เสวนาทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง สหกรณ์ออมทรัพย์ในกำกับของกระทรวงการคลัง โอกาสหรืออุปสรรค์ในการพัฒนา


เสวนาทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง สหกรณ์ออมทรัพย์ในกำกับของกระทรวงการคลัง โอกาสหรืออุปสรรค์ในการพัฒนา

โชคดีได้ที่นั่งใกล้กับท่านสิทธิชัย อึ้งภากร ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด เลยได้มีโอกาสรับความรู้จาก เวทีสัมมนา และได้รับคำอธิบายจากประสบการณ์ของท่านประธาน ฯ สิทธิชัย อึ้งภากร อีก เป็นสองแชลแนล



จากเวทีเสวนา

กระทรวงการคลัง และแบงค์ชาติ มีงานในการดูแลสถาบันการเงิน ทั้ง แบงค์ และนอนแบงค์ เต็ม ๆ อยู่แล้ว จะนำสหกรณ์ประเภทออมทรัพย์อีกประมาณ 1,400 สหกรณ์ เข้าไปดูแลอีกคงเหนื่อยหนัก


ท่านผู้แทนจากกระทรวงการคลัง

ท่านทราบดีว่า สหกรณ์นั้นดูแลตนเองด้วย social function อยู่แล้ว


ความรู้จากท่าน นายวราเทพ ไวทยาวิโรจน์ นักสหกรณ์แห่งชาติ

1. ท่านแนะนำให้ขบวนการสหกรณ์ ใช้ การ RE-FINANCE แทน การROLL OVER ที่ใช้อยุ่ในขบวนการสหกรณ์ในปัจจุบัน

(ROLL OVER = ใช้กับกรณีที่สถาบันการเงินให้ลูกหนี้กู้เงินก้อนใหม่ได้ โดยใช้เงื่อนไขเดิมทุกประการ เช่น ใช้วงเงินเดิม อัตราดอกเบี้ยเดิม การผ่อนชำระเท่าเดิม หมายความว่า ทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไขเดิมทั้งสิ้น แบบนี้เท่ากับลูกหนี้หวนกลับไปมีมูลหนี้เท่ากับวงเงินกู้ที่มีอยู่ เช่น วงเงินกู้ 1 ล้านบาท ก็ให้กู้ใหม่ในวงเงิน 1 ล้านบาท เป็นต้น) ที่มา : cntiweb.cn-thai.co.th/....

RE-FINANCE = หมายถึงการที่สถาบันการเงินให้ลูกหนี้กู้เงินรอบใหม่ในเงื่อนไขใหม่ ที่ไม่เหมือนเดิม เช่น ลดวงเงินกู้ลง ลดระยะเวลาผ่อนชำระให้สั้นลง หรือต่อระยะเวลาการผ่อนชำระให้ยาวขึ้น เป็นต้น) ที่มา : cntiweb.cn-thai.co.th/....


2. การบริหาร NIM Net interest margin เพื่อประโยชน์สุขของสมาชิกโดยรวม

(Net interest margin (NIM) is a measure of the difference between the interestincome generated by banks or other financial institutions and the amount of interestpaid out to their lenders (for example, deposits), relative to the amount of their (interest-earning) assets)

ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Net_interest_margin



ความรู้จากท่าน สิทธิชัย อึ้งภากร ประธานสหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด

เรื่อง การเข้าใช้บริการเครดิตบูโร (บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด) ของสหกรณ์ในประเทศไทย ปัจจุบันมีเข้าใช้บริการได้เพียง 3 สหกรณ์ คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูขอนแก่น จำกัด สหกรณ์อิสลามปัตตานี จำกัด และล่าสุดคือ สหกรณ์ออมทรัพย์กรมป่าไม้ จำกัด ซึ่งสมัครเข้าใช้บริการเครดิตบูโร เมื่อ สองปีที่ผ่านมา การสมัครเข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโรของสหกรณ์ นั้นต้องใช้เวลาในการฝึกอบรมพนักงาน และเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ พร้อมทดสอบระบบจนเรียบร้อย จึงสามารถใช้บริการเครดิตบูโรอย่างสมบูรณ์



คามคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน

1. สหกรณ์ทุกประเภท นั้นต้องร่วมมือกันตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 6 Co-operation among Co-operatives การแยกดูแลกำกับ ก็จะทำให้ความเข้มแข็งของขบวนการสหกรณ์ไทยลดลง กลุ่มที่ 1 สหกรณ์ทั้งภาคเกษตร (สหกรณการเกษตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม) กลุ่มที่ 2 สหกรณ์นอกภาคเกษตร (สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า) กลุ่มที่ 3 สหกรณ์ที่เป็นอเนกประสงค์ (สหกรณ์เครดิตยูเนียน สหกรณ์บริการ) ในประเทศไทยสหกรณ์ทั้ง สามกลุ่มต้อง ช่วยตน ช่วยกัน ตามปรัชญาของการสหกรณ์ จึงจะประสบความสำเร็จไปด้วยกัน ไม่ทิ้งกลุ่มใดไว้ข้างหลัง

2. อุปสรรคสำคัญในการพัฒนา ขบวนการสหกรณ์ไทยที่เห็นเด่นชัด ในช่วงหลัง ๆ นี้ คือ การเลือกตั้งในสหกรณ์และชุมนุมสหกรณ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักการสหกรณ์ ที่ 1 คือไขว้กัน ที่ถูกต้อง สหกรณ์ขั้นปฐม (primary cooperative) มีสมาชิกเป็นบุคคล ต้องใช้วิธีการเลือกตั้ง แบบสมาชิก 1 คน 1 กา หรือ one member one vote ส่วนในสหกรณ์ขั้นมัธยม (secondary cooperative) ไม่ใช่เลือกแบบ 1 สหกรณ์สมาชิก 1 กา หรือหนึ่งสหกรณ์สมาชิกหนึ่งเสียง (one cooperative one vote) เพราะแต่ละสหกรณ์จำนวนสมาชิกไม่เท่ากัน ควรให้สิทธิแต่ละสหกรณ์ตามจำนวนสมาชิกของตนเอง เพราะสหกรณ์เน้นการรวมคนเป็นสำคัญ สหกรณ์ที่มีสมาชิก 100 คน ในทางสหกรณ์ไม่น่าที่จะมีสิทธิเสียงเท่ากับ สหกรณ์ที่มีสมาชิก 5,000 คน

3.ผู้เขียนได้สอบถามนักสหกรณ์รุ่นเก่า ๆ ทราบว่าในสมัยก่อนภายใต้พรบ.สหกรณ์ พ.ศ. 2471 วัดซึ่งเป็นนิติบุคคลในท้องถิ่นนั้น เป็นสมาชิกสามัญของสหกรณ์ได้ด้วย แต่วัดก็จะไม่เข้ามาในส่วนของการบริหารงานสหกรณ์ ในสมัยนั้นสหกรณ์มี 22 ประเภท มีประเภทหนึ่ง เป็นธนาคารสหกรณ์จังหวัด ด้วย

4. ในปัจจุบันสหกรณ์ มี 7 ประเภท
สหกรณ์ภาคเกษตร คือ สหกรณ์การเกตร สหกรณ์ประมง สหกรณ์นิคม
สหกรณ์นอกภาคเกษตร คือ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า
สหกรณ์ประเภทที่เป็นอเนกประสงค์เป็นได้ทั้งภาคเกษตร และนอกภาคเกษตรคือ สหกรณ์บริการ และสหกรณ์เครดิตยูเนียน

5. ธรรมาภิบาล ของการสหกรณ์มีอยู่แล้วใน ค่านิยมสหกรณ์ (cooperative values)

ค่านิยมทางสหกรณ์ สหกรณ์อยู่บนฐานค่านิยมของการพึ่งพาและรับผิดชอบตนเอง ประชาธิปไตย ความเสมอภาค ความเที่ยงธรรม และความสามัคคี สมาชิกสหกรณ์ตั้งมั่นอยู่ในค่านิยมทางจริยธรรมแห่งความซื่อสัตย์ เปิดเผย รับผิดชอบต่อสังคม และเอื้ออาทรต่อผู้อื่น ตามแบบแผน ที่สืบทอดมาจากผู้ริเริ่มการสหกรณ์

Values

Co-operatives are based on the values of self-help, self-responsibility, democracy, equality, equity and solidarity. In the tradition of their founders, co-operative members believe in the ethical values of honesty, openness, social responsibility and caring for others.

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/520514


6. ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ในอนาคต ไม่น่าจะเกิน 20 ปี เชื่อว่า ขบวนการสหกรณ์ไทย จะเป็นไปตามหลักการสหกรณ์สากลที่ 4 คือ เป็นอิสระ และพึ่งพาตนเอง (Autonomy and Independence) ในที่สุด



พีระพงศ์ วาระเสน (ฺBobbie)
KU 40 ; Coop 7
วันที่ 20 กรกฎาคม 2559
แรม 1 ค่ำ เดือน 8 "วันเข้าพรรษา"


























หมายเลขบันทึก: 610278เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2016 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 กรกฎาคม 2016 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท