โดยคำว่า "พอ" ที่ใช้ในภาษาถิ่นไทยใต้


พอยกขึ้นหูงเสาะ ช่วงเวลาที่ครอบครัวชาวนา ชาวไร่ ลุกขึ้นมาหุงอาหารรับประทานก่อนไปทำนาทำไร่ ประมาณ 05 . 00 - 05.30 นาฬิกา

ภาษาถิ่น ภาษาใต้ โบราณนับวันจะห่างหาย ไร้คนพูด หรือมีคนพูด แต่ไม่สื่อกับผู้ฟัง เพราะคนรุ่นหลัง

ฟังภาษาถิ่นใต้ไม่สื่อความหมาย แต่ถึงอย่างไรก็ตามผู้เขียนยังคงพิสมัย พูดและใช้ภาษาถิ่นภาษาใต้ทุกครั้ง

เมื่อมีโอกาส บางคำ ภาษากลางไม่สามารถสื่อความหมายให้ความลึกซึ้งได้เท่าภาษาถิ่น อย่างเช่นคำว่า

"สัญญา" ผู้เขียนก็จะใช้คำว่า"ชันนชี"อย่างนี้เป็นต้น

อย่างคำว่า "พอ"ในความหมายภาษาถิ่นไทยใต้ เป็นคำนาม มีความหมายว่า "เมื่อ; หรือ ขณะ

เช่น พอกาออกหากิน เป็นช่วงเวลาตอนเช้าตรู่ ประมาณ 06.00 - 06 .30 นาฬิกา

พอแก้ไถ ช่วงเวลาที่ชาวนาปลดไถออกจากวัวให้วัวพัก ประมาณเที่ยงวัน

พอไก่ขัน ช่วงเวลาประมาณ 03 - 04 นาฬิกา

พอไก่ขึ้นร้าน ช่วงเวลาก่อนค่ำ ประมาณ 17.30 - 18 .00 นาฬิกา

พอเข้าแถว ช่วงเวลาที่นักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติหลังจากได้ยินเสียงระฆัง

พอครูฆัง ช่วงเวลาที่ครูเคาะระฆังให้นักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติประมาณ 08. 00นาฬิกา

พอควายบ่ายหน้าเข้าคอก ช่วงเวลาที่ปล่อยควายปล่อยควายกลับคอก ประมาณ 18.00 นาฬิกา

พอดาวเข้ร่อง ช่วงเวลาไกล้รุ่ง พอดาวเข้ลอย ช่วงเวลาที่ศีรษะกับดาวจรเข้อยู่ในระดับเดียวกัน

เป็นเวลาดึกมากเกือบจะถึงไกล้รุ่ง

พอดาวเข้เอาหัวขึ้น ช่วงเวลาตอนดึกๆ พอดาวเข้เอาหัวลง ช่วงเวลาใกล้รุ่ง

พอดาวรุ่งขึ้น ช่วงเวลาที่ดาวรุ่งขึ้นประมาณ 05.00 นาฬิกา

พอดาวลูกไกขึ้น ช่วงเวลาดาวลูกไก่ปรากฎชัดเจนบนท้องฟ้าประมาณ 19.00 นาฬิกา

พอเดือนขึ้น ช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นสู่ขอบฟ้า ประมาณ 19 . 00 นาฬิกา

พอเดือนขึ้นเทียมปลายอยาง ช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นระดับยอดยางพาราประมาณ 20 .00 นาฬิกา

พอตุกแกร้อง ช่วงเวลาที่ตุ๋กแกร้อง ถ้าเป็นกลางคืนประมาณ 21.00 - 22. 00 นาฬิกา

ส่วนกลางวัน ประมาณ 09. 00 - 10. 00 นาฬิกา

พอนกเข้ารัง ช่วงเวลาที่นกบินกลับรัง ประมาณ18. 00 นาฬิกา

พอนกบินหลาจอดแจด ช่วงเวลาเช้ามืด ที่นกกางเขนส่งเสียงเซ็งแซ่

พอนกฮูกร้อง ช่วงเวลาที่นกฮูกร้องซึ่งมักจะร้องก่อนที่น้ำจะขึ้น (น้ำขึ้น น้ำลง)ตอนดึกประมาณเที่ยงคืน

พอเปิดตูพลัด ช่วงเวลาที่ฟ้าเริ่มร้อง ฝนที่มพัดมาจากทิศตะวันตก กำลำลังจะตก ประมาณเดือน มีนาคม - พฤภาคม

พอไปเก็บยาง ช่วงเวลาที่ชาวสวนยางไปเก็บน้ำยาง น้ำยางพารา ประมาณ 09 - 11นาฬิกา

พอไปล่ามวัว ช่วงเวลาที่ชาวนาพาวัวไปล่ามกลางทุ่งนา เพื่อให้หาหญ้ากินประมาณ 07 - 08 นาฬิกา

พอไปสงหอ ช่วงเวลาที่ผู้อยู่ทางบ้านครอบครัวชาวนาชาวไร่นำข้าวห่อไปส่งให้ผู้ทำนาประมาณ ก่อนเที่ยง

พอไปโหล้ยาง (พอไปกรีดยาง) ช่วงเวลที่ชาวสวนยางพาราออกไปกรีดยาง ประมาณ 02 - 04 นาฬิกา

พอฝนพ่า พอฝนพาเม่ ช่วงเวลาที่ฝนตกหน้าร้อนระหว่างเดือนมีนาคม 3 เมษายน

พอพระกลับบาตร ; พอพระหลบบาตร ช่วงเวลาที่พระภิกษูกลับจากบิณฑบาตร ประมาณ 07 .30 - 08 . 00

พอพระฉันข้าว ช่วงเวลาที่พระภิกษูฉันภัตราหารเช้า ประมาณ 08 .00 นาฬิกา

พอพระเพล ช่วงเวลาที่พระภิกษุฉันภัตรหารประมาณ 11.00 นาฬิกา

พอพระตีโพน ช่วงเวลาที่มีการตีกลองตะโพนเป็นสัญญาณให้พระภิกษุลงมาฉันภัตราหารประมาณ 11.00 นาฬิกา

พอพระทำวัตรเช้า ช่วงเวลาที่พระภิกษุปฎิบัตรกิจของสงฆ์ เช่น ขอขมาโทษ ปลงอาบัติประมาณ 08.00 นาฬิกา

พอพระยืนบาตร ช่วงเวลาที่พระภิกษุออกบิณฑบาตร ประมาณ 05 .30 - 08 .00 นาฬิกา

พอพักเที่ยง ช่วงเวลาที่พักเที่ยง ประมาณ 12.00นาฬิกา

พอมุ่ยมุ่ย ช่วงเวลาเช้ามืดขณะที่เริ่มสว่าง

พอยกขึ้นหูงเสาะ ช่วงเวลาที่ครอบครัวชาวนา ชาวไร่ ลุกขึ้นมาหุงอาหารรับประทานก่อนไปทำนาทำไร่

ประมาณ 05 . 00 - 05.30 นาฬิกา

พอรางราง ช่วงเวลาเช้ามืดขณะมีแสงอาทิตย์เพียงรางๆ

พอรีดยาง ช่วงเวลาที่ชาวสวนยาง นำน้ำยางพาราที่แข็งตัวมารีดให้เป็นแผ่นประมาณ 11.00 นาฬิกา

พอรู้จักพันธ์ไม้ ช่วงเวลาเช้ามืด พอเห็นพันธ์ไม้ว่าเป็นไม้อะไร

พอโรงเรียนขึ้น ช่วงเวลาที่ข้าราชการไปทำงานยังสถานที่ทำงานของตน ประมาณ 08.00 - 09 .00 นาฬิกา

พอพลบค่ำ ช่วงเวลาที่เริ่มมืดหรือย่ำค่ำ พอแลเห็นลายมือใหญ่ ช่วงเวลาเช้าตรู่ที่มีแสงรางๆ

พอมองเห็นเส้นลายมือหญ่ๆ

พอเสร็จบุญ วันที่เสร็จจากทำบุญวันสารทเดือนสิบ

พอหนังลงโรง ; แต่หัวโม่ง ช่วงเวลาที่หนังตะลุงโหมโรงประมาณ 20. 30 นาฬิกา

พอออกฤาษี ช่วงเวลาที่หนังตะลุงบูชาครู ประมาณ 21.00 นาฬิกา

พอขืนได้; พอแข้นได้ พอใช้ได้ พอฝืน พอได้ พอประมาณ

พอยา พอเยียวยา

พอลายลุกขี้ มีนดหน่อย พอสอนนกสอนกา พอเริ่มทำได้........

.คำเหล่านี้ยังคงมีพูดคุยกันคนที่มีอายุครึ่งศตวรรต นำมาบันทึกไว้ จากหนังสือ พจนานุกรรม

ภาษาถิ่นไทยใต้ พุทธศักราช 2550


หมายเลขบันทึก: 606222เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2016 01:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2016 01:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

Thanks for the word and examples.

I come to understand that 'พอ' means 'เวลา'. Is this correct?

ขอบคุณค่ะ คำว่า พอ ที่หมายถึง เมื่อ หรือ เวลา ภาษาใต้ใช้ในสำนวนหรือคำหรือวลีมากนะคะ ภาษาไทยกลางก็มีการใช้บ้างในภาษาพูด แต่ถ้าเป็นการเขียนที่เป็นทางการหรือวิชาการจะใช้คำอื่น เช่น เมื่อ เวลา มากกว่า เท่าที่สังเกตนะคะ

ขอบคุณ อาจารย์ sr ที่มาเรียนรู้ภาษาถิ่นไทยใต้ ว่าเรื่องส้มๆ

เรียนอาจารย์ GD ขอบคุณที่แนะนำ

ภาษาถิ่นไทยใต้ ภาษาพูด อาจไม่อยาก แต่ภาษาเขียน เทียบเคียงภษากลางยากเอาการอยู่

เช้น คนชื่อ ขร็อง หม็อง ออกเสียงเขียนภาษาใต้ ยาก พอการ

มีพอมุ่ยมุ่ยด้วยเหรอน้าบัง จันเคยพูดแต่มุ้งมิ้ง

เรียนอาจารย์ จัน พอมุ่ยมุ่ย มักใช้กับคนเจ็บท้องคลอด กับ การก่อไฟ เห็นควันมุ่ยมุ่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท