​มวลสารในการสร้างพระสมเด็จ ทั้งสามวัด มีอะไรบ้าง


มวลสารในการสร้างพระสมเด็จ ทั้งสามวัด มีอะไรบ้าง

***********************************
นีคือมวลสารพระสมเด็จยุคต้นๆ ที่ว่ามีมาก
ลองพิจารณาดูครับ


ก. เบื้องต้นก็มี ปูนเปลือกหอย 2 ชนิด คือ
ก1. ไม่เผา (แต่ตำบดเอาเลย) กับ
ก2. เผาเพื่อให้เป็นเนื้อปูนที่มีความเหนียว เชื่อมและเกาะยึดมวลสารอื่นๆได้ดี
ที่ผมสมมติชื่อว่า ปูนดิบ และปูนสุก ตามลำดับ

ข. มวลสารพุทธคุณ คือส่วนผสมที่เชื่อว่าจะเป็นมวลสารศักดิ์สิทธิ์ เก็บรวบรวม และหามาจากที่ต่างๆ เช่น
ข1. แร่ ลูกรัง ทรายสีต่างๆ จากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โบราณสถานที่สำคัญๆ
ข2. เม็ดพระธาตุ แบบต่างๆ ทั้งกลมและรี
ข3. วัสดุจากแท่นบูชา เช่น ดอกไม้แห้ง ถ่านก้านธูป เป็นต้น
ข4. วัสดุจากพุทธสถานต่างๆ เช่นเศษกระเบื้องหลังคาโบสถ์

ค. นำมันพืช หรือน้ำว่าน (ต่อมาใช้น้ำมันทาไม้จากเมืองจีน ที่เรียก ตังอิ้ว เพราะได้จากต้นตัง)

ง. เศษปูนที่ตัดออกจากองค์พระสมเด็จ ที่ทำรุ่นก่อนๆ เมื่อแห้งแล้ว นำมาบดหยาบๆ คลุกผสมกับองค์ใหม่ หลังจาก ผสมมวลสารอื่นๆ ครบถ้วนแล้ว (มีเฉพาะในพระสมเด็จวัดระฆัง)

มวลสารพื้นฐาน จะแปรเปลี่ยนไปตามวัสดุที่หาได้ ในแต่ละช่วงการสร้าง

มวลสารพุทธคุณจะใช้มากในช่วงแรกๆ และน้อยลงในระยะหลังๆ

ที่กลายเป็นเอกลักษณ์ และจุดสังเกต ความแตกต่างของพระสมเด็จทั้งสามวัดครับ

ส่วนที่ชอบกล่าวกันว่าเป็นเศษอาหาร ข้าวตาก กล้วย น้ำอ้อย ฯลฯ ที่ผุพังได้ง่าย ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่นำมาทำพระที่ต้องการเก็บไว้ใช้ในระยะยาว ถึงแม้จะมี ก็น่าจะหายไปหมดแล้วครับ

หมายเลขบันทึก: 611812เขียนเมื่อ 5 สิงหาคม 2016 02:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 สิงหาคม 2016 02:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท