ระยะเจริญของเห็ดฟาง


ระยะเจริญของเห็ดฟาง
1. ระยะเข็มหมุด (pinhead stage)
เป็นระยะที่เส้นใยรวมกันเป็นจุดขนาดเล็ก มีลีกษณะเป็นจุดก้อนเชื้อรา สีขาว เกิดหลังการเพาะ 4 – 6 วัน

2. ระยะกระดุมเล็ก (tiny button stage)
ระยะกระดุมเล็ก เป็นการเจริญต่อจากระยะเข็มหมุดประมาณ 15 – 30 ชม. เส้นใยมีการรวมกัน และเจริญเป็นลักษณะก้อนกลม ยกตัวสูงขึ้น มีลักษณะเป็นตุ่ม ก้อน หากแกะภายในจะยังแยกแยะส่วนต่างไม่ได้

3. ระยะกระดุม (button stage)
เป็นระยะที่เจริญต่อจากระยะกระดุมเล็ก 12 – 20 ชม. ตุ่มเห็ดขยายขนาดใหญ่ขึ้นมองเห็นเป็นก้อนเห็ดชัดเจน มีรูปทรงกลมหรือรี ฐานดอกโต ปลายโค้งมนเล็กลง หากแกะด้านในจะเห็นส่วนต่างแยกกันอย่างชัดเจน

ระยะกระดุม

ระยะกระดุม

4. ระยะรูปไข่ (egg stage)
ดอกเห็ดเจริญในส่วนก้านดอก ก้านดอกแทงยาวขึ้น ทำให้มีลักษณะเป็นดอกตูม รูปทรงรี ไม่มีลักษณะกลมเหมือนในระยะที่ 2 และ3 โดยหมวกเห็ดจะขยายออกด้านข้าง ปลอกหุ้มบางลง และยืดตัว แต่ยังไม่แตกหรือปริออกจากหมวกเห็ด

ระยะรูปไข่

ระยะรูปไข่

5. ระยะยืดตัว (elongation stage)
เป็นระยะที่ต่อจากระยะรูปไข่ประมาณ 3 – 5 ชม. ก้านดอกแทงยาวมากทำให้ปลอกหุ้มแตกออกจากหมวกเห็ด สามารถมองเห็นก้านดอกอย่างชัดเจน หมวกเห็ดขยายออกด้านข้าง แต่ขอบดอกยังหุบลง ไม่กางแผ่

ระยะยืดตัว

ระยะยืดตัว

6 ระยะดอกบาน (mature stage)
เป็นระยะที่เจริญต่อจากระยะยืดตัวประมาณ 2 – 4 ชม. ก้านดอกแทงยาวอย่างรวดเร็ว ทำให้ก้านดอกมีขนาดเล็กลง หมวกเห็ดเจริญ กางแผ่เต็มที่ ปลอกหุ้มอยู่บริเวณโคนก้าน มีขนาดบาง และเล็กลงมาก และครีบบริเวณใต้หมวกเห็ดมีการสร้างสปอร์ และปล่อยสปอร์ไปตามลม สีครีบเข้มขึ้นจนคล้ำ ก้านดอกอ่อน และเหี่ยวลง ผิวด้านบนดอกเริ่มปริแตก และอ่อนตัว ขอบดอกย่นหรือปริแตก(สำเนาว์ ฤิทธิ์นุช. 2551)(2)

hedphang10

ระยะดอกบาน


หมายเลขบันทึก: 606612เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2016 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2016 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท