษาอังกฤษไว้จำนวนหนึ่ง นอกจากนี้แล้วท่านศาสตราจารย์ ได้ให้นักศึกษา search google เพื่อหา application หรือ program ที่เป็นเกมภาษาอังกฤษ นักศึกษาหลายๆคน สามารถพบเว็บไซต์ ที่รวบรวม โปรแกรมเกมการสอนภาษาได้จำนวนมาก เช่นเว็บไซต์ของ Cambridge University Press นอกจากนี้ ยังได้สืบค้น หาเอกสารที่เกี่ยวกับการสอนภาษาอีกด้วย

ในช่วงท้าย ท่านศาสตราจารย์ ได้แนะนำให้ นักศึกษา install application อันหนึ่ง ที่ชื่อว่า Mozilla Webmaker ไว้ในโทรศัพท์มือถือ เพราะนี่คือ เครื่องมืออันหนึ่งที่ใช้เพื่อการเรียนการสอน ด้านภาษา

*******


คำสำคัญ (Tags): #computer literacy
หมายเลขบันทึก: 612309เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2016 06:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2017 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มีประโยชน์แก่ครูหลายท่านมาก

อาจารย์หายไปนานเลยครับ

ขอบคุณมากๆครับส่วนใหญ่มักจะโพสไว้ใน facebook แต่ตอนนี้จะพยายามโพสต์ไว้ทุกๆที่ ทั้งที่นี่และ facebook พร้อมพร้อมกันครับ

ตอนนี้อาจารย์ไปอยู่ที่ภาคใต้เป็นยังไงบ้างครับสบายดีนะครับ

สบายดีครับ

อยากให้อาจารย์ใช้ www.classstart.org ด้วยครับ

มีอะไรพอช่วยได้ยินดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท