นโยบาย เรื่อง การตั้งหน่วยงานพิเศษกำกับดูแลงานของสหกรณ์ แล้วก็เรื่อง การตั้งธนาคารสหกรณ์ ​


นโยบาย เรื่อง การตั้งหน่วยงานพิเศษกำกับดูแลงานของสหกรณ์ แล้วก็เรื่อง การตั้งธนาคารสหกรณ์

มีท่านอาจารย์จากมหาวิทยาลัย ขอให้ผมลองวิจารณ์นโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ
ของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์มาให้

อาจารย์มหาวิทยาลัย :

ลองวิจารณ์นโยบายหรือมาตรการต่างๆของรัฐมาดูหน่อยสิ
จะได้รู้ข้าราชการกับนักวิชาการคิดต่างกันไง?

พีระพงศ์ วาระเสน :
เรื่อง การตั้งหน่วยงานพิเศษกำกับดูแลงานของสหกรณ์ แล้วก็เรื่อง การตั้งธนาคารสหกรณ์ นะครับ

อาจารย์มหาวิทยาลัย :
ลองประเมินว่าที่เป็นอยู่มันบกพร่องอย่างไร ใครได้ใครเสีย?

ผู้เขียนเป็นข้าราชการ วิจารณ์นโยบายรัฐบาลคงจะไม่เหมาะขออนุญาตเขียนไล่ไปเรื่อย ๆ ดีกว่านะครับ

เรื่องที่ 1 เรื่องการตั้งหน่วยงานพิเศษกำกับดูแลงานของสหกรณ์

เราละเลยความพอเพียงกันไปนาน มุ่งแข่งขัน เปรียบเทียบ จัดอันดับ แย่งชิง บดทำลายกันมานาน

กว่าจะกลับสู่แนวทางแบ่งปัน เอื้ออาทร เกื้อกูลกัน บนความพอเพียง แบบที่บรรพชนสร้างไว้ ก็หนี้เกือบท่วมประเทศไปแล้ว..............

นายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงการคลังไปหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อจัดตั้งหน่วยงานพิเศษขึ้นมากำกับดูแลสหกรณ์ทั่วประเทศ
หลังจากที่ ธปท. ได้รายงานให้ทราบว่าไม่สามารถกำกับดูแลงานของสหกรณ์ได้
เพราะปัจจุบันหนี้ของสหกรณ์ทั่วประเทศรวมกันแล้วมีมากถึงหลักแสนล้านบาท

รายละเอียดตามข่าวนี้ http://www.thairath.co.th/content/639039

สหกรณ์จะได้รับการส่งเสริมจากหน่วยราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ และมีบริการตรวจบัญชีสหกรณ์ซึ่งเป็นบริการของรัฐให้แก่สหกรณ์ทุกขนาด

แต่เมื่อสหกรณ์ใหญ่ขึ้นมีสมาชิกมากขึ้น มีเครือข่ายเชื่่อมโยงกันมาก ซับซ้อนมากขึ้น ก็เกินกำลังของกรมทั้งสองซึ่งสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่จะเข้าไปกำกับ การตั้งหน่วยงานกำกับนั้นจะส่งผลดีต่อสหกรณ์ที่จะได้รับบริการที่ดีขึ้น บางครั้งสหกรณ์ต้องล้มไปเพราะความล่าช้าจากบริการของรัฐก็มีให้เห็น

อย่างการเข้าเป็นสมาชิกเครดิตบูโรของสหกรณ์ นั้นเพื่อที่จะป้องกันสมาชิกสหกรณ์เกเรที่ไม่มีวินัยทางการเงิน เอาเปรียบสมาชิกที่ดีที่มี่วินัยทางการเงิน สหกรณ์เองไม่ทราบว่าคิดกันอย่างไร ไปคิดว่าข้อมูลจะรั่วไป จะโดนเอาเปรียบจากธนาคารพาณิชย์ คือพวกที่แนะนำเป็นพวกที่ไม่เข้าใจถึงความเป็นสหกรณ์ ว่า สหกรณ์นั้นดำเนินตามปรัชญา ช่วยตน ช่วยกัน self help & mutual help

ผลตอบแทนในสหกรณ์ด้านเงินฝากสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป เพราะสหกรณ์นั้นสมาชิกเป็นทั้งเจ้าของและผู้ใช้บริการ ในขณะเดียวกัน co-owner co-customer แต่การนำเงินเข้ามาต้องทราบว่าสหกรณ์นั้นต้องช่วยกัน และการกู้เงินสหกรณ์ไปใช้จ่ายนั้น ตอบสนองได้เพียง need เท่านั้นเกินจากนั้นช่วยไม่ได้ เมื่อจะตอบสนองเกินกว่า need ก็จะต้องไปหาผลตอบแทนจากภายนอกที่ไม่ใช่สมาชิก กลายเป็นธุรกิจหากำไร maximize profit ที่ตั้งขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีรายได้ธุรกิจไป

การที่จะตั้งหน่วยงานพิเศษที่มีความรู้เรื่อง การกำกับธุรกิจการเงินมาดูนั้นควรแล้ว แต่หน่วยงานพิเศษที่มากำกับต้องเข้าใจในเรื่องความเป็นสหกรณ์ซึ่งมีความสำคัญมากควบคู่ด้วย

หน่วยงานพิเศษนี้จะช่วยให้สหกรณ์ในการให้บริการสหกรณ์สมาชิก(กรณีเป็นชุมนุมสหกรณ์) และสมาชิก(กรณีนี้เป็นสหกรณ์ขั้นปฐม) สามารถให้บริการในฐานะ cooperative bank และ สหกรณ์ประกันภัยได้ด้วย

เรื่องความเป็นสหกรณ์อ้างอิง https://www.gotoknow.org/posts/594642

เรื่องการเลือกตั้งในสหกรณ์ขั้นปฐม ในสหกรณ์ทุกประเภทก็มีความพยายามบิดเบือนกัน https://www.gotoknow.org/posts/595951


2. เรื่องธนาคารสหกรณ์

1. มีความพยายามจากธนาคารของรัฐเดิม ต้านไม่ให้ตั้งธนาคารสหกรณ์ขึ้น เพราะ ต้องการผลประโยชน์จากการให้สินเชื่อรายตัวแก่เกษตรกรทั่วไป
โดยจะให้เป็น public bank for cooperative เหมือนที่ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2490 ซึ่งปัจจุบันเป็น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร BAAC

แล้วทางราชการก็ต้องการทรงไว้ซึ่งอำนาจในการควบคุมสหกรณ์ ซึ่งก็เลี่ยงโดยให้สหกรณ์เข้าไปถือหุ้นใน BAAC ในสัดส่วนที่สูงขึ้น แต่รวมแล้วต้องไม่มากกว่า 50 % เพื่อคงสภาพเป็น public bank for cooperative เหมือนเดิม แบบนี้ก็ไม่ใช่ cooperative bank

2. แบบที่สองพวกนี้นักธุรกิจที่แฝงมาในขบวนการสหกรณ์มาร่วมด้วย จะตั้งเป็น commercial bank for cooperative โดยให้สหกรณ์เข้าถือหุ้น ทั้งหมด 100 % คือเป็นธนาคารพาณิชย์ ตามพรบ.สถาบันการเงิน อันนี้ก็ไม่ใช่ cooperative bank อยุ่ดี

3. ตั้งธนาคารสหกรณ์ cooperative bank จริง ๆ ไม่บิดเบือน โดยธนาคารสหกรณ์ก็คือ สหกรณ์ หรือชุมนุมสหกรณ์ ที่ให้บริการทางการเงินแก่ขบวนการสหกรณ์ในหน้าที่ของธนาคาร เป็นศูนย์กลางทางการเงินของขบวนการสหกรณฺ์ เป็น private bank ไม่ใช่ public bank
เป็น cooperative bank ไม่ใช่ commercial bank

ขบวนการสหกรณ์ต้องการ ธนาคารสหกรณ์ในข้อที่ 3 ไม่ใช่ข้อ 1 และข้อ 2 ครับ

https://www.gotoknow.org/posts/606320


ด้า่นล่างนี้ยกตัวอย่างการเปรียบเทียบ ธนาคารพาณิชย์ กับธนาคารสหกรณ์ในอินเดียว

Differences between Co-operative Banks and Commercial Banks in India

We may distinguish between co-operative banks and commercial banks on the following counts:

1. Commercial banks are joint-stock banks. Co-operatives banks, on the other hand, are co-operative organisations.

2. Commercial banks are governed by the Banking Regulation Act. Co-operative banks are governed by the Co-operative Societies Act of 1904.

3. Commercial banks are subject to the control of the Reserve Bank of India directly.

Co-operative banks are subject to the rules laid down by the Registrar of Co-operative Societies.

4. Co-operative banks have lesser scope in offering a variety of banking services than commercial banks.

5. Commercial banks in India are on a larger scale. They have adopted the system of branch banking, so they have countrywide operations.

Co-operative banks are relatively on a much smaller scale. Many co-operative banks follow only unit-bank system, though there are co­operative banks with a number of branches but their coverage is not countrywide.

6. Commercial banks in India are of two types: (i) public sector banks and (ii) private sector banks.

Co-operative banks are private sector banks.

7. Commercial banks mostly provide short-term finance to industry, trade and commerce, including priority sectors like exports, etc.

Co-operative banks usually cater to the credit needs of agriculturists.

8. Co-operative banks offer a slightly higher rate of interest to their depositors than commercial banks.

9. In co-operative banks, borrowers are member shareholders, so they have some influence on the lending policy of the banks, on account of their voting power.

Borrowers of commercial banks are only account- holders and have no voting power as such, so they cannot have any influence on the lending policy of these banks.

10. Co-operative banks have not much scope of flexibility on account of the rigidities of the bye-laws of the Co-operative Societies. Commercial banks, on the other hand, are free from such rigidities.

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/606320


พีระพงศ์ วาระเสน
15 มิถุนายน 2559























































หมายเลขบันทึก: 608417เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2016 20:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2016 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท