กิจกรรมบนฐานปัญญา ๔ : การจัดกิจกรรมบนฐานพุทธในศตวรรษที่ ๒๑


ในกิจกรรมบนฐานปัญญานั้น สิ่งสำคัญที่สุดของฐาน คือ การสร้างปัญญาให้กับบุคคลผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยในบทนี้เป็นการสร้างปัญญาในรูปแบบพุทธวิธี ด้วยความจริง ความดี เเละความงาม ซึงเป็นกระบวนทัศน์แบบองค์รวมในการศึกษาของศตวรรษที่ ๒๑ โดยตรง การปรัยัติ การปฏิบัติ เเละปฏิเวธ เป็นหนทางการจัดการเรียนรู้เเละการจัดกิจกรรมทั้งในระบบเเละนอกระบบ โดยพุทธวิธีให้เน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติ(Learning by doing) เป็นหลักสำคัญ ให้มีทักษะการเรียนรู้หรือการคิด(หลักไตรสิกขา,กาลามสูตร,วิภัชชวาท) ทักษะการแก้ไขปัญหาเเละการทำงาน(หลักอริยสัจ๔,สังคหวัตถุ๔) ทักษะชีวิต(หลักไตรลักษณ์,มงคล ๓๘) ทักษะการสื่อสารเเละการเเสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่ดี(หลักศีล๕,ปิยะวาจา,พรหมวิหาร๔) กล่าวคือหลักพุทธศาสตร์สามารถนำมาเป็นหลักคิดของการเรียนรู้หรือการทำกิจกรรมได้ เเละยังสอดรับกับการสร้างการเรียนรู้สร้างทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ (21st century skills) ได้อย่างร้อยเรียงกัน การเข้าใจหลักคิดเเนวพุทธจึงมีความสำคัญในการจัดกิจกรรม

๑.หลักคิดของพระพุทธศาสนาด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งความจริง ความดี เเละความงาม หลักคิดของพระพุทธศาสนาเป็นหลักคิดของการเรียนรู้การส่งเสริมการเรียนรู้ศตวรรษที่ ๒๑ เเละการสร้างสรรค์กิจกรรมในศตวรรษที่ ๒๑ หลายคนเข้าใจว่าจัดกิจกรรมเเนวพุทธ "ต้องนั่งสมาธิ ต้องปฏิบัติธรรม" ซึ่งทำให้ทุกคนเหินห่างไปเรื่อยๆซึ่งนั่นเป็นการจัดค่ายในทางธรรม เเต่ในความเป็นจริงเเล้วในทางโลกเราใช้พุทธศาสตร์เป็นหลักคิดของกระบวนการหรือเรียกว่ากระบวนการของกระบวนการ ในการจัดค่ายซึ่งสามารถประยุกต์มาออกเเบบกระบวนการเพื่อสร้างความรู้เเละทักษะที่จำเป็นได้ โดยหลักคิดการจัดการเรียนรู้ใรูปแบบกิจกรรม สามารถมองได้ดังนี้
๑) หลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา(ปัญญาฐานกาย) จิตสิกขา(ปัญญาฐานใจ) เเละปัญญาสิขา(ปัญญาฐานคิด) ซึ่งปัญญาทั้ง ๓ ฐานนี้เป็นกระบวนทัศน์ในการพัฒนาการเรียนรู้ที่รวม ๓ ด้านของมนุษย์ เรียกว่า "สมอง ๓ ชั้น ปัญญา ๓ ฐาน" โดยมีนัย ดังนี้

  • ศีลสิกขา(ปัญญาฐานกาย) คือ การศึกษามิติภายนอก(สังคม,เศรษฐกิจ,สิ่งเเวดล้อม,วัฒนธรรม) การฝึกทักษะทางกายให้เกิดพฤติกรรมหรืออุปนิสัยที่ดีงาม มีคุณธรรม กล้าเเสดงออกซึ่งความคิดเห็น มีทักษะการพูด ทักษะการปฏิบัติงาน ในมิติกิจกรรม คือ การให้เรียนภายนอก การฝึกทักษะการทำงาน สร้างคุณธรรม วินัย ทักษะการสื่อสาร-การพูด การกล้าเเสดงออก เป็นต้น
  • จิตสิขา(ปัญญาฐานใจ) คือ ความสามารถในการเข้าใจภายในของตนเอง ฝึกความตั้งมั่น การเข้าใจตนเองเเละเข้าใจผู้อื่น รู้อารมณ์บวกหรือลบหรือเฉย รู้ความฝัน สามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ ในมิติกิจกรรม คือ การเข้าใจตนเองด้านความเป็นตัวตน ความเป็นผู้นำ ความเข้าใจอารมณ์ของตนเองภายใน เเละการฝึกความตั้งมั่น เป็นต้น
  • ปัญญาสิกขา(ปัญญาฐานคิด) คือ การฝึกทักษะทางการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า การคิดใคร่ครวญ การเข้าใจโลกเข้าใจชีวิต เข้าใจความมีอยู่เเละดับไป เข้าใจหลักการของธรรมชาติ เข้าใจความฝันตนเอง ในมิติกิจกรรม คือ การฝึกกระบวนการคิดทั้งหมด ความยอมรับการเปลี่ยนแปลง เข้าใจความฝันตนเอง เป็นต้น

๒) หลักอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์(ปัญหา) สมุทัย(สาเหตุแห่งปัญหา) นิโรธ(ปัญหาดับลง) เเละมรรค(วิธีการทำให้ดับ)
สมุทัย -> ทุกข์
มรรค -> นิโรธ
ซึ่งใช้ในการจัดการเรียนรู้ เช่น PBL:Problem based learning เป็นการจัดการเรียนรู้ให้บนฐานสภาพปัญหาซึ่งสอดรับกับหลักคิดของ PBL โดยตรง เเละในการจัดกิจกรรมเรามักให้ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ด้วยกระบวนการนี้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ มีการระดมปัญหา หาสาเหตุ หาผลกระทบ หาวิธีการแก้ไข เพื่อเดินไปสู่เป้าหมายปลายทางในการพัฒนา ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่เราใช้อย่างสากลในโลก โดยในกระบวนการของกิจกรรม มักจะเห็น ดังนี้

  • ทุกข์ คือ กระบวนการกำหนดประเด็นปัญหาหรือปัญหา การตั้งคำถาม วิเคราะห์ทางกายภาพของปัญหา จุดเด่น-จุดด้อย
  • สมุทัย คือ กระบวนการหาสาเหตุของปัญหาในเชิงสังคม เชิงโครงสร้าง เเละเชิงปัจเจกบุคคล(โลภ โกรธ หลง)
  • นิโรธ คือ กระบวนการกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาที่จะเดินทางไป เป้าใกล้-ไกล ใหญ่-เล็ก ขึ้นอยู่กับการออกแบบ เเต่ต้องเน้นจับต้องการเเละไม่ยากไม่ง่ายจนเกินไป
  • มรรค คือ กระบวนการหาคำตอบ การออกแบบวิธีการหรือวิธีการทำงาน ให้พอดีกับศักยภาพของบุคคล เเละสามารถทำได้จริง

อย่างไรก็ดีกระบวนการของอรัยสัจ๔ จะหมุนไปเรื่อยๆเป็นพลวัตร ให้เกิดการตั้งคำถามเเละหาคำตอบอยู่อย่างนี้ ซึ่งเป็นหลักคิดของทุกกระบวนการของการเรียนรู้ในกิจกรรมอย่างไม่สิ้นสุด

๓) หลักวิภัชชวาท วิธีคิดแบบวิภัชชวาท คือ การคิดวิเคราะห์แยกเเยะประเด็น โดยเป็นการสร้างเสริมทักาะการฝึกคิดวิเคราะห์เเละจับประเด็นในกิจกรรมได้เป็นอย่างดี โดยมีหลักการเเยบคาย ดังนี้

  • จำแนกตามความเป็นจริง เเละการมองหลายด้าน
  • จำแนกตามส่วนประกอบ เเละลำดับความสำคัญ
  • จำแนกตามความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ
  • จำแนกโดยมีเงื่อนไข

โดยในการฝึกวิเคราะห์ในกระบวนการของกิจกรรมนั้น มีความสำคัญมากที่สุดในการฝึกทักษะทางการคิด หลักวิภัชชวาท จึงเป็นหลักที่มีความสำคัญในการฝึกการคิดของเยาวชนได้ดีอย่างยิ่ง

๔) หลักกาลามสูตร เป็นหลักแห่งความไม่เชื่อ ไม่ให้งมงาย เเต่ให้ใช้ปัญญาเเยบคายพิจารณาดู หรือเป็นทักษะการเรียนรู้นั่นเอง
ความไม่เชื่อที่สำคัญ ได้แก่ อย่าเชื่อในคำที่เล่าต่อกันมา อย่าเชื่อตำรา อย่าเชื่อครู หรืออย่าเชื่อตามตรงกับความเห็นของตน เป็นต้น เมื่อแยบคายด้วยกาลามสูตรเเล้ว ให้ใช้อริยสัจ๔ ในการค้นหาคำตอบ ขระหาคำตอบให้เสริมปัญญาฐายกาย ฐานใจ เเละฐานคิดไปด้วยกัน เเนวคิดเหล่านี้จึงเป็นเเนวคิดการศึกษาเเละการจัดกิจกรรมยุคใหม่ เพราะความรู้นั้นไม่เที่ยง จึงมุ่งเน้นความสุข ให้เรียนเพื่อชีวิต เอาชีวิตเป็นตัวตั้งเอาทฤษฎีเป็นตัวรอง นั่นเอง

๕) หลักสังคหวัตถุ ๔ เเละพรหมวิหาร ๔ ที่ต้องมาคู่กันเพราะสังคหวัตถุ๔(หลักการทำงานร่วมกัน) ได้แก่ ทาน(ให้) ปิยวาจา(พูดเพราะ) อัตถจริยา(ทำเพื่อส่วนรวม)เเละสมานัตตา(เสมอต้นเสมอปลาย) ส่วนพรหมวิหาร ๔(หลักการวางตัวในการทำงาน) ได้แก่ เมตตา(ความรัก) กรุณา(ช่วยเหลือกัน) มุฑิตา(ร่วมยินดี) เเละอุเบกขา(วางเฉย) โดยเป็นทักษะการทำงานเเละทักษะชีวิตที่สำคัญที่ควรเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างองค์รวม เเละยังมีหลักอื่นๆอีกหลายหลักธรรมที่สามารถนำมาประยุกต์เพื่อการพัฒนาได้ เช่น มงคล ๓๘ หรือ โพชฌงค์ ๗ เเละอื่นๆ เป็นต้น

๒.หลักพุทธวิธีการจัดกิจกรรมในศตวรรษที่ ๒๑
๑) การสร้างสรรค์กิจกรรมควรเป็นกิจกรรมเเห่งการเรียนรู้ที่มีเป้าหมาย คือ ปัญญา โดยมีกระบวนการตั้งคำถามนำเเล้วตามด้วย การปริยัติ(เรียนรู้ทฤษฎี) การปฏิบัติ(ลงมือทำจริง) ให้เกิดปฏิเวธ(ปัญญา) โดยกิจกรรมให้เน้นการลงมือทำเป็นหลัก ทฤษฎีเป็นรอง จึงจะเกิดความรู้ใหม่จากประสบการณ์ที่เเท้จริง
๒) การออกแบบกิจกรรมควรเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างการเรียนรู้เเละความเป็นกุศล(การละวาง) ซึ่งการละวางนี้ สำคัญ คือ วางอัตตา ทิฐิ มานะ พยาบาท โลภ โกรธ เเละหลง โดยกิจกรรมให้เน้นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เน้นการเสริมสร้างการให้ การเข้าใจตนเองเเละเข้าใจผู้อื่น การใคร่ครวญตนเอง เป็นต้น
๓) คำถาม เครื่องมือ เเละกระบวนการ เน้นการกระตุ้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า ใคร่ครวญ-แยบคาย ให้เห็นความเป็นจริงของโลกเเละชีวิต โดยในกิจกรรมเน้นกิจกรรมที่ฝึกการคิด คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า ดังกล่าวอาจใช้วิธีการระดมสมอง(Brain storming) หรืออื่นๆ
๔) เนื้อหาเสริมการเรียนรู้ทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ ฐานกาย(ทำทันที) ฐานใจ(พลังใจ) เเละฐานคิด(คิดบวก,สร้างสรรค์) โดยในกิจกรรมให้เน้นเสริมการเรียนรู้ทั้ง ๓ ฐานนี้เข้าบูรณาการในตัวกิจกรรมเเละสลับเชื่อมโยงซึ่งกันเเละกันให้เกิดการเรียนรู้อย่างเเนบเนียน "เรียนโดยไม่รู้ว่าเรียน"
๕) ระหว่างดำเนินกระบวนการควรมีกิจกรรมเสริมทักษะต่างๆเพิ่มเติม เช่น ทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน-การวางตัว ทักษะการสื่อสารใช้วาจา โดยในกิจกรรมเน้นการเสริมให้เห็น หรอการสะท้อนผลให้เห็น หรือ การเทียบเคียงให้เห็น คุณค่าเเละความสำคัญของทักษะชีวิต ทักษะการทำงาน เเละทักษะการสื่อสารการทำงาน
๖) ระหว่างการดำเนินกระบวนการให้เน้นการเรียนรู้ในเชิงบวกนำ หากมีเชิงลบให้เป็นส่วนน้อยพอกระตุ้น โดยในกิจกรรมเน้นการเรียนรู้ผ่านอายตนะ ๖ โดยเป็นการเรียนรู้ผ่านทางกายเเละใจโดยตรง ใช้กายเป็นฐาน "กายคตาสิขา" เล่นไปเรียนไป "ห้องเรียนมีชีวิต"
๗) การถอดบทเรียนให้เน้นถอดปัญญาที่เกิดจากการคิด การลงมือทำ เเละหลักการบริหารจัดการตนเองภายใน โดยในกิจกรรมในส่วนถอดบทเรียนแบบบุคคลเน้นสะท้อนให้เห็นถึงทักษะทางการคิดที่ได้ ทักษะทางการลงมือทำที่ได้ ทักษะการเข้าใจตนเองเเละผู้อื่นที่ได้ เเละคุณธรรม-ความรู้ที่ได้รับ
๘) การสรุปผลหรือสรุปประเด็นให้สรุปแบบไม่สรุป "ความไม่เชื่อ-ตั้งคำถามต่อไปเพื่อพัฒนา" โดยในกิจกรรมสรุปนั้นเน้นเสริมใจเเละความท้าทายในการดำเนินงานครั้งต่อไป โดยการตั้งคำถามเเละพัฒนาต่อ "ไม่หลงในความดี หรือ ศักยภาพของตนเอง"

๓.ความดี ความจริง เเละความงามในกิจกรรม
ความดี จริง เเละงาม ในกิจกรรมนั้น เป็นกระบวนทัศน์ที่เราควรเข้าใจเเละหนุนเสริมเด็กให้เเยบคายในเรื่องนี้ เพราะเป็นเรื่องของการมองตน มองคน เเละมองงานอย่างองค์รวม การทำเพื่อสังคม การค้นหาตนเองเพื่อพัฒนาตนเอง การเข้าใจธรรมะคือธรรมชาติ เข้าใจตนเองด้วยตนเอง โดยทั้งความดี จริง เเละงามนี้ เป็นสิ่งเดียวกันเเต่จะเเสดงออกมาคนละมิติเพียงเท่านั้นเอง ในกิจกรรมเราใช้กระบวนทัศน์แห่งความดี ความจริง เเละความงามนี้ พัฒนาเด็กในด้าน ๑) การทำประโยชน์เพื่อสังคม ๒) การเข้าใจตนเอง โลก เเละธรรมชาติ ๓) การบริหารตน คน งาน เเละครอบครัว เป็นต้น ซึ่งต้องเป็นกิจกรรมกระตุ้นให้เกิดการตั้งคำถาม สู่การใคร่ครวญด้วยใจเพื่อการหาคำตอบภายในตนเอง เมื่อได้คำตอบเเล้วจะเริ่มเข้าใจความดี ความจริง เเละความงาม เช่น บ้างครั้งดอกไม้เกิดอยู่ท่ามกลางขยะเเต่มันสามารถออกดอกมาสวยงามได้ นั่นคือ ความงาม ความดีเเละความจริง เป็นต้น
ในพื้นฐานของปรัชญามี ๓ ระดับ ได้แก่ ๑) คุณวิทยา(การตั้งคำถาม โลกคืออะไร ชีวิตคืออะไร ความดีคืออะไร ความจริงคออะไร) ๒) ญาณวิทยา(การตั้งคำถามเกี่ยวกับความรู้) เเละ ๓) อภิปรัชญา(คำตอบเเห่งความจริง ความดี เเละความงาม) การเสริมกระบวนทัศนเเบบนี้เข้าไปจึงเป็นการยกระดับปัญญาของบุคคลให้สูงขึ้นตามไปด้วย

๔.ทำกิจเเละทำจิตไปพร้อมกัน
ในการทำกิจกรรมนั้นเราทำกิจ ซึ่งเราควรเสริมการทำจิตเข้าไปด้วย เพราะจิตนี้เองที่เป็นพลังให้เราสามารถทำกิจได้สำเร็จ หากพลังจิตอ่อนงานก็อาจไม่บรรลุเป้าหมายได้ ในการจิตก่อนทำกิจ ทำจิตระหว่างทำกิจ เเละทำจิตหลังทำกิจ มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยในระยะเวลาดังกล่าวมีเรื่องราวเข้ามามากมายทั้งบวกเเละลบ มาคอยกระทบให้จิตเที่ยวเล่นไปตามวัฏการส่งออกเเละรับเข้าอยู่มากมายนับไม่ได้ การทำจิตจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นผลดีต่อกระบวนกร
ธรรมชาติของจิตจะวิ่งไปตามกิจอยู่เเล้ว เเต่ให้เราดูความคิดบวก ลบ ดูความรู้สึก บวก ลบ เฉย ให้เห็นความไม่เที่ยง เมื่อเกิดทุกข์อย่าไหวเอน เเต่ให้มองสักเเต่ว่ามอง คิดสักเเต่ว่าคิด พูดสักเเต่ว่าพูด ได้ยินสักเเต่ว่าได้ยิน เเล้วจิตจะสบายมีพลังในการทำกิจ เสริมจิตให้คิดบวก เพื่อการเข้าใจตนเองเเละโลกในระดับที่สูงขึ้นไป





ความเห็น (1)

เป็นประโยชน์มาก ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท