จิตสื่อสาร บริหารลักษณ์


ขอบพระคุณโอกาสที่ดีมีความท้าทายให้เรียนรู้พลังความเข้มแข็ง ความร่าเริง และความเมตตา ระหว่างพี่น้องอาจารย์และเจ้าหน้าที่สำนักงานคณบดีคณะกายภาพบำบัด ม.มหิดล

เป็นเหตุบังเอิญที่ผมได้มีโอกาสมาออกแบบการประเมินนพลักษณ์ด้วยจิตใต้สำนึกและการพัฒนาบุคลิกภาพแห่งตน ทำให้ได้แบบประเมิน Transactional analysis of self-flexibility ที่น่าสนใจ และแบ่งกลุ่มให้เกิดการสื่อสารแบบ Therapeutic use of self to soul ระหว่างคนเก้าแบบที่มีทั้งเป็นผู้นำสุขภาวะต้นแบบพี่เลี้ยงกับผู้กำลังเสริมสร้างสุขภาวะแห่งตนให้เกิดกำลังใจและแรงบันดาลใจในชีวิตการทำงาน ขอบพระคุณความรู้จากการอ้างอิงข้อมูลที่มีคุณค่าจากหนังสือโค้ชชิ่ง ให้ถึงแก่น ด้วยเอ็นเนียแกรม ของดร.จินเจอร์ ลาพิด-บ็อกดา แปลโดยคุณวาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช พ.ศ.2559 จัดทำโดยบ.สยามเอ็นเนียแกรม คอนซัลติ้ง จำกัด บูรณาการกับความรู้จากการลงมือฝึกฝน Neuro-Linguistic Programming หรือ NLP ด้วยทุนจาก Mind Transformations & Good Intention กว่า 296 ชม. และนำมาเชื่อมโยงในงานคลินิกกิจกรรมบำบัดจิตสังคมกว่า 600 ชม. กับผู้ที่มีประสบการณ์อารมณ์ตึงเครียดจนถึงต้องการฟื้นคืนสุขภาวะกายจิตสังคมกว่า 150 กรณีศึกษาในเวลา 2 ปีเต็ม

ความน่าสนใจของแต่ละกลุ่ม ได้แก่ คนส่วนใหญ่เป็นลักษณ์ที่ 5 (คิดเป็นระบบ สะสมข้อมูลเพิ่มปัญญา แต่มีโลกส่วนตัวสูง ไม่ใส่ใจความสัมพันธ์ เฉยเมยเย็นชา) ต้องการผู้นำสุขภาวะส่วนน้อยเป็นลักษณ์ที่ 8 (ตรงไปตรงมา ปกป้องผู้อื่น มีกลยุทธ์ แต่ชอบควบคุม เอาแต่ใจ คุกคามทำให้คนอื่นเกรงกลัว) อีกคนกลุ่มใหญ่เป็ลักษณ์ที่ 6 (จงรักภักดี มีความเพียร พยายามคาดการณ์ได้ดี แต่ไม่ชอบคลุมเครือ ทนทุกข์ให้คนเห็นใจ คิดมากกว่าจะทำได้) ต้องการผู้นำสุขภาวะส่วนน้อยในนพลักษณ์อื่นๆ ผสมผสานเรียนรู้กัน เพราะขาดสองคนที่เป็นลักษณ์ที่ 9 ไม่ได้เข้าร่วม


เริ่มจากกิจกรรมเพิ่มทักษะจิตกายสังคมสื่อสารสร้างสรรค์สามัคคี ผ่านบริบทการปลุกพลังจากพี่ๆทหาร จนเกิดการสะท้อนความรู้สึกนึกคิดว่า "พวกเรายังขาดการวางแผนและตัดสินไว้ใจในภาวะผู้นำแห่งตน - ต่างคนต่างพูดในเวลาที่ควรวางแผนแบบเอาใจเขามาใส่ใจเราแล้วย้อนดึงศักยภาพของแต่ละคนมาใช้ในการทำงานเป็นทีมให้สำเร็จผล"



ต่อด้วยกิจกรรมเพิ่มทักษะเคาะอารมณ์เปิดใจ-โล่งใจ-สบายใจ ปล่อยวางอัตตา ให้คิดน้อยๆ รู้สึกรักตัวเองและผู้อื่นมากๆ ทำให้สื่อสารด้วยดวงใจของความเป็นมนุษย์ (หัว + ใจ ทำให้ กาย + จิต เป็นหนึ่งเดียว) สุดท้ายกิจกรรมเพิ่มทักษะการระดมสมองจิตใจในเวลาอันสั้น คือ 10 นาทีแรกการระดมพูดด้วยความคิดมุ่งมั่นทำให้เป็นจริง ต่อด้วยแยก 10 นาทีสำหรับกลุ่มสมาชิกที่ชอบคิดฝันสร้างสรรค์ ขณะที่กลุ่มสมาชิกวิเคราะห์วิพากษ์นำข้อมูลจาก 10 นาทีแรกมาจัดลำดับความสำคัญ



ต่อด้วยอีก 10 นาทีสุดท้ายในการรวมสมองจิตใจของทุกคนให้นำเสนอแบบสองส่วนๆละ 3-6 นาที แบบสื่อสารวาจาและละคร นับว่าภายในเวลาที่คิดเชิงระบบ ทำให้เห็นศักยภาพของบุคลากรของคณะฯ ได้อย่างยอดเยี่ยมมากครับผม



เกิดนวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านโครงงานที่จะทำไปเพิ่มพลังเข้มแข็ง ร่าเริง และเมตตาระหว่างบุคลากรได้อย่างมีสติสัมปชัญญะมากขึ้น ส่งผลให้ผมเกิดความสัมพันธ์รักพี่น้องที่ทำงานแห่งนี้มากขึ้นเช่นกันด้วยความขอบพระคุณมากครับ




หมายเลขบันทึก: 609114เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2016 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2016 08:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบพระคุณมากครับอ.ต้นและพี่ดารนี

ตอนทำกลุ่ม ก็ดูมีพลังดีนะคะ

ทำยังไงจะให้สามารถทำได้ต่อเนื่อง นี่คือเรื่องที่น่าคิดนะคะอาจารย์

ขอบพระคุณมากครับคุณแก้ว เราเรียก Group Dynamics โดยเทคนิคสำคัญอยู่ที่การฝึก Rapport & Coaching with Match & Mirror + Pacing & Leading ครับผม

ขอบพระคุณมากครับพี่ดร.โอ๋ พี่ดร.จันทวรรณ และพี่ธิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท