​8. ก้าวออกจากความสับสน มืดมนด้วยใจที่ตระหนักใน "หน้าที่"


8. ก้าวออกจากความสับสน มืดมนด้วยใจที่ตระหนักใน "หน้าที่"


วันพฤหัสบดี ที่ 7 เมษายน 2559
1. วันนี้ทำอะไร
-ความจริงต้องบอกว่า 3-4 วันที่ผ่านมาทำอะไร จนมาถึงวันนี้ ก่อนหน้านี้ใจเกิดความสับสน ลังเลสงสัยไม่แน่ใจ ต่อสิ่งที่กำลังทำ ว่าทำไม ลงมือทำข้อวัตรจนครบแต่ใจก็ยังหมอง ดื้อด้าน ครูบาอาจารย์ชี้บอกก็ไม่เชื่อไม่ฟัง เถียง ท่านย้ำลงไปให้ตระหนัก ศีล ไม่ครบ ภาวนาไม่เป็น พระพี่ชายย้ำ เดินจงกรมทำสมาธิไม่พอ นอนมาก สัจจะไม่รักษา มีแต่เอาแต่ใจตนเอง
- ครูเมตตาเล่าเรื่องราวให้ข้อมูลเตือนสติ เหมือนท่านเมตตาจิตหัวหนูออกมาจากการจมในนรก เพราะเมื่อเช้ารวมถึง3-4วันที่ผ่านมา จิตมัวหมอง กลิ่นตัวเน่า ใบหน้าหมองคล้ำ แต่พอได้ฟังเรื่องราวจากครู มันฮึดสู้ลุกขึ้นมา ด้วยใจตระหนักในหน้าที่ว่า
"ภารกิจนี้คือ หน้าที่ที่ต้องทำ"
มีความรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้อยู่ตรงนั้น นำความเสียใจมาเป็นต้นทุนในการทำหน้าที่ครั้งต่อไปว่าต้อง "เต็มที่"

2. คาดหวังอะไรในสิ่งที่ทำนั้นบ้าง
-คาดหวังว่า มันคาดผิดๆว่า ทำแล้วใจจะไม่มัวหมองแข็งกระด้าง มันอยากไปก่อน
-ใจมันคาดหวังว่าครูจะตำหนิ แต่พอมาได้ฟังจริงๆไม่เลยท่านให้สติแล้วพาสร้างกุศล

3. มีอะไรเป็นไปตามความคาดหวังนั้นหรือไม่เป็นไปตามความคาดหวังนั้น เพราะอะไร
- พอมันคาดหวังผิดๆว่าใจจะสบาย ครูบาอาจารย์จะชม ออกมาผิดคาดหมด ท่านไม่เคยตามใจกิเลวลูกศิษย์ ข้อผิดพลาดมีตรงไหน ข้อบกพร่องมีเท่าไหร่ ท่านจัดหนักจัดเต็มให้ได้รู้ได้เห็นในตนเองเพื่อให้ได้แก้ไข
พอมันไม่เห็นกิเลสตนเอง ตัวโกรธตัวน้อยใจออกมาทำงานครอบงำ ท้อแท้ จนจะถอย อะไรก็จะไม่เอา เหมือนเด็กต่อจิ๊กซอได้นิดหน่อย ผิดๆถูกๆ ทะเร่อทะร่าเอามาอวดดีกับครูบาอาจารย์คาดหวังว่าท่านจะชม แต่ท่านเมตตาชี้บอก ตรงนั้นต่อผิด ตรงนี้ยังไม่ใช่ แทนที่มันจะเชื่อฟังหยิบชิ้นที่วางผิดมาแก้ไข มันกลับท้อแท้ น้อยใจ พังจิ๊กซอที่ต่อมาทั้งหมดจนไม่มีชิ้นดี
-ทุกอย่างคือพลิกเกินความคาดหมาย จากใจท้อมันคิดพิจารณา ว่าเกิดอะไรขึ้น ปรึกษาพระพี่ชายถึงแนวทาง ครูเมตตาพาดูและถอดบทเรียนเหมือนใหัอาวุธเพิ่ม พระพี่ชายช่วยคิดพิจารณา

4. ได้เรียนรู้อะไร
-สติไม่มี ข้อวัตรไม่รักษา ศีลไม่มี โจทย์ที่เข้ามาให้โอกาสได้เรียนรู้ก็จบกัน หมดโอกาสจะทำผ่าน
คิดง่ายๆถ้าใจมีศีล พอครูชี้มันตัองไม่โกรธ ไม่น้อยใจ ไม่ท้อแท้ ถ้ามันยอมรับว่า ตนเอง ไม่พอ ภาวนาไม่เป็น เพราะนักภาวนาพอมีข้อบกพร่องเขาลงมือแก้ไขทันที ไม่ใช่มามัวจมกิเลสเสียใจคร่ำครวญ ไม่มีนักรบคนไหน ที่รู้จุดอ่อนตนเองแล้วไม่รีบแก้ไข มีแต่พวกขี้โกงที่เห็นข้อบกพร่ิงแล้วกลบเกลื่อน เป็นบทเรียนเด่นชัดของคำว่า
"ถ้าไม่รักษาข้อวัตร ไม่รักษาศีล ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ครูบาอาจารย์ว่ากล่าวตักเตือนไม่ได้"
ผลลัพธ์คือความไม่เจริญและล่มจมในเห็นตรงหน้าแบบสภาวะที่ปรากฏอย่างที่ผ่านๆมา
-ใจที่คิดไม่ดี ปิดโอกาสตนเอง แต่ใจที่ยังระลึกถึงครูบาอาจารย์ มันยังมีโอกาส พอ มอง คิด พิจารณาตามท่าน มันเห็นตนเองทั้งดีชั่ว เห็นวิ่งที่ตนเอง ทำได้ เห็น โอกาส

5. จากบทเรียนที่ได้เรียนรู้นี้จะทำอย่างไรเพื่อป้องกันความผิดพลาดไม่ให้เกิดขึ้น
- มันต้องทำข้อวัตรให้พอ เช็คสติกับตนเองให้มาก
-ศีลไม่ใช่แค่รอนับข้อตอนส่งบันทึก มันต้องสนิทแนบกับใจตนเองในสิ่งที่กำลังทำอยู่ ทำไม่ได้ศีลก็ขาด เช็คให้มันได้แก้ไขให้มันทันไม่ใช่ว่ารู้อยู่ว่าผิดแต่ก็ยังหน้ามึนทำมันก็แย่แล้ว ไม่ต้องเอาหัวโล้นมาอ้างกัน ถ้าศีลไม่มีก็ไม่เรียกนักบวช นักภาวนาดอก
-เชื่อฟังพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ไม่ใช่แค่พูด ต้องำยังไงทุกการกระทำพร่ำสอน แท้จริงแล้วดังอยู่ภายใน ทั้งภาพและเสียง พ่อพูดไว้แแบไหน แม่เตือนไว้อย่างไร ครูบาอาจารย์ให้สติปัญญาและพาทำมาแบบไหน ตอนมีสตินั้นไหลย้อนเข้ามาประมวลเป็นการกระทำหมด แค่เชื่อฟังและทำตามด้วย สติและปัญญาใคร่ครวญพิจารณาไม่แน่ใจให้เรียนปรึกษา รวมถึงอุปถัมถ์ค้ำปู ปกป้อง ด้วย กาย วาจา ใจ ต้นแบบงามๆมีให้เห็นิย่างพระพี่ชายแบบถูกตรงชัดเจน
-อย่าหนีครูบาอาจารย์ พระพี่ชายบอกว่า ท่านไล่หนี ก็คือไล่กิเลสเราหนีให้รีบ ดู รีบเห็น รีบยอมรับ รีบแก้ไข แต่ถ้าท่านบอกให้อยู่แสดงว่า หมดอะไรที่ต้องเรียนรู้แล้ว นั่นหละค่อยไป
หลวงพี่ย้ำเสมอว่า ถ้ามันจะตาย กะให้มันตายคาตีนครูบาอาจารย์ แต่ถ้ามันตายเพราะตามใจกิเลสมันเสียของ

ศีล
1. ไม่ฆ่า ไม่เบียดเบียน
-ใจที่มันท้อแท้ น้อยใจ สิ้นหวัง เบียดเบียนตนเอง ครูบาอาจารย์และผู้คนที่เข้าไปข้องเกี่ยว ศีลข้อไหนก็ไม่สนไม่รักษา ผิดหนึ่งข้อมันพังทุกข้อจริงๆ มันต้อง ตั้งใจกับตนเองใหม่ ทางรอดก็คือ "ศีลแนบใจ" อันนี้คำครูเคยพูดไว้แม้ตนเองยังไม่เคยทำได้นี่แหละจึงต้องเอามาย้ำมาทำ ที่ผ่านมามันขาดป่นปี้

2. ไม่ลักทรัพย์ไม่หยิบเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้
อยาก ทำอะไรก็ทำตามใจตนเอง ไม่ทำอะไรแต่เข้างานช้า นี่ไงใจมันพาให้ศีลขาดเพราะมันไม่มีหลัก ไม่เป็นไร ย้ำลงตอกเข้าไป บทเรียนมีแล้วซ้ำซาก ถึงเวลาเช็คศีลก่อนทำ
3. ประพฤติพรหมจรรย์
ราคะฟุ้งกระจุยกระจายไปหมด เหลืออค่ไม่หยิบไมค์มาร้องเพลง เพราะลูบหัวแล้วมันโล้นที่เหลือมันผิดไปหมด เพราะกิเลสตัวน้อยใจตัวเดียว ที่เป็นจุดเริ่ใต้นให้ศีลพังขาดร่วง แก้ใหม่ เช็คศีลเช็คกุศล อกุศลกับตนเอง

4. ไม่โกหก ไม่พูดส่อเสียด
-ข้อนี้แย่ ข้อวัตรไม่ทำ คร่ำครวญ แต่ทุกอย่างดีเสมอ ขอบคุณที่เป็นกรจกสะท้อนชัดๆว่า ใจนี้แค่ไหน ชัดมากชัดเจน ยึดมั่น สัจจะก้าวไปอย่างตั้งใจ

5. ไม่ดื่มเหล้า ไม่ขาดสติ
เหล้าไม่กินแต่ มันเมากิเลสเห็นๆ กายไม่กินเหล้าแต่เห็นจิตเมาก็ไม่ตั้งสติ แก้ไขใหม่เห็นจิตเมาลุกมาเคลื่อนไหว ดูลงที่กายกับการเคลื่อนไหวของข้างใน กับสิ่งที่ปรากฏลองแล้วพออยู่ เมาหนักมากลุกขึ้นมาทำงานที่ใช้แรงให้ได้เหงื่อ

6. ไม่ทานอาหารหลังเที่ยง
บ่ายๆมาหิวมากค่ะ ทานชากับโกโก้เลี้ยงลำไส้

7. ไม่ร้องเพลง ดูละคร ไม่ใช้เครื่องประทินผิว
ข้อนี้แย่เหลือแต้ไม่แต่งหน้า ไม่ร้องเพลง พระพี่ชายชี้ให้ลดอาหารกับลดเวลานอน

8. ไม่นั่งนอนบนที่นอนสูง ยัดนุนหรือสำลี
แม้จะนั่งนอนไม้ แต่ใจมัน ชอบหาเบาะนุ่มๆมารองก้น ให้นั่งสบายคลายเมื่อย
3-4วันนี้เป็นบทเรียนของการไม่รักษา 4 ข้อสำคัญที่ไปขอโอกาส จากครู
1. รักษาข้อวัตร
2.รักษาศีล
3. เชื่อฟังพ่อแม่ครูบาอาจารย์
4. เชื่อฟังคำว่ากล่าวตักเตือนของครู
วันนี้โงหัวจาก จิตจในรกได้เพราะครูเมตตาช่วยเหลือ สาธุๆๆ กราบขอบพระคุณเจ้าค่ะ



คำสำคัญ (Tags): #aar#ภาวนา#สัจจะ
หมายเลขบันทึก: 605766เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016 22:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016 22:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท