วิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงขึ้น


แนวโน้มในปี 2559 มีความคล้ายคลึงกับปีที่ผ่านมา โดยสถานการณ์ที่เลวร้ายอาจเพิ่มขึ้นและยาวนานออกไปอีก เพราะเศรษฐกิจโลกมีอุปสรรคสำคัญจากปัญหาหนี้สินที่สะสมอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงนับตั้งแต่เผชิญวิกฤตซับไพรม์ในสหรัฐ กำลังซื้อที่อ่อนแอจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ประเทศต่างๆทยอยแสดงอาการชะลอตัวในทางเศรษฐกิจ นับตั้งแต่สหรัฐ ยุโรป ญี่ปุ่น จนกระทั่งมาถึงในช่วงปัจจุบันที่จีนและประเทศตลาดเกิดใหม่กำลังเผชิญภาวะชะลอตัวตามมา

คือ 1.ปัญหาภาวะตกต่ำของราคาโภคภัณฑ์และพลังงานปิโตรเลียมการทรุดตัวของภาคการค้าระหว่างประเทศและภาวะเงินฝืดที่กระจายตัวไปทั่วโลก ต่างสะท้อนถึงปัญหาอุปทานที่ล้นเกินหรือกำลังซื้อที่อ่อนแอ

2. โครงสร้างเศรษฐกิจและการเงินของโลกที่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยเหล่านี้อย่างไม่สม่ำเสมอกันได้นำไปสู่ความผันผวนอย่างหนักของราคาสินทรัพย์ประเภทต่างๆ และส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนของโลก

3.กระบวนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในระยะที่ดำเนินไปเพียงบางส่วนและมีความเปราะบาง หลายประเทศอาจต้องเผชิญความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวส่วนราคาสินทรัพย์ต่างๆ ก็จะมีความผันผวนสูงและจับทิศทางได้ยาก

4.ภาวะตกต่ำของราคาน้ำมันโลก

อุปทานล้นเกินในสินค้าโภคภันฑ์มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยหลักใหญ่แล้วมีสาเหตุมาจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเคยคาดคะเนไว้ดีเกินไปในอดีตการเก็งกำไรในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ก็มีส่วนเพิ่มความรุนแรงของวัฏจักรเป็นอย่างมากด้วย

ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมน้ำมันต้องเผชิญภาวะตกต่ำอย่างหนักและมีผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจโลก รายได้จากการผลิตน้ำมันปิโตรเลียมส่งผลให้กำลังซื้อของประเทศผู้ผลิตอ่อนตัวลงธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ยังไม่สามารถปรับตัวได้ และต้องมุ่งแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ถาโถมเข้ามา

บริษัทจำนวนมากมีปัญหาการชำระหนี้ แต่หวังที่จะไม่ต้องปิดกิจการ ยังจำเป็นต้องขยายการผลิตต่อไปเพื่อรักษาผลประกอบการให้เหนียวแน่นไว้ธุรกิจเหล่านี้ต้องขายสินทรัพย์ออกไปบางส่วน และทุกบริษัทต้องตัดงบลงทุนเป็นจำนวนมาก

เศรษฐกิจที่ชะลอตัวในประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีน เป็นสาเหตุสำคัญปัจจัยซ้ำเติม ได้แก่ การไม่ปรับลดการผลิตของผู้ประกอบการจนกระทั่งปริมาณน้ำมันสำรองสูงใกล้ขีดจำกัด การที่อิหร่านจะสามารถส่งออกน้ำมันดิบได้และการที่หลายประเทศ เช่น เวเนซุเอลาและรัสเซียพร้อมขายน้ำมันดิบของตนในทุกระดับราคาเพื่อแลกกับปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงินที่กำลังเกิดขึ้น

นอกจากนี้การประเมินว่าในอนาคตธุรกิจยานยนต์จะหันไปใช้พลังงานไฟฟ้า หรือแม้แต่ก๊าซไฮโดรเจนแทนน้ำมันปิโตรเลียมก็มีส่วนซ้ำเติมสถานการณ์ให้ดูเลวร้ายยิ่งขึ้น

ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบตกต่ำได้อีกนานและในปัจจุบันราคาซื้อขายจริงในหลายตลาดก็ต่ำกว่าในตลาดล่วงหน้าของนิวยอร์กมากแม้น้ำมันดิบเหล่านั้นจะมีเกรดต่ำกว่า แต่ก็มีราคาต่ำกว่ามาก

การที่ธุรกิจน้ำมันดิบมีการแข่งขันที่รุนแรงและมีราคาที่ตกต่ำอย่างหนัก ย่อมมีผลต่อเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญ สหรัฐอเมริกาและแคนาดาก็ได้รับผลกระทบเช่นกันเนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูง และกำลังเริ่มประสบปัญหาทางการเงิน

อาการที่เลวร้ายจะปรากฏชัดเจนที่สุดในปี 2559 นี้ ในขณะที่ผลกระทบทางบวกของราคาน้ำมันดิบที่ต่ำจะยังไม่ปรากฏให้เห็น

1.การทรุดตัวของภาคส่งออก

2.การค้าระหว่างประเทศเป็นพลังผลักดันสำคัญในทางเศรษฐกิจ แต่ในปีที่ผ่านมาเป็นปีที่การค้าระหว่างประเทศทรุดหนักเป็นประวัติการณ์ประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างมากก็คือประเทศผู้ส่งออกในเอเชีย

3.การทรุดตัวของภาคส่งออกมีสาเหตุมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจีนไม่สามารถมีบทบาทพยุงเศรษฐกิจโลกได้มากเหมือนเดิมอีกต่อไปรวมทั้งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุปทานส่วนเกินของสินค้าอุตสาหกรรมด้วย


ที่มา http://snpgold.com/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81-2559/

หมายเลขบันทึก: 605865เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท