ฝึกอบรมทักษะการคิด และการจับประเด็น ตอนที่ 1


ฝึกอบรมทักษะการคิด และการจับประเด็น ตอนที่ 1

การจัดอบรมครั้งนี้ จัดขึ้นในระว่างวันที่ 5 – 7 พฤษภาคม 2559 ณ ห้องประชุมมูลนิธิพัฒนาอีสาน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งการเดินทางไปเข้าร่วมการอบรมครั้งผมมีความคาดหวังเป็นอย่างมากที่จะได้รับความรู้ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกทักษะการคิด ฝึกทักษะการจับประเด็น และสิ่งที่ผมได้กลับมาจากการฝึกอบรมในครั้งนี้มันมากกว่าสิ่งที่ผมคาดหวังมากมายนัก ซึ่งผมจะอธิบายกระบวนการในแต่วันในการฝึกอบรมครั้งนี้ ดังนี้

5 พฤษภาคม 2559 วันแรกของการเข้าร่วมฝึกอบรม

วันนี้จะเป็นวันแรกของการฝึกอบรม ผมสังเกตุการทำงานของทีมกระบวนกรตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปถึง ไม่ว่าจะเป็นต้อนรับ ที่เป็นกันเอง กระบวนการเตรียมสถานที่ ผมว่ามันยังฉุกละหุกกันอยู่ อาจเพราะว่าห้องนั้น มันเป็นห้องประชุมที่มีโต๊ะประชุม เครื่องเสียงต่าง ๆ ซึ่งเขาต้องขนออกมา เพื่อเตรียมพื้นที่
โดยให้ผู้เข้าร่วมนั้งบนเสื่อ อีกอย่างก็คือ บรรยาการการพูดคุยรู้สึกทุก ๆ คนจะเป็นกันเองมาก ๆ ผมมารู้ตอนหลังว่า มีผู้เข้าร่วมที่เป็นหน้าใหม่ของกลุ่ม 3 คน คือผม คุณ เอื้อง และคุณสมพร ซึ่งมาจากประเทศลาว

กิจกรรมที่ 1 เช็คอิน (Check In)

กิจกรรมเช็คอินในช่วงเริ่มต้นของแต่ละวัน วันแรกนั้นคนนำคือพี่มหา เป็นการทำสมาธิ อยู่กับตนเอง สังเกตตนเอง โดยกิจกรรมนี้เราจะทำประมาณ 15 นาที หลังจากเสร็จกิจกรรมนี้แล้ว ก็ให้ทุกคนแนะนำตนเอง ชื่อจริง ชื่อเล่น งานที่ทำ และความคาดหวังของการมาเข้าร่วมฝึกอบรมในครั้งนี้

หลักจากเสร็จกิจกรรมช่วงแรก วิทยากรก็ได้เกริ่นนำถึงเป้ามายในตลอดระยะเวลา 3 วันนี้เราจะเรียนรู้และแลกเปลี่ยนในประเด็นได้บ้างซึ่งแบ่งออกเป็น

  • กระบวนการคิดการตัดสินใจ
  • เครื่องมือที่ใช้จับประเด็น
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องของการจับประเด็น
  • เครื่องมือที่ช่วยในการจับประเด็น
  • ฝึกจับประเด็นในบริบทต่าง ๆ
  • จัดกิจกรรมชวนกันมาคุย

กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้กระบวนการคิด การตัดสินใจ

กิจกรรมนี้กระบวนกรได้วาดรูปขึ้นมาทั้งหมด 4 รูป โดยตั้งเงื่อนไขในการเลือกคือ

ครั้งที่ 1 แว๊บแรกที่เราเห็นและชอบให้เลือกทันที แล้วเราก็แลกเปลี่ยนกันว่า รู้สึกอย่างไร ทำไหมถึงเลือกภาพนี้

ครั้งที่ 2 กระบวนกรได้ใส่เงื่อนไขในการเลือกภาพเขาไปคือ “ ให้เปรียบเทียบกับงานที่ทำ กับภาพไหน “

จากการทำกิจกรรมนี้ กระบวนกรก็ได้แลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมว่า เราใช้อะไรตัดสินใจในการเลือกภาพในหัวข้อที่ 1 และหัวข้อที่ 2 ที่มีการใส่เงื่อนไขหรือกรอบความคิดเข้าไป เราเห็นอะไร กระบวนการคิดการตัดสินใจของตนเองเป็นอย่าง เช่น เงื่อนไขที่หนึ่งนั้น เราใช้มุมมองในฐานคิด ฐานใจ ฐานความรู้สึกของตนเองเป็นหลักในการตัดสินใจ ส่วนภาพที่ 2 นั้นเราใช้เงื่อนไขที่กำหนดให้นั้นมาเป็นฐานในการประกอบการตัดสินใจ แล้วเรายังมองไปถึงการเปรียบเทียบกับตัวเรา และหากเรามองข้ามผ่านตัวเราออกไป มองไปถึงคนที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา เช่น เพื่อนร่วมงาน องค์กรที่เราทำงาน สังคม ชุมชน กระบวนการคิดการตัดสินใจของเราก็จะเริ่มหาเหตุผลต่าง ๆ มาเป็นตัวช่วยในกระบวนการตัดสินใจ เช่น ประสบการณ์ การเรียนรู้ แล้วเราใช้อะไรมองสิ่งนั้น วัตถุนั้น เรื่องนั้น อย่างไร ใช้ตามอง ความรู้สึกมอง ใจมอง เหตุผล เปรีบบเทียบ ซึ่งกระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้ล่วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่สำคัญในกระบวนการคิด การตัดสินใจของแต่ละบุคล

สิ่งหนึ่งที่ผมพอจะจับความรู้สึกของเพื่อน ๆ ที่เขาร่วมอบรม จากกระบวนการนี้ก็คือ

เราเลือกภาพที่เหมื่อน แต่เหตุผลที่เลืกกับต่างกันออกไป

เราเลือกภาพที่ต่างกัน แต่เหตุผลที่เลือกนั้นกับคล้าย ๆ กัน หรือเหมื่อนกัน

กิจกรรมนี้เราเริ่มแลกเปลี่ยนถึงอะไรที่มีอิธิพลต่อกระบวนการตัดสินบ้าง ซึ่งผมพอสรุปได้ดังนี้

อะไรบ้างที่ทำให้กระบวนการคิดการตัดสินใจของเราต่างกัน

  • เพศ
  • ประสบการณ์
  • วัย
  • ความชอบ
  • การตีความหมายที่แตกต่างกัน
  • วัฒนธรรม
  • บริบทที่เราอยู่
  • ความรู้สึก
  • ความเชื่อ
  • ความรู้
  • กาศึกษา

นี้เป็นเพียงเบื้องต้นที่เราแลกเปลี่ยนกัน แล้วเราก็มาขยายความกัน เช่น

พื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน มันจริงหรือไม่ที่ทำให้เรามีความคิดที่ต่างกัน

บทบาท / หน้าที่ / ตำแหน่ง สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อกระบวนการคิดการตัดสินมากน้อยแค่ไหน

อารมณ์ ความรู้สึกต่าง ๆ ก็ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจเช่นกัน

หากเรามองให้ลึกถึงกระบวนการ ในการคิด หรือการตัดสินใจของตัวเราเองก็จะมองเห็นชัดเลยว่าสิ่ง ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่เรานำมาเป็นตัวกลั่นกรองกระบวนการคิดของตัวเราเอง หลังจากนั้นเราก็มาตีความหรือให้คุณค่ากับมัน ลดภาวะกรอบความคิดต่าง ๆ ทั้งของตนเอง และของคนอื่นแล้วมาจับให้ได้ว่าอะไรคือสาระหลัก หรือความสำคัญ

ในวันแรกของช่วงเช้าก็จบลง

กิจกรรมที่ 3 ผ่อนพักตระหนักรู้

กิจกรรมยามบ่ายที่เชื่อว่าหลาย ๆ คน ต้องชอบแน่ ๆ

กิจกรรมผ่อนพักตระหนักรู้ เป็นกิจกรรมที่ทำให้เราได้กลับมามีสมาธิหรือเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการให้ทุกคนนอนในท่าทางที่สบายที่สุด แล้วก็จะมีคนนำภาวะนาจิต 1 คน ซึ่ง คนนำก็จะทำให้เรามีสติอยู่กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการตระหนักรู้ทางร้างกาย การรู้สึกของการมีตัวตนของเราเอง สำรวจตนจากภายในสู่ภายนอก ระหว่างนั้นก็มีการเปิดเพลงคลอเบ่า ๆ ให้เราทำสมาธิอยู่กลับตนเอง หรืออาจจะเผลอหลับไปก็ได้ ไม่เป็นไร กิจกรรมนี้เราทำอย่างน้อย 15 – 30 นาที กิจกรรมนี้จริง ๆ แล้วมีผลงานวิจัยออกมาว่าการที่ร่างกายเราได้พัก หรือการนอนพักอย่างน้อย 15 นาที สมองและร้างกายของเราจะมีความพร้อมหรือตอบสนองในการเรียนรู้ที่ดีขึ้น โดยเฉพาะช่วงเวลาบ่าย

บันทึกนี้ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ

หมายเลขบันทึก: 606657เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2016 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2016 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท