ฉบับที่ ๔๖ เรื่อง “อสม.พลัง ลด ละ เลิกเหล้าบุหรี่”


ผู้เขียนแนะนำเรื่องเล่า ในโครงการเขียนเรื่องเล่าสู่กันฟัง ช่วยคนลด ละ เลิกบุหรี่ เลิกเหล้า ครั้งที่ 4 จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ โดยนำเรื่องเล่าที่ชนะการประกวด ซึ่งเขียนโดยคุณอุสมาน แวหะยี เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน ในรพ.สต.ลำใหม่ อ.เมือง จ.ยะลา เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์การสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ และเพื่อเป็นตัวอย่างแนวทางช่วยให้คนเลิกบุหรี่


" อัสลามูอาลัยกุม" (สวัสดีค่ะ)

ดีเจเสียงใสกล่าวทักทายผู้ฟังทางคลื่นวิทยุทักษิณสัมพันธ์พัฒนาเป็นภาษามาลายูท้องถิ่น

เช่นเคยน่ะค่ะ เวลา 10.00 น. ถึงเวลา 12.00 น. ก่อนเที่ยงพบกับดิฉัน อสม.ทิพย์ หรือดีเจทิพย์ค่ะ กับรายการ รพ.สต. และ อสม.พบประชาชน...วันนี้ทางรายการของเรามีสาระน่ารู้มาฝากค่ะ ใกล้ถึงวันงดสูบบุหรี่โลกกันแล้ว คุณผู้ฟังที่เป็นพ่อบ้านหรือแม่บ้านก็ดี หรือมีลูกหลานที่ติดเหล้าติดบุหรี่ ดิฉันขอรณรงค์ให้ทุกบ้านเอาวันนี้เป็นฤกษ์ในการเลิกน่ะค่ะ...เทคนิคง่ายๆ มีดังนี้ค่ะ ....1) ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว การดื่มน้ำจะทำให้ท่านรู้สึกสบาย และอีกทั้งยังช่วยกำจัดนิโคตินออกจากร่างกายได้ด้วย การดื่มน้ำนั้นเราควรเริ่มตั้งแต่การตื่นนอนตอนเช้า หลังอาหารทุกมื้อ ช่วงระหว่างมื้ออาหาร และก่อนนอนนะค่ะ 2) วางเป้าหมายไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมในการเลิกบุหรี่ และการปฏิบัติตนในช่วงเวลาเลิกบุหรี่ โดยต้องกำหนดวันที่จะเลิกสูบบุหรี่ อาจจะเลือกวันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญของตัวเอง วันสำคัญของครอบครัว หรือวันสำคัญของชาติ โดยกำหนดเอาวันที่ใกล้ที่สุด 3) เมื่อเรารับประทานอาหารเสร็จให้รีบลุกออกทันที เพราะคนที่เคยสูบบุหรี่จะติดนิสัยเคยชินในการสูบบุหรี่ หลังจากการรับประทานอาหาร ฉะนั้นเมื่อเรารับประทานอาหารเสร็จแล้วก็ให้รีบลุกออกจากโต๊ะอาหารไปทันที จากนั้นให้หางานอดิเรกทำ เพื่อให้มีงานทำอยู่ตลอดเวลาจะทำให้เราเพลิดเพลินและลืมบุหรี่ไปเลย 5)ให้เราทิ้งทั้งบุหรี่และที่เขี่ยบุหรี่ให้ไปไกลๆ ให้พ้นสายตาคุณ เพราะว่าจะเลิกทั้งทีเราต้องจัดการให้เด็ดขาดกับมันจริงๆ จะวางให้ยั่วยุสายตาเราไม่ได้ให้เอาทิ้งไปเลย ไม่ต้องเสียดายนะค่ะ เพราะมันเป็นสิ่งทำร้ายเรา ให้เราคิดถึงสุขภาพและเงินของเราเพราะกว่าจะหาได้แต่ละบาท เอาไปทำสิ่งที่มีประโยชน์กับเราจะดีกว่าเยอะเลยนะค่ะ

เป็นไงบ้างค่ะคุณผู้ฟัง เบื่อกันหรือค่ะ นี่เป็นเพียงแค่เทคนิคเบื้องต้นง่ายๆที่คุณผู้ฟังสามารถทำเองที่บ้านได้ ช่วงนี้เรามาพักฟังเพลงจากทางสถานีก่อนน่ะค่ะ...มาพบกับช่วงต่อไปของรายการนะคะ

ช่วงที่ 2 ของรายการเรายังมีเทคนิคของการเลิกสูบบุหรี่มาพูดคุยอีกน่ะค่ะ 6) ให้ระวังเรื่องอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด อาหารหวานจัด อาหารเผ็ดจัด อาหารรสเค็มจัด เพื่อให้ร่างกายของคุณอยู่ในสภาพที่ดีที่สุด เพราะว่าอาหารนั้นมีผลต่อสุขภาพจิตโดยตรง 7) แนะนำให้เราอาบน้ำหรือแช่น้ำอุ่นให้ได้ในระยะเวลา 15-20 นาที ประมาณวันละ 2-3 ครั้ง เสร็จจากการอาบน้ำอุ่นแล้ว ให้ใช้น้ำเย็นราดตามตัว จะทำให้ร่างกายของเราสดชื่น และไม่ทำให้เกิดความรู้สึกอยากสูบบุหรี่เลย 8) เราขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรือจากบุคลากรทางการแพทย์ และนำคำแนะมาปรับปรุงตัวเอง 9) ปฏิบัติตนให้สม่ำเสมอ ให้คเราดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม โดยการรับประทานอาหาร 3 มื้อให้เป็นเวลา และหาเวลานอนพักผ่อนจะทำให้จิตใจสบาย และออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินเร็ววัน 30-40 นาที ในระยะเวลา 5 วันนี้เราควรเอาใจใส่สุขภาพของเราให้เป็นอย่างดี สุขปฏิบัติที่ดี จะช่วยให้ร่างกายของเรานั้นอยู่ในสภาวะที่สมบูรณ์ 10) หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีกาแฟอีนและโคล่า เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์กระตุ้นหรือระงับประสาท เช่น ชา กาแฟ สุรา โคล่า ฯลฯ เราควรหลีกเลี่ยงเพราะจะทำให้คุณเกิดความกระวนกระวายใจ ฉะนั้นเราควรงดเครื่องดื่มตลอดทั้ง 5 วันที่อยู่ในช่วงเวลาการเลิกบุหรี่ ให้เราดื่มน้ำสะอาดหรือจะดื่มน้ำผลไม้แทนก็ได้ค่ะ

เป็นไงบ้างค่ะคุณผู้ฟัง 10 เทคนิคง่ายๆในการเลิกสูบบุหรี่ มาถึงช่วงท้ายของรายการกันแล้วน่ะค่ะ เรายังมีเทคนิคอีกหลายข้อน่ะค่ะ ค่อยกลับมาฟังต่อในสัปดาห์หน้าน่ะค่ะ วันนี้เวลาของรายการหมดลงแล้ว ขอลาคุณผู้ฟังเพียงเท่านี้น่ะค่ะ ก่อนจากกันดิฉันมีเพลงเพราะๆมาฝากเช่นเคยค่ะ...

ผมเปิดฟังรายการที่ อสม.จัดรายการเป็นประจำ สิ้นเสียงเพลงจบ ผมก็ได้ยินเสียงตะโกนจากพี่พยาบาลมีมีคนมาหา ผมเดินลงไปข้างล่างสำนักงานตามเสียงที่เรียก

มีอะไรป่าวพี่ ? ผมพูดพลางสายตาก็มองหาคนไข้

มีคนไข้มาขอคำปรึกษาเรื่องอยากเลิกสูบบุหรี่น่ะ....เสียงพยาบาล

ออ...ครับ เชิญขึ้นข้างบนห้องรับคำปรึกษาเลยครับ....

อามีน (นามสมมุติ) ชายวัยกลางคน บ้านอยู่ในหมู่บ้านทุ่งคา ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.ลำใหม่ มาหาผมด้วยอาการอยากเลิกสูบบุหรี่ อามีนเล่าให้ผมฟังว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เขาฟังรายการวิทยุทักษิณสัมพันธ์ช่วงที่ อสม.จัดรายการ เป็นเรื่องน่าสนใจมาก และเป็นเรื่องที่เขาตั้งใจจะเลิกบุหรี่อยู่พอดี แต่เขาไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี

เอายังงี้ดีไหมอามีน เดือนหน้าเป็นเดือนรอมฎอนแล้ว (เดือนถือศิลอด) ซึ่งเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม อามีนก็เอาฤกษ์เดือนนี้เลยสิ....ผมให้คำแนะนำอามีนพร้อมแจกเอกสารคู่มือการเลิกสูบบุหรี่ให้ไปอ่านศึกษาคร่าวๆก่อน และผมย้ำอามีนอีกครั้งว่า สัปดาห์หน้าอย่าลืมฟังรายการวิทยุน่ะ ยังมีภาค 2 น่ะ เรื่องบุหรี่ยังไม่จบ

" อามีนพยักหน้ารับปากผม"

ก่อนจะกลับอามีนได้ให้คำมั่นสัญญาวกับตัวเองว่าจะเลิกมันให้ได้ และจะกลับมาหาผมอีกครั้งเมื่อทำได้สำเร็จ

วันรุ่งขึ้นของอีกวัน ผมได้นัด อสม.มาประชุมประจำเดือนที่ รพ.สต. และได้นำเรื่องเลิกเหล้าเลิกบุหรี่มาพูดซ้ำในที่ประชุมอีกครั้ง และฝาก อสม.ให้สำรวจร้านค้าที่จำหน่ายบุหรี่ในพื้นที่ด้วย ก่อนที่จะเลิกประชุม ผมได้เรียก อสม.ที่เป็นดีเจจัดรายการว่าสัปดาห์หน้าต้องออกเรื่องรณรงค์การเลิกละเลิกเหล้าบุหรี่ภาคที่ 2 น่ะ

สวัสดีค่ะคุณผู้ฟังที่น่ารักทุกท่าน มาตามสัญญาน่ะคะกับ รายการ อสม.พบประชาชน สัปดาห์ที่แล้ว เรายังมีเรื่องค้างอยู่น่ะค่ะ คือ เรื่องเทคนิคการเลิกบุหรี่นั่นเอง มาต่อกันเลยค่ะ อีกเคล็ดลับคือ 1) ไม่ใช้ตัวยาอื่นๆ ที่กล่าวคือ ในช่วงระยะเวลา วันที่เราเลิกบุหรี่ให้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้ยาอื่นๆ เพื่อไม่ให้มีการกดประสาทหรือกระตุ้นประสาท ในช่วงที่เรากำลังเลิกสูบบุหรี่ เราต้องพยายามรักษาระดับความมั่นคงของอารมณ์และจิตใจให้คงที่ 2) ห้ามใจอ่อนกับตัวเองเป็นอันขาด เพราะหลายๆ คนคงบอกกับตัวเองว่าอีกสักมวนคงไม่เป็นรัย หรือบอกกับตัวเองว่าพรุ่งนี้ค่อยเลิกก็ได้ มันก็จะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนทำให้เราไม่ได้เลิกสักที ถ้าเป็นเช่นนี้คงทำให้เรานั้นไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้สักที ฉะนั้นเราควรเด็ดขาดกับมันจริงๆ 3)วิตามินบำรุงประสาท ให้คุณหาซื้อวิตามินบำรุงประสาท ซึ่งสามารถช่วยบำรุงประสาทที่ถูกกด เนื่องจากสารนิโคตินเราอาจจะกินในรูปแคลเซียมหรือเม็ด หรืออาจจะกินส่าข้าวสาลี 1-2 ซ้อนโต๊ะ หรืออาจจะใช้ผสมกับนมสดก็ได้ค่ะ 3) ให้คุณนั้นอยู่ห่างกับสิ่งแวดล้อมเดิมๆ ของเรา ให้เราพยายามหลีกเลี่ยงการไปนั่งเล่นหรือนั่งในสถานที่เดิมที่เราเคยไปอยู่เป็นประจำทุกๆ วันเพราะว่าความที่เราเคยชินกับสถานที่อาจจะทำให้เราคิดที่อยากจะสูบบุหรี่อีกครั้ง ให้เราลองเปลี่ยนสถานที่ใหม่หรือให้เดินออกกำลังกายไปเลยยิ่งดี วิธีนี้ก็อาจจะช่วยเราได้ไม่น้อยเลยนะค่ะ 4) อาจพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ ในระยะเวลาที่เราเลิกบุหรี่นี้ กำลังใจนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ท่านต้องสร้างขึ้นมา โดยเราอาจจะหาสิ่งที่สามมารถยึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อเกิดความเชื่อมั่น โดยการดุอาห์ (สวดมนต์) ภาวะนาต่อพระเจ้าให้เกิดความสำเร็จในความตั้งใจของเรา 5) อาหารที่เรารับประทานได้ อาหารที่เราควรเลือกรับประทานควรเป็นอาหารที่ถูกโภชนาการ คือ รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ อาหารมีกากใย รับประทานผักผลไม้ ในปริมาณที่อิ่มพอดี แต้ถ้าหากเรากระวนกระวายใจในเรื่องการรับประทานอาหารให้กินหมากหอมหรือหมากฝรั่ง หรือยาอมที่ไปไม่รสหวาน เพื่อให้ปากไม่ว่างและไม่เปรี้ยวปาก ก็จะทำให้เราไม่อยากสูบบุหรี่อีกเลย ถ้าหากเราต้องการที่จะเลิกสูบบุหรี่และรักษาสุขภาพให้ดีคุณต้องรู้จักห้ามใจตนเองและไม่ตามใจปากตัวเองควรระมัดระวัง โดยให้รับประทานผลไม้เป็นหลักและผลไม้ควรเลือกชนิดที่แคลอรี่ต่ำ เช่น มะละกอ แอปเปิล แตงโม สับปะรด พุทธา และรับประทานผักเป็นหลัก เช่น ชะอม ผักคะน้า ผักกาด ผักบุ้ง แครอท 6 ) อย่ายอมแพ้แม้แต่เล็กน้อย ถ้าเราคิดที่จะทำแล้วเราต้องทุ่มเทกับมันให้สุดๆ อย่าปล่อยโอกาสบางโอกาสที่สามารถทำให้เรานั้นกลับไปสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะมีสิ่งดึงดูดใจ หรือเพื่อนมาชักชวนก็ตาม ให้เรานั้นปฏิเสธไปเลยว่าเราไม่สูบบุหรี่แล้ว และให้ทำเป้าหมายที่เราตั้งไว้ว่าจะเลิกสูบบุหรี่แค่นั้นก็เป็นพอ และไม่ต้องแคร์ว่าเพื่อนจะพูดกับเรายังไงขอแค่เราทำสิ่งนี้ให้ได้เท่านั้นเอง และข้อสุดท้ายของวันนี้ ให้เราคอยย้ำตัวเองอยู่เสมอ ถ้าหากเราคิดที่สูบบุหรี่ขึ้นอีก ให้นึกถึงเสมอว่าเราเลิกบุหรี่เพื่อใคร อย่างเช่น เลิกบุหรี่เพื่อสุขภาพที่ดีของเราเอง เลิกบุหรี่เพื่อคนที่เรารัก เลิกบุหรี่เพราะจะได้มีเงินเก็บเยอะๆ เอาไว้ใช้สอยในวันข้างหน้า เป็นต้น

เป็นไงบ้างค่ะคุณผู้ฟัง คงไม่เกินความสามารถของคนที่จะเลิกเหล้าเลิกบุหรี่น่ะค่ะ ดีเจทิพย์ขอเอาใจช่วยทุกท่านเลยค่ะ และช่วงสุดท้ายของรายการ ดิฉันมีบทเพลง "กำลังใจ" มาฝากน่ะค่ะ พิเศษสำหรับน้องอามีนที่ฟังอยู่ทางบ้านน่ะค่ะ น้องคนนี้มีความตั้งใจจะเลิกบุหรี่ ดิฉันดีใจน่ะค่ะที่ฟังรายการของเรา มีผลต่อน้องอามีนอย่างมาก ทำให้น้องอามีนมีความตั้งใจอยากเลิกบุหรี่ ดีเจทิพทย์เอาใจช่วยน่ะค่ะ......

หมอครับผมเลิกบุหรี่ได้แล้ว และผมพาเพื่อนอีกสองคนต้องการเลิกบุหรี่เหมือนกัน.....อามีนพูด

นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่าง ที่ทาง รพ.สต.ร่วมมือกับทางหน่วยทหารที่ตั้งฐานในพื้นที่ นอกจากมาดูแลรักษาความสงบในพื้นที่แล้ว ยังเพิ่มช่องทางการสื่อสารมาจัดตั้งสถานีวิทยุในชุมชน ทำให้หน่วยราชการในพื้นที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และก่อเกิดกิจกรรม ดีเจ อสม.ขึ้น นับว่าเป็นกระบอกเสียงในการประชาสัมพันธ์งานสาธารณสุขในพื้นที่อย่างดี....

เรียบเรียงโดย : รติกร เพมบริดจ์

เว็ปไซต์ศจย. : www.trc.or.th

๑๗ มิ.ย. ๕๙

หมายเลขบันทึก: 608543เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2016 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2016 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท