ส่วนงานวิชาการ และส่วนงานวิชาการภายในของมหาวิทยาลัย



ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๙ มีการนำเสนอรายงานการเงิน ของส่วนงานวิชาการ และส่วนงานวิชาการภายในของมหาวิทยาลัย ที่มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๑ ส่วนงาน มีหลายกลุ่ม รายงานนี้น่าชื่นชมในด้านที่ มช. มีระบบข้อมูลที่ดีมาก สามารถนำข้อมูลเหล่านี้มารายงานสภาฯ ได้ เป็นระบบ centralization of information แต่ในด้านการจัดการ เป็นระบบ decentralization แต่ก็มีระบบ audit ด้านการเงินที่เข้มแข็ง

รายงานนี้ เฉพาะส่วนการเงิน ที่ต้องรายงานก็เพราะมีกำหนดไว้ใน พรบ. แต่ส่วนที่สำคัญยิ่งกว่า คือการกำกับดูแลให้ส่วนงานเหล่านี้ทำงานมีคุณค่าสูงยิ่งขึ้น ต่อบ้านเมืองและต่อมหาวิทยาลัย

ส่วนงานเหล่านี้ มีทั้งเพื่อทำงานบริการ รับงานวิจัย และเพื่อการผลิตบัณฑิต

ส่วนงานเหล่านี้ น่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในส่วนที่เป็นการเรียนแบบ PBL จึงควรมีการจัดการในส่วนกลางของมหาวิทยาลัย เพื่อให้โอกาสนักศึกษา(ปริญญาตรี)เข้าไปเรียนรู้ โดยการทำงานในหน่วยงานเหล่านี้ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาระดับปริญญาตรีควรทำหน้าที่นี้

ฝ่ายบริหารภาพรวมของการเรียนรู้ บริหารการพัฒนาหรือปฏิรูปการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย ควรบริหารเพื่อสร้างโอกาส ให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้จากการปฏิบัติในสภาพจริง ในลักษณะของ PBL โดยเน้นการเรียนเป็นทีม ตามด้วยการไตร่ตรองสะท้อนคิด (reflection) เชื่อมโยงกับความรู้เชิงทฤษฎี



วิจารณ์ พานิช

๒๓ เมษายน ๒๕๕๙


หมายเลขบันทึก: 607488เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2016 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2016 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท