ดูแลสุภาพ


เบาหวาน
การวางแผนดูสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว            การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ตัวของเราเองและบุคคลในครอบครัวเกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว เกิดความรักในครอบครัวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต 1. คุณค่าของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว            คำว่า สุขภาพดีในแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สภาวะสังคม หรือรูปแบบของวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน แต่โดยรวมแล้วสุขภาพดีอย่างน้อยจะต้องหมายถึง ความสมบูรณ์ของทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเกิดได้เนื่องจากการดูแลเอาใจใส่ระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของร่างกาย            การที่จะมีสุขภาพดีได้นั้น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพของตนเองหรือของบุคคลในครอบครัว ไม่ใช่เป็นสิ่งเกิดขึ้นได้ด้วยความบังเอิญ หากแต่จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนในการดูแลสุขภาพล่วงหน้าซึ่งจะช่วยให้เกิดผลดี ดังนี้            1. สามารถที่จะกำหนดวิธีการ     หรือเลือกรูปแบบที่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิตของตัวเราเองหรือบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม            2. สามารถที่จะกำหนดช่วงเวลาในการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสม      อาจจะมีกิจกรรมการออกกำลังกายในช่วงเช้า หรือในบางครอบครัวอาจจะมีเวลาว่างในช่วงเย็น ก็อาจจะกำหนดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพในช่วงเย็นก็ได้ หรืออาจจะกำหนดช่วงเวลาในการตรวจสุขภาพประจำปีของบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม            3. เป็นการเฝ้าระวังสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว ไม่ให้ป่วยด้วยโรคต่าง ๆ นับว่าเป็นการสร้างสุขภาพ ซึ่งจะดีกว่าการที่จะต้องมาซ่อมสุขภาพ หรือการรักษาพยาบาลในภายหลัง            4. ช่วยในการวางแผนเรื่องของเศรษฐกิจและการเงินในครอบครัว เนื่องจากไม่ต้องใช้จ่ายเงินไปในการรักษาพยาบาล            5. ส่งเสริมสุขภาพทั้งของตนเองและบุคคลในครอบครัว            6. ทำให้คุณภาพชีวิตทั้งของตนเองและสมาชิกในครอบครัวดีขึ้น2. การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเอง            1. การสำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตของตนเองว่าเป็นอย่างไร นักเรียนอาจทำได้โดยการลองจดบันทึกประจำวันว่าแต่ละวันใน 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือนนั้น นักเรียนทำอะไรบ้าง แล้วนำกลับมาพิจารณาว่านักเรียนมีพฤติกรรมใดที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการมีสุขภาพที่ดีหรือไม่            2. จากข้อมูลที่ได้ นักเรียนลองนำมากำหนดเป็นแผนในการที่จะดูแลสุขภาพของตนเองโยอาจจะเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป็นแผนรายวัน หรือรายสัปดาห์ก่อน ว่านักเรียนจะต้องประกอบกิจกรรมอะไรบ้างที่จะช่วยในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง            3. เมื่อกำหนดแผนในการดูแลสุขภาพตนเองได้แล้ว ก็ดำเนินการตามแผนที่วางไว้ และประเมินผลเป็นระยะ ๆ ว่าตนเองสามารถดำเนินการในการดูแลสุขภาพของตนเองตามแผนที่วางไว้ได้หรือไม่            4. หากพบว่าไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้ ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่ ว่าเกิดจากปัจจัยใด และลองปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับตนเองให้มากที่สุด 3. การวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว            1. การสำรวจรูปแบบการดำเนินชีวิตของสมาชิกในครอบครัวว่าเป็นอย่างไร เนื่องจากการดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัวนั้น ไม่ใช่เป็นการดำเนินงานโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงคนเดียวแล้วจะประสบความสำเร็จ หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในครอบครัวเป็นสำคัญ            2. จากข้อมูลที่ได้ นำมากำหนดเป็นแผนการในการที่จะดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวโดยการกำหนดเป็นแผนในการดูแลสุขภาพซึ่งอาจจะทำแยกเป็นรายบุคคล หรืออาจจะทำเป็นภาพรวมของทุกคนในครอบครัว            3. เมื่อกำหนดแผนในการดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวได้แล้ว ก็ดำเนินตามแผนที่วางไว้ และประเมินผลเป็นระยะ ๆ ว่าบุคคลในครอบครัวสามารถปฏิบัติตามแผนในการดูแลสุขภาพที่วางไว้ได้หรือไม่ อย่างไร

            4. หากพบว่างไม่สามารถปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ได้ ก็นำข้อมูลมาวิเคราะห์ใหม่ ว่าเกิดจากปัจจัยใด และลองปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับสมาชิกในครอบครัวของเราให้มากที่สุด

           ด้วยความหวังดี               จากครูวรนุช   ออเพชร
หมายเลขบันทึก: 60637เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

น่าสนใจมากเลย  เขาว่าเงินทองมากมายก็ไม่เท่าสุขภาพดีนะจ้ะเพื่อน

แล้วคนที่เป็น เบาหวาน แล้วจะต้องดูแลสุขภาพอย่างไรรอความรู้ต่อค่ะครูวรนุช
1 ธันวาคม (world aids day) AIDS น่ากลัวๆๆๆๆๆๆๆๆๆ โรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ โดยการก่อตัวขึ้นในบางส่วนของโลกและเป็นอยู่ในหมู่ชนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบโรคนี้ทั่วโลก และอัตราผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา สำหรับในประเทศไทย นับตั้งแต่เริ่มมีโรคเอดส์เกิดขึ้นในประเทศตามรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้รัฐบาลจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบให้มีคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับโรคเอดส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายและแผนการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ระดับชาติสำหรับปี ๒๕๓๑-๒๕๓๔ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเอดส์ลดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ให้มีการประสานและร่วมมือกันระหว่างองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน แต่สถานการณ์ของโรคกลับแพร่กระจาย มากขึ้นและกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ เป็นที่เข้าใจกันว่าโรคนี้เกิดเฉพาะในกลุ่มชายรักร่วมเพศ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้นร่วมกัน และกลุ่มที่มีความสำส่อนทางเพศ แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้แพร่กระจายเข้าไปในกลุ่มอื่นๆ ด้วย เช่น ผู้ที่ได้รับการบริจาคเลือดหรืออวัยวะที่มีเชื้อโรคเอดส์ ทารกในครรภ์มารดาที่ติดเชื้อเอดส์ และยังกระจายไปยังกลุ่มเยาวชน และผู้หญิงอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากการรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ทั่วโลกของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) ไว้ว่าในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั่วโลกมีผู้เป็นเอดส์ทั้งสิ้น กว่า ๓๘ ล้านคน โดยในจำนวนผู้ติดเชื้อโรคเอดส์นี้ เป็นผู้ใหญ่ประมาณ ๓๑ ล้านคน เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี อีก ๗ ล้านคน ในปีเดียวกันทั่วโลก มีผู้ป่วยโรคเอดส์ตายไปกว่า ๓ ล้านคน อีกทั้งข้อมูลขอองยูเอ็นเอดส์ยังระบุอีกว่า ตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา มีผู้หญิง เป็นกลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวี มากขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะผู้หญิงในเอเชียตะวันออก มีอัตราของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๕๖ รองลงมาคือ ผู้หญิงในยุโรปตะวันออก และเอเชียกลาง ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี (ยังไม่ป่วยเป็นโรคเอดส์) สูงถึง ๓๙.๔ ล้านคน เทียบกับเมื่อปี ๒๕๔๕ มีเพียง ๓๖.๖ ล้านคน และปี ๒๕๔๖ มีอยู่แค่ ๓๘ ล้านคน ปัจจุบันทวีปเอเชีย มีอัตราเพิ่มของผู้ติดเชื้อมากกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดทั่วโลก โดยในประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นประเทศต้นๆที่ได้รับเชื้อเพิ่ม เฉพาะรัสเซียประเทศเดียว ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ต่ำกว่า ๘๖๐๐๐๐ คน ในบรรดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก เกือบ ๔๐ ล้านคน ผู้ติดเชื้อประมาณ ๓๗ ล้านคน มีอายุระหว่าง ๑๕-๔๙ ปี ในจำนวนนี้เป็น เพศหญิง เกือบครึ่ง โดยเฉพาะผู้หญิงทั่วโลก ที่อยู่ในวัยตั้งแต่ ๑๕-๒๔ ปี กลายเป็นเหยื่อเอดส์รายใหม่ เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ ๖๐ และเยาวชนหญิง วัยระหว่าง ๑๕-๑๙ ปี เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ ร้อยละ ๕๖ มีรายงานว่า เฉพาะทวีปแอฟริกา แถบทะเลทรายซาฮารา พบการติดเชื้อเอชไอวีในผู้หญิงสูงถึง ๑๓.๓ ล้านคน ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อ และการป่วยเป็นโรคนี้จึงได้มีการพยายามหามาตรการเพื่อป้องกันและหยุดยั้งโรคเอดส์ให้เป็นผลสำเร็จ องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดให้วันที่ ๑ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๑ เป็นปีแรก โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ ๑. เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อและการเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์ ๒. เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ ๓. เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่างๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ๔. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ ๕. เพื่อเผลแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมรณรงค์ในวันเอดส์โลก จะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนได้ให้ความเห็นใจและห่วงใยต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย ตลอดจนให้ทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ อันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้การขยายตัวของโรคนี้ลดน้อยลง คัดลอก, อ้างอิง วรนุช อุษณกร.ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก.พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์,๒๕๔๓ http://www.thairath.co.th/thairath1/2547 ข้อมูลโดย : กลุ่มนักศึกษาฝึกงาน งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด สนเทศน่ารู้ ขึ้นด้านบน คำหลัก: world  aids  day  วันเอดส์โลกบล็อกในแพลนเน็ตนี้
  • ไม่มีบล็อก
ผู้บริหารแพลนเน็ตวรนุชบันทึกที่ถูกรวบรวมล่าสุดไม่มีบันทึก1 ธันวาคม วัน AIDS โลก ( WORLD AIDS DAY ) ติดต่อผู้บริหารเว็บไซต์     - Powered by KnowledgeVolution - a product of KMI

คู่มือการใช้ระบบ | คำถามคำตอบ (FAQs) | คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง | เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายสิทธิส่วนบุคคล

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท