DAR นักศึกษารังสีเทคนิค


การจัดการความรู้ ทำได้ทุกวัน ทุกสถานที่ ทุกเวลา

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอการติดตามความคืบหน้าการจัดการความรู้นักศึกษารังสีเทคนิค ชั้นปีที่ 4 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หลายสัปดาห์ก่อน เมื่อนักศึกษาเริ่มเข้ามาฝึกงาน

ผมให้นักศึกษา เขียนบันทึก ความคาดหวังก่อนการฝึกงาน หรือ BAR = Before action review คือ การทบทวนตนเอง ตั้งเป้าหมาย ตั้งความคาดหวัง ว่าจะได้เรียนรู้อะไรจากการฝึกงาน






เมื่อนักศึกษา ได้ฝึกงานไประยะหนึ่งแล้ว

ผมก็ติดตาม ประเมินผลการเรียนรู้ระยะการฝึกงาน คือ DAR = During Action Review เพื่อจะช่วยเติมเต็มองค์ความรู้ให้สอดคล้องกับที่นักศึกษาตั้งความคาดหวังไว้ ที่สอดคล้องการวัตถุประสงค์การฝึกงานของหลักสูตรฯ




ความคาดหวังของนักศึกษา จะ สำเร็จได้ ต้องใฝ่หา ไม่ใช่รอโอกาส รอการบอกจากคณาจารย์ หรือ พี่ๆ ที่ดูแล นักศึกษาต้องค้นคว้า เสาะแสวงหา

DAR ที่ผมทำ คือ การประเมินด้วยการ สอบถามองค์ความรู้ แบบกลุ่มและรายบุคคล ที่นักศึกษาที่ได้เรียนจากการฝึกงานที่ผ่านมา

ส่วนใหญ่นักศึกษาเข้าใจขั้นตอนการตรวจ วิธีการตรวจ แต่ยังไม่สมบูรณ์นัก

แต่... ยังขาดการบรูณาการองค์ความรู้ เรียนรู้เป็นส่วนๆ คือ ฝึกเฉพาะด้านรังสีเทคนิค แต่ องค์ความรู้อื่นๆ เช่น พยาธิสภาพของโรค การใช้ข้อมูลทางคลินิก การเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางเครื่อง การสร้างภาพ กับทางคลินิก ซึ่งต้องพัฒนาต่อไป


ตัวอย่าง

การเปรียบเทียบวิธีการตรวจ

เนื่องจากในหลักสูตรรายวิชา อาจารย์ผู้สอน อาจจะสอนเทคนิคการตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย ว่ามีขั้นตอนการตอนอะไรบ้าง

แต่... เมื่อมาฝึกงาน ณ สถานพยาบาล

วิธีการตรวจ อาจแตกต่างไปจากที่สถาบันได้สอนไว้ ซึ่งมีสาเหตุการตรวจที่แตกต่างกันได้ เนื่องจาก เครื่องมือ เครื่องใช้ตรวจ พยาธิสภาพของผู้ป่วย เป็นต้น

หากนักศึกษา ลองสร้างตาราง แล้วเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างสถาบันที่สอนกับสถานพยาบาลที่ฝึกงาน

ก็จะทำให้เห็นความเหมือน หรือ แตกต่าง

หากมีความแตกต่าง ความแตกต่างนั้นๆ หากนักศึกษาสามารถ หาเหตุผลของความแตกต่างนั้นๆได้ ว่า... เพราะอะไร ทำไมจึงแตกต่างๆ ก็จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ เข้าใจหลักการเปลี่ยนแปลง การแก้ไขตามสถานะการณ์ และฝึกการวิเคราะห์ ข้อมูล




ในการฝึกงาน ผมได้ชี้แนะให้นักศึกษา เรียนรู้และบูรณาการองค์ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับ

1. เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย

2. ขั้นตอนการตรวจทางกายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา การตรวจทางคลินิก และเทคนิคที่สำคัญทางรังสีเทคนิค

3. การดูแลผู้ป่วย ก่อน ระหว่าง และ หลังการตรวจ

4. การป้องอันตรายจากรังสี และ ความเสี่ยงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

5. การสื่อสารกับผู้ป่วยและทีมงาน

เป็นต้น




นอกจากนี้ ระหว่างการฝึกงาน ก็ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ จากคณาจารย์ ทีมงาน พี่เลี้ยงที่ดูแลระหว่างการฝึกงาน อย่างสม่ำเสมอ


การจัดการความรู้ ทำได้ทุกวัน ทุกสถานที่ ทุกเวลา

ส่วนความสำเร็จ ของนักศึกษาจะมีมากน้อยเพียงใด ต้องติดตาม ต่อไป


หมายเลขบันทึก: 608525เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2016 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2016 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท