สื่อการสอน ตอนที่ 1


Post from RICOH THETA. #theta360 - Spherical Image - RICOH THETA

ทางทีมปฏิบัติการ KM ของสถาบันการเรียนรู้ได้นัดหมายประชุมกันวันพฤหัสที่ 4 สิงหาคม 2559 เพื่อที่จะสร้าง Product line ของการทำสื่อการสอนในสถาบันการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาอาจารย์ จากการพูดคุยในกลุ่มได้แก่หัวข้อต่อไปนี้

1. คลิปวีดีทัศน์ พบว่าระดับที่อาจารย์ส่วนใหญ่ต้องการทำสื่อคลิปวีดีทัศน์การสอนเป็นระดับ DIY อาจจะไม่ถึงระดับมืออาชีพที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเยอะหรือต้องมีทักษะการตัดต่อแบบมืออาชีพ ดังนั้นควรส่งเสริมกำลังใจและวิธีการให้อาจารย์ได้ทำสื่อการสอนที่สามารถผลิตได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้อาจารย์หลายท่านยังไม่ทราบเทคนิคที่ตรวจสอบว่านักศึกษาได้ดูสื่อการสอนหรือไม่ มีเทคโนโลยีบางอย่างเช่น Edpuzzle.com หรือ Udemy.com ที่ทำให้ทราบว่านักศึกษาได้เปิดดูวีดีโอคลิปของอาจารย์หรือไม่ อีกส่วนคือบางคลิปมีอยู่แล้วใน Youtube บางทีไม่จำเป็นต้องเสียเวลาสร้างขึ้นเอง อีกประเด็นที่คุยกันคือ ทำอย่างไรวีดีโอที่ทำไปมีความน่าสนใจ แหล่งหนึ่งที่สอนเรื่องนี้ได้คือ Creator playbook สอนวิธีการทำเนื้อหาให้น่าสนใจ ได้มีการยกตัวอย่างครูบางคนที่ทำเนื้อหาแบบบ้านๆให้เกิดความน่าสนใจขึ้น เช่น ครูนก โดยภาพรวมอาจารย์ยังขาดทั้งวิธีการ เครื่องมือ (iPad กล้องวีดีทัศน์ และ Microphone) ในการทำสื่อ

2. KM Portal ด้านการเรียนการสอน ส่วนนี้ได้คุยกันว่ามีเว๊ปไหนที่รวบรวมทั้งเครื่องมือ สื่อการสอน แล้วก็เนื้อหาการสอน ก็ได้มีเว๊ปหนึ่งที่ทำมาเกือบ 20 ปี เป็นเว๊ปที่รวบรวมเทคนิคและเครื่องมือการสอนต่างๆ หรือที่เรียกว่า Multimedia Education Resource for Learning and Online Teaching ข้อดีของเว๊ปคือ เป็นเว๊ป Open source ที่ทุกคนสามารถแชร์เรื่องราวๆต่างๆได้ (คล้าย Gotoknow แต่เจาะจงไปที่การเรียนการสอนในห้องเรียนเท่านั้น) อาจารย์คนไหนที่ไม่เก่งเรื่องกิจกรรมหรือคิดไม่ออกก็สามารถเข้าไปค้นหากิจกรรมเหล่านี้ได้ มีการให้ comment กับกิจกรรมด้วย

3. เครื่องมือที่ช่วยลดภาระการสอนในห้องเรียน เช่น เครื่องมือการประเมินแบบเพื่อนประเมิน Peer-assessment ด้วย ICT หรือ Curriculum dashbord เครื่องมือพวกนี้มีความจำเป็นสำหรับอาจารย์ เพราะจะช่วยลดภาระการตรวจการบ้านให้น้อยลงและทำงานได้เร็วขึ้นสำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ และการจัดการกับความยุ่งยากของหลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้

ทางทีมเสนอว่าเราควรแบ่งเครื่องมือเป็นสองพวกคือพวกที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด เช่น KM Portal, Creator playbook พวกนี้สามารถนำไปเผยแพร่ให้อาจารย์ได้รับรู้โดยไม่ต้องรอเวลาการผลิตมากมาย ส่วนกลุ่มที่เป็นเครื่องมือเฉพาะด้าน เช่น Peer-assessment, Game based learning และ Curriculum Dashboard อาจจะต้องหาคนมาช่วยทำเพื่อทำให้สามารถผลิตออกมาให้อาจารย์ได้ใช้อย่างรวดเร็ว



คำสำคัญ (Tags): #สื่อการสอน
หมายเลขบันทึก: 611818เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2016 06:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2016 07:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท