R2R TEDtalk กรมอนามัย : Inspiration


R2R ผลงานวิจัยเล็กๆ ที่จับต้องได้

หลังจากที่ได้มีโอกาสรับขับเคลื่อน R2R กรมอนามัยต่อเนื่องมาเป็นเวลา 2 ปี จากการที่ได้รับการทาบทามจากสำนักส่งเสริมฯ โดยมีท่านรองอธิบดี นพ.ดนัย ธีวันดา เป็นผู้มอบแนวคิดและผลักดันให้ R2R ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนางาน พัฒนาคม

คุณฐาปนีย์ หรือพี่น้องหนู ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนาบุคลากร (HRD) ของกรมฯได้ร่วมกับทีมในการเปิดพื้นที่ในการเรียนรู้ในครั้งนี้

รุ่นแรกเราทำภายใน ...

เป็นอะไรที่เกินความคาดหมาย (https://www.gotoknow.org/posts/598139)

เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการการจัดการเรียนรู้ R2R พี่ปุ้ม (ดร.แรกขวัญ) ...ได้ชวนหารือในการนำ R2R เข้าไปร่วมในงานประชุมวิชาการประจำปี 2559

เลยเสนอรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยนำเทคนิค TEDtalk เข้ามาร่วมกับ Reflection

งานถูกจัดขึ้นในวันที่ 3-5 สิงหาคม พ.ศ.2559

และ Session R2R TEDtalk อยู่ในกำหนดการวันที่ 4 สิงหาคม...


จากผลงาน R2R มากกว่า 30 เรื่อง(ที่ได้จากการเรียนรู้ใน wprk shop KM&R2R) ถูกคัดมา 4 เรื่องที่สามารถเป็นต้นแบบให้ได้มองเห็นว่าใครๆ ก็ทำ R2R ได้...ซึ่งมีอยู่กระจายในคนทำงานที่สังกัดกรมอนามัย

ซึ่งการตัดสินใจในการเลือกผลงานนั้น

  • หนึ่งได้พิจารณาว่า ...ลักษณะคำถามการวิจัยเป็นอย่างไร สอดคล้องกับลักษณะงาน R2R หรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ไม่น่ากังวลอะไรมากนักเพราะทุกเรื่องได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ (Work shop R2R) มาแล้ว
  • ผลงานมีความชัดเจนและมีความเป็นพื้นฐานที่คนทำงานในสังกัดกรมอนามัยสามารถทำได้...
  • และพิจารณาตามลักษณะพื้นที่การทำงานที่มีความกระจายไปตามภูมิภาคต่างๆให้ได้มากที่สุด เช่น ส่วนกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคกลาง และภาคอีสาน เดิมทีตั้งใจจะให้ครบทุกภูมิภาคแต่ไม่สามารถคัดเลือกได้ตามที่ตั้งใจ จึงได้จากส่วนกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคอีสานเท่านั้น

ผู้วิจัย ในงาน Ted Talk คือ

1. รูปแบบของโปรแกรมการพยาบาลโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อการสนับสนุนของครอบครัวและการปรับตัวของมารดาผ่าตัดคลอดบุตร โดยคุณจันทิยา เนติวิภัชธรรมและคณะ จากศูนย์อนามัยขอนแก่น - น้องกลาง

2. การใช้ถุงตวงเลือดสำหรับผู้คลอดทางช่องคลอด Early Treatment ที่ 300 ml. เพื่อช่วยลดอัตราการตกเลือดหลังคลอดชนิด Primary Postpartum hemorrhage ห้องคลอด ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 3 นครสวรรค์ โสพิศ โลหะวณิชย์ และคณะ - พี่แหม่ม

3. การพัฒนารูปแบบโปรแกรมใบสั่งสุขภาพดีเพื่อลดภาวะน้ำหนักตัวเกินและโรคอ้วน พญ.ฐิติพร จากศูนย์อนามัยฯอุบล

4. การพัฒนาคลินิกไร้พุง คุณภาพ นงพะงา ศิวานุวัฒน์* กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ หรือพี่ไก่


จากผลงานทั้งสี่เรื่องนั้นค่อนข้างมีความร้อยเรียงและเชื่อมโยงที่ทำให้มองเห็นสายธารแห่งวิธีคิดของคนทำงาน

เป็นความหลอมรวมระหว่างความเป็นงานประจำ ... และความเป็นวิจัยในสไตล์เรียบง่าย R2R ที่ไม่มีความซับซ้อนมาก

ที่สำคัญ...น่าจะสามารถสร้างแรงบันดาลใจ หรือ Inspiration คนทำงานได้แบบไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ยาก

...

๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙



หมายเลขบันทึก: 611996เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2016 03:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2016 04:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท