ก้าวแรก (10 พฤษภาคม 2559)


วันนี้เป็นวันแรกที่สำหรับการก้าวเข้าสู่รั้วโรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ รู้สึกตื่นเต้นตั้งแต่ใกล้จะถึงโรงเรียน ไปถึงก่อนอื่นเข้าพบกับรองผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่งท่านก็ได้ให้การต้อนรับและให้คำแนะนำเป็นอย่างดี จากนั้นทานรองผู้อำนวยการได้พาไปพบปะกับครูพี่เลี้ยง ซึ่งห้องที่ดิฉันจะประจำอยู่คือห้อง ป.1/1 และวิชาที่ได้รับผิดชอบทำการสอนคือวิชาภาษาไทยและวิชาคณิตศาสตร์ ทั้งสองวิชาเป็นวิชาที่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1-3จะต้องได้เรียนทุกวัน สรุปคือ ดิฉันจะต้องทำแผนการสอนทั้งหมด 10 แผนต่อสัปดาห์และทำการจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน10คาบต่อสัปดาห์เช่นกัน

วันนี้เป็นวันประชุมเปิดกล่องชอ์กของทางโรงเรียน ซึ่งทางครูพี่เลี้ยงและทางโรงเรียนก็ได้ให้นักศึกษาฝึกประสบการณืวิชาชีพครู เข้าร่วมฟังการประชุมด้วย ในที่ประชุมมีเนื้อหาสาระ และข้อควรปฏิบัติอยู่มากมาย สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้คือ ความตรงต่อเวลาเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตการเริ่มทำงานและเป็นสิ่งสำคัญต่อการเป็นครู เพราะว่าครูจะต้องทำตัวเป็นแบบอย่าที่ดีให้กับนักเรียน ก่อนการประชุมวันนี้ ท่านผู้อำนวยการได้กล่าวไว้ว่าให้สอนให้เด็กมีความพอเพียง เพราะเชื่อว่าวามพอเพียงจะทำให้เราอยู่ได้

ในที่ประชุมวันนี้ ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการอยู่เวร การเข้าแถวของนักเรียน การวัดผลประเมินผล นโยบายประหยัดพลังงาน โปรแกรมการสอนภาษาอังกฤษ มีการชี้แจงรายละเอียดของฝ่ายงานต่างๆ เช่นฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักเรียน

สำหรับการชี้แจงของฝ่ายประถมนั้น ทางโรงเรียนเน้นว่าจะต้องสร้างคนดีสู่สังคม โดยที่ครูจะต้องคอยกระตุ้นให้เด็กยกมือไหว้ ต้องพูโไทยคำภาษาอังกฤษคำ เพื่อให้เข้าสู่บรรยากาศอาเซียน เด็กจะต้องมีการคัดลายมือ และระเบียบการวัดผลประเมินผลให้ใช้ของกระทรวงศึกษาธิการ

ข้อเน้นย้ำสำหรับการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนวชิรวิทย์นี้คือ จะมาสายสุดได้7.20นาฬิกา จะต้องไม่ใช้โทรศัพท์มือในขณะที่สอน ต้องไม่ให้เด็กหลับในคาบ และต้องไม่ให้เด็กนั่งขัดสมาธิในเวลาเรียน เวรประจำวันภาคเช้าต้องมา7.00นาฬิกา หลังจาก 7.10 นาฬิกาถือว่าขาด ช่วงเย็น16.30-17.00นาฬิกา และจะทำการปิดอาคาร18.00 นาฬิกา


ภาคบ่ายประชุมบุคลากรฝ่ายประถม

ในทีประชุมได้พูดถึงเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • การรับประทานอหารขอเด็กต้องมีมารยาทและมีระเบียบ
  • พักเที่ยงจะมีครูส่วนหนึ่งที่ทำหน้าที่พาเด็กไปรับประทานอาหาร และอีกส่วนหนึ่งจะอยู่เวรเพื่อรอรับนักเรียน
  • การวัดผลประเมินผล จะต้องแยกเป็น K P A คุณลักษณะอันพึประสงค์จะวัดหลังจากสอนเสร็จแล้ว โดยให้ทำการวัดในแต่ละรายวิชาการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียน แต่ละกลุ่มสาระต้องทำการประเมินเองแล้วค่อยเอามาประมวลผล การจะวัดนักเรียนว่าผ่าน ไม่ผ่านจะต้องทีคะแนนเป็นตัวชี้วัด และกจกรรมพัฒนาผู้เรียน เวลาเรียนต้อง80 เปอร์เซน<img https:="" cdn.gotoknow.org="" assets="" media="" files="" 001="" 152="" 839="" large_13245970_1060150620723839_137393956_n.jpg"="">


หมายเลขบันทึก: 606413เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2016 23:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 ตุลาคม 2016 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จำสิ่งดี ๆ เอาไว้ใช้ตอนเป็นคุณครูที่่แท้จริงนะครับ ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท