เรื่องเล่าอื่น 2 รำบูชาพระธาตุพนม


เรื่องเล่าอื่น 2 รำบูชาพระธาตุพนม

ประวัติเดิมการรำบูชาพระธาตุพนม เป็นการรวมตัวของชนพื้นเมืองต่าง ๆ รวม 7 เผ่า ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนม แต่งกายด้วยเสื้อผ้าประจำเผ่าของตน และร่ายรำในท่วงท่าอันงดงามเพื่อบูชาองค์พระธาตุพนม และจะแสดงในวันแรกของงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี รำบูชาพระธาตุพนม ณ บริเวณหน้าวัดพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม โดยมีพระราชธีราจารย์ เจ้าคณะจังหวัดนครพนม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม เป็นประธานสงฆ์ ประกอบพิธีทางศาสนาในพิธีรำบูชาพระธาตุพนมซึ่งจังหวัดนครพนม คณะสงฆ์และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดนครพนม ร่วมจัดขึ้นในพิธี ก่อนไหลเรือไฟในวันออกพรรษา การรำบูชาถวายองค์พระธาตุพนม เป็นประเพณีอันดีงามของชาวจังหวัดนครพนม ซึ่งถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในเทศกาลงานสำคัญ เช่น งานเทศกาลนมัสการพระธาตุพนม หรือในวันออกพรรษาก่อนงานไหลเรือไฟ ก่อนการรำบูชาพระธาตุพนมนั้น ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชน ได้ร่วมแห่เครื่องสักการบูชาประธานในพิธี ได้กล่าวคำบูชาไหว้พระธาตุพนม หลังจากนั้น ได้จัดชุดรำบูชาพระธาตุพนม 7 ชุด คือ รำตำนานพระธาตุพนม รำศรีโคตรบูรณ์ รำผู้ไทย รำหางนกยูง รำไทยญ้อ รำขันหมากเบ็ง และรำเซิ้งอีสาน ซึ่งในขณะนั้นดิฉันได้มีโอกาสในการเข้าร่วมรำบูชาพระธาตุพนม จังนครพนม ซึ่งตอนนั้นดิฉันกำลังศึกอยู่ที่โรงเรียนนครพนมวิทยาคม ชุดในการรำบูชาพระะาตุพนมนั้นดิฉันได้รำถวายในการรำหางนกยูง ประวัติคว่มเป็นมาของการรำหางนกยูงกำเนิดมาแล้วประมาณ 100 ปีเศษ ใช้สำหรับรำบวงสรวงสักการะเจ้าพ่อหลักเมืองอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อประทานพรให้มีชัยชะและแคล้วคลาดจากภยันตรายในการเข้าแข่งขันชิงชัยต่างๆ โดยเฉพาะในการแข่งขันเรือยาวในเทศกาลออกพรรษา ปกติการรำชนิดนี้จะแสดงท่ารำบนหัวเรือแข่งและรำถวายหน้าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ท่ารำได้ดัดแปลงมาจากการรำไหว้ครูของนักรบก่อนออกศึกสงครามในสมัยก่อน โดยรำอาวุธตามที่ตัวเองฝึก คือรำดาบรำกระบี่กระบองเข้าจังหวะกลองยาว ซึ่งในการรำบูชาพระธาตุพนมนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ดิฉันมีความประทับใจมาก เพราะไม่ใช่แค่การแสดงที่ควรอนุรักษ์แต่การรำบูชาพระพนมที่ดิฉันเคราพนับถือมาตั้งแต่เด็กถือว่าเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครั้งที่ได้เกิดมาในจังนครพนมและยังได้เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีอันดีงาม


หมายเลขบันทึก: 610385เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2016 13:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กรกฎาคม 2016 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท