ชีวิตที่พอเพียง ๒๗๑๗ เฉียดหิมพานต์ ๑๐. เดินทางกลับและ AAR



วันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙ เราออกเดินทางไปสนามบินเวลา ๖.๐๐ น.เครื่องบินออกเวลา ๘.๒๐ น. ไปเดลีบินลงใต้ คนที่ได้ที่นั่งริมหน้าต่างฝั่ง F ก็จะถ่ายรูปยอดเขามีหิมะคลุมของเทือกเขาหิมาลัยได้สวยคุณเปาแม้จะเจ็บป่วยก็ยังอุตส่าห์ส่ง line มาแนะนำแต่เราไม่มีสิทธิ์เลือก แล้วแต่เขาจัดให้ผมกับสาวน้อยจึงได้ที่นั่ง 25 A, B อดได้ภาพสวย

ถึงเดลี มีเจ้าหน้าที่ของ Jet Airways มาอำนวยความสะดวกในการ Transfer ไปยัง international gateแต่ อ. หมออมรศรีได้ชี้ให้ทุกคนรู้ว่า ในถาดของอาหารบนเครื่องบินระหว่างเดินทางจาก เลห์มาเดลี มีเอกสารให้เราลอกเพื่อ “ชนะ” รางวัล ได้สิทธิไปซื้อของจากร้าน AVA ในราคาลดจากราคาปกติ ๒,๕๐๐ - ๕,๐๐๐ รูปี เหลือ ๙๙๐ รูปีเท่านั้น

ดังนั้นเราจึงขอให้เจ้าหน้าที่ของ Jet Airways พาไปซื้อของตาม “สิทธิพิเศษ” ดังกล่าวเสียก่อนผมได้เต่าฮวงจุ้ย เอามาฝากคุณแอนน์ สคส.และซื้อเข็มขัดและกระเป๋าเงิน ให้ตัวเอง เป็นของคุณภาพดีราคาถูกจริงๆใครเดินทาง ไปอินเดียและมีแผ่นพับแบบนี้ในถาดอาหารอย่างลืมเปิดดู และหาทางใช้สิทธิ์นะครับตอนขาไปก็มีแผ่นพับทำนองนี้ ผมไม่ได้เปิดดูเลย

เราได้ประสบการณ์การตรวจสัมภาระติดตัวเพื่อรักษาความปลอดภัยของอินเดียช้ามากผมเข้าใจว่าคนคุมเครื่องเอ็กซเรย์ ต้องใช้สายตาตนเองค้นหาสิ่งต้องห้ามและเดาว่าในประเทศที่เจริญแล้ว เครื่องคงจะช่วยชี้ว่าสัมภาระใบไหนที่น่าสงสัยช่วยผ่อนแรงคนลงไปได้นอกจากนั้น สังเกตเห็นได้ชัดเจนถึงความเฉื่อยชาของเจ้าหน้าที่ ไม่สนใจว่าผู้โดยสารจะต้องรอ นานเพียงใดแต่ในเชิงระบบเขาก็พยายามผ่อนเอาผู้โดยสารที่แถวยาวให้เดินเลียบซ้ายไปอีกแถวหนึ่งของเครื่องเอ็กซเรย์ผมโดน “ต้อน” แบบนี้ ๒ ครั้งไปเจอบริการมหาช้าเพราะเขามีเครื่องเอ็กซเรย์ ๒ เครื่อง เปิดใช้เครื่องเดียวเข้าคิวอยู่จู่ๆ ก็มีเจ้าหน้าที่พาคนมาลัดคิวเฉยเลย

ความรู้ที่ผมได้มากที่สุดจากการเดินทางท่องเที่ยวทริปนี้ คือได้รู้จักภูมิประเทศ และภูมิอากาศ ในเขตหิมาลัยภูมิอากาศในด้านอุณหภูมิในที่สูงกว่า ระดับน้ำทะเล ๓,๐๐๐ - ๕,๐๐๐ เมตรเช่นนี้แดดจ้าและร้อนมากในวันที่อุณหภูมิ ๑๕ องศาในที่ร่มกลางแดดอาจร้อน ๓๐ องศาที่เรียกว่าร้อนแดดดัวนั้นเมื่ออยู่ในที่โล่งเวลากลางวันจะรู้สึกร้อนพอแแดดร่มในที่เดียวกันจะรู้สึกหนาว

ส่วนภูมิประเทศ ไปทางไหนก็เห็นแต่ภูเขาทั้งนั้นโดยที่มีสี รูปร่างหิน และชนิดหิน แตกต่างออกไปถนนที่ตัดผ่านภูเขาจึงต้องคดเคี้ยวหักศอกไปมาตามไหล่เขา และถนนจะขาดเป็นช่วงๆ จากหิมะและน้ำจากหิมะละลายเซาะซึ่งในประเทศเจริญแล้วบริเวณนั้นจะสร้างสะพานให้น้ำลอด

เรื่องที่สองที่ได้ความรู้มากคือเรื่องศาสนาพุทธนิกายมหายานและตันตระยานที่มีการสร้างพระทุทธรูปของพระพุทธเจ้า หลายองค์ ไม่เแฉพาะพระพุทธเจ้าศากยะมุนีดูเขาจะนับถือพระศรีอาริยะเมตไตรย์ ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าแห่งอนาคตมากและนับถือพระโพธิสัตว์มาก โดยเฉพาะพระอวโลกิเตศวร ที่ผมชอบมากคือเขามีความคิดว่าคนธรรมดาก็สามารถบรรลุความเป็น “พุทธะ” ได้ เขาจึงนับถือ “มหาสิทธา” มากคือคนเหล่านี้เป็นนักปราชญ์ในทางพุทธศาสนา ดังนั้น ตามวัดต่างๆ จึงมีรูปปั้น หรือภาพวาดของบุคคลเหล่านี้อยู่ด้วยกัน

เรื่องที่สาม ชีวิตความเป็นอยู่ของคนคนไทยที่ว่ายากจนสุดๆ ชีวิตความเป็นอยู่ก็น่าจะสะดวกสบายกว่าคนลาดั๊กระหว่างเดินทางไปทะเลสาบโมรีรี และช่วงอื่นๆ ผมได้เห็นสภาพการสร้างถนน ที่ใช้เครื่องจักรน้อยมากส่วนใหญ่ใช้แรงคนคล้ายๆ สภาพที่บ้านผมที่ชุมพรเมื่อ ๗๐ ปีมาแล้วผมได้เห็นกลุ่มคนงานกว่าสิบคนนั่งใช้ฆ้อนทุบก้อนหินให้เป็นก้อนเล็กๆกลางแดดเปรี้ยงแทนที่จะใช้เครื่องจักรย่อยหินอย่างในบ้านเราสมัยนี้ ตาชี่ โชเฟอร์รถคันที่ ๑ บอกว่า ค่าแรงวันละ ๓๐๐ รูปี มีคนบอกว่า คนงานเหล่านี้มาจากรัฐพิหาร ซึ่งคนยากจนมากและไม่มีงานทำ

เรื่องที่สี่ ผมสังเกตว่าเทคโนโลยีการสร้างทางในลาดั๊กยังโบราณสะพานข้ามแม่น้ำที่เห็นยังเป็นสะพานเหล็ก แบบ “สะพานโค้ง”ที่ผมเห็นสมัยเป็นเด็กที่ชุมพร และขี่จักรยานไปโรงเรียนข้ามสะพานแบบนี้อยู่ ๕ ปี แต่ที่บ้านผมดีกว่า เพราะมีไม้พาดตามยาว ข้างละ ๓ แผ่นให้รถยนต์วิ่งอย่างราบเรียบผมขี่จักรยานไต่ไม้แผ่นเดียวระวังเต็มที่ไม่ให้ล้อรถตกลงในร่องระหว่างชิ้นไม้กระดาน เพราะหากตก รถจะล้มแต่ที่น่าสนใจคือสะพานข้ามแม่น้ำยาวราวๆ ๒๐ เมตร เขาไม่ต้องมีเสากลางแม่น้ำเลย

เรื่องที่ห้า เรื่องทะเลสาบบนที่สูง มักเป็นทะเลสาบน้ำเค็ม และไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ ที่เรียกว่า hypotrophic lakeทะเลสาบจึงไม่ช่วยอุดหนุนความเป็นอยู่ของมนุษย์ยกเว้นในสมัยปัจจุบันที่การท่องเที่ยวเบ่งบานมนุษย์ต้องการไปเห็นสถานที่ แปลกๆ ทะเลสาบแบบนี้จึงกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแต่ก็ยังไม่มี“ทัวร์วัฒนธรรม” ให้บริการซึ่งหากมีคนจัด อาจเป็นธุรกิจ ที่มีความจำเพาะแปลกใหม่เพราะวิถีชีวิตของผู้คนในแถบนี้แตกต่างกับวิถีชีวิตสมัยใหม่โดยสิ้นเชิงโดยเฉพาะชนเผ่า normad

คำแนะนำของผมคือ ใครเป็นคนรักสบาย อย่าไปเที่ยวทริปแบบนี้เพราะเป็นทริปทุรกันดาร เพื่อการเรียนรู้ผู้คนและ ภูมิประเทศที่แตกต่างจากความเคยชินของเราเน้นการเรียนรู้จากการไปสัมผัสโดยตรงไม่ใช่ทริปเน้นความสำราญเพราะในสถานที่เหล่านั้น สิ่งอำนวยความสะดวกมีน้อย

แต่จริงๆ แล้ว มนุษย์เราชอบความท้าทาย ผมได้เห็นคนไปเที่ยวโดยมอเตอร์ไซคล์เป็นกลุ่มๆสองคัน หรือบางทีก็เห็นคันเดียวได้เห็นคนขึ่จักรยานด้วย รวมสามคน คนหนึ่งเป็นผู้หญิงจะว่าโหดก็โหดแต่ถ้าเตรียมตัวดีๆ น่าสนุกแต่วัยของผมไม่อำนวยเสียแล้วรวมทั้งคู่ของผมไม่ใช่คนชอบชีวิตกลางแจ้ง เราจึงต้องปรับตัวเข้าหากัน

รวมความแล้ว ธัมมาทัวร์ ครั้งนี้ประสบความสำเร็จทีเดียวคณะลูกทัวร์ ๒๗ คน เป็นหมอเสีย ๑๒เป็นคู่ภรรยา-สามี ๔ คู่ เป็นแม่-ลูก ๑ คู่ ในวันแรกคุณวงเดือน สิทธิฑูรย์แม่ของคุณชลลดา สิทธิฑูรย์ ไม่มีวีซ่าทางบริษัททัวร์ต้องไปจัดการให้ ในวันนั้น และตามมาในคืนนั้นในวันที่ ๗ (๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๙) เกิดอุบัติเหตุคุณเปาขาหักต้องเดินทางกลับก่อนในวันรุ่งขึ้นแต่ก่อนคณะเดินทางกลับ เราก็ทราบว่าคุณเปาได้รับการผ่าตัดเรียบร้อยแล้วที่โรงพยาบาลหัวเฉียว

วิจารณ์ พานิช

๓ กรกฎาคม ๒๕๕๙

บนเครื่องบิน Jet Airways จากเดลีกลับกรุงเทพ

หมายเลขบันทึก: 611622เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2016 07:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 สิงหาคม 2016 05:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท