การแจกวิภัตตินาม


คำนามภาษาบาลีจะเปลี่ยนรูปตามหน้าที่ในประโยค

การแจกวิภัตตินาม

ในประโยค พุทธัง ภควันตัง อภิวาเทมิ

คำว่า พุทธัง ทำหน้าที่เป็นกรรมของประโยค

คำนามภาษาบาลีจะเปลี่ยนรูปตามหน้าที่ในประโยค เช่น คำว่า พุทธ ถ้าเป็นประธานของประโยค ใช้ว่า พุทโธ ถ้าเป็นกรรมของประโยค ใช้ว่า พุทธัง ด้วยเหตุนี้ ในการเรียงคำเป็นประโยค ประธาน กริยา กรรม จะเรียงกันอย่างไรก็ยังคงความเดียวกัน เช่น

มนุสโส พุทธัง อภิวาเทติ

พุทธัง อภิวาเทติ มนุสโส

อภิวาเทติ พุทธัง มนุสโส

แปลเหมือนกันว่า มนุษย์ย่อมอภิวาทพระพุทธเจ้า

สาเหตุที่ต้องมีการเรียงคำสลับที่กัน ก็เพื่อความไพเราะของเสียง หรือเพื่อให้ถูกต้องตามลักษณะคำประพันธ์หรือฉันทลักษณ์

การที่ทุกคำแสดงหน้าที่ในประโยคชัดเจน ทำให้ไม่มีปัญหาความกำกวม เช่นในภาษาไทย สามวันจากนารี เป็นอื่น ไม่รู้ว่านารีเป็นอี่น หรือคนที่จากไป เป็นอื่น

คำนามภาษาบาลีแจกวิภัตติได้ ๗ วิภัตติตามหน้าที่ในประโยค จะแสดงตัวอย่างการแจกวิภัตติคำนามที่มีเสียงสระ อะ ลงท้าย เพศชาย คำว่า พุทธะ ดังนี้ . . .

การแจกวิภัตตินาม.pdf

คำสำคัญ (Tags): #บาลี#วิภัตตินาม
หมายเลขบันทึก: 608323เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2016 06:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2016 10:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท