เรื่องเล่าวันเข้าพรรษา


วันเข้าพรรษา

จะถึงช่วงเข้าพรรษาแล้วนร้า....มารู้จักประวัติความเป็นมาของการเข้าพรรษากันเถอะ

การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริงๆ ช่วงจำพรรษาจะอยู่ในระหว่างฤดูฝนคือแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ของทุกปี

ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัดหรือเสนาสนะที่คุ้มแดด คุ้มฝนได้แห่งหนึ่ง ไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน


อ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E...


ประวัติความเป็นมา

๑. การถือปฏิบัติวันเข้าพรรษาในประเทศไทย

สมัยก่อน ประชาชนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จะเริ่มทำไร่ทำนาปักดำข้าวกล้าก่อนพรรษากาล พอพระสงฆ์เข้าพรรษา ก็จะเสร็จงานในไร่นา ย่อมมีเวลาว่างมาก ประกอบกับการคมนาคมไปมาระหว่างสถานที่ต่างๆ ก็ไม่ค่อยสะดวก เนื่องจากฝนตกชุกและน้ำขึ้นเจิ่งนองเต็มแม่น้ำลำคลองทั่วไป ชาวบ้านจึงถือโอกาสเข้าวัดถวายทาน รักษาศีลฟังธรรมและเจริญภาวนาเพิ่มพูนบุญกุศลกันมากขึ้น

ดังนั้น เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนก็จะพากันหาอาหารทั้งคาวหวาน ผลไม้ และเครื่องอุปโภคที่จำเป็นแก่สมณะ นำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ในวัดใกล้บ้านตน พระภิกษุสงฆ์ก็แนะนำสั่งสอนให้เกิดศรัทธาในการปฏิบัติตามหลักทาน ศีลและภาวนา และความไม่ประมาทในการประกอบคุณความดีอื่นๆ

ตามประวัติศาสตร์ พุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เริ่มบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี ดังข้อความในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ว่า

"พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ทั้งท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุนทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งหญิงทั้งชายฝูงท่วยมีศรัทธาในพุทธศาสน์ มักทรงศีล เมื่อพรรษาทุกคน"

หน้าที่ของเราในช่วงเข้าพรรษา

คนทั่วไป ควรปฏิบัติตนอย่างไรในเทศกาลเข้าพรรษาเพราะโดยส่วนมากเราก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่า เมื่อถึงเทศกาลเข้าพรรษา จะมีนโยบายทางรัฐบาลออกมาเรื่องการงดเหล้าเข้าพรรษา ซึ่งก็มีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากที่มองเห็นความสำคัญนี้ พวกเขาก็ปฏิบัติกันมาถือเป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนาบุญด้วยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากงดเหล้าเข้าพรรษาแล้วชาวพุทธที่ดีควรจะงดจากอบายมุขทั้งหลาย เช่น การเที่ยวกลางคืน เล่นการพนัน เป็นต้น เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นทางแห่งความเสื่อม ซึ่งพระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ เพราะฉะนั้นชาวพุทธที่ดี ควรงดเว้นจากอบายมุขทั้งปวงในเทศกาลเข้าพรรษานี้ด้วย

… ซึ่งส่วนตัวดิฉันในวันเข้าพรรษาก็จะไปทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา ร่วมกุศลกรรม "ตักบาตรเทโว" และตอนค่ำก็จะไปร่วมเวียนเทียนที่วัดบ้าน



หมายเลขบันทึก: 610302เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 17:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตักบาตรเทโว อยู่ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา เหรอครับ-

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท