สาเหตุของความขัดแย้ง


สาเหตุอันใดคือสาเหตุของความขัดแย้งสังคมไทย หากพิจารณาอย่างนี้ความขัดแย้งนี้ เป็นเรื่องของกลุ่มคนสองกลุ่มคือระหว่างอดีตกลุ่มนักการเมืองผู้มีอำนาจและผู้ติดตามกับฝ่ายต่อต้านที่เสียผลประโยชน์ ถ้าเราจะวิเคราะห์ ก็พอจะมองเห็นได้ว่า กลุ่มนักการเมืองผู้มีอำนาจและผู้ติดตามกับฝ่ายต่อต้านที่เสียผลประโยชน์ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลิกราไปไม่ว่าจะด้วยเหตุใด ความขัดแย้งนี้ก็จบ และประเทศไทยก็เดินต่อไปได้ตามปกติ แล้วฝ่ายใดละจะยอมหยุด? แต่ละฝ่ายก็หยุดไม่ได้ เพราะถ้าหยุดหมายถึงล้มทั้งกระดานเลยแล้วนโยบายพรรคและผู้ติดตามพรรคและประชาชนละจะทำอย่างไร ฉะนั้น ถึงแม้คนจะล้มหายตายจากกันไปมากต่อมาก แผ่นดินลุกเป็นไฟก็ตาม แข็งใจสู้กัน ดังเช่นDurkheim เรียกสภาวะนี้ว่าสภาวะที่ไร้บรรทัดฐานทางสังคมทั้งหมด อันเป็นสภาวะที่ความปรารถนาของปัจเจกบุคคลไม่ได้ถูกบังคับไว้ด้วยบรรทัดฐาน ใดๆ ทางสังคมเลยสภาวะทำให้เกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบนหลายๆ แบบ เช่น อัตวินิบาตกรรม หรือ การฆ่าตัวตาย นั้นเอง ดังนั้นจนกว่าทหารจะเข้ามาจัดการเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปเสียแล้วในวันนี้

การวิเคราะห์เรื่องราวนี้ก็คือ ไม่ได้ดูที่ “ต้นเหตุ” ของการได้มาซึ่งอำนาจการเมืองของผู้มีอำนาจเดิม และการใช้อำนาจ (ซึ่งรวมถึงอำนาจตามกฎหมาย อิทธิพลหรืออำนาจในความเป็นจริงและเงิน) ว่ามีฐานมาจากความขัดแย้งเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและทางสังคมที่ซ่อนตัวอยู่ ความขัดแย้งดังกล่าว มีลักษณะบุคคลของคู่ขัดแย้งอยู่ก็จริง โดยรากฐานสำคัญก็คือความขัดแย้งเชิงโครงสร้างในการจัดสรรทรัพยากรและความมั่งคั่ง ระหว่าง “คนมี” กับ “คนไม่มี” รวมถึงแนวความคิดและความคาดหวังต่อระบอบประชาธิปไตยที่แตกต่างกัน แต่รวมแล้วนักการเมืองในเมืองไทยมีเป้าหมายเหมือนๆกันก็คือทำอย่างไรจะได้อำนาจมีอำนาจจึงสามารถที่จะวางนโยบายจัดการตามที่ตนหวังได้ ดังเช่นแนว ความคิดแบบ Marx Weber ว่าการประท้วงเรื่อง การเมือง การเรียกร้องประชาธิปไตย การยึดอำนาจ การเปลี่ยนแปลงการปกครองและการปฏิวัติ หรือแม้กระทั่งการชุมนุมเรียกร้องอะไรบางอย่างของคนบางกลุ่มบางพวก เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในทันที สำหรับในมุมของชนชั้นกรรมาชีพหรือแรงงาน ก็ก่อให้เกิดสหภาพแรงงานเพื่อสร้างพลังต่อรองอย่างเปิดเผย จุดนี้เองเป็นการเริ่มต้นของความขัดแย้งเชิงโครงสร้างของนักการเมืองในสังคมไทย และตามความคิดสมัยใหม่ (postmodern era) พื้นที่ความคิด ซึ่งเป็นความคิดของฟรีดริช นิทซ์เชอ (Friedrich Wilhelm Nietzsche) ซึ่งความคิดดังกล่าวเข้าไปมีอิทธิพลในวงการศิลปะในช่วงทศวรรษที่ 1920 กล่าวได้ว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่ (postmodern) คือการเคลื่อนไหวทางความคิดและวัฒนธรรมที่ต่อต้านนิยาม, ความเชื่อ, ค่านิยม, จารีต, ประเพณี แต่อ้างถึงพื้นที่จริงเพื่อเป็นการต่อรองผลประโยชน์และอำนาจเพื่อบงการสังคมได้อย่างถูกต้องได้

คำสำคัญ (Tags): #รายงาน
หมายเลขบันทึก: 608764เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2016 06:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2016 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท