ศัพท์ และ คำย่อ ในงานคุณภาพ


3 การทบทวนการดูแลผู้ป่วยข้างเตียง = ( C3THER )

Care = ทีมงานให้การดูแลผู้ป่วยรายนี้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้หรือยัง การวินิจฉัยรักษาเหมาะสมหรือไม่ ยังมีความเสี่ยงอะไรที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยรายนี้ได้
Communication = ทีมงานได้สื่อสารข้อมูลให้แก่ผู้ป่วยและญาติอย่างเพียงพอแล้วหรือไม่
Continuity = ทีมงานวางแผนที่จะให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดูแลตนเองที่บ้านได้อย่างเหมาะสมหรือไม่ ผู้ป่วยและญาติได้รับการเตรียมตัวและการดูแลที่ต่อเนื่องเมื่อกับบ้านหรือไม่
Team = มีการดูแลผู้ป่วยรายนี้แบบสหสาขาวิชาชีพหรือยัง ยังขาดวิชาชีพใดที่ควรร่วมดูแลผู้ป่วยรายนี้
Human Resource = ทีมงานมีความรู้ทักษะเพียงพอที่จะดูแลผู้ป่วยรายนี้หรือไม่ ควรจะเพิ่มความรู้ทักษาได้อย่างไร
Environment = สิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้ป่วยมีความเหมาะสม ปลอดภัย สะดวกสบายเพียงใด
(Equipment) = เครื่องมือที่ใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยรายนี้มีความเหมาะสม เพียงพอหรือไม่
Record = เวชระเบียนที่บันทึกของผู้ป่วยรายนี้มีความสมบูรณ์เพียงพอหรือไม่ ควรปรับปรุงในส่วนใดให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การทบทวนการดูแลผู้ป่วยกับแนวคิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ = (H-E-L-P )
Holistic : เราดูแลมิติด้านจิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม ของผู้ป่วยดีแล้วหรือไม่ อย่างไร
Empowerment : เรา empower ผู้ป่วยและครอบครัวอย่างไร ได้ผลและเพียงพอ หรือไม่
Lifestyle : จะเตรียมผู้ป่วยอย่างไรจึงจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ โดยสอดคล้อง กับวิถีชีวิตและข้อจำกัดเรื่องสิ่งแวดล้อมPrevention and Patient Right : เราวางแนวทางป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยรายนี้อย่างไรจะป้องกันคนอื่น อย่างไร และการคำนึงถึงสิทธิผู้ป่วยถูกต้องเหมาะสมแล้วหรือไม่

4.CNPG : (Clinicai Nursing Practice Guidelines ) แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับพยาบาล

5.SPA ในงานคุณภาพนั้นย่อมาจาก

S=Standard (มาตรฐาน)หมายถึง การทำงานโดยมีหลักวิชาการอ้างอิง

P=Practice(การปฏิบัติ) หมายถึง การนำมาตรฐานไปปฏิบัติหรือการปฏิบัติตามมาตรฐาน)

A=Assessment(ประเมินผลงาน) หมายถึง วัดผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติ

6.3P :

Purpose :เป้าหมายและเครื่องชี้วัด

Process: กระบวนการเพื่อให้ได้คุณภาพ

Performance:ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับเป้าหมาย

7.Clinical Tracer : ตัวตามรอยทางคลินิกใช้ตามรอยกระบวนการพัฒนาระบบงาน การดูแลผู้ป่วย ระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีการระบุความเสี่ยงในแต่ละกระบวนการดูแลผู้ป่วย

8.Proxy Disease :กระบวนการดูแลผู้ป่วย คิดถึงโรคที่สะท้อนคุณภาพในแต่ละขั้นตอนการดูแลให้มากที่สุด

• Proxy Disease ประกอบด้วย

1.Access

2.Entry

3.Assessment

4.Investigation

5.Diagnosis

6.Plan of Care

7.Discharge Plan

8.Reassess

9.Care of Patient

10.Communication

11.Discharge

12.Information&Empowerment

13.Continuity of Care

9.การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง = (PDSA)
Plan = พิจารณาจากการมีเป้าหมายที่ชัดเจน วางแผน ออกแบบอย่างเป็นระบบ
Do = มีการปฏิบัติตามระบบที่กำหนดไว้
Study = การประเมินผลและผลลัพธ์ พิจารณาจากการรับฟังสียงสะท้อน ความเหมาะสมเพียงพอของเครื่องชี้วัด
ACT = การทบทวนผลลัพธ์และพัฒนาในประเด็นที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย

10.RRT : (Response Reapid tream)

ทีมเคลื่อนที่เร็ว ช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุการณ์ ที่ไม่พึงประสงค์

11.Triage : การคัดกรองผู้ป่วยหน่วยงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุเหตุ และในโรงพยาบาล

การคัดกรองหมายถึง กิจกรรมที่พยาบาลปฏิบัติต่อผู้ป่วยที่มารับบริการงานอุบติเหตุและฉุกเฉิน โดยการรวบรวมข้อมูลจากการซักประวัติ และตรวจร่างการอย่างรวดเร็วและตัดสินใจระบุประเภทผู้ป่วย ตามลำดับความรุนแรงของการเจ็บป่วยแต่ละประเภท โดยแบ่งประเภทผู้ป่วย 5 ประเภท

1.ประเภทผู้ป่วยวิกฤต Resuscition ใช้ลักษณ์สีแดง ได้รับการตรวจรักษาทันที่ภายใน0-4นาทีเช่นผู้ป่วยไมรู้สึกตัว ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ

2.ประเภทผู้ป่วยเจ็บป่วยรุนแรง Emergency ใช้ลักษณ์สีชมพู รอตรวจภายใน10 นาที เช่นผู้ป่วยที่สัญญาณชีพอยู่ในภาวะอันตราย

3.ประเภทผู้ป่วยเจ็บป่วยปานกลาง Urgencyใช้ลักษณ์สีเหลือง รอตรวจภายใน30 นาที เช่นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหรือส่งต่อหรือส่งตรวจหลายชนิดเช่น ฉีดยา ตรวจเลือด เอ็กวเรย์

4.ประเภทผูป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย Semi –urgency ใช้ลักษณ์สีเขียว รอตรวจภายใน60 นาที เช่นผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา หรือส่งตรวจเพียงชนิดเดียวได้แก่ ตรวจเลือด ฉีดยา

5.ประเภทผู้ป่วยทั่วไป Non- urgency ใช้ลักษณ์สีขาว รอตรวจภายใน 2 ชั่วโมง เช่นผู้ป่วยสามารถรอตรวจที่คลินิกทั่วไป

12.Early Warning Sing :การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษา/ที่นอนพักโรงพยาบาลทุกคน

13.Adverse Events : (AE) เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการดูแลผู้ป่วย หาได้จาก Trigger tool การทบทวนรายงานอุบัติการณ์

Sentinial Event (เหตุการณ์พึงสังวรณ์) = COMBS- FACE

C = Communication

O = Operation

M = Medication Error

B = Blood Transfusion

S = Solution

F = Fall

A = Alarm System

C = CPRE = Ethic + การระบุตัวผู้ป่วย

14.Dischrage Plan : (การวางแผนการจำหน่าย ) กำหนดแนวทาง ประเมินความจำเป็น สหวิชาชีพ /ผู้ป่วย/ครอบครัวมีส่วนร่วม ประเมินปัญหา/ ความต้องการหลังจำหน่าย ปฏิบัติตามแผน ประเมินปรับปรุง

15.WI : Work Instruction เอกสารแนะนำว่าจะทำงานแต่ละอย่าง อย่างไร

16.CQI :(Continuous quality Improvement) การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงให้ดีขึ้น

17.R2R : (Routine to Research ) การพัฒนางานประจำสู่การวิจัย ผลลัพธ์ R2R ไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่ได้ผลงานวิจัยเท่านั้น แต่มีเป้าหมายที่จะพัฒนางานประจำที่ทำทุกวันให้เป็นผลงานวิจัย

18.Simple : ชุดของความรู้ใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบงานให้มีความปลอดภัย ใช้ Gap Analysis

19.Trigger : ลักษณะ กระบวนการ เหตุการณ์ หรือผลลัพธ์ บางประการที่สามารถค้นหาหรือมองเห็นได้ง่าย และมีความสัมพันธ์กับโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในการดูแลผู้ป่วย

20.Early Warning Sing :การเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษา/ที่นอนพักโรงพยาบาลทุกคน

21. มิติแห่งคุณภาพ หรือ มิติต่าง ๆของเครื่องชี้วัดคุณภาพ= (3A 3E 2C 1S)
Acceptability = การบริการที่เป็นที่ยอมรับ ตรงตามความต้องการของผู้รับบริการ
Appropriateness = บริการมีความเหมาะสม ได้ตามมาตรฐาน และสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ
Accessibility = สามารถเข้าถึงบริการง่าย มีให้บริการเมื่อจำเป็น
Effectiveness = บริการมีประสิทธิผล ได้ผลการบริการหรือผลการรักษาที่ดี
Efficiency = บริการมีประสิทธิภาพ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
Equity / Patient Right = มีความเท่าเทียมกันในการรับบริการ
Competency = ผู้ให้บริการมีความรู้ความสามารถ
Continuity = ความต่อเนื่องในการให้บริการ หรือการดูแลรักษาพยาบาล
Safety = บริการมีความปลอดภัย ไม่เกิดอันตรายหรือผลแทรกซ้อน

22.คำย่อเกี่ยวกับงานคุณภาพ

QC = Quality Control

QA = Quality Assurance = Assess + Correct/Prevent

QI = Quality Improvement

PI = Process Improvement/Performance Improvement

QM = Quality Management

CWQC = Compant-wide Quality Control

TQC = Total Quality Control/Commitment

TQM = Total Quality Management

TQS = Total Quality Service

CQI = Continuous Quality Improvement

23.กรอบแนวคิด HA/TQA (มาตรฐานใหม่) HA/TQI Framwork ( Input) = C- C- C

C = Context บริบท

C = Concept หลักการและค่านิยมขององค์กร

C = Criteria รู้มาตรฐาน / ทำความเข้าใจเป้าหมายของมาตรฐาน

24.HA/TQI Framwork ( Process ) = A- D- L- I

A = Approach มีการกำหนดระบบ กำหนดแผน / ดำเนินการอย่างเป็นระบบครอบคลุม Multiple Requirements

D = Deploy มีแนวทางการสื่อสารสู่การปฏิบัติ ครอบคลุมทั้งแนวลึกและแนวกว้าง

L = Learning มีการทบทวนและการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง

I = Intregration ระบบมีบูรณาการ/สอดประสานกัน ทั้งแนวดิ่งและแนวนอน

25.HA/TQI Framwork ( Result) = K- L-T- C- S

K = KPI ตัวชี้วัดผลสำเร็จของงานหลัก(ตัวชี้วัดที่มีความสำคัญมีการวัดผลครบถ้วนสม่ำเสมอ)

L = Level ระดับของผลลัพธ์ที่ได้ บรรลุตามเป้าหมายหรือไม่

T = Trend แนวโน้มของผลลัพธ์ดีขึ้นเรื่อย ๆหรือไม่

C = Compair เปรียบเทียบกับคู่แข่งที่เก่งที่สุด เราดีกว่าหรือไม่

S = Segment ได้ผลลัพธ์ดีในทุกกลุ่มหรือไม่


HA THAILAND PATEINT SAFETY GOAL 2006 = 3M – DO - PIC

1. การระบุตัวผู้ป่วย (Patient Identification )

2. การผ่าตัด( Operation Safety )

3. การใช้ยา (Medication Safety)

4. การติดเชื้อจากการดูแลรักษา (Health Care – Associated Infection)

5. ภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก (Maternal & Neonatal Morbidity)

6. การดูแลรักษาที่ล่าช้า (Delayed Rescue)

7. กลุ่มอาการหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน (Acute Coronary Syndrome) ( MI )

8. การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน (Communication Failure)

26.Topic ทำความเข้าใจกับประเด็น เช่น จะคุยกันเรื่องอะไร

GROW model ได้แก่

G = Goal เป้าหมาย อยากจะเห็นผลอะไร

R = Reality ข้อเท็จจริง กำลังเกิดอะไรอยู่

O = Option มีทางเลือกอะไรที่เป็นไปได้

W = Wrap-up สรุปแล้วตัดสินใจจะทำอะไร

27.การตรวจเยี่ยมหน่วยงาน (สนับสนุน) = EFIRE
Environment = สิ่งแวดล้อมทางกายภายที่ดี 5 ส. ความร้อน แสงสว่าง การถ่ายเทอากาศ เส้นทางหนีไฟ ถังดับเพลิง ฯลฯ
Flow = การไหลเวียนของกระบวนการทำงาน มีการวิเคราะห์ กระบวนการหลัก
IC = เทคนิคการปฏิบัติงานถูกต้องตามหลักการ IC มีการแยกขยะ การล้างมือ การป้องกันตนเอง ใช้ UP การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
Risk = ความเสี่ยงด้านโครงการ(กายภาพ) มีการจัดทำบัญชีความเสี่ยง (Unit Profile)
Equipment = เรื่องเครื่องมือมีระบบการจัดเก็บเหมาะสม สะดวกต่อการนำมาใช้ การทำความสะอาด การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

28.การเยี่ยมสถานที่ = FORCEDIPP
Flow = การไหลเวียน, การถ่ายเทอากาศ , ความแออัดในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
Odor = ความสะอาดและปราศจากกลิ่น
Risk = ความเสี่ยงทางกายภาพของหน่วยงาน
Convinience = ความสะดวกสบาย และ 5 ส
Equipment = การดูแลรักษาเครื่องมือ
Drug = การบริหารจัดการยา เช่น Stock ยา , การเก็บ High Alert Drug
Infection Control = การแยกเก็บขยะ , การจัดการสารปนเปื้อน , ห้องแยกติดเชื้อ ,การล้างมือ
Patient = ความพึงพอใจของผู้รับบริการ , การได้รับข้อมูล ,การดูแลแบบ Holistic Care
Personal = บรรยากาศการทำงาน ,ความเครียด ของเจ้าหน้าที่ , การทำงานเป็นทีม

29.การให้ข้อมูลผู้ป่วย = (หลัก 5 I)

Information = ผู้ป่วยได้รับการบอกเล่าเกี่ยวกับโรค แนวทางการรักษาและทางเลือก ระยะเวลา ฯลฯ

Inform Consent = ได้รับข้อมูลอะไรบ้างก่อนลงนามยินยอมรับการรักษา
Investigation = ได้รับการอธิบายผลการชันสูตรที่สำคัญอย่างไรบ้าง
Identification = มีการถามชื่อผู้ป่วยก่อนการให้ยา ฉีดยา เอกซเรย์ ผ่าตัด ฯลณ
Invasive Procedure = ได้รับการเตรียมตัวอย่างไรเมื่อจะต้องรับการผ่าตัดหรือทำ Invasive Procedure

30.การใช้เวชระเบียนเป็นตัวตั้งในการประเมินการดูผู้ป่วย = ASPIREED
Assessment = การประเมินผู้ป่วยการวินิจฉัยโรค และข้อมูล สนับสนุนการวินิจฉัยโรค
Plan = การวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วย
Implement = การปฏิบัติตามแผน
Record / Evaluate = การบันทึกการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย สิ่งที่ทำกับผู้ป่วยพร้อมเหตุผล
Educate = การให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยและครอบครัว
Discharge = การเตรียมตัวผู้ป่วยและครอบครัวให้สามารถดูแลตนเองได้

31.กรอบการวิเคราะห์ RCA ตามกรอบ อ.อนุวัฒน์ = RE HELP IC
1. Information
2. Educ­ation
3. Communication
4. Human Capital
5. Environment / Equipment
6. Process Design/ Process control and Monitor
7. RM.
8. Leadership and Culture

32.กิจกรรม 5 ส.
1. สะสาง (SEIRI) คือ การแยกของที่ต้องการ ออกจากของที่ไม่ต้องการ และขจัดของที่ไม่ต้องการทิ้งไป
2. สะดวก (SEITON) คือ การจัดวางสิ่งของต่างๆ ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกและปลอดภัย
3. สะอาด (SEISO) คือ การทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ทำงาน
4. สุขลักษณะ (SEIKETSU) คือ สภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสุขลักษณะ และรักษาให้ดีตลอดไป
5. สร้างนิสัย (SHITSUKE) คือ การอบรม สร้างนิสัย ในการปฏิบัติงานตามระเบียบ วินัย ข้อบังคับอย่างเคร่งครัด

คำสำคัญ (Tags): #ศัพท์
หมายเลขบันทึก: 609400เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2016 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2016 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท