๑๙๐.. อย่าทำให้...ยาก


เรื่องของเรื่องก็คือ..โรงเรียนไปเสียเวลา และ เน้นเอกสารจนเกินไป..ถึงแม้ว่า...เอกสาร..จะมีความสำคัญ แต่...ก็ไม่สำคัญเท่า..กระบวนการเรียนรู้ ที่จะต้องลงสู่ภาคปฏิบัติ..ให้นักเรียนได้สัมผัสประสบการณ์ตรง... ผ่านการคิดและการทำ..

การจัดการเรียนการสอนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง...ไม่ใช่เรื่องง่าย..เพราะต้องใช้เวลาและการปลูกฝังที่ต่อเนื่อง..แต่ก็ไม่ใช่เรื่องยาก..ถ้าผู้บริหารและครู..มีความจริงจัง จริงใจ ที่จะทำเรื่องนี้จริงๆ และตระหนัก...ตั้งใจ ที่จะศึกษาให้..รู้จริง.....

เรื่องของเรื่องก็คือ..โรงเรียนไปเสียเวลา และ เน้นเอกสารจนเกินไป..ถึงแม้ว่า...เอกสาร..จะมีความสำคัญ แต่...ก็ไม่สำคัญเท่า..กระบวนการเรียนรู้ ที่จะต้องลงสู่ภาคปฏิบัติ..ให้นักเรียนได้สัมผัสประสบการณ์ตรง... ผ่านการคิดและการทำ..

ในเมื่อ..ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียน..ไม่ใช่เพียงแค่ กิจกรรมเกษตร เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์.ก็.แสดงว่า..ทุกเรื่องราวที่นักเรียนเรียนรู้ สามารถเชื่อมโยง..ความพอเพียงได้หมด...แล้วยิ่งได้บูรณาการ..ในทุกสาระวิชา..ยิ่งจะทำให้นักเรียนจะสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้...

โรงเรียน...มากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ..ที่ยังไม่ประสบความสำเร็จในเรื่องนี้..และมีมากมายหลายโรงเรียน..ยังอึดอัดอยู่กับนักเรียน..ที่ไม่เข้าใจ ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข..ท้ายที่สุด ก็ให้นักเรียนท่องจำ..แบบสำเร็จรูป...ว่า ถ้าทำเรื่องนี้แล้ว...อะไรคือ.. เหตุผล ความพอประมาณ และภูมิคุ้มกัน

ถ้าเป็นแบบนี้..ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแต่ประการใด แต่..จะยากทันที...ถ้านักเรียนจะนำไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ หรือ อาจทำให้นักเรียนคิดไม่เป็นด้วยซ้ำ...เพราะครูไปให้โจทย์ที่ยาก....

ดังนั้น...ต้องปูพื้นฐานกันก่อน เริ่มได้ตั้งแต่ประถมศึกษาตอนต้น...ด้วยการฝึกให้นักเรียน พูด และ ให้เขียนมากขึ้น...เมื่ออยู่ประถมปลาย และมัธยมต้น...

สอดคล้องกับการศึกษายุคใหม่...ที่จะต้องปฏิรูปการเรียนรู้ ...โดยเฉพาะการวัดผล...ที่มีแนวโน้มจะลดการกากบาท (ปรนัย) จะให้นักเรียนคิดและเขียน (อัตนัย) มากขึ้น....

ดังนั้น...ผมจึงแนะนำทุกโรงเรียน..ที่ไปนิเทศ ติดตาม และประเมินผลงาน...ว่าทำอย่างนี้สิ...ที่โรงเรียนผมก็ทำอยู่ ผมเชื่อว่า..จะเห็นผลในระยะยาว...โดยครูต้องเข้าใจก่อนและใจเย็นๆ

ครูจะสอนเรื่องใดก็ตาม หรือจะให้นักเรียนทำกิจกรรมใดก็ตาม จะประกอบไปด้วย การฟัง พูด อ่าน และเขียน....ถูกต้องไหม?

โดยเฉพาะ..การพูด..และการเขียน..ครูจะต้องมีประเด็นคำถามนำร่อง ประกอบด้วย...

นักเรียนทำเรื่องอะไร...นักเรียนทำอย่างไร....นักเรียนทำแล้วได้อะไร....แค่นี้เอง..นอกจากตอบโจทย์พอเพียงแล้ว ยังเสริมต่อการเรียนรู้เรื่องอื่นด้วย....เวลาผมสอนพูดและสอนเขียนแก่นักเรียน จะมีประเด็น เท่านี้จริงๆ และเชื่อว่า ถ้านักเรียนพูดได้ นักเรียนจะเขียนได้...

๑..เรื่องอะไร...ผมจะอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจ...เหตุผล...ว่าทำไมนักเรียนต้องทำเรื่องนี้ล่ะ

๒...ทำอย่างไร...ผมอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าถึง..ความพอประมาณ...จากการที่นักเรียนบอกวัสดุ อุปกรณ์ ขั้นตอน กระบวนการทำงาน (How to)

๓..ทำแล้วได้อะไร...ผมจะอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนได้พัฒนา...ไปสู่ ความรู้ คุณธรรม ทักษะชีวิต อาชีพ รายได้ การทำมาหากิน..ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น ภูมิคุ้มกัน ทั้งสิ้น

ถ้านักเรียนได้ฝึกแบบนี้บ่อยๆ สักวันเขาจะเข้าใจ อย่างฝังลึก และ ประยุกต์ใช้ได้อย่างอัตโนมัติ ไม่ใช่เฉพาะแต่เรื่อง..พอเพียง...

ครับ...การสอนแบบนี้..จะไม่เห็นผลเพียงชั่วข้ามคืน หรือภายในปีเดียว..แต่จะทำให้ครูแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักเรียน อย่างมีความสุข ครูก็อยากสอน เด็กก็อยากเรียน ที่สำคัญ..เราต้องสอนวิธีคิดวิเคราะห์ให้กับเขา จะยั่งยืนไปตลอดกาล ครับ “สอนวิธีการตกปลาให้กับเขา ย่อมจะดีกว่า การสอนวิธีซื้อปลาให้กับเขา....”

ชยันต์ เพชรศรีจันทร์

๘ กรกฎาคม ๒๕๕๙









หมายเลขบันทึก: 609957เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2016 19:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2016 19:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

บางโรงเรียน ( ...... ) สอนวิธี " ซื้อแกงปลา"

ชิว ๆ ไปเลย รู้แล้วรู้รอดไป ทันสมัยเป๊ะ ๕๕๕๕

ชอบใจวิธีนี้จังค่ะ เด็กนักเรียนบ้านเราได้แต่ฟังเสียเป็นส่วนมาก เราควรปรับให้ได้พูดและเขียนในสัดส่วนที่เท่าๆกับฟัง รับรองว่าศักยภาพของเด็กๆจะได้รับการพัฒนาขึ้นอีกมากเลยนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท